สมเด็จพระเทพฯห่วงเด็กด้อยโอกาส


การจัดการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้

        

 

          ในโอกาสวันที่ 2 เมษายน 2554  ได้นำพระราชดำรัสของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี  ซึ่งพระองค์ทรงทุ่มเท และส่งเสริมพัฒนาการศึกษาของชาติ และของโลกในทุกเรื่องที่เห็นว่าเป็นประโยชน์ต่อชาติและสังคมโลก ในประเทศไทยมีโรงเรียนพระราชดำริ ที่นำแนวทางในการจัดการศึกษา เพื่อเด็กด้อยโอกาสที่แท้จริง  ขอให้พระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน

 

          เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2554  ที่หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ ไปทรงบรรยายเรื่อง “30 ปี การพัฒนาเด็กและเยาวชน:ร่วมกันสร้างโอกาสที่ดีกว่า” ในการประชุมวิชาการเรื่องทางสู่โอกาสที่ดีกว่า เนื่องในโอกาสสามทศวรรษการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มีพระราชดำรัสตอนหนึ่งว่า
          "ทุกคนคงรู้จัก ไชลด์ เซ็นเตอร์ หรือการศึกษาที่ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ใน จ.ตาก ได้ให้ตำรวจตระเวนชายแดนร่วมกับ กศน. สพฐ. และ ตชด. จัดการเรียนการสอนให้แก่เด็กในพื้นที่ห่างไกล โดยดูที่ศักยภาพของเด็กว่าจะไปที่ไหนต่อได้ตามความสนใจ เช่น อุดมศึกษา สายอาชีวะ ซึ่งเรียกว่าเอาคนเป็นศูนย์กลาง มองคนทุกคนมีความหมายสำหรับรัฐ ทั้งนี้ การทำงานด้านการศึกษาครูถือเป็นกลไกที่สำคัญที่ต้องมีความเข้าใจ และต้องทำงานร่วมกับหลากหลายหน่วยงานทั้งกระทรวงเกษตรฯ ประมง และองค์กรปกครองท้องถิ่น เพราะเด็กและชุมชนถือเป็นหัวใจที่สำคัญ"
          ดร.อมรวิชช์ นาครทรรพ อาจารย์คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า โรคที่น่าเป็นห่วงสำหรับเด็กไทย ได้แก่

          1.โรคความรักตีบตัน ขาดความรักจากที่บ้าน ทำให้อยู่ในสภาพเด็กกำพร้าเทียม พ่อแม่ไม่มีเวลาดูแล โดยเฉพาะกลุ่มแรงงานและคนทำงานในเมือง ปัญหาครอบครัวแตกแยกผลักให้เด็กออกมาหาความรักนอกบ้าน ซึ่งเสี่ยงมีเพศสัมพันธ์เร็วและปัญหาแม่วัยรุ่น

         2.โรคศักดิ์ศรีบกพร่องจากการกดดันของพ่อแม่ จึงต้องหาศักดิ์ศรี การยอมรับแบบผิดๆ จากนอกบ้าน เช่น ตั้งแก๊งซิ่ง 

         3.โรคสำลักเสรีภาพที่ถูกเลี้ยงดูจากการตามใจของพ่อแม่ ทำให้เด็กขาดวินัยและพบปัญหาการศึกษาที่ไม่เท่าเทียมกัน ซึ่งมีโรงเรียน 30% ที่ไม่ได้มาตรฐาน อีกทั้งมีเด็กด้อยโอกาสการศึกษา 2 ล้านคน เด็กกลุ่มเสี่ยงและเด็กที่มีความต้องการพิเศษ 5 ล้านคน

          นายควาง โจ คิม ผอ.องค์การยูเนสโก สำนักงานประจำภูมิภาคด้านการศึกษา ภาคพื้นเอเชียและแปซิก กล่าวว่า ผลกระทบจากวิกฤติโลก ส่งผลต่อการศึกษาของเด็ก ได้แก่

         1.ต้นทุนการเรียนที่สูงขึ้นจนผู้เรียนไม่มีกำลังจ่าย

         2.อัตราการหยุดเรียนสูงขึ้นเพราะต้องช่วยผู้ปกครองหารายได้

         3.เด็กเสี่ยงออกจากระบบการศึกษาเพื่อลดรายจ่ายครอบครัวและเพิ่มรายได้จากการขายแรงงาน

        4.เด็กมีโอกาสได้รับสารอาหารไม่เพียงพอเพื่อลดรายจ่ายครอบครัว จะต้องปฏิรูปการศึกษา พัฒนาทักษะอาชีพ และเพิ่มโอกาสการศึกษาให้เท่าเทียมกัน 

 

 ที่มา: http://www.komchadluek.net

  

คำสำคัญ (Tags): #การศึกษา
หมายเลขบันทึก: 433913เขียนเมื่อ 3 เมษายน 2011 08:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 21:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท