รถเมล์สุขภาพ


           เช้านี้  สมองฉันโล่งโปร่งและเบาสบายพร้อมที่จะรับฟังเรื่องราวดีๆ  ที่ฉันจะได้มีโอกาสได้รับฟัง  ซึ่งเป็นเรื่องราวดีๆจากพื้นที่  จากปากของผู้บริหารเอง  หรือที่ใครหลายๆคนมักจะเรียกว่าเหล่าพญานกอินทรีย์    มันทำให้ฉันอดคิดไม่ได้ว่า  ยังมีแพทย์ดีๆที่นึกถึงประชาชนตาดำๆ โดยเฉพาะผู้ด้อยโอกาสแต่ละกลุ่ม  ที่แม้จะอยู่ตามซอกหลืบของสังคมก็ตาม  เมื่อนึกย้อนมาถึงพวกเรา  เราไม่ได้ทำงานในชุมชนอย่างโดดเดี่ยว  แต่เรายังมีเพื่อนร่วมวิชาชีพ  มีคนเข้าใจหัวอกคนทำงานชุมชนในพื้นที่จริงๆ  สิ่งที่พรั่งพรูออกจากปากของท่านผู้อำนวยการแต่ละท่าน  ล้วนแต่บอกว่า  ทำอย่างไรที่จะได้รักษาคนให้ครอบคลุมทั้งกาย  ใจ  สังคม  สิ่งแวดล้อมและจิตวิญญาณ  แม้บางอย่างอาจต้องอาศัยระยะเวลากว่าจะเห็นผลลัพธ์  หรือแม้บางครั้งจะรู้ว่าผลลัพธ์จะเป็นอย่างไรแต่อยากทำ  อยากให้สิ่งดีๆเหล่านี้แก่ประชาชนในพื้นที่ของเขา  ให้ทุกคนได้ยืนอยู่อย่างมีศักดิ์ศรี  แม้จะไม่เท่าเทียมกันบ้างในสังคม...ลองมาฟังเรื่องนี้กันบ้างนะคะ  “รถเมล์สุขภาพ”  ที่ต้องใช้เวลาขับเคลื่อนมากว่า ๓-๔ ปี  เป็นเรื่องราวของ  โรงพยาบาลขุนหาญ  จังหวัดศรีสะเกษที่  หมอนก ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเล่าว่า  “มันมีแรงบันดาลใจมากจาก  คำพูดประชดประชัน  ของคนในระบบสุขภาพด้วยกันเอง  จนเกิดสิ่งที่ดีงามในระบบสุขภาพตามมา

 

 

            เนื่องจาก  คนไข้จากโรงพยาบาลขุนหาญได้ถูกส่งต่อไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลจังหวัดเป็นจำนวนมาก  โรงพยาบาลประจำจังหวัดอย่างโรงพยาบาลศรีสะเกษที่มีผู้รับบริการมากอยู่แล้ว  จึงมีการพูดประชดประชันกันมา  เหมือนอย่างที่พยาบาล Refer อย่างพวกเราจะได้รับคำฝาก  จากหมอบ้าง  จากพยาบาลด้วยกันเองบ้างตามมา อย่างเช่นที่จังหวัดของฉัน “แค่นี้ก็ส่งมา”  “ทำไมเก็บคนไข้ไว้นานจังทำไมไม่รีบส่งมา”  “ไม่รู้หรือไงว่าคนไข้วิกฤตต้องโทรบอกก่อน” (ถ้าบอกก่อนก็ได้รับการปฏิเสธซิคะ...ฮา)  และอีกมากมาย  สำหรับโรงพยาบาลขุนหาญก็เช่นกัน จากปัญหาเรื่องการเข้าถึงบริการของคนไข้  จากโรงพยาบาลชุมชน  ไปโรงพยาบาลประจำจังหวัด  การส่งต่อคนไข้มีมาก  และภายใต้ข้อจำกัดเรื่องรถ Refer  คน Refer  หน่วยงานต้องมาทะเลาะกัน  ซึ่งเป็นความไม่สุขสบายของคนทำงาน  เมื่อมีแรงกระตุ้นจากคำพูดของโรงพยาบาลประจำจังหวัดอย่าง โรงพยาบาลศรีสะเกษพูดประชดว่า  “ทำไมไม่เหมารถบัสมาเลยล่ะ”   จึงคิดว่า  “มีรถบัสก็ดีเหมือนกันนะ”  แล้วใครจะช่วย  ก็คิดถึงชุมชน  ใช้เวลาผลักดันอยู่ ๓-๔ ปี  จึงเริ่มขายไอเดีย  ไม่ใช่ในงานประชุมแต่เป็นในงานศพ  กับนักการเมือง  กับชุมชน  เกิดการผลักดันของนักการเมือง  ก็ได้งบประมาณมา  คือ จริงๆ การจ้างเหมารถ โรงพยาบาลทำได้  แต่อยากให้ชุมชนมีส่วนร่วมอย่างยั่งยืน    พอเข้าไปก็มีแรงต้านพอสมควร  ตอนแรกเข้าไปคือจะทำอย่างไรให้คนไข้เข้าถึงบริการตามมาตรฐานที่เขาควรจะได้รับ  โดยโฟกัสที่กลุ่มด้อยโอกาส  พอทำเข้าจริงๆพบว่าทีมที่ทำจะกัดไม่ปล่อย  พอเจอปัญหา Feedback จากจังหวัดก็จะเคลียร์กันกับทีมนำทันที  เขาบอกว่า  “ขุนหาญ จนท.วุ่นวาย”   คือเขาจะรู้ล่วงหน้าว่าจะส่งคนไข้ไปเป็นรถบัส  ก็เริ่มประสานทำบัตรล่วงหน้าเลย  คนไข้เป็นคนไข้ OPD ธรรมดา  Fast tack ก็คือการทำบัตรล่วงหน้า  และได้มีการพัฒนาขึ้นมาเรื่อยๆ  จนสุดท้ายที่พบบ่อย เรื่อง Dyspepsia  จะอิง CPG ของ รพ.ศรีสะเกษ  แล้วเขาก็จะนัด U/S Gastoscope  คนไข้จะได้ระบบ Seamless เลย  ไปถึงคนไข้ได้ U/S ก่อนพบแพทย์  คนไข้ก็จะรู้ว่าแพทย์คนไหนจะดูแล  เมื่อทำ Process  นี้  มันเป็นระบบที่เกิดขึ้นเองโดยอัตโนมัติ  คือคนไข้มั่นใจว่าไปครั้งนี้ไม่มี  ไป-มาๆ  นัดแล้วนัดอีก  ก็คือได้รับการตรวจแน่นอน

 

            หมอนกได้เล่าให้ฟังเพิ่มเติมว่า  ปัญหาคือในหน่วยงานทะเลาะกัน  คือโทรไปฝ่ายบริหารฯก็บอกรถ Referไม่พอ  และเมื่อ Refer คนไข้  ก็จะมีการดูเรื่องกระบวนการคุณภาพการดูแล  รพ.ศรีสะเกษ  ก็จะ Refer กลับมาๆ  โดน รพ.ศรีสะเกษ  ต่อว่า  ว่า Refer บ่อย  รวมถึงเอาที่เขาประชดมานั่นแหละ ว่า  ทำไมไม่เหมารถมา”  มาเป็นตัวเริ่มต้น  “เออก็ดีนะถ้าเป็นแบบนั้น”    สุดท้ายทำได้ปีแรก  เมื่อระบบเข้าที่  รพ.ศรีสะเกษ เริ่มเห็นดีเพราะมันตอบสนองซึ่งกันและกันคือ ผู้ให้บริการ  ผู้รับผลงาน  และผู้รับบริการ  คือ  รพ.ศรีสะเกษเองลดความแออัดของคนไข้ได้    รพ.ขุนหาญ  ก็ไม่ต้องส่ง Dyspepsia ไปให้  รพ.ศรีสะเกษคัดกรองว่าจะ Investigation อะไร  จะดูตาม CPG  แล้วก็ Consult  โดยส่ง Fax ไป Consult  หมอก็ตอบมาเลยว่า “เตรียมคนไข้แบบนี้ๆ  พบแพทย์คนนี้”  คือมันจะเป็นเหมือนแบบ Seamless เลย  เหมือน Consult ระหว่างแผนกแล้วคนไข้ได้ไปเลย  เมื่อคนไข้กลับมาก็ Impression ดี  แล้วก็รอถึงคนไข้คนสุดท้ายด้วย  กลับมาพร้อมกันทั้งหมด

 

           การเหมารถ  เริ่มต้นมีงบประมาณให้  และมีคลินิกต่อคือคลินิกตา  Cataract ที่ต้องส่งคนไข้ไปผ่าตา  า เราก็จะถูกโจมตีว่าเป็นเด็กเส้น  เพราะเราล๊อคได้เลยว่า  เดือนนี้จะมี ๕ คนที่ได้ผ่าหมอนกกล่าว  แต่ก่อนนัดเป็นเดือนๆ  นัดไม่ต่ำกว่า ๕ ครั้งเดี๋ยวนี้ล๊อคคิวได้เลย  นอกเหนือจากคลินิกตาก็คือ Emergency  กลุ่ม Dyspepsia  คนไข้ TB  คนไข้ loss น้อยมาก

 

            การนัดคนไข้ตาเมื่อเป็นระบบก็จะนัดกับหมอตาเลย  แล้วแต่ทีมดวก    มีการเชิญหมอตาเข้ามาสอนเจ้าหน้าที่  ฝึกความชำนาญให้เขาประเมินได้เบื้องต้น เพื่อให้คนไข้สมควรได้รับการตรวจกับหมอตาจริงๆ   จน รพ.ศรีสะเกษ เกิดเชื่อมั่นว่ารูปแบบนี้ทำให้ภาระงานของเขาลดลงจริงๆ  เขาก็เริ่มขานรับ   เริ่มบอก รพ.อื่น  รพ.ศรีสะเกษ ก็ลดความแออัดของคนไข้ได้เยอะพอสมควร  เขาก็เริ่มไม่รำคาญ   ถ้าหากส่งคนไข้ Dyspepsia ไปถ้าไม่ใช่ Tack ก็ต้องตรวจคัดกรองคนไข้และรักษาเบื้องต้นก่อน  เมื่อนัด F/U ก็นัดหลายรอบ    ถึงจะส่ง Investigation    แต่ตอนนี้ก็เชื่อมโยงกันโดยใช้ CPG และให้ Information ไป

 

การดำเนินกิจกรรม 

             ผู้ป่วยที่นัด  แจ้งรายชื่อ  รพ.จะ Fax รายชื่อไปยัง รพ.ศก  รถใช้เวลาเดินทางประมาณ  ๑  ชั่วโมง เมื่อคนไข้ไปถึงบัตรก็ได้แล้ว  ซึ่ง ศก  เองก็จะรู้ว่าวันพุธเป็นคนไข้นัดจาก  ขุนหาญ

 

บริการรถบัส

    -  เดือนละ 1 ครั้ง  ในวันพุธ

 

ประโยชน์ที่ได้รับ

  1. ซึ่งช่วยให้ รพ.ศก ได้เรื่องระบบลดความแออัด
  2. ผู้ป่วยได้รับการดูแลจริงๆ
  3. เจ้าหน้าที่รู้สึกภาคภูมิใจ  เกิดความเชื่อมั่นในตัวเอง
  4. ผู้ป่วยในพื้นที่เริ่มคุ้นเคย  ไม่มีปัญหาเรื่องการเดินทางว่าจะไปอย่างไร  มาอย่างไร
  5. ได้กลุ่มเหมารถ  คือ กลุ่มที่พอมีตังส์จะเหมารถ  รพ.ก็ประหยัดเงินไปมาก  ช่วงหลังงบประมาณสนับสนุนไม่มี  คนไข้ช่วยกันเอง  คนมีตังส์ก็ให้เที่ยวละ ๘๐ บาท  คนไม่มีก็ไม่ต้องจ่าย  คนมีเยอะก็ให้เยอะ  เงินจึงอยู่ได้ด้วยตัวมันเอง  การจ้างเหมารถก็ contact กับรถบัส  ไปสัปดาห์ละครั้ง

 

การต่อยอดกิจกรรม

       -  มีจิตอาสา คนไข้ HIV ที่มองเห็นก็ขอมาร่วมดูแล  คนไข้ที่ดูแลตัวเองไม่ได้หรือไม่มีญาติ  จิตอาสากลุ่มนี้ก็จะเป็นคนพาไป

       -  เมื่อคนไข้ตรวจที่ PCU ก็ไม่ต้องมา รพช.  ออกใบ Refer ไป ศรีสะเกษ ได้เลย  แพทย์ตรวจคัดกรองตรงนั้นแล้วนัดเข้ารถบัสแล้วไปตามนัดได้เลย  จะข้าม Fast tack ของ สอ.ไป ศรีสะเกษ  แล้วรวมถึงการนัดหมายของ ศรีสะเกษด้วย

       -  คนไข้ที่กลับมาไม่ได้  ก็จะให้กลับมาพร้อมด้วย  รพ.ก็ไม่ต้องเสียเที่ยวให้รถไปรับ  ซึงเป็นระบบที่ทุกคนรับรู้

       -  เป็นโมเดลของการ Refer ให้กับ รพ.อื่นๆใน ศรีสะเกษ

       -  เป็นตัวอย่างในการส่ง Fax ข้อมูลผู้ป่วย  ในระบบ Consult.

 

             หลังจากนั้นก็คืนข้อมูลให้ชุมชน  “คือใจอยากให้ อบต.เป็นคนดูแล”   ก็ขายไอเดียให้กับ อบต.ต่อ ซึ่งมันสอดคล้องกับการพัฒนา PCU ที่กำลังพัฒนาอยู่    ตอนนี้คนไข้ก็เริ่มเชื่อมั่นสถานีอนามัย หรือ รพ.สต มากขึ้น นายก อบต.ก็เริ่มสนใจว่า  อบต.จะมีส่วนสนับสนุนอย่างไร  ที่จะทำให้คนไข้ให้ลดความแออัดในโรงพยาบาลชุมชนได้  ให้ไปตรวจที่สถานีอนามัย  แล้วมีบางส่วนที่เป็นกลุ่มใหญ่ค่อยส่งมาได้มั้ย  ก็เริ่มแชร์ไอเดียกัน  ตอนนี้ อบต.ก็อยากช่วยเรื่องการส่งต่อผู้ป่วยจากพื้นที่ไป รพ.อุบลฯ  ส่งไปอุบลฯไม่ได้  ได้เพียงแค่ ศรีสะเกษ  แต่ ศรีสะเกษที่กลับมาจากอุบลฯก็จะมีการส่งไปที่สถานีอนามัย

 

จุดแข็ง

       -  พูดคุยประเด็นที่เป็นปัญหาให้เขาเข้าใจให้ได้

       -  มีการพูดคุยกันบ่อยเรื่อง Refer  อยู่แล้ว  ทำให้ทีมได้พูดคุยกันเรื่อยๆ

 

ข้อดีที่พบ

       -  เจ้าหน้าที่ภูมิใจ  เชื่อมั่นตัวเอง  ก็เริ่มอยากทำโน่น อยากทำนี่ 

       -  ไม่ใช่แค่เรื่องการดูแลรักษาคนไข้อย่างเดียว  คนไข้ไปติดต่อประกันสังคมก็ใช้บริการรถบัส  ก็เป็นเบ็ดเสร็จอย่างหนึ่ง

       -  ปัญหาทุกอย่างถ้าตั้งใจแก้ปัญหาร่วมกันมันก็ง่ายขึ้นไม่ยุ่งยาก

       -  คนไข้เริ่มเชื่อมั่นและเข้ามารับบริการที่ PCU  เพราะใช้มาตรฐานเดียวกันและดูแลร่วมกัน  พูดคุยกัน  จะใช้โทรศัพท์ติดต่อพูดคุยกัน

 

ข้อเสนอแนะ

       -  ปัญหามีมากในช่วงเริ่มต้น  ต้องจับ Lead Team ในการพูดคุยให้ได้  ขุนหาญเริ่มต้นด้วยการพูดคุยกับหัวหน้าเวชกรรมสังคมที่รู้จักเป็นการส่วนตัว

       -  เมื่อมีปัญหาก็จะรีบเคลียร์ทันที  ปัญหาเรื่องตาก็จะพูดคุยกับหมอตาเลย

       -  ให้เขามั่นใจว่า  “เราส่งมอบงานดีๆให้เขา”

       -  เมื่อมีปัญหาถ้าเข้าช่องทางปกติไม่ได้  ก็จะหาช่องทางในกลุ่มที่มี Power  และมีอำนาจในเรื่องการประสานเข้ามาช่วย

 

สิ่งที่ได้จากการเรียนรู้

       -  การเอาจริง  เอาจังในการแก้ไขปัญหา  อย่างตั้งใจ

       -  การคืนข้อมูลให้กับชุมชน  ให้ชุมชนเห็นว่าเป็นปัญหาของชุมชนจริงๆ  และชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม

       -  การหา "คนสำคัญ"  หรือ key man แต่ละด้าน

       -  การพูดคุย  การสื่อสาร

 

ขอบคุณ  พญ.รัชฎาพร  รุญเจริญ  ผู้อำนวยการโรงพยาบาลขุนหาญ  จังหวัดศรีสะเกษ  ที่นำเรื่องราวดีๆ  มาแบ่งปันกันค่ะ

๑  เมษายน  ๒๕๕๔

คำสำคัญ (Tags): #Primary Health Care
หมายเลขบันทึก: 433758เขียนเมื่อ 2 เมษายน 2011 02:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (16)

สวัสดีครับ น้องน้ำชา

รถเมล์สุขภาพ กับระบบสุข การ รีเฟอร์ และของฝากจาก รพ.จังหวัด เป็นของที่ รพ.อำเภอได้รับเป็นประจำ มีบางครั้ง พัทลุง  หาดใหญ่ ไม่รับ ต้องส่งข้ามจังหวัด ไปตรัง ไปนคร ก็ยังมี ที่ปากพะยูน

(ขอบคุณเรื่องเล่าดีๆที่นำมาแบ่งปันให้เกิดกำลังใจ

คนที่เคยทำงานที่อำเภอขุนหาญ

ดีมากเลยครับ

ผมเคยทำงานในท้องที่ของอำเภอขุนหาญ ตั้งแต่สมัยคุณหมอประวิ เป็นผอ.รพ.รู้สึกดีใจและมีความสุขกับคนขุนหาญครับที่มีคุณหมอที่ทุ่มเททำงาน คิดและช่วยแก้ปัญหาให้คนขุนหาญ แนวคิดนี้น่าจะขยายออกไปสู่สถานีอนามัยและหน่วยบริการสุขภาพอื่นๆ ทั่วไทยนะครับ

ยังไงก็ขอเป็นกำลังใจให้คุณหมอนะครับ เจ้าหน้าที่ทุกคนด้วยนะครับ 

คนทำงานและการทำงานกับคนก็เป็นกันอย่างนี้แหละ หมอเจอปัญหาแล้วคิดหาทางแก้ปัญหาได้คุณหมอนเป็นคนเก่งครับ 

 

สวัสดีค่ะ  ท่านวอญ่า-ผู้เฒ่า-natachoei--

ถ้าเราไม่นึกถึงคนไข้  พวกเราคงได้เสวนากลับไปบ้าง  คนเป็นอย่างนี้จริงๆทั้งๆที่ระบบดีๆก็เป็นร่วมกันตั้งขึ้นมา  แต่พอเอาเข้าจริง  ข้อตกลงเป็นเพียงสิ่งที่เขียนไว้ในกระดาษเฉยๆ

ขอบคุณค่ะ  ด้วยความระลึกถึงและห่วงใยพี่น้องชาวใต้กับปัญหาอุทกภัยที่กำลังประสบค่ะ  ติดตามดูจากภาพข่าวทุกวัน  คงจะต้องเยียวยากันอีกค่ะ

สวัสดีค่ะ  คนที่เคยทำงานที่อำเภอขุนหาญ

นี่เป็นเสียงรับรองจากประชาชนในพื้นที่จริงๆ  ว่าสิ่งที่โรงพยาบาลทำ  กับผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับชาวขุนหาญ

และจากงานที่ทำ  ทำให้เจ้าหน้าที่เองมีความเชื่อมั่น  และเห็นสิ่งที่ทำมีคุณค่า จึงอยากทำนี่  อยากทำนั่น  หลายๆสิ่งตามมา

และนี่เมื่อหลายๆคนได้ฟังก็สามารถนำ รูปแบบของรถเมล์สุขภาพ  ไปต่อยอดการให้บริการในแต่ละพื้นที่ได้ในเรื่องการแก้ไขปัญหาการส่งต่อผู้ป่วยค่ะ

ขอบคุณมากค่ะที่เข้ามาร่วมแบ่งปัน

  • สวัสดีครับ คุณnamsha
  • แวะมาทักทาย รับความรู้ ดีๆ เกี่ยวกับการส่งเสริมการดูแลสุขภาพครับผม

เรื่องดี เช่นนำมาเล่าต่อนะจ๊ะ namsha

ขอบคุณค่ะ  อ. ฐานิศวร์ ผลเจริญ  ที่แวะมาให้กำลังใจกัน

 

สวัสดีค่ะ  พี่✿อุ้มบุญ✿  สัญญาค่ะ  ว่าจะนำมาเล่าอีก  แต่อาจจะช้าหน่อยค่ะ

  • สวัสดีค่ะ
  • ช่วงนี้ไม่ค่อยได้แวะมาทักทายกัลยาณมิตร.... แต่ยังระลึกถึงกันเหมือนเดิมค่ะ....  แล้วพี่น้ำชาสบายดีนะค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ

                               

สวัสดีค่ะ  น้องนกบุษรา

เช่นกันค่ะน้องนก  เวลามี ๒๔ ชม.เท่ากันทุกวัน  แต่เวลาเราหายไปไหนนะ เหมือนเรามีเวลาน้อยจังเลย

น้องนกคงสบายดีเช่นกันนะคะ

คิดถึงเสมอค่ะ

ยินดี..กับคนไข้ที่นั่นได้มีโอกาสดีดี

สวัสดีค่ะน้องน้ำ

  • พี่มาเติมแรงใจค่ะ
  • มีความสุขทุกวันนะคะ

ขอบคุณค่ะ  คุณOraphan

น่ายินดีกับคนไข้ที่นั่นจริงๆค่ะ ลองนั่งนึกดูซิคะว่า  อยู่ๆมีรถเมล์คันใหญ่โตวิ่งเข้าโรงพยาบาลบรรทุกผู้ป่วยและญาติทั้งคันรถ  ที่เดินทางมาแสนไกล  การได้รับโอกาสเช่นนี้หาได้ยากจริงๆค่ะ  ใครจะคิดว่า  มีคนคิดเหมารถเมล์พาคนไข้มาโรงพยาบาล  สุดยอดจริงๆค่ะ

ขอบคุณค่ะ  พี่นาง(คุณยาย)

แค่เห็นพี่นางทุกวันก็ดีใจแล้วค่ะ

น้องน้ำชาเป็นไงบ้างคะ กำลังซุ่มเงียบทำการบ้านหรอคะ

สวัสดีค่ะพี่นาง

ใกล้แล้วค่ะ  อย่างเร่งรีบ  เพราะไปอ่านมาหลายบันทึก  หลักๆจะเป็นของ ภก.แกะดำ  และของแม่ต้อยค่ะ  เช้านี้กำลังทบทวนอีกครั้ง  คาดว่าภายในวันนี้จะขึ้นบันทึกได้

อ่านแล้วรู้สึกชื่นชม  และสุขใจแทนชาวอุบลรัตน์จังเลยค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท