โรจน์
นาย โรจนศักดิ์ ทองคำเจริญ

ประชุมกัลยาณมิตร ร่วมคิดร่วมทำ (ทัศนคติของชุมชน) ตอนที่ 1


สวัสดีครับ เมื่อวันพุธที่ผ่านมาพวกเราทีมกัลยาณมิตร นัดคุยกันหลังจากที่ไม่ได้คุยกันแบบนี้มาเป็นปี เนื้อหาตอนก่อนๆ อาจลองอ่านข้างล่างนี้ครับ

สุนทรียสนทนา...ว่าด้วยระบบการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่พึงประสงค์ ตอนที่ 1

สุนทรียสนทนา...ว่าด้วยระบบการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่พึงประสงค์ ตอนที่ 2

สุนทรียสนทนา...ว่าด้วยระบบการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่พึงประสงค์ ตอนที่ 3...AAR

ประชุมกำหนดวิสัยทัศน์ "ทีมกัลยาณมิตร"

เพื่อนร่วมประชุมวันนี้คงเป็นคนหน้าเดิมๆ บวกกับผู้สนใจในจำนวนนั้นมีพี่พนิดาหัวหน้าฝ่ายการพยาบาลคนใหม่เข้ามาร่วมสังเกตการณ์ด้วย(คุณพยาบาลคนกลางที่รูปหลับตา..แต่พี่ไม่ได้หลับนะครับ อิอิ) ผมทำหน้าที่เป็น facillitator อรัมภบทสั้นๆ ถึงอดีตการก่อตั้งทีมตั้งแต่ปี 47 ถึงปัจจุบัน

เรื่องปัญหาอุปสรรค: คล้ายๆ เดิมคือเวลาน้อย สถานที่ไม่อำนวย และ ทักษะการสื่อสารที่ยังเป็นเรื่องที่ยาก แต่ตั้งแต่มี team กัลยาณมิตรเป็นที่ปรึกษา พื้นที่เริ่มจ้ดการปัญหาตัวเองได้อย่างมั่นใจมากขึ้น ใน ward ที่พื้นที่อำนวย พบว่าเริ่มดูแลผู้ป่วยได้มากขึ้นโดยที่ไม่ต้อง consult team ในปัจจุบัน

 

ทัศนคติของชุมชนต่อการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย: ผมได้ยินสิ่งที่ไม่เคยนึกถึงมาก่อน จิตอาสาท่านหนึ่งบอกว่า

"ในชุมชนเขาเข้าใจกันว่า ผู้ป่วยระยะสุดท้ายคือ ผู้ป่วยที่หมอไม่ดูแล และให้กลับมาตายบ้าน"

"ทีมกัลยาณมิตรเป็นทีมที่ดี ทีมไปญาติก็อุ่นใจ แต่ก็อดมีคนนอกมองไม่ได้ว่า ไหนว่าใกล้ตาย แล้วทำไมอยู่กันเป็นเดือน ใกล้ตายจริงๆ ส่งหมอมาดูทำไม ทำไมไม่เอาไปนอน รพ."

พอได้ฟังอย่างนี้ ผมก็เลยสะท้อนกับวงไปว่า

"จะเห็นได้ว่า บุคคลากรการแพทย์ละทิ้งผู้ป่วยกลุ่มนี้มานาน จนเป็นรื่องที่ชาวบ้าน เห็นกันจนชินตาและ ออกมาเป็นท่อยคำสองประโยคข้างบน"

ป้าสิริพร เสื้อชมพู ตอบผมว่า

"ทีมหมอทำดีแล้ว สิ่งที่เห็นคือจิตอาสาที่ตามหมอไปดูคนไข้ เริ่มเข้าใจและ เริ่มเอาทักษะไปดูแลคนในชุมชน แม่สามีป้าอายุ 90 กว่า ป้าก็ได้วิธีคุยจากทีม ไปใช้ช่วยได้มาก"

ผมเห็นโอกาสเลยได้บอกไปว่า

"เราโชคดีมากที่จิตอาสา มีจิตใจที่ดีและผมคิดว่าลุงๆ ป้าๆ คือคนที่จะช่วยประชาสัมพันธ์มิติใหม่ในการดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้ให้กับสังคมได้รับรู้รับทราบ"

เห็นได้เลยว่า เมื่อทัศนคติเป็นเช่นนี้ สิ่งที่จะแก้ไขได้คือ ปรับเปลี่ยนการดูแลใหม่ให้ชาวบ้านเห็นว่าการดูแลแบบประคับประคองช่วยคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้นได้ยังไง ช่วยให้ รพ.มีภาพพจน์อย่างไรในสายตาผู้คนที่มองเข้ามา

ขอจบตอนแค่นี้ก่อนนะครับง่วงนอนแล้ว

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 433725เขียนเมื่อ 1 เมษายน 2011 21:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:40 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ขอบคุณสำหรับบันทึกคะพี่โรจน์

ทัศนคติของชุมชนต่อ Palliative care ว่าแพทย์กับผู้ป่วยระยะสุดท้ายเป็นเส้นขนาน

น่าสนใจคะ

อาจจะเป็นเพราะอดีตแนวคิดเดิมที่รักษาเพื่อหาย มากกว่า เน้นดูแลเพื่อคุณภาพชีวิต ก็เลยเป็นอย่างที่เห็น

จิตอาสาของแม่สอดเป็น great asset จริงๆ ดูจากพลังคนที่มางานตอนผมไปนั้น เหลือเฟือมากเลย

ใช้ครับ อาจารย์สกล ขอบคุณอาจารย์ที่มาเติมไฟให้กับทีมผมจนไฟลุกท่วม รพ. อิอิ โชดช่วงดังนก phoenix ที่ไม่มีวันตาย burn to learn ใช่ไหมครับอาจารย์

มาขออนุญาตเอาบทความดีๆไปลงหนังสือเครือข่าย MS-PCARE ในหัวข้อ community pallitive care นะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท