สิทธ
นาย สิทธิชัย สิทธ ช่วยสงค์

การอบรมเกษตรหมู่บ้าน ปี ๒๕๕๔


เกษตรหมู่บ้านอำเภอกาญจนดิษฐ์ ๑๑๗ หมู่บ้าน

โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการงานส่งเสริมการเกษตร  ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔

กิจกรรม พัฒนาศักยภาพเกษตรหมู่บ้าน

วันที่  ๑๗  มีนาคม  ๒๕๕๔

ณ  สหกรณ์การเกษตรเมืองกาญจนดิษฐ์    จังหวัดสุราษฏร์ธานี

 

     ด้วยสำนักงานเกษตรอำเภอกาญจนดิษฐ์   ได้รับอนุมัติโครงการดังกล่าวฯ   จากสำนักงานเกษตรจังหวัดสุราษฎร์ธานี  กรมส่งเสริมการเกษตร ปีงบประมาณ  ๒๕๕๔   โดยมีเป้าหมายเกษตรหมู่บ้าน จำนวน ๑๑๕ ราย  ซึ่งทางสำนักงานเกษตรอำเภอกาญจนดิษฐ์  ได้ประชุมชี้แจงเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรอำเภอกาญจนดิษฐ์ และได้ร่วมกันวางแผนการจัดการอบรมเกษตรหมู่บ้าน กำหนดวันที่ ๑๗ มีนาคม ๒๕๕๔  ณ สหกรณ์การเกษตรเมืองกาญจนดิษฐ์ และได้ดำเนินการขออนุมัติการจัดการฝึกอบรมโดยได้รับการจัดสรร งบประมาณ จำนวน ๒๓,๐๐๐ บาท ดังนี้

๑. เอกสารการอบรม           ๓,๔๕๐    บาท   

๒. ค่าพาหนะเกษตรกร       ๘,๐๕๐     บาท

๓. ค่าอาหารและเครื่องดื่ม  ๑๑,๕๐๐     บาท

                   รวม  ๒๓,๐๐๐ บาท

               และได้ดำเนินการจัดอบรมเกษตรหมู่บ้าน  ในวันที่ ๑๗ มีนาคม ๒๕๕๔  รายละเอียด ดังนี้

เวลา ๐๘.๓๐ น.        เกษตรหมู่บ้านผู้เข้าร่วมโครงการดังกล่าว   เริ่มทยอยมาลงทะเบียน    พร้อมรับเอกสาร ประกอบด้วย เอกสารการประกอบการฝึกอบรมเกษตรหมู่บ้าน  พร้อมปากกา  1 ด้าม โดยมีเกษตรหมู่บ้านเข้าร่วม จำนวน ๑๑๕ ราย  (ปัจจุบันอำเภอกาญจนดิษฐ์ มีทั้งหมด ๑๑๗  หมู่บ้าน)


เกษตรหมู่บ้าน ลงทะเบียน

               ชี้แจง โครงการ                       เกษตรหมู่บ้านกาญจนดิษฐ์

เวลา  ๐๙.๓๐  น.      นายยงยุทธ  กุลทอง  เกษตรอำเภอกาญจนดิษฐ์ คนใหม่ (ตำแหน่งเกษตรอำเภอชำนาญการพิเศษ) ได้รับมอบหมายจากนายอำเภอกาญจนดิษฐ์ นายสนิท  ศรีวิหค ซึ่งติดราชการ   ให้เป็นประธานในการเปิดการอบรมกิจกรรมฯดังกล่าว โดยเน้นให้กำลังใจกับเกษตรหมู่บ้านที่ได้ร่วมกันทำงานด้วยความสมัครใจ ทั้งๆ ที่ไม่ได้รับผลตอบแทน หรือผลประโยชน์แต่อย่างใด  และได้แนะนำตัว และได้เล่าประวัติตนเอง  ประวัติการทำงาน และได้ชี้แจงโครงการฯ ดังกล่าว และให้ความรู้ในเรื่อง บทบาทหน้าที่ของเกษตรหมู่บ้าน  คุณสมบัติของเกษตรหมู่บ้าน และได้ประชาสัมพันธ์ เชิญร่วมงาน คลินิกเกษตรเคลื่อนที่ในพระราชานุเคราะห์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร วันที่ ๒๙ มีนาคม ๒๕๕๔  ณ เทศบาลตำบลช้างซ้าย หมู่ที่ ๑๑ ตำบลช้างซ้าย  อำเภอกาญจนดิษฐ์  จังหวัดสุราษฏร์ธานี 

นายยงยุทธ  กุลทอง เกษตรอำเภอกาญจนดิษฐ์

เป็นประธานเปิดการอบรม

เวลา ๑๐.๓๐ น.        นายสิทธิชัย  ช่วยสงค์  ผู้รับผิดชอบโครงการฯ ดังกล่าว ในระดับอำเภอกาญจนดิษฐ์  ได้เชิญวิทยากร ดังนี้

๑. นายชรินทร์  ประพฤติตรง  หัวหน้าฝ่ายยุทธศาตร์และสารสนเทศ  ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับบทบาทและหน้าที่ในการวางแผนพัฒนาด้านการเกษตร  โดยได้เน้นเรื่อง การจัดทำแผนพัฒนาการเกษตรระดับตำบล ร่วมกับการจัดทำแผนชุมชน  ให้คำถึงปัญหาด้านการเกษตรเป็นหลัก  เรื่องสภาเกษตรกร โดยเน้นตัวแทนภาคการเกษตรของแต่ละหมู่บ้าน โดยทางกระทรวงเกษตรและสหกรณ์  ได้พยายามเน้นให้มีตัวแทนภาคการเกษตรของแต่ละหมู่บ้าน เป็นเพียงคนๆ เดียว เพื่อให้มีศักยภาพในการทำงานได้ดีขึ้น  และเน้นเรื่องงานศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล เป็นหลัก

นายชรินทร์  ประพฤติตรง  ร่วมให้ความรู้

๒. นายจรัล  รอดศรีนาค        นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดทำแผนพัฒนาการเกษตรแบบมีส่วนร่วม


นายจรัล  รอดศรีนาค  ร่วมให้ความรู้

เวลา  ๑๒.๐๐  น.  ร่วมรับประทานอาหารกลางวัน 

เวลา  ๑๓.๐๐  น.  นายสมชาย  นิลอนันต์  จากศูนย์เรียนรู้อันเนื่องมาจากพระราชดำริอำเภอกาญจนดิษฐ์  บ้านโค๊ะ  หมู่ที่ ๑  ตำบลช้างขวา อำเภอกาญจนดิษฐ์ ได้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยเล่าประสบการณ์ และกิจกรรมในศูนย์ฯ ดังกล่าว ซึ่งได้ทำการเกษตรแบบไร่นาสวนผสม (เกษตรทฤษฎีใหม่)  โดยมีสระน้ำขนาด ๒ ไร่ ๑ งาน  มีการทำการเกษตรแบบไร่นาสวนผสม ได้แก่ ทำนาข้าว  เลี้ยงปลาดุกในร่องสวน  ปลูกไม้ยืนต้น กระถินเทพา  ฮอกกานี  มังคุด  ชมพู่  พืชผักในร่องสวน ปลูกแฝกในร่องสวน  การเลี้ยงปลาในกระชัง  การเลี้ยงหมูหลุม  การทำปุ๋ยหมักและน้ำหมักชีวภาพ โดยเน้นคำนึงถึงการรักษาสมดุลของธรรมชาติ และทำให้เกิดรายได้ และได้มีการพัฒนาเป็นจุดเรียนรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรที่มีเกษตรกรผู้สนใจ  เจ้าหน้าที่  และสื่อมวลชน เข้ามาศึกษาดูงาน สามารถนำไปขยายผลได้ในระดับที่น่าพอใจมาก

คุณสมชาย  นิลอนันต์ ให้ความรู้ เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง

เวลา  ๑๓.๓๐  น.  นายสิทธิชัย  ช่วยสงค์  ผู้รับผิดชอบโครงการฯ ดังกล่าว ในระดับอำเภอกาญจนดิษฐ์  ได้ให้ความรู้ เกี่ยวกับศูนย์เรียนรู้การเกษตรพอเพียง ของอำเภอกาญจนดิษฐ์  ได้แก่

ศูนย์ฯ หลัก     จำนวน ๑  ศูนย์  ที่อยู่ ๑๐๑ ม.๑ ต.ช้างขวา  อ.กาญจนดิษฐ์

          กิจกรรมภายในศูนย์ฯ  ได้แก่

                   ๑. การปลูกผักปลอดสารพิษ เช่น  แตงกวา , ชะอม , ถั่วฝักยาว  เป็นต้น

                   ๒. การเลี้ยงกบและปลาในร่องสวน

                   ๓. การเลี้ยงสัตว์ (เป็ด , หมูหลุม , โค)

                   ๔.  การทำนาแบบเกษตรอินทรีย์


นายสิทธิชัย ช่วยสงค์ ให้ความรู้เกี่ยวกับ

ศูนย์เรียนรู้การเกษตรพอเพียง อ.กาญจนดิษฐ์

ศูนย์ฯ เครือข่าย         จำนวน ๒  ศูนย์  ได้แก่

๑. ศูนย์ฯ เครือข่ายตำบลท่าอุแท   ที่อยู่ ๒๑๒/๑ ม.๘ ต.ท่าอุแท  อ.กาญจนดิษฐ์

กิจกรรมภายในศูนย์ฯ  ได้แก่

                   ๑. การปลูกผักปลอดสารพิษเช่น  แตงกวา , ชะอม , คะน้า  เป็นต้น

                   ๒. การเลี้ยงปลาแบบธรรมชาติ

                   ๓. การเลี้ยงโค

                   ๔.  การทำปุ๋ยหมัก และน้ำหมักชีวภาพ

๒. ศูนย์ฯ เครือข่ายตำบลกรูด  ที่อยู่  ๑ ฟาร์ม ๑ ตำบล  ม.๗ ต.กรูด  อ.กาญจนดิษฐ์

กิจกรรมภายในศูนย์ฯ  ได้แก่

                   ๑. การปลูกปาล์มน้ำมัน

                   ๒. การปลูกผักปลอดสารพิษ   เช่น  แตงกวา , ถั่วฝักยาวา  เป็นต้น

                   ๓. การเลี้ยงปลาแบบธรรมชาติ

                   ๔.  การผลิตปุ๋ยอินทรีย์น้ำ และสารสกัดป้องกันกำจัดแมลง

เวลา  ๑๔.๓๐  น.  เจ้าหน้าที่จากสำนักงานเกษตรอำเภอกาญจนดิษฐ์  ได้ร่วมกันจัดกระบวนการเรียนรู้ในเรื่อง แนวทางการบูรณาการจัดทำแผนพัฒนาการเกษตรระดับตำบลกับแผนพัฒนาท้องถิ่น   โดยมีขั้นตอนการดำเนินการ ดังนี้

๑. การศึกษานโยบายทิศทางการพัฒนา และการสำรวจข้อมูลพื้นฐาน เช่น ทบทวนแผนพัฒนาการเกษตร ปี ๒๕๕๓-๒๕๕๕  โดยการวิเคราะห์โครงการที่ยังไม่ได้นำมาปฏิบัติ และจำเป็นที่จะต้องดำเนินการ


คุณธเรศ  ไข่มุกข์  และคุณวีระ  พร้อมมูล  ร่วมให้ความรู้

การจัดทำแผนพัฒนาการเกษตรแบบมีส่วนร่วม

๒. วิเคราะห์ข้อมูล เช่น มีการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมโดยการใช้ SWOT

    ๒.๑ วิเคราะห์จุดแข็งหรือข้อได้เปรียบ

    ๒.๒ วิเคราะห์จุดอ่อนหรือข้อเสียเปรียบ

    ๒.๓ วิเคราะห์โอกาสที่จะดำเนินการได้

    ๒.๔ วิเคราะห์อุปสรรค ข้อจำกัด หรือปัจจัยที่คุกคามการดำเนินงานขององค์การ

๓. การกำหนดโครงการ และกิจกรรม เช่น ควรเป็นโครงการที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของการพัฒนาท้องถิ่น  เน้นการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น  และยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง  เป็นต้น

๔. การจัดทำแผนพัฒนาการเกษตรระดับหมู่บ้าน และการเสนอแผน ต่อคณะกรรมการพัฒนาท้องถิ่น  องค์การบริหารส่วนตำบล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  เป็นต้น

และได้ให้เกษตรหมู่บ้านซักถามปัญหาข้อสงสัยและเสนอแนะ

เวลา  ๑๖.๐๐  น.  นายยงยุทธ  กุลทอง  เกษตรอำเภอกาญจนดิษฐ์ ได้กล่าวปิดการจัดการอบรมกิจกรรมพัฒนาศักยภาพเกษตรหมู่บ้าน  ตามโครงการฯ ดังกล่าว และขอขอบคุณเกษตรหมู่บ้านทุกคนที่ได้ให้ความร่วมมือร่วมใจกันเป็นอย่างดี ขอให้ทุกคนเดินทางกลับบ้านโดยสวัสดิภาพ

นายยงยุทธ  กุลทอง  เกษตรอำเภอกาญจนดิษฐ์

กล่าวปิดการอบรม ตามโครงการฯ ดังกล่าว

 

สรุปผลการอบรมเกษตรหมู่บ้าน/นำไปใช้ 

๑. มีความรู้  ความเข้าใจ เกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของเกษตรหมู่บ้าน

๒. ได้ร่วมกระบวนการเรียนรู้เกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง และเรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวกับการเกษตรและแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง

๓. มีส่วนร่วมในการเรียนร่วมกัน  ก่อให้เกิดความสามัคคี

๔. มีความรู้  ความเข้าใจ เกี่ยวกับแนวทางในการจัดทำแผนพัฒนาการเกษตร

 

 

    นายสิทธิชัย  ช่วยสงค์ 

       นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ

     สำนักงานเกษตรอำเภอกาญจนดิษฐ์

 โทร. ๐๘-๙๙๖๓-๓๐๗๘, ๐๗-๗๓๗๙-๐๑๓

  ๑ เมษายน  ๒๕๕๔

หมายเลขบันทึก: 433713เขียนเมื่อ 1 เมษายน 2011 19:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:40 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • ได้เกษตรอำเภอคนใหม่แล้ว ลุยต่อกันเลย
  • ถ้ามีโอกาส เวลา จะเข้าไปร่วมต่อยอด คับ

การอบรมเกษตรหมู่บ้าน วันที่ 18 พ.ค 54 สำนักงานเกษตรอำเภอสีคิ้ว และอาสาสมัครเกษตร5หมอด้วย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท