Dementia จะฟื้นสภาพด้วยกิจกรรมอะไร


ประทับใจความมุ่งมั่นในการพัฒนาโปรแกรมฟื้นสภาพคุณภาพชีวิตโดยการบำบัดด้วยกิจกรรมที่มีความหมายต่อชีวิตกับทีมงาน http://www.kronuscare.com/services/care-rehabilitation

ดร. ป๊อป ขอสรุปการบำบัดด้วยกิจกรรม (Activities Therapy) โดยเน้นการสื่อสารด้วยภาษาท่าทางที่ง่าย มีขั้นตอนเดียว และเรียนรู้ซ้ำๆ เป็นจังหวะช้าๆ ทั้งนี้ผู้บำบัดวิเคราะห์ให้ผู้รับบริการมีการรับรู้ 10 ขั้นตอนจากหนึ่งกิจกรรมจากง่ายสู่ยากให้เกิดความคิดความเข้าใจแบบ Metacognition คือ เข้าใจได้ทันที ตัดสินได้ทันที แก้ไขปัญหาได้ทันที และเข้าใจความรู้สึก (Feeling) ผ่านการคิด (Thinking) ว่า "กิจกรรมนี้มีความสำคัญอย่างไรเปรียบเทียบก่อนและหลังทำกิจกรรม จากคะแนน 0-10" และกิจกรรมนี้มีความสุข/พึงพอใจอย่างไรเปรียบเทียนก่อนและหลังทำกิจกรรม จากคะแนน 0-10" หากได้คะแนนสองส่วน ให้นำมาคูณกันกลายเป็นค่าความหมายของกิจกรรมในชีวิต เต็ม 100% ก็ให้บันทึกไว้

จากการประเมินด้วยการสังเกตทางคลินิกในขณะทำกิจกรรมต่างๆ ที่มีความหมายในชีวิตนั้น ผู้บำบัดสามารถพิจารณาความก้าวหน้าของการเปลี่ยนแปลงความคิดความเข้าใจของผู้รับบริการได้ภายใน 3 อาทิตย์ เมื่อมีการจัดโปรแกรมที่หลากหลายตั้งแต่การกระตุ้นการรับความรู้สึกทีละอย่างจนถึงหลายอย่าง จนทำให้เกิดการรับรู้และเข้าใจการรับรู้นั้นอย่างต่อเนื่อง (Cognitive Stimulation) ทุกวันๆ ละ 45 นาที เมื่อมีการตอบสนองอย่างตั้งใจก็ให้มีการฝึกความคิดความเข้าใจ (Cognitive Training) ในความรู้สึกที่ชอบ (Sensory Preference จากตา หู จมูก ลิ้น กาย) อย่างน้อย 3 วันต่อสัปดาห์ นาน 3-6 สัปดาห์ ตามมาด้วยการบำบัดฟื้นฟูความคิดความเข้าใจ (Cognitive Rehabilitation) สู่กิจกรรมการดำเนินชีวิต เช่น การดูแลตนเอง การทำงาน การละเล่นและนันทนการ เป็นต้น

หากท่านใดสนใจ สามารถพิมพ์ "activities and dementia" ผ่าน google ได้ครับ

การฝึกความคิดความเข้าใจในการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตนั้น ควรมีการพัฒนาโปรแกรมระหว่างสหวิชาชีพ มีการปรึกษานักกิจกรรมบำบัดหรือผู้เชี่ยวชาญในการพัฒนาความสุขความสามารถในการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิต ซึ่งดูเพิ่มเติม/ต่อยอดได้จาก http://gotoknow.org/blog/otpop/371435 และ http://gotoknow.org/blog/otpop/385520 และสรุปได้ดังนี้

ความคิดความเข้าใจระดับที่ 1 (Automatic Cognition) - ฝึกการดูแลตนเองโดยผู้บำบัดช่วยเหลือผ่านสัมผัสและการเคลื่อนไหวร่างกายมากกว่า 50% ให้โอกาสหยิบจับอาหารด้วยนิ้วมือ มีการแยกแยะเสียง การสื่อสารด้วยภาษาท่าทาง-ภาพ-การเลียนแบบ

ความคิดความเข้าใจระดับที่ 2 (Postural Cognition) -  ฝึกการดูแลตนเองโดยผู้บำบัดช่วยเหลือผ่านสัมผัสและการเคลื่อนไหวร่างกายน้อยกว่า 50% ฝึกการย้ายตัวและการเคลื่อนไหวจากเก้าอี้ไปห้องน้ำและที่อื่นๆ ในระยะใกล้

ความคิดความเข้าใจระดับที่ 3 (Manual Cognition) - ฝึกหยิบจับอย่างง่าย ฝึกทำงานบ้านอย่างง่าย ฝึกใช้โทรศัพท์ ฝึกสื่อสารเป็นคำๆ ช้าๆ ฝึกการใช้เงิน

ความคิดความเข้าใจระดับที่ 4 (Goal directed Cognition) - ฝึกการดูแลตนเองอย่างมีคุณภาพ การทำครัว การแต่งกาย การโทรศัพท์และติดต่อสื่อสารที่หลากหลาย

ความคิดความเข้าใจระดับที่ 5 (Exploratory Cognition) - การทำกิจกรรมทางสังคมและการทำงานในหนึ่งสถานการณ์ เน้นที่บ้านและครอบครัว   

ความคิดความเข้าใจระดับที่ 6 (Planned Cognition) - การทำกิจกรรมทางสังคมและการทำงานในหลายสถานการณ์ เน้นสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงได้จากบ้าน-ครอบครัว กับชุมชน-คนอื่นๆ

ตัวอย่างการบำบัดด้วยกิจกรรม (มีรูปแบบหรือขั้นตอนจากผู้บำบัดมากกว่า 5 ใน 10 ข้อ)เพื่อพัฒนาสู่กิจกรรมบำบัดในการดูแลตนเอง การทำงาน การศึกษา การเข้าสังคม การใช้เวลาว่าง และการนอนหลับพักผ่อน (มีรูปแบบหรือขั้นตอนจากผู้บำบัดน้อยกว่า 5 ใน 10 ข้อ และผู้รับบริการคิดเข้าใจเองมากกว่า 5 ใน 10 ข้อ พร้อมฝึกทำกิจกรรมในสถานการณ์ชีวิตที่หลากหลายและท้าทายความสามารถแล้วก่อให้เกิดความสุข)

1. กิจกรรมล้างมือ-เช็ดมือด้วยผ้าแห้ง-ทาโลชั่น หลังมื้ออาหาร

2. กิจกรรมเล่นเกมส์บนโต๊ะ/กิจกรรมกีฬาบนโต๊ะ เช่น ปิงปอง ต่อคำศัพท์

3. กิจกรรมตามล่าซื้อของใช้ เริ่มจากการตัดแปะรายการสินค้าจากหนังสือพิมพ์แล้วมีการซื้อขายให้ได้มากที่สุดกับเงินกระดาษ

4. กิจกรรมกีฬานันทนาการ เช่น เล่นโบว์ลิ่ง เล่นเปตอง เต้นรำ ร้องเพลงประสานเสียง เล่นดนตรี ฯลฯ

5. กิจกรรมหัตถกรรม เช่น ถักหนึ่งลวดลายสู่การเพิ่มลายและขั้นตอนที่ละเอียดขึ้น การปั้นดิน การแกะสลักไม้ เป็นต้น

6. กิจกรรมจิตตปัญญา คิดเรียนรู้ใคร่ครวญด้วยการเปลี่ยนแปลงตัวเอง/คิดบวก ทำสมาธิ ฝึกนับเลขย้อนกลับ

7. กิจกรรมการนวดผ่อนคลาย การทำงานบ้าน การขัดเงาของใช้ การช่วยเหลือผู้อื่น ฯลฯ

8. กิจกรรมในสิ่งแวดล้อมที่หลากหลายความรู้สึกจากตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ

9. กิจกรรมการเรียนรู้ในชมรมต่างๆ

10. กิจกรรมที่ท้าทายในชีวิต เช่น ท่องเที่ยงในที่แปลกใหม่ ส่งเสียงแปลกๆ เป็นภาษาของตนเอง ทำกิจกรรมศิลปะแบบเด็กๆ

 

   

หมายเลขบันทึก: 433614เขียนเมื่อ 31 มีนาคม 2011 21:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:40 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
  • สวัสดีค่ะ
  • เป็น ๑๐ ข้อที่ทำได้ค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ

ขอบคุณครับคุณลำดวน

ขอบคุณมากครับคุณลูกหมูเต้นระบำ

ขอบคุณมากครับคุณโอชินและพี่โอ๋

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท