English & Thinglish 5: ไวยากรณ์ (๑)


คนที่ชอบแต่ของสำเร็จรูปพร้อมใช้ ไม่ชอบจำสูตรไปทำต่อเอาเอง ไม่ชอบครูภาษาอังกฤษและไม่ชอบภาษาอังกฤษอยู่แล้ว ก็จบข่าวได้เลย

          

         ไวยากรณ์คือเรื่องใหญ่ที่เป็นปัญหาอมตะของคนไทยซึ่งเติบโตมากับวัฒนธรรมมุขปาฐะและกับภาษาที่ไม่มีไวยากรณ์  เป็นเรื่องยากยิ่งที่คนไทยจะพูดหรือเขียนภาษาอังกฤษให้ได้สมบูรณ์แบบ  ถ้าจะมีข้อยกเว้น ก็คงมีเฉพาะผู้ที่ใช้ชีวิตและเรียนอยู่ในประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลักนานๆ หรือไม่ก็คนไม่ธรรมดาที่รู้จักกันในนามอัจฉริยบุคคลเท่านั้น

         เนื่องจากเรื่องนี้มีรายละเอียดมากมายมหาศาล ประกอบกับบันทึกนี้ไม่ใช่ตำราเรียนภาษาอังกฤษไม่ว่าสำหรับมือใหม่หรือเก่า  หัวข้อสำหรับอภิปรายและตัวอย่างจึงต้องเลือกมาเฉพาะที่พอจะใช้ชี้ให้เห็นปัญหาในการเรียนภาษาอังกฤษเท่านั้น  

          เรื่องแรกสุดคือเรื่องคำกริยา และคำกริยาคำแรกๆที่นักเรียนไทยรู้จักคือ verb to be,  verb to have,  และ  verb to do

           เราเริ่มเรียนกริยาสามตัวนี้ได้หลายวิธี  เช่น แนะนำให้รู้จักรูปของกริยาตาม Tense ต่างๆ ทุก Tense วิธีนี้ทำให้ต้องจดจำรูปและหลักการใช้จำนวนมากทันที มีแนวโน้มว่าจะทำให้ผู้เรียนยอมแพ้ตั้งแต่ยกแรก แม้แต่คนหัวดีก็ยังยากจะรับได้หมดทันที  ถ้าเป็นคนที่ชอบแต่ของสำเร็จรูปพร้อมใช้  ไม่ชอบจำสูตรไปทำต่อเอาเอง ไม่ชอบครูภาษาอังกฤษและไม่ชอบภาษาอังกฤษอยู่แล้ว ก็จบข่าวได้เลย หกปีที่ผมเรียนภาษาอังกฤษแล้วพูดไม่ได้เลยนั้น  มีอยู่สักสองปีเห็นจะได้ที่ต้องท่องกริยาสามช่องมากมายแล้วทำแบบฝึกหัด  บังเอิญผมไม่ได้เกลียดทั้งครูและวิชา ถึงพูดไม่ได้ก็ยังเรียนไวยากรณ์รู้เรื่องอยู่

          อีกวิธีหนึ่ง คือ ใช้จริงๆให้เห็นชัดๆ  โดยเริ่มด้วยประโยคบอกเล่าที่ใช้คำสรรพนามเป็นประธาน และใช้กริยาในช่องที่ ๑   ตาม Present Simple Tense  เพียง Tense เดียว แค่นี้ก็ได้ประโยคสำเร็จรูปที่ถูกต้องมาเป็นตัวอย่างมากจนเรียนคาบเดียว ไม่ทันแล้ว  วิธีนี้ใกล้เคียงกับธรรมชาติของคนในวัฒนธรรมมุขปาฐะพอสมควร เพราะเริ่มด้วยประโยคสำเร็จรูปที่ใช้ให้ดูจริงๆก่อน แล้วค่อยศึกษากฎตามหลัง  หลังจากนี้ ถ้าต้องการรักษารูปกริยาไว้เพื่อให้จำได้แม่น  ก็ใช้คำนามทั้งเอกพจน์และ พหูพจน์มาเป็นประธานของประโยคแทนสรรพนาม

          นี่ยังไม่ได้พูดถึงประโยคปฏิเสธ และ ประโยคคำถาม ซึ่งทำให้กริยาเหล่านี้มีภารกิจใหม่ คือ ต้องทำหน้าที่กริยาช่วย ไม่ใช่กริยาหลักเพียงอย่างเดียวเสียแล้ว  และนี่ก็ยังไม่มี Tense  อื่นๆ มาเกี่ยวข้องด้วยเลยอีกต่างหาก

          ที่สำคัญคือ หลักการเหล่านี้ไม่ทำตามไม่ได้ ไม่ทำตามคือผิดทันที  ถ้ารับสูตรไปปรับใช้ไม่ได้ก็คงเรียนไม่ได้  ยกเว้นคนที่มีความจำชนิดที่เรียกว่า Photograph Memory  เท่านั้น  แต่คนอย่างนี้จะมีมาเกิดศตวรรษละกี่คน และเป็นคนไทยกี่คน

          เรื่องไวยากรณ์นี้คงมีต่ออีกหลายตอน  เพราะแค่นี้ยังไม่พอที่จะพูดได้ว่า”ใบไม้กำมือเดียว” ด้วยซ้ำ

หมายเลขบันทึก: 433606เขียนเมื่อ 31 มีนาคม 2011 19:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ประทานโทษค่ะอาจารย์ "มุขปาฐะ" แปลว่าอะไรคะ

When I was at school, I didn't dig English grammar at all. Everything was just rote-learning. Genders, tenses, moods, ... were all confusing.

When I started to write for people to read, I had to find words and ways to make clear what I meant to say. I found in grammar, solutions to my problems. Grammar are 'answers' to 'how to' communicate so that readers know what writers say -- correctly.

Like everyone else I learn (and still lear) English by remembering 'words' and examples of how the words are used. Then I try to use those words too but for what I want them to mean. I use grammar to do this. I don't use many grammar rules or words in my writing because I want to write in simple and plain English. Simple and plain English is easy to understand. We can all learn to use simple and plain English. ;-)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท