เข้าร่วมอบรมโครงการวิจัยเพื่อสร้างนวัตกรรมการจัดการศึกษา กศน.


การอบรมโครงการวิจัยเพื่อสร้างนวัตกรรมการจัดการศึกษา กศน.

ระหว่างวันที่ ๒๘ - ๓๐ มีนาคม ๒๕๕๔

ณ สถาบัน กศน.ภาคกลาง ต.บ้านฆ้อง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@

"นวัตกรรม"  หมายถึงความคิด การปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงมาจากของเดิมที่มีอยู่แล้ว ให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น  เมื่อนำ  นวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม ทั้งยังช่วย ประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย

นวัตกรรมการศึกษา (Educational Innovation )” หมายถึง นวัตกรรมที่จะช่วยให้การศึกษา และการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิผลสูงกว่าเดิม เกิดแรงจูงใจในการเรียนด้วยนวัตกรรมการศึกษา และประหยัดเวลาในการเรียนได้อีกด้วย ในปัจจุบันมีการใช้นวัตกรรมการศึกษามากมายหลายอย่าง ซึ่งมีทั้งนวัตกรรมที่ใช้กันอย่างแพร่หลายแล้ว และประเภทที่กำลังเผยแพร่ เช่น การเรียนการสอนที่ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Aids Instruction) การใช้แผ่นวิดีทัศน์เชิงโต้ตอบ (Interactive Video) สื่อหลายมิติ ( Hypermedia ) และอินเทอร์เน็ต [Internet] เหล่านี้ เป็นต้น (วารสารออนไลน์ บรรณปัญญา.htm)

นวัตกรรม แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ
          ระยะที่ 1 มีการประดิษฐ์คิดค้น (Innovation) หรือเป็นการปรุงแต่งของเก่าให้เหมาะสมกับกาลสมัย
           ระยะที่ 2 พัฒนาการ (Development) มีการทดลองในแหล่งทดลองจัดทำอยู่ในลักษณะของโครงการทดลองปฏิบัติก่อน (Pilot Project)
           ระยะที่ 3 การนำเอาไปปฏิบัติในสถานการณ์ทั่วไป ซึ่งจัดว่าเป็นนวัตกรรมขั้นสมบูรณ์

****************************************************************************************

รายงานผลการเข้าอบรม

ตามที่ข้าพเจ้าได้รับมอบหมายให้เข้าร่วมอบรม “โครงการวิจัยเพื่อสร้างนวัตกรรมการจัดการศึกษา กศน.” เมื่อวันที่ ๒๘ – ๓๐  มีนาคม ๒๕๕๔ ณ สถาบัน กศน.ภาคกลาง ต.บ้านฆ้อง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี นั้น รายละเอียดการในฝึกอบรม ดังนี้

         วันที่ ๒๘ มีนาคม ๒๕๕๔ พิธีเปิดการอบรมโดย ว่าที่ร้อยตรี อัมพร มากเพชร ผอ.สถานบัน กศน.ภาคกลาง ได้กล่าวถึงวัตถุประสงค์โครงการ การจัดทำเครื่องมือการจัดกระบวนการเรียนรู้กับผู้เรียนนำไปใช้กับนักศึกษาให้เกิดผลสัมฤทธิ์ทั้งสายสามัญและสายอาชีพ และเสริมการทำงานให้เกิดผลสัมฤทธิ์มากที่สุด นำสิ่งที่เรียนรู้ไปดำเนินการกับกลุ่มเป้าหมาย ทำงาน กศน. ต้องมองให้ทะลุ อย่าแค่คิด ต้องทำด้วย กระบวนการทำงาน กศน.ปรับบทบาทไปถึงชุมชน  ครู กศน.ต้องทำตามที่นโยบายประกาศไว้ ๔ ภารกิจ ต้องเปลี่ยนวิธีการทำงาน เพราะคำตอบสุดท้ายอยู่ที่ พื้นที่ ชาวบ้าน  จึงต้องทำการวิจัย โดยมีหน่วยงาน สกว.มาเป็นผู้ดำเนินการจัดกระบวนการอบรมกระบวนการทางวิจัย

 

           - วิทยากร อาจารย์ชิษนุวัฒน์  มณีศรีขำ หัวหน้าประสานงาน วิจัยท้องถิ่น สถาบันกองทุนสนับสนุนการวิจัย(สกว.)ได้กล่าวถึงการทำวิจัยคือ การเปลี่ยนแปลงต้องเริ่มตั้งแต่เริ่มต้น  เปลี่ยนวิธีคิดกระบวนการ การวิจัยเพื่อท้องถิ่น ต้องคิดถึงพื้นที่เป็นที่ตั้ง เป็นการเรียนรู้ร่วมกัน ทำงานร่วมกัน งานวิจัยคือการค้นหาคำตอบ เป็นระบบ ขั้นตอน และเริ่มจากคำถาม

           คุณค่าและความหมายของการทำงานวิจัยการศึกษานอกรโรงเรียน /ทบทวนภารกิจงาน กศน เชื่อมโยงสู่การใช้เครื่องมือการวิจัยการศึกษานอกโรงเรียน

           - กิจกรรมการเรียนรู้ ละลายพฤติกรรม ออกแบบกระบวนการ โยงไปเป้าหมาย คำถาม ฐานความคิด  บริบท ประสบการณ์ เครื่องมือสร้างความแม่นยำ คำตอบ        

           - กิจกรรมการการทำงานแบบมีส่วนร่วม ทุกคนเท่าเทียมกันในการแสดงความคิดเห็น ทุกความคิดมีคุณค่า เราไม่ฆ่าความคิดใคร ไม่มีความคิดใดผิดใดถูก เปิดใจรับฟังความคิดเห็นที่แตกต่าง รักษาเวลา กติกา

          - วิจัยการสร้างนวัตกรรม ภาครวมคืออะไร สังเกตการณ์เปลี่ยนแปลง จับจุดที่แตกต่าง

          - กิจกรรมเสริมการเรียนรู้ ดูงาน ทดลองใช้ ร่วมงาน อบรม ดูงาน ห้องเรียนแนวใหม่ การทำงานต้องพัฒนาโจทย์ให้แหลมคม

 

 

- กิจกรรมเสริมการเรียนรู้

                    ๑.ค้นหาพัฒนาโจทย์ (เตรียมทีม เวทีค้นหาปัญหา กิจกรรม เตรียมการนำเสนอ)

                    ๒.ประชุมชี้แจงต่อชุมชน (ชี้แจงบทบาทหน้าที่ ออกแบบเครื่องมือ เก็บข้อมูล)

                    ๓.ออกแบบข้อมูลชุมชน (เก็บข้อมูลบริบทชุมชน)

                    ๔.ค้นหาข้อมูล

                    ๕.วิเคราะห์ข้อมูล

                    ๖.คืนข้อมูลชุมชน(เตรียมทีมวิจัยเพื่อเตรียมการประชุมชี้แจง เวทีคืนข้อมูลชุมชน) 

                    ๗.ถอดบทเรียน

                    ๘.ศึกษาดูงาน (จุดความรู้ หาทางออก)

                    ๙.ทดลองปฏิบัติ

                   ๑๐.สรุปผลการศึกษา (เวทีการนำเสนอวิจัยสู่ชุมชน)

 

               - ทีมวิจัยทำแล้วได้อะไร

            ๑.ชุมชน (เนื้อหา เห็นปัญหาของตนเอง เห็นองค์ความรู้ในการแก้ปัญหา) (กระบวนการ ทักษะในการทำงานร่วมกัน ทักษะการสืบค้นข้อมูล)

                   ๒.บุคลากร กศน. (เนื้อหา เข้าใจในการทำงวิจัยแบบมีส่วนร่วม สามารถนำไปปรับใช้ในโครงการและงานต่างๆในกศน.อำเภอ กศน.ตำบล) (กระบวนการ เทคนิคเข้าถึงชุมชน ทักษะในการจัดการความรู้ในชุมชน)

              - การวิจัย

                   ๑.ความเชื่อพื้นฐาน (เท่าทันโลกสังคมต้องการความรู้ สถาบันการศึกษา พัฒนาการเรียนการสอน การจัดการในท้องถิ่น รัฐต้องการความรู้ งานวิจัยไปกำหนดนโยบาย)

                   ๒.งานวิจัยคืออะไร (การสร้างความรู้ใหม่เพื่อตอบคำถาม)

                   ๓.ความรู้คืออะไร (ผลรวมของข้อมูล ความรู้เดิม ประสบการณ์ บริบท ความนิยม ดุลพินิจ เพื่อตอบคำถามบางอย่างและนำไปสู่การตัดสินใจ)

                   ๔.คำถามวิจัย (ข้อสงสัยปรากฏการณ์)

               - ปัญหา

                   ๑.ศีลธรรมอ่อนแอ 

                   ๒.ปัญญาอ่อนแอ 

                   ๓.เศรษฐกิจอ่อนแอ

                   ๔.ระบบอ่อนแอ

                   ๕.สังคมอ่อนแอ

               - สังคมเข้มแข็ง

                    ๑.มีกินพอเพียง

                    ๒.สำนึกส่วนรวม 

                    ๓.การรวมตัวมีอำนาจต่อรอง

                   ๔.ชุมชนสังคมมีกระบวนการเรียนรู้แก้ปัญหาของชุมชนได้

          ซึ่งงานวิจัยสามารถกำหนดแนวทางการพัฒนาการทำงานได้อย่างเป็นระบบ ขั้นตอนการทำวิจัยมีหลากหลายรูปแบบแต่การทำวิจัยต้องเข้าถึงปัญหา คำถาม เพราะความคาดหวังนั้นคือต้องแก้ปัญหาได้

เกิดความรู้ สร้างคนในชุมชน เกิดกลไก ติดอาวุธทางปัญญา  ถ้าองค์ความรู้ + พลัง จะเกิดความสุข คิดได้ แก้ปัญหาได้ ต้องมีจิตใจแข็งแรง สมองแข็งแรง ไม่อ่อนไหว ทำดีต้องอดทน จิตอาสา ครู กศน.จึงควรเป็น “สร้างหลักแหล่ง แต่งหลักฐาน สานหลักธรรม” ในการอบรม ได้มอบให้ผู้เข้าร่วมอบรมของแต่ละจังหวัดได้คิดพัฒนาโจทย์ว่าในการทำงานนั้นมีปัญหาอะไรที่มันหนักหนาและต้องการแก้ไขปัญหา เพื่อให้การทำงานเป็นไปตามประกาศนโยบายและคุณภาพสู่ผู้รับบริการ กศน. พระนครศรีอยุธยา จึงได้นำเสนอ  

 

         โจทย์ กระบวนการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ ของนักศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น  

กศน.ตำบลสวนพริก ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

        ปัญหา

          1. ปัญหาระดับปัจจัย

               - นักศึกษามีเจตคติไม่ดีต่อวิชาวิทยาศาตร์

               - นักศึกษาไม่มีความรู้พื้นฐาน

               - ครูเตรียมการเรียนการสอนไม่ดี

              - ใช้แบบเรียน แบบฝึกหัด ใบงาน สื่อ อุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์ไม่เพียงพอ

              - วิชาวิทยาศาสตร์เป็นการใช้อุปกรณ์ทางวิทนาศาสตร์

         2. ปัญหาระดับกระบวนการ

             - ครู เป็นการสอนแบบบรรยาย

            - นักศึกษา ไม่ได้ใช้อุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์

            - ครู ใช้ใบงาน แบบฝึกหัด และหนังสือเรียนสอนเด็ก

        ผู้เกี่ยวข้อง  ผู้บริหาร  ครู กศน. นักศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น  ศูนย์วิทยาศาสตร์

        การทำวิจัยในครั้งนี้ สถาบัน กศน.ภาคกลาง ให้กลับมาพัฒนาโจทย์ให้คมและมองถึงปัญหาในทีมโดยอาจจะเริ่มจากจุดเล็ก ๆ ไปสู่ภาพรวมทั้งหมดของ กศน.จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยจัดทำแผนการพัฒนาโจทย์และจะมีการอบรมต่อยอดเพื่อให้เกิดงานวิจัย จังหวัดละ ๑ เรื่อง เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนางาน กศน.สู่เป้าหมายคุณภาพ

หมายเลขบันทึก: 432742เขียนเมื่อ 25 มีนาคม 2011 13:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 พฤษภาคม 2012 12:28 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท