ยินดีต้อนรับสู่บ้านครูศิลปะ ดนตรี
นายนัฐกร ยินดีต้อนรับสู่บ้านครูศิลปะ ดนตรี กาเผือกงาม

นาฏยศัพท์


นาฏยศัพท์

ความหมายของคำว่า "นาฏยศัพท์"
          การศึกษาทางด้านนาฏศิลป์ไทย ไม่ว่าจะเป็นการแสดงโขน ละคร หรือระบำเบ็ดเตล็ดต่างๆก็ดี ท่าทางที่ผู้แสดงแสดงออกมานั้นย่อมมีความหมายเฉพาะ ยิ่งหากได้ศึกษาอย่างดีแล้ว อาจทำให้เข้าใจในเรื่องการแสดงมากยิ่งขึ้นทั้งในตัวผู้แสดงเอง และผู้ที่ชมการแสดงนั้นๆ สิ่งที่เข้ามาประกอบเป็นท่าทางนาฏศิลป์ไทยนั้นก็คือ เรื่องของนาฏยศัพท์ ซึ่งแยกออกได้เป็นคำว่า "นาฏย" กับคำว่า "ศัพท์"ดังนี้
          นาฏย หมายถึง เกี่ยวกับการฟ้อนรำ เกี่ยวกับการแสดงละคร
          ศัพท์ หมายถึง เสียง คำ คำยากที่ต้องแปล เรื่อง
          เมื่อนำคำสองคำมารวมกัน ทำให้ได้ความหมายขึ้นมา ซึ่งมีผู้กล่าวไว้ดังนี้
          นาฏยศัพท์ หมายถึง   ศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับลักษณะท่ารำที่ใช้ในการฝึกหัด เพื่อใช้ในการแสดงโขน ละคร เป็นคำที่ใช้ในวงการนาฏศิลป์ไทย สามารถสื่อความหมายกันได้ทุกฝ่ายในการแสดงต่างๆ

ประเภทของนาฏยศัพท์
นาฏยศัพท์แบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท คือ

  1. นามศัพท์ หมายถึง ศัพท์ที่เรียกชื่อท่ารำ หรือชื่อท่าที่บอกอาการกระทำของผู้นั้น เช่น วง จีบ สลัดมือ คลายมือ กรายมือ ฉายมือ ปาดมื กระทบ กระดก ยกเท้า ก้าวเท้า ประเท้า ตบเท้า กระทุ้ง กระเทาะ จรดเท้า แตะเท้า ซอยเท้า ขยั่นเท้า ฉายเท้า สะดุดเท้า รวมเท้า โย้ตัว ยักตัว ตีไหล่ กล่อมไหล่
  2. กิริยาศัพท์ หมายถึง ศัพท์ที่ใช้เรียกในการปฏิบัติบอกอาการกิริยา ซึ่งแบ่งออกเป็น
  • ศัพท์เสริม หมายถึง ศัพท์ที่ใช้เรียกเพื่อปรับปรุงท่าทีให้ถูกต้องสวยงาม เช่น กันวง ลดวง ส่งมือ ดึงมือ หักข้อ หลบศอก เปิดคาง กดคาง ทรงตัว เผ่นตัว ดึงไหล่ กดไหล่ ดึงเอว กดเกลียวข้าง ทับตัว หลบเข่า ถีบเข่า แข็งเข่า กันเข่า เปิดส้น ชักส้น
  • ศัพท์เสื่อม หมายถึง ศัพท์ที่ใช้เรียกชื่อท่ารำหรือท่วงทีของผู้รำที่ไม่ถุกต้องตามมาตรฐาน เพื่อให้ผู้รำรู้ตัว และแก้ไขท่าทีของตยให้ดีขึ้น เช่น วงล้า วงคว่ำ วงเหยียด วงหัก วงล้น คอดื่ม คางไก่ ฟาดคอ เกร็งคอ หอบไหล่ ทรุดตัว ขย่มตัว เหลี่ยมล้า รำแอ้ รำลน รำเลื้อย รำล้ำจังหวะ รำหน่วงจังหวะ
  • นาฏยศัพท์เบ็ดเตล็ด หมายถึง ศัพท์ต่างๆที่ใช้เรียกในภาษานาฏศิลป์ นอกเหนือไปจากนามศัพท์ และกิริยาศัพท์ เช่น จีบยาว จีบสั้น ลักคอ เดินมือ เอียงทางวง คืนตัว อ่อนเหลี่ยม เหลี่ยมล่าง แม่ทา ท่า-ที ขึ้นท่า ยืนเข่า ทลายท่า นายโรง พระใหญ่ - พระน้อย นางกษัตริย์ นางตลาด ผู้เมีย ยืนเครื่อง ศัพท์แทน

การรำตีบท
          การรำตีบทคือ การนำเอานาฏยศัพท์มาใช้นั้นเอง เพื่อเป็นการบอกความหมาย และแสดงอารมณ์ออกมา ซึ่งหลักสำคัญในการรำตีบทคือ

  • ตัดท่าย่อยออกไป
  • คำนึงถึงความสวยงาม และสื่อความหมายให้เด่นชัด
  • อย่าให้ท่าเหลื่อมกับคำพูด
  • พยายามเลี่ยงท่าซ้ำ ท่าวรรคติดๆกัน
  • อย่าทำมือซ้ำเพียงท่าเดียว
  • การออกท่าควรคำนึงถึงบุคลิกของตัวละคร
  • คำนึงถึงการเอียงศีรษะ

          ลักษณะการรำตีบทของไทยจะมี 3 ลักษณะ คือ เกี่ยวกับกิริยามือแบ เกี่ยวกับกิริยามือจีบ และเกี่ยวกับกิริยามือชี้ นอกจากนี้ในการแสดงโขน - ละคร ยังมีการรำตีบทเกี่ยวกับการเลียนแบบสัตว์เข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งกิริยาของการเลียนแบบสัตว์ที่มีมักจะเป็นลักษณะของสัตว์เหล่านี้ เช่น ท่านก ท่าไก่ ท่าเป็ด ท่าปลา ท่ากุ้ง ท่าปู ท่าหอย ท่างู ท่ากบ ท่ากระต่าย ท่าเต่า ท่าจระเข้ ท่าช้าง ท่าม้า ท่าวัว ท่าควาย ท่ากวาง ท่าเสือ ท่าชะนี และท่าลิง เป็นต้น

หมายเลขบันทึก: 431419เขียนเมื่อ 16 มีนาคม 2011 16:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 17:34 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท