อยุธยา : เศรษฐกิจอยุธยา ฉบับย่อ


           อยุธยามีพื้นฐานทางเศรษฐกิจดีมาตั้งแต่แรกตั้งอาณาจักร เนื่องจากตั้งอยู่บริเวณที่ราบลุ่มดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ ซึ่งเอื้ออำนวยต่อการทำการเกษตร ตั้งอยู่บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ป่าสัก และลพบุรี สะดวกต่อการขนส่งค้าขายในรัฐและต่างประเทศ  

อาชีพต่าง ๆ

           1.   เกษตรกรรม  ปศุสัตว์

           - พื้นดินมีความอุดมสมบูรณ์สูงและเหมาะต่อการเพาะปลูกโดยเฉพาะการปลูกข้าว

           -  ข้าวเป็นผลิตผลที่สำคัญ ใช้แรงงานคนและสัตว์เป็นหลัก  ใช้บริโภคภายในเป็นสำคัญ

           - รัฐมีนโยบายสนับสนุนให้ราษฎรเข้าไปทำกินในที่ดินว่างเปล่า

           - ตรากฎหมายคุ้มครองผลผลิตของราษฎรโดยเฉพาะข้าว

           - ตรากฎหมายคุ้มครองสัตว์มีคุณ เช่น ช้าง ม้า วัว ควาย เป็นต้น

           - การเกษตรเป็นเศรษฐกิจหลักที่ทำให้อยุธยามีความรุ่งเรือง บ้านเมืองมีความเจริญก้าวหน้า ทำให้อยุธยาขยายอาณาเขตประเทศออกไปอย่างกว้างขวาง

           - ให้กำลังใจชาวนาโดยประกอบพระราชพิธีเช่น พืชมงคล จรดพระนังคัล แรกนาขวัญ พิรุณศาสตร์

           - ประชาชนประกอบอาชีพประมงทุกครัวเรือน ในสมัยพระเจ้าบรมโกศ มีประกาศห้ามจับสัตว์น้ำในวันพระขึ้น 8 ค่ำ และ 15 ค่ำ

           - เครื่องเทศโดยเฉพาะพริกไทย เป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ ส่งขายต่างชาติมาก ในสมัยพระนารายณ์ฯ มีการทำสัญญาให้สิทธิแก่ฝรั่งเศสในการผูกขาดการซื้อพริกไทย

           - หมาก พลู ส่งไปขายยังมะละกาและจีน

           - ทุเรียนเป็นพืชเศรษฐกิจ การตัดมีโทษปรับสูง

          2. อุตสาหกรรม 

           - อุตสาหกรรมในครัวเรือน ผลิตเครื่องใช้ไม้สอยอย่างง่ายๆ เช่น เสื้อผ้า เครื่องจักรสาน เครื่องเหล็ก เครื่องแกะสลัก เครื่องประดับ การผลิตเครื่องทองรูปพรรณ

          3. เก็บของของป่า 

          - ไม้จันทร์ ฝาง กฤษณา กระลำพัก น้ำผึ้ง ดีบุก งาช้าง เป็นสินค้าต้องห้าม ซื้อขายผ่านรัฐเท่านั้น

          - หนังเก้ง กวาง นอแรด ฮอลันดากว้านซื้อเพื่อไปขายยังญี่ปุ่น

การค้าภายในประเทศ 

          - อยุธยาราชธานีเป็นศูนย์กลางการค้าที่สำคัญ มีตลาดนานาชนิด  เป็นที่ซื้อของตามกฎหมาย เช่นสินค้าต้องห้ามจะต้องซื้อผ่าน “ล่ามพนักงาน” เท่านั้น เป็นสถานที่คุ้มครองผู้รับซื้อของโจรที่ไม่ทราบว่าเป็นของโจร ห้ามบุคคลเข้ามารีดไถ เป็นที่ลงทาผู้กระทำผิดค้าขาย

          - ทองรูปพรรณ นาค เงิน อาวุธ ช้าง ม้า วัว ควาย จะให้ขายเฉพาะเวลากลางวัน เครื่องยา ข้าว ปลา ขายตอนกลางคืนได้ 

          - “กำนันตลาด”  มีหน้าที่ควบคุมดูแลการค้าของพ่อค้าในตลาด หรือ “ถนนตลาด” ห้ามพ่อค้าขายโกงราคา  ไม่ให้มีการขายสินค้าต้องห้ามในต่างเมือง เก็บเบี้ยตลาด เมื่อเกิดคดีความของลูกตลาด จะต้องสืบพยานจากกำนันตลาด

          - อยุธยาเป็นอาณาจักรการค้า ซึ่งได้สร้างความมั่งคั่งให้กับอาณาจักรอย่างต่อเนื่องทั้งนี้เพราะสภาพที่ตั้งของอยุธยา เหมาะสมกับการค้าขายทั้งภายในและระหว่างประเทศ

          - ด้วยสภาพที่ตั้งของอยุธยาอยู่บริเวณใกล้ปากแม่น้ำเจ้าพระยา มีแม่น้ำสำคัญหลายสายไหลผ่าน  จึงเป็นชุมชนทางการค้าที่พ่อค้าจากต่างรัฐ การค้าจะผ่านหน่วยงานของรัฐโดยเป็นพ่อค้าคนกลาง ผู้ที่ได้ประโยชน์จากการค้าจึงจำกัดอยู่เฉพาะขุนนาง เจ้านาย ตลอดจนชาวต่างชาติ

การค้าต่างชาติ 

           - การค้าต่างชาติในระยะแรกเป็นแบบเสรี

           - เนื่องจากเป็นเมืองท่าที่กลางเส้นทางการเดินเรือค้าขายระหว่างประเทศจีนกับประเทศอินเดีย ประกอบกับความเข้มแข็งของอำนาจทางการเมืองทำให้อยุธยาไม่มีคู่แข่งการค้าและยังเป็นศูนย์รวมของสินค้าจากเมืองท่าต่างๆ การค้าขายซึ่งรุ่งเรืองมากในสมัยราชวงศ์ปราสาททอง                    

           - เมื่อค้าขายกับต่างชาติมากขึ้น รัฐจะเป็นผู้จัดการโดยหน่วยงาน “พระคลังสินค้า” 

           - การค้ากับจีนเป็นแบบบรรณาการ “จิ้มก้อง” 3 ปี ต่อ  1 ครั้ง กรมท่าขวาดูแลค้าขายกับจีน 

           - กรมท่าซ้าย ดูแลการค้ากับอินเดีย อาหรับ เปอร์เซีย

           - กรมท่ากลาง ดูแลการค้าขายกับชาติตะวันตก

           - อาวุธปืน ดินปืน ที่ต่างชาตินำมาขาย รัฐจะซื้อก่อน เมื่อเพียงพอแล้วประชาชนจึงจะมีสิทธิ์ซื้อ เพื่อความมั่นคง

           - ข้าว เครื่องเทศ สินค้าต้องห้าม ต่างชาติต้องซื้อผ่านรัฐเท่านั้น 

           - เก็บภาษีตามความกว้างปากเรือ ทั้งสินค้าขาเข้าและขาออก

           - อนุญาตให้ต่างชาติเปิดสถานีการค้า เช่นบริษัทอินเดียตะวันออกของฮอลันดา (V.O.C) ,อังกฤษ, ฝรั่งเศส, โปรตุเกส  อยุธยากลายเป็นศูนย์กลางการกระจายสินค้าที่สำคัญของภูมิภาค

           - กษัตริย์ เจ้านาย ขุนนาง แต่งสำเภาไปขายยังต่างชาติ โดยให้ชาวเปอร์เซียหรือชาวจีนเป็นผู้ดูแล

           - รัฐอนุญาตให้ต่างชาติเปิดสถานีการค้า เช่นอังกฤษ ฝรั่งเศส โปรตุเกส  อยุธยากลายเป็นศูนย์กลางการกระจายสินค้าที่สำคัญของภูมิภาค เช่นบริษัทอินเดียตะวันออกของฮอลันดา (V.O.C.)

ประโยชน์จาการค้ากับต่างชาติ 

           - รัฐควบคุมดูแลทั้งหมดในระบบพระคลังสินค้า

           -  รัฐผูกขาดการซื้อขาย ตั้งราคาได้ตามใจชอบ

           - การชำระสินค้าของอยุธยาไม่เคยจ่ายเป็นเงินตราเลย

           - สินค้าที่นำไปขายล้วนแต่เป็นของไพร่, ของบรรณาการจากเมืองประเทศราช รัฐไม่ต้องลงทุน

           - รัฐเป็นพ่อค้าคนกลาง เช่นนำสินค้าจากจีนและญี่ปุ่นไปขายให้หับชาติตะวันตก ได้กำไรมาก 

           การความคุมการค้าแบบผูกขาดสร้างความไม่พอใจให้กับพ่อค้าต่างชาติ อยุธยาจึงส่งเสริมการค้าด้วยการให้สิทธิพิเศษกับพ่อค้าต่างชาติเพื่อจูงใจที่จะเข้ามาค้าขาย การค้าระบบผูกขาดและการค้าสำเภาสร้างรายได้อย่างมหาศาล อาณาจักรอยุธยาจึงขยายตัวอย่างรวดเร็วและเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคนี้

 

อ้างอิง

ประภัสสร บุญประเสริฐ.ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจไทย = Economic history of Thailand : HI 322. พิมพ์ครั้งที่ 5.กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง. 2552. วิไลเลขา ถาวรธนสาร และคณะ. พื้นฐานวัฒนธรรมไทย = Foundations of Thai culture : HI 121. พิมพ์ครั้งที่ 10.กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง. 2536.

 

วาทิน ศานติ์ สันติ : เรียบเรียง

หมายเลขบันทึก: 431413เขียนเมื่อ 16 มีนาคม 2011 15:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 กันยายน 2013 07:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มาจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท