ไอซ์


พื้นที่ภาคตะวันตก

 

ลำดับ

เรื่อง/นักวิจัย

ประมวลผลการศึกษาวิจัย

ประเด็น :สถานการณ์/การแพร่ระบาด

มิติด้าน  supply

สถานที่/คน/พื้นที่

มิติด้าน demand

รูปแบบการเสพ/ปัจจัย

มิติด้าน demand

๗.

 

รายงายสถานการณ์ปัญหาการเสพและการค้าไอซ์ในกลุ่มเยาวชนและ
สถานบันเทิงพื้นที่จังหวัดนครปฐมราชบุรี และเพชรบุรี

โดย หน่วยวิจัย
สารเสพติดและผลกระทบทางสังคม

สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กันยายน ๒๕๕๒

 - มีการนำเข้าไอซ์จากต่างประเทศในปี ๒๕๓๐

 - ปัจจุบันมีการจับกุมลักลอบผลิตโดยการใช้วัตถุดิบในประเทศ
ในลักษณะห้องทดลองขนาดเล็ก ในระยะแรกไม่บริสุทธิ์มีสารเจือปน
อยู่มาก เช่น สารส้ม ผงชูรส เป็นต้น นอกจากนี้มีการจัดเกรดของไอซ์
เป็น เอ บี และซี ตามคุณภาพ

 - ไอซ์ในประเทศไทยเข้ามาจากประเทศเพื่อนบ้านพม่า ลาว และกัมพูชา

 - พบการลักลอบนำเข้าจากด่านแม่สาย จังหวัดเชียงราย ด่านแม่สอด จังหวัดตาก ด่านโรงเกลือ จังหวัดสระแก้ว ด่านปาดังเบซาร์ จังหวัดสงขลา

- ผู้ลักลอบนำเข้ามีเครือข่ายกระจายในแหล่งสถานบันเทิงในกรุงเทพฯ และปริมณฑล

- ศูนย์กลางการแพร่ระบาดคือสถานที่ท่องเที่ยวที่มีนักท่องเที่ยวต่างชาติ เช่น พัทยา  ชลบุรี เชียงใหม่ หาดใหญ่ และเกาะสมุย

- มีการจับกุมการลักลอบนำเข้าเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

- การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการแพร่ระบาด เดิมจากยาบ้า เมื่อมีการประกาศสงครามยาเสพติด ยาบ้าลดลง มีการใช้สารระเหยมากขึ้น รวมทั้งไอซ์ และยาอีเนื่องจากไม่เป็นที่เพ่งเล็งของเจ้าหน้าที่ในท้องถิ่น

 

- ในประเด็นยาเสพติดเพื่อความบันเทิงยาอีมีแนวโน้มแพร่ระบาดลดลง ในขณะที่ไอซ์เพิ่มสูงขึ้นเป็นไปได้ว่า
ผู้เสพยาอีเปลี่ยนมาเสพไอซ์

- เนื่องจากไอซ์มีราคาแพง การเสพไอซ์ที่เพิ่มขึ้นอาจส่งผลต่ออาชญากรรมและปัญหาสังคมที่สูงขึ้นเนื่องจาก
การหาเงินมาเพื่อเสพไอซ์

- แหล่งที่ผู้เสพที่เป็นเยาวชนในพื้นที่ภาคตะวันตกสามารถเข้าถึงไอซ์ได้ง่าย ได้แก่ สถานบันเทิงในกรุงเทพฯ ได้แก่ย่านสยามเซ็นเตอร์ บางแค ถนน
พุทธมณฑลสาย ๔ ถนนรัชดาภิเษก อ้อมน้อย ผับ และคาราโอเกะย่าน
สี่มุมเมือง รังสิต รามคำแหง ดินแดง ห้วยขวาง ดอนเมือง โดยวิธีการคือ
ให้เด็กเสิร์ฟในร้านเป็นผู้ติดต่อกับเอเย่นต์ และในพื้นที่จังหวัดนครปฐม

- มีการใช้ไอซ์ร่วมกับยาเสพติดอื่น ที่เป็นสารออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท เช่น ยาอี อัลปาโซแลม     ไมดาโซแลม อิริมิน ไฟว์ (Erimine ๕) มักใช้กันมากในกลุ่มวัยรุ่น โดยอิริมิน ไฟว์ มีฤทธิ์กดประสาททำให้เคลิบเคลิ้มจัดเป็นยาเสพติดประเภท ๒ พบการระบาดชัดเจนในพื้นที่นครปฐม ชะอำ และหัวหิน

- รูปแบบการเสพ เสพผ่าน “โจ๋”    ทั้งที่ซื้อสำเร็จรูปและทำเอง มี       ๑ รายที่เคยเสพด้วยวิธีการฉีด

- สาเหตุที่เสพไอซ์ครั้งแรก
อยากลอง (ร้อยละ ๔๗.๓)
เพื่อนชวน (ร้อยละ ๔๕.๙) เพื่อความสนุก (ร้อยละ ๔.๑) เพื่อทดแทนยาเสพติดอื่น เช่น ยาอี (ร้อยละ ๒.๗)

 

 

ลำดับ

เรื่อง/นักวิจัย

ประมวลผลการศึกษาวิจัย

ประเด็น :สถานการณ์/การแพร่ระบาด

มิติด้าน  supply

สถานที่/คน/พื้นที่ 

มิติด้าน demand

 

รูปแบบการเสพ ค้า/ปัจจัย

มิติด้าน demand

 

 

- สถิติการจับกุมคดีไอซ์ เพิ่มสูงขึ้นจาก ๗๐ คดี ในปี ๒๕๔๖ เป็น
๑,๕๓๘ คดีในปี ๒๕๕๑

- คุณภาพไอซ์ สีขาวใส (๓,๐๐๐ – ๓,๕๐๐)

- มีการพบแหล่งการเสพและการค้าที่เด่นชัดขึ้นในพื้นที่จังหวัดนครปฐม และสมุทรสาคร

- จากสถิติปริมาณคดีไอซ์ในภาคตะวันตก พบว่าจังหวัดสมุทรสาคร
มีแนวโน้มคดีสูงที่สุดในภาคตะวันตก รองลงมาคือจังหวัดนครปฐม

- หากพิจารณาตามน้ำหนักไอซ์ที่ถูกจับกุม พบว่าจังหวัดนครปฐมมีความรุนแรงกว่าจังหวัดสมุทรสาคร

- จังหวัดนครปฐมปรากฏแนวโน้มที่จะมีนักค้าไอซ์รายใหญ่มากที่สุด
ในภาคตะวันตก

- พื้นที่ที่ต้องสนใจเพิ่มมากขึ้น คือจังหวัดราชบุรี ในอำเภอเมือง และอำเภอโพธาราม และจังหวัดเพชรบุรีในอำเภอเมืองและอำเภอชะอำ และอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (โดยเฉพาะนักศึกษาและคนทำงานในสถานบันเทิง)

ได้แก่ สามพราน และกำแพงแสน 

- จังหวัดนครปฐม ผู้ใช้บริการและคนทำงานในสถานบันเทิงใช้ไอซ์ ยาอี ในขณะที่เด็กเยาวชนทั่วไปยังใช้ยาบ้า

- ผู้หญิงที่ทำงานในผับ บาร์ ดิสโก้เทค อาบอบนวด สามารถหาซื้อไอซ์ได้ในสถานที่ทำงานของตน

- เยาวชนชายที่ใช้ไอซ์ ส่วนใหญ่เป็น
ผู้จำหน่ายยาบ้าและยาเสพติดอื่น
อยู่แล้ว และพัฒนาเป็นผู้เสพไอซ์

- จากข้อมูลเยาวชนในสถานพินิจที่เคยเสพไอซ์ พบว่าร้อยละ ๕๙.๕ เป็นเยาวชนในเขตเมือง และเกือบ ๑ ใน ๓ อาศัยในชนบท ซึ่งชี้ให้เห็นว่าปัญหาไอซ์ไม่ได้แพร่ระบาดในเขตเมืองเท่านั้น แต่ได้กระจายตัวอย่างกว้างขวาง

- จากการศึกษาเยาวชนจำนวน ๗๔ คน (ชาย  ๖๓ คน หญิง ๑๑ คน) ใน
สถานพินิจฯ จังหวัดราชบุรี และ

- จากการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างเกือบทั้งหมดมีความเชื่อว่าไอซ์
เป็นยาเสพติดของคนมีระดับ
เพราะราคาแพงและหายาก ดูไฮโซ

- สถานที่เสพ เสพที่บ้านเพื่อน   (ร้อยละ ๕๙.๕) บ้านตนเอง     (ร้อยละ ๒๐.๓) หอพัก บ้านเช่า (ร้อยละ ๘.๑) จัดปาร์ตี้ในโรงแรม บังกะโล (ร้อยละ ๘.๑) อื่นๆ  
เช่น บ้านญาติ สถานบันเทิง โต๊ะสนุ๊กเกอร์ (ร้อยละ ๔)

- เนื่องจากไอซ์มีราคาแพง กลุ่มตัวอย่างจึงใช้ยาเสพติดอื่นร่วมกับไอซ์ ได้แก่ ยาบ้า (ร้อยละ ๙๗.๓) กัญชา (ร้อยละ ๗๑.๐) สารระเหย (๑๗.๖) ยาอี (ร้อยละ๘.๑) กระท่อม (ร้อยละ ๘.๑) ยาเค
(ร้อยละ ๒.๗) ฝิ่น (ร้อยละ ๑.๔) และ เฮโรอีน (ร้อยละ ๑.๔)

ลำดับ

เรื่อง/นักวิจัย

ประมวลผลการศึกษาวิจัย

ประเด็น :สถานการณ์/การแพร่ระบาด

มิติด้าน  supply

สถานที่/คน/พื้นที่

มิติด้าน demand

รูปแบบการเสพ/ปัจจัย

มิติด้าน demand

 

 

 

- รูปแบบการค้ามักเก็บของไว้ที่บ้าน หรือซุกซ่อนไว้กับตัว และส่งยา
ตามการสั่งซื้อโดยส่งยาด้วยตนเอง รวมถึงการมีเอเย่นต์ขายใน
สถานบันเทิง และ มีเด็กเสิร์ฟเป็นผู้เดินยาตามการสั่งซื้อ

- ปริมาณการขายราคาต่อ G และตักขาย พบว่าที่จังหวัดเพชรบุรีมีการตักขายในราคาช้อน (กาแฟ) ละ ๕๐๐ บาท

- จากการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพของกลุ่มเที่ยวสถานบันเทิง พบว่า

๑) การเสพ/ค้าในกลุ่มเพื่อนจึงมีลักษณะการค้ารายย่อยบนพื้นฐาน
การเป็นผู้เสพ

๒) การค้าของสถานบันเทิงที่จัดให้แขกผู้มาเที่ยวหรือขายให้กับโคโยตี้

๓) การเสพของหญิงให้บริการทางเพศ เสพเพื่อให้ทำงานได้

- ปัจจัยที่นำเยาวชนเข้าสู่วงจรการค้าไอซ์ เนื่องจากต้องการเงิน
เพื่อเที่ยวเตร่และซื้อสินค้าฟุ่มเฟือย ช่วงอายุที่เข้าสู่วงจรคือ ๑๓-๑๙ ปี

- รูปแบบการเข้าสู่วงจรการค้าไอซ์ พบดังนี้

๑) จุดเริ่มต้นมักเริ่มจากการเสพยาบ้า และพยายามหาเงินมาซื้อยาบ้า
โดยเป็นเด็กเดินยา ส่งยา และค้าไอซ์ในที่สุด

๒) มีคนในครอบครัวเป็นผู้ค้ายาเสพติด และถูกใช้จากคนในครอบครัว
ให้ไปส่งยาเสพติดจนเป็นผู้เสพและผู้ค้าในที่สุด

๓) หญิงที่ชอบเที่ยวสถานบันเทิงหรือทำงานสถานบันเทิง โดยเริ่มจาก
การเสพยาบ้าก่อน และเปลี่ยนมาใช้ไอซ์เพราะดูมีระดับ และพัฒนา
มาเป็นผู้ค้าในที่สุด

 

นครปฐม (มีนาคม ๕๑-มีนาคม ๕๒) พบว่าอายุเฉลี่ยที่เริ่มใช้คืออายุ
๑๖ ปี

- ผู้ที่อายุเริ่มใช้ต่ำสุดคือ ๑๑ ปี
(๑ คน) เมื่อจัดกลุ่มช่วงอายุแล้วพบว่ากลุ่มที่ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษคืออายุ ๑๕-๑๗ ปี

- กลุ่มผู้มีประสบการณ์เสพไอซ์จากการศึกษานี้ ส่วนใหญ่เป็นเยาวชนนอกระบบการศึกษา มีอาชีพอิสระเช่น ซ่อมรถ ไฟฟ้า กระเป๋ารถเมล์  ที่น่าสนใจคือมีเยาวชนที่มีอาชีพหลักในการขายยาเสพติดถึงจำนวน      ๑๕ คน และขายยาเสพติดเป็น
อาชีพเสริมจำนวน ๒๘ คน ส่งผล
ให้เยาวชนกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ค้ายาเสพติดถึง ๔๓ คน โดยเยาวชนกลุ่มนี้มีรายได้สูงจากการค้ายาเสพติด

 

- จากการสัมภาษณ์เชิงลึก พบว่า
กลุ่มผู้เสพไอซ์อาจแบ่งได้ ๓ กลุ่ม
คือกลุ่มนักเรียน/นักศึกษาที่เที่ยวสถานบันเทิง กลุ่มนักค้ายาเสพติด และกลุ่มเยาวชนหญิงนักเที่ยวและผู้หญิงที่มีอาชีพกลางคืน เช่น พนักงานเสิร์ฟ โคโยตี้ เป็นต้น

- ทัศนคติต่อการเสพไอซ์ ได้แก่ การเสพไอซ์เป็นตัวบ่งบอกฐานะทางเศรษฐกิจและสังคม ทดแทนการเสพยาบ้า เพิ่มความสนุกในการเที่ยวสถานบันเทิง ใช้ไอซ์ดึงดูดผู้หญิง
เพื่อนำไปสู่การมีเพศสัมพันธ์ การขายบริการทางเพศเพื่อหาเงินมาเสพไอซ์

- สาเหตุหนึ่งที่คนนิยมเสพไอซ์เนื่องจากพกพาง่าย ไม่มีกลิ่น และออกฤทธิ์แรงกว่ายาบ้า

- เยาวชนหญิงใช้ไอซ์เพราะเชื่อว่า
ทำให้รูปร่างดี ผิวพรรณเปล่งปลั่งชวนมอง

 

           

 

คำสำคัญ (Tags): #ไอซ์#ภาคตะวันตก
หมายเลขบันทึก: 431410เขียนเมื่อ 16 มีนาคม 2011 15:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 15:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท