ไอซ์


สถานพินิจฯ ปี ๕๓

 

ลำดับ

เรื่อง/นักวิจัย

ประมวลผลการศึกษาวิจัย

ประเด็น :สถานการณ์/การแพร่ระบาด

มิติด้าน  supply

สถานที่/คน/พื้นที่

มิติด้าน demand

รูปแบบการเสพ/ปัจจัย

มิติด้าน demand

๖.

การร่วมมือศึกษาสถานการณ์ปัญหายาเสพติดในกลุ่ม
เด็กและเยาวชน
ในสถานพินิจฯ
และศูนย์ฝึกเด็ก
และเยาวชน
โดย หน่วยวิจัย
สารเสพติดและผลกระทบทางสังคม สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๕๒

 

- การศึกษาเด็กและเยาวชนที่กระทำผิดและถูกจับกุมคดีที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด และเด็กและเยาวชนที่กระทำผิดด้วยคดีที่ไม่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด แต่เป็นเด็กและเยาวชนที่เคยมีประสบการณ์หรือพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดทั้งเสพและจำหน่าย ในจังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง ปราจีนบุรี และราชบุรี โดยการรวบรวมข้อมูลปี ๒๕๕๐- ๒๕๕๒ จำนวนกลุ่มตัวอย่างรวมทั้งสิ้น
๑,๓๘๙ คน

- สถานการณ์ปัญหาไอซ์ในภาคตะวันออกพบว่าไอซ์เป็นที่นิยมในหลายกลุ่มมากขึ้น
ไม่จำกัดเพียงกลุ่มคนมีเงินหรือคนทำงานสถานบันเทิงเช่นก่อน โดยได้กระจายสู่เด็กและเยาวชนที่เสพยาเสพติดชนิดอื่นอยู่
ก่อนแล้ว ส่งผลให้การระบาดมีมากขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะการเสพในสถานบันเทิง

การซื้อขายทำได้ไม่ยาก โดยสามารถนำไอซ์

 

- กลุ่มเยาวชนที่เสพไอซ์ทุกวัน และเที่ยว
สถานบันเทิงทุกคืน ทำให้ใช้เงินจำนวนมาก เมื่อไม่มีเงินจึงทำทุกวิถีทางเพื่อให้ได้เงินซื้อไอซ์มาเสพ เช่น การขโมยรถยนต์

- คนที่ขายยาบ้าเป็นอีกกลุ่มหนึ่งที่นิยมเสพไอซ์ เนื่องจากเป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้อมักได้รับคำแนะนำจากเพื่อนรุ่นพี่ให้เสพ ส่วนหนึ่งเพื่อการทดลอง หากชอบก็สามารถนำไปขายต่อได้นอกจากยาบ้า ดังนั้นการเสพของคนกลุ่มนี้เพื่อพัฒนาการเสพที่ความรุนแรงของตัวยามากขึ้น

- การเสพยาเสพติดของหญิงขายบริการทั้งที่เสพเองและแม่เล้าจัดหาให้เสพเพื่อบริการลูกค้าได้ ซึ่ง
กลุ่มนี้จะเป็นการเสพยาเสพติดหลายชนิด

- ในกลุ่มเยาวชนในสถานศึกษาที่ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษคือเยาวชนที่สูบบุหรี่ ซึ่งกลุ่มนี้สามารถพัฒนาไปเสพยาเสพติดที่มีฤทธิ์แรงขึ้นได้ ทั้งยาบ้าและไอซ์

- มีการเสพไอซ์แล้วต่อด้วยยาเคเพื่อเป็นการเพิ่มฤทธิ์ของยาเมื่อไอซ์กำลังหมดฤทธิ์ การเสพไอซ์และโรยด้วยยาบ้าทำให้รู้สึกดีกว่าเสพยาบ้า
อย่างเดียวและช่วยให้ไอซ์ละลายช้า เสพได้นานมากขึ้น และหากต้องการนอนจะเสพกัญชาตามหลัง เป็นต้น

- ไอซ์ ถือเป็นสัญลักษณ์ของการเสพยาเสพติด
ที่ถูกให้ค่าว่ามีระดับ เนื่องจากราคาแพง
ส่วนยาบ้าและกัญชาจัดอยู่ในระดับรองลงมา

- ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมของเยาวชน และกระบวนกรเข้าสู่การเป็นผู้เสพ ประกอบด้วยปัจจัยด้านความสัมพันธ์ในครอบครัว สภาพของครอบครัวในด้านความรุนแรงที่เด็กและเยาวชนถูกกระทำ หรือเป็นเหยื่อของการใช้ความรุนแรงในครอบครัว รวมถึงตัวแบบที่เด็กและเยาวชนเลียนแบบในการแก้ไขปัญหา และทัศนคติต่อเรื่องความรุนแรงส่งผลให้เด็กและเยาวชนมีพฤติกรรมด้านความรุนแรง

 

ลำดับ

เรื่อง/นักวิจัย

ประมวลผลการศึกษาวิจัย

ประเด็น :สถานการณ์/การแพร่ระบาด

มิติด้าน  supply

สถานที่/คน/พื้นที่

มิติด้าน demand

รูปแบบการเสพ/ปัจจัย

มิติด้าน demand

 

 

 

เข้าไปเสพในสถานบันเทิงได้หรือหาซื้อไอซ์
ในสถานบันเทิงได้

- จังหวัดชลบุรีมีการแพร่ระบาดของตัวยาหลายชนิด รวมทั้งไอซ์ เนื่องจากเป็นจังหวัด
ที่เป็นเมืองท่องเที่ยว จึงเป็นศูนย์รวมแหล่งค้าและเสพที่สำคัญของพื้นที่

- ในพื้นที่ชายแดนที่เป็นแหล่งยาเสพติดสำคัญ คือจังหวัดสระแก้ว และจันทบุรี ซึ่งมีการลำเลียงยาบ้าเข้ามาทางชายแดน

- สำหรับพื้นที่ภาคตะวันตกในจังหวัดราชบุรี เพชรบุรี และนครปฐม มีการเสพยาไอซ์ของเยาวชนที่เป็นนักศึกษาโดยเฉพาะที่เพชรบุรี
ที่เป็นพื้นที่ด้านการท่องเที่ยว มีการอพยพย้ายถิ่นของคนมาอยู่ใหม่ และเรียนในระดับ อุดมศึกษา

 

 

 

 

 

 

- ข้อมูลจากเยาวชนในสถานพินิจฯ พบว่าเด็กที่
เริ่มเสพยาบ้าและไอซ์มีอายุ ๑๑ ปี ซึ่งหมายถึงการเริ่มเสพในขณะกำลังเรียนในระดับชั้นประถมศึกษา
ปีที่ ๕ หรือ ปีที่ ๖ และเริ่มใช้ในขณะที่เรียนหนังสือในโรงเรียน

- ไอซ์ในพื้นที่ภาคตะวันตก พบว่าไม่ได้มีการใช้จำกัดเฉพาะคนมีเงินหรือกลุ่มคนที่ทำงานในสถานบันเทิงเท่านั้น แต่ได้แพร่ระบาดไปในกลุ่มเด็กและเยาวชน นักเรียนมัธยมศึกษาและ นักศึกษา ส่วนหนึ่งเนื่องจากลักษณะการจำหน่ายไอซ์ที่มีการแบ่งขายในขนาดที่น้อยลงทำให้มีราคาเริ่มต้นที่ ๕๐๐ บาท ไม่จำเป็นต้องซื้อทั้งจี ที่มีราคาสูงถึง ๒,๕๐๐- ๓,๐๐๐ บาท

- นอกจากนี้พบว่าการเข้าถึงตัวยาทำได้ง่ายขึ้น
ทางหนึ่งคือผู้จำหน่ายยาบ้าจะมีไอซ์ขายด้วยนอกจากนี้มีการแลกไอซ์กับการมีความสัมพันธ์
ทางชู้สาว เช่น การมีเพศสัมพันธ์ชั่วคราวเพื่อแลกไอซ์เสพ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นหญิงขายบริการหรือผู้ที่เที่ยวสถานบันเทิง และการมีสัมพันธ์กับผู้ชาย
ชั่วระยะเวลาหนึ่ง เพื่อให้ผู้ชายเลี้ยงดูและขอเงิน
มาซื้อไอซ์เสพ ซึ่งหากผู้ชายไม่มีเงินก็จะหาผู้ชาย

- ปัจจัยนำไปสู่การเสพยาเสพติดของเยาวชนโดยรวมคือ มีปัญหาจากสภาพแวดล้อมและปัญหารอบตัวของเยาวชน เช่น มีผู้เสพอยู่ในครอบครัว ทำงานอยู่ในสถานที่ที่ยาเสพติด
แพร่ระบาด (เช่น ร้านอาหาร/สถานบันเทิง)
ความอยากรู้อยากลองการปรับตัวเข้ากับกลุ่มเพื่อน การใช้ยาเสพติดเพื่อหาทางออกของปัญหา

- ปัจจัยอีกประการคือ ทัศนคติและความรู้สึกต่อการใช้ยาเสพติดแต่ละชนิด เช่น ทัศนคติเชิงบวก ว่าการใช้ยาไม่เสพติดเนื่องจากไม่ต้องเสพทุกวัน สามารถหักห้ามใจตัวเองได้ ถ้าไม่มียาเสพติดให้ใช้ก็ไม่รู้สึกอะไร ไม่มีอาการทรมาน หรือทุรนทุรายเมื่อไม่ได้เสพ การใช้ยาบ้า ไอซ์เพื่อรูปร่างดี อารมณ์ดี ผิวพรรณดี เป็นต้น

- การเข้าถึงตัวยาเสพติดของเยาวชนเข้าถึงได้
ไม่ยากและใช้เวลาไม่นาน กรณีเป็นผู้เสพรายเก่าจะมีความคุ้นเคยกับผู้จำหน่าย บางส่วนได้รับ
การชักชวนจากคนใกล้ชิดและเสนอให้เสพฟรี
ในครั้งแรก

 

ลำดับ

เรื่อง/นักวิจัย

ประมวลผลการศึกษาวิจัย

ประเด็น :สถานการณ์/การแพร่ระบาด

มิติด้าน  supply

สถานที่/คน/พื้นที่

มิติด้าน demand

รูปแบบการเสพ/ปัจจัย

มิติด้าน demand

 

 

 

 

คนใหม่ โดยผู้หญิงเหล่านี้มักเป็นผู้ที่ออกจากระบบการศึกษา ออกจากครอบครัวเดิมมาแล้ว คบผู้ชาย
ที่อายุมากกว่า มีทัศคติเชิงบวกต่อการเปลี่ยนคู่นอน

- การแพร่ระบาดของไอซ์ไม่ได้จำกัดเฉพาะใน

เมืองใหญ่ แต่แพร่กระจายไปอย่างกว้างขวางไปถึงเด็กและเยาวชนในพื้นที่ชนบท

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #สถานพินิจฯ#ไอซ์
หมายเลขบันทึก: 431408เขียนเมื่อ 16 มีนาคม 2011 15:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 11:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท