ไอซ์


สถานการณ์ปัญหายาเสพติดในกลุ่มเด็กและเยาวชน ในสถานพินิจ

 

ลำดับ

เรื่อง/นักวิจัย

ประมวลผลการศึกษาวิจัย

ประเด็น :สถานการณ์/การแพร่ระบาด

มิติด้าน  supply

สถานที่/คน/พื้นที่ มิติด้าน demand

รูปแบบการเสพ/ปัจจัย

มิติด้าน demand

๒.

สถานการณ์ปัญหายาเสพติดในกลุ่มเด็กและเยาวชน
ในสถานพินิจ : จังหวัดราชบุรี
และนครปฐม

โดยหน่วยวิจัย
สารเสพติดและผลกระทบทางสังคม สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๕๐

- ด้านสภาพแวดล้อม ก่อนถูกจับกุม
เด็กและเยาวชนเกือบทั้งหมดอาศัย
อยู่ในชุมชนที่มีผู้เสพยาเสพติด ชนิดของยาเสพติดที่มีการแพร่ระบาดในชุมชนและในกลุ่มเพื่อน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเพื่อนนอกโรงเรียน เรียงตามลำดับ คือ ยาบ้า กัญชา สารระเหย และไอซ์ โดยเยาวชนสามารถหายาบ้า กัญชา และไอซ์ได้ภายใน ๑ ชั่วโมง ในขณะที่สามารถหากระท่อม โดมิคุม และสารระเหยได้ภายในระยะเวลาไม่เกิน ๑๐ นาที

- หากชุมชนใดมีการแพร่ระบาดของ
ผู้ใช้สารเสพติดชนิดต่างๆ มาก ผู้ค้า
ผู้จำหน่ายจะมีปริมาณมากไปด้วย
เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้เสพ และเมื่อมีทั้งผู้เสพผู้ค้าในชุมชน เด็กและเยาวชนที่อาศัยในชุมชน ย่อมมีโอกาส
ในการเข้าถึงมากขึ้นไปด้วย แต่อาจมีความแตกต่างกันในเรื่องระยะเวลาของ

- การศึกษาในกลุ่มตัวอย่างเด็กและเยาวชนจากสถานพินิจฯ ในจังหวัดราชบุรีและนครปฐมเก็บข้อมูลระหว่างวันที่ ๒๑-๒๕ พฤษภาคม ๒๕๕๐ รวม ๒๖๓ ราย (ชาย ๒๒๓ ราย หญิง ๔๐ ราย) โดยเป็นเยาวชนที่กระทำความผิดเกี่ยวข้องกับยาเสพติดทั้งเสพ ครอบครองและจำหน่าย หรือเป็นเด็กและเยาวชนที่เคยมีประสบการณ์ใช้ยาเสพติดชนิดใดชนิดหนึ่ง

- มีเด็กและเยาวชนที่มีประสบการณ์การใช้สารเสพติดอย่างน้อย ๑ ชนิด จำนวน ๒๔๗ ราย เป็นชายร้อยละ ๘๕.๔ (๒๑๑ ราย) หญิงร้อยละ ๑๔.๖ (๓๖ ราย)
โดยเยาวชนทั้งหญิงและชายรวมร้อยละ ๘๕.๐ (๒๑๐ ราย) มักใช้ยาเสพติดร่วมกับเพื่อน และร้อยละ ๑๔.๒ (๓๕ ราย) มักใช้ยาเสพติดโดยลำพัง และมีเยาวชนจำนวน ๒ ราย ที่ให้ข้อมูลว่ามักใช้ยาเสพติดร่วมกับบุคคลในครอบครัวของตน เช่น พ่อ หรือพี่ชาย

- การศึกษานี้กล่าวถึงยาเสพติดจำนวน ๑๑ ชนิดโดยไม่รวมเหล้าและบุหรี่ ได้แก่ กัญชา กระท่อม ยาบ้า ฝื่น เฮโรอีน สารระเหย ยาอี/ยาเลิฟ ยาเค โคเคน โดมิคุม และไอซ์ โดยยาบ้าเป็นยาเสพติดที่เยาวชนเสพมากที่สุด รองลงมาคือ กัญชา
และสารระเหย ในขณะที่ไอซ์ มีสัดส่วนเยาวชนหญิงเข้าไปเกี่ยวข้องมากกว่าเยาวชนชาย คือร้อยละ ๓๐ ในขณะที่เยาวชนขายมีประสบการณ์เสพ ร้อยละ ๖.๗ แม้ว่าจำนวนเด็กและเยาวชนจะระบุว่าเสพไอซ์ไม่มากนัก (ร้อยละ ๑๐.๓) แต่ไอซ์เป็นสารเสพติดที่ได้รับความนิยมและมีการใช้แพร่หลายในกลุ่มเยาวชนตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษาถึงอุดมศึกษา รวมถึงแพร่ระบาดในกลุ่มเยาวชน  

 

 

ลำดับ

เรื่อง/นักวิจัย

ประมวลผลการศึกษาวิจัย

ประเด็น :สถานการณ์/การแพร่ระบาด

มิติด้าน  supply

สถานที่/คน/พื้นที่ มิติด้าน demand

รูปแบบการเสพ/ปัจจัย

มิติด้าน demand

 

 

 

การหามาเสพ

- เด็กและเยาวชนส่วนหนึ่งได้รับการชักชวนให้ทดลองเสพฟรีในครั้งแรกจากคนใกล้ชิดหรือคนรู้จัก หรือส่วนหนึ่งได้รับการเสนอให้เสพฟรีในครั้งแรก
จากผู้จำหน่าย 

 

นอกสถานศึกษาอีกด้วย และมีการชวนเชื่อว่าเสพไอซ์จะช่วยรักษาทรวดทรง
และช่วยให้ผิวพรรณเปล่งปลั่งชวนมอง

- จากการวิจัยที่มีการเก็บข้อมูลต่อเนื่องพบพัฒนาการของการแพร่ระบาดไอซ์ว่าในปี ๒๕๔๔ เป็นปีแรกที่มีเด็กและเยาวชนจากจังหวัดสุพรรณบุรี และราชบุรี ระบุว่าเคยเสพไอซ์ จำนวน ๒ ราย จากนั้นไม่พบเด็กและเยาวชนระบุว่าเสพไอซ์อีกจนถึงปี ๒๕๔๖ พบเยาวชนจากสุพรรณบุรีและราชบุรี ในปี ๒๕๔๗-๒๕๕๐
มีเด็กและเยาวชนจากจังหวัดสมุทรสาคร กาญจนบุรี และนครปฐม ที่ระบุว่าเคยเสพไอซ์ ซึ่งในขณะนั้นเยาวชนยังไม่สามารถระบุราคาของไอซ์ได้ ราคาไอซ์เริ่มปรากฏชัดในปี ๒๕๔๘ ที่ระบุว่าราคาขายปลีกประมาณ ๑,๕๐๐ บาท/ครึ่งกรัม หรือระหว่าง ๒,๗๐๐-๓,๔๐๐ บาท/กรัม

 

 

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #สถานพินิจฯ#ไอซ์
หมายเลขบันทึก: 431402เขียนเมื่อ 16 มีนาคม 2011 15:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 01:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท