KM_MD_KKUในมุมมองคนตัวเล็ก(11)>>> การประชุมสัมมนา KM Forum ครั้งที่ 9/2554 : พันธกิจด้านการวิจัย หัวข้อ “การพัฒนากลุ่มวิจัย”


วันศุกร์ที่ 11 มีนาคม 2554 ณ ห้องประชุมศิษย์เก่าแพทย์ขอนแก่น ชั้น 3 อาคารเรียนรวม ผู้เข้าร่วมเป็นบุคลากรผู้เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานวิจัยโดยตรงโดยรูปแบบเป็นการเล่าประสบการณ์ของกลุ่มคณาจารย์นักวิจัยที่มีผลงานที่สำเร็จแล้ว อาทิเช่น ผศ.ภัทรวุฒิ วัฒนศัพท์ วิจัยกลุ่ม “ดนตรีเพื่อสุขภาพ” และ รศ.สุรศักดิ์  วงศ์รัตนชีวัน จากศูนย์วิจัยมะเร็งท่อน้ำดีโดยมี รศ.สุรพล วีระศิริ, รศ.ดร.โสภิศ วงศ์คำ และอีกหลายท่านร่วมกันกระตุ้นให้เกิดภาพของการแลกเปลี่ยนที่สนุกอย่างครอบคลุม โดยเฉพาะมีบรรยากาศที่ดีที่ได้เห็น ศ.ปิยทัศน์ ทัศนาวิวัฒน์ อาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิเป็นผู้ดึงประเด็นการแลกเปลี่ยนเข้าสู่ process ของการทำงานวิจัยซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของ ตัวอย่างHowto ที่จะเป็นประเด็นให้นักวิจัยรุ่นหลังๆได้เห็นภาพและเรียนรู้เส้นทางสู่ความสำเร็จได้ง่าย

เป้าหมายของการจัดการพบปะพูดคุยครั้งนี้เป็นไปตามที่รศ.สุรพล วีระศิริ ประธานสำนักงานบริหารจัดการองค์ความรู้ ว่า

...เรามีความเชื่อว่าในเรื่องต่างๆ นั้น มีคนที่ทำงานอยู่เป็นประจำแล้วก็มีความรู้ มีประสบการณ์ มีความเชี่ยวชาญในเรื่องนั้นๆ  ถ้าเกิดมันจะเกิดประโยชน์มาก ถ้าหากว่าเพื่อนเราได้มาเรียนรู้จากเรา ถือว่าเราเป็น Good Practice แล้วก็จะนำมาใช้ได้เร็วขึ้น ไม่ต้องเริ่มจากศูนย์ ทำให้องค์กรจะไปได้เร็ว เรื่องที่เราคุยกันก็มักจะเป็นเรื่องของ How to ว่าทำอย่างไรถึงได้เป็นวันนี้ เพราะฉะนั้นวันนี้ก็เป็นเรื่องของกลุ่มวิจัย เชิญมาเล่า มาแลกเปลี่ยน จากวันเริ่มต้นจนถึงวันนี้ ที่มาได้ด้วยดี แต่ละกลุ่มมีวิธีการอย่างไรบ้าง เพื่อที่กลุ่มน้องใหม่จะได้เรียนรู้ ศึกษา เป็นเรื่องเล่าทั่วไป เวทีนี้ไม่มีประธาน ทุกคนเสมอภาคกัน...

 

ศ.วิภา รีชัยพิชิตกุล ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิจัยให้ความสำคัญของการพบปะเล่าเรื่องและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ของนักวิจัยในการประชุม KM คราวนี้ว่าเป็นสิ่งที่ดี เพราะที่ผ่านมานั้นกลุ่มนักวิจัยมีโอกาสพบปะพูดคุยกันน้อย

...ปัจจุบันมีกลุ่มวิจัยบางส่วนที่หายไปและส่วนหนึ่งที่ไม่ได้ขอทุนกลุ่มวิจัย นั่นก็คือเจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่กว่า เพราะว่าในกลุ่มวิจัยของคณะฯ เรามีนโยบายว่าเราจะให้ทุนวิจัยประมาณ 3 ปี หลังจากนั้นปีที่ 4 เราอยากจะให้เค้า(ผลักดัน)เข้าสู่เวทีของมหาวิทยาลัยเพื่อให้(ระดับ)ทุนวิจัยที่สูงขึ้น..

นี่เป็นคำกล่าวของอาจารย์ถึงประเด็นสาเหตุ

 

การพูดคุยเริ่มจาก Good/Best Practice โดย ผศ.ภัทรวุฒิ วัฒนศัพท์ ผู้มีผลงานจากวิจัยที่น่าชื่นชมในเรื่องกลุ่ม “ดนตรีเพื่อสุขภาพ” ซึ่งมีการดำเนินกลุ่มวิจัยได้ราว 2 ปี และมีการนำประสบการณ์จากหลายท่านต่อยอดกัน พอสรุปได้ดังนี้

1)   มีการสร้างเครือข่าย (network) โดยมองข้ามคณะฯไปถึงกลุ่มคนที่มีความรู้สึกชื่นชอบและเกี่ยวข้องเรื่องดนตรีด้วยกัน เช่นคณะศิลปกรรมศาสตร์ซึ่งเกี่ยวข้องกับเครื่องดนตรีและอาจารย์จากคณะพยาบาลศาสตร์ซึ่งนำดนตรีมาใช้ทำวิจัย

2)   หาข้อมูลและความรู้เพิ่มเติมในเรื่องที่สนใจอาจจากการสืบค้นหรือสอบถามผู้ชำนาญ/เชี่ยวชาญ

3)   ทดลองทำในบริบทของเราก่อนเป็นเบื้องต้น

4)   มีความซื่อสัตย์ สร้างความไว้เนื้อเชื่อใจกัน มีการพบปะ พูดคุยกันในทีมอย่างสม่ำเสมอ

5)   จัดหาพื้นที่ ช่องทางนำเสนองาน

 

มีการเล่าถึงประสบการณ์ของการลำดับชื่อผู้วิจัยซึ่งเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน

หลายท่านให้ความเห็นเพิ่มเติมในเรื่องนี้ที่เกี่ยวข้องกับเทคนิคการสร้างทีมนักวิจัยว่า

1)   วางแผนลดความขัดแย้งในกลุ่มด้วยการสร้างข้อตกลงร่วมกันก่อน

2)   ไม่แข่งขันกันเอง ยึดถือความโปร่งใส ใส่ใจกัน

3)   นึกถึงบุคลิกภาพของแต่ละคนซึ่งอาจส่งผลกับทีม

 

ปัญหาของการสร้างงานวิจัยจากการนำข้อมูลที่มีการเก็บโดยผู้รับผิดชอบขององค์กรนั้นๆอยู่แล้ว อาจเป็นสาเหตุนำไปสู่ข้อขัดแย้งได้โดยไม่ตั้งใจเนื่องจากความคิดไม่ตรงกันเช่น ผู้ทำวิจัยคิดว่าข้อมูลนี้มีอยู่เดิมแต่ผู้เก็บข้อมูลในพื้นที่คิดว่าตนควรต้องมีชื่อในส่วนร่วมวิจัย ซึ่งหากพูดคุยตกลงกันก่อนจะช่วยลดปัญหาข้อขัดแย้งลง

 

นอกจากนี้มีการแลกเปลี่ยนความคิดกันเรื่องของการบริหารจัดการ โดยเริ่มจาก

-          คิดนอกกรอบเพื่อให้เกิดมุมมองที่ต่างนำไปสู่สิ่งใหม่ๆที่ดีกว่า

-          ผู้นำต้องเชื่อว่า สิ่งนั้นดี

-          การจัดการที่ตัวตนของเรา คือตั้งใจทำไปให้ถึงเป้าหมาย

-          การรู้จักพอ รู้จักแบ่งปันและรู้จักให้

 

มีการพูดถึงการสร้าง “คนรุ่นใหม่” และ “การสร้างทีม” เพื่อรองรับการสร้างผลงานวิจัยให้องค์กรไม่ประสบปัญหา “สะดุด” ในอนาคต....การสร้างคนซึ่งเป็น “new successor” จึงจำเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้นองค์กรจึงควรให้ความสำคัญกับการ “สร้างคนใหม่ทดแทนคนเดิม” 

อีกมุมมองหนึ่งที่น่าสนใจคือ การคาดหวังให้เกิดผลลัพธ์ของงานมากขึ้นซึ่งควรสัมพันธ์ไปกับการเพิ่มบุคลากรตามไปด้วย มิใช่จำกัดบุคลากรจนไม่อาจสร้างงานใหม่ได้

การจัดสรรเวลาที่เหมาะสมของแต่ละคนเป็นสิ่งสำคัญ การนัดแนะพูดคุยกันอย่างสม่ำเสมอแม้มีเวลาจำกัดเช่น การใช้ e-mail สร้างความผูกพันและเกิดงานที่ต่อเนื่อง ทำให้งานสำเร็จลงได้

 

ที่นำมาเล่านี้เป็นภาพหนทางแห่งประสบการณ์การเดินที่ดีสู่ความสำเร็จของนักวิจัย … ที่เกิดประโยชน์อย่างยิ่งของผู้บุกเบิกงานวิจัยด้วยตนเอง

ในมุมมองของผู้เขียนคิดว่า สิ่งที่สำคัญมากที่สุดของความสำเร็จของนักวิจัยหลายท่านนี้คือ ความรักในงานที่ทำ... เมื่อรักที่จะทำ(งานอะไรก็ตาม) มักก่อให้เกิดความมุมานะ อดทน ทุ่มเท เสียสละ และมักเป็นผู้ให้ตามมาเสมอ

 

วันนี้จึงเป็นอีกวันหนึ่งที่โชคดีของผู้เขียนที่ได้สัมผัสบรรยากาศ “หนทางแห่งความสำเร็จด้วยตนเอง” ของเหล่าปรมาจารย์ในงานวิจัย

...เห็นแบบอย่างเช่นนี้แล้ว ทำให้เราๆ...มีกำลังใจมากขึ้นโข เพราะอย่างน้อยที่สุดก็พอมีกำลังใจว่า...สักวันเราจะทำให้ได้(แม้พียงเศษเสี่ยวเล็กๆ)อย่างท่านๆบ้าง

คำสำคัญ (Tags): #km md kku
หมายเลขบันทึก: 431204เขียนเมื่อ 15 มีนาคม 2011 01:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:38 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

พี่แก้วได้ทุนวิจัย research group น้องใหม่

จากทำงานเดี่ยวๆ มาทำเป็นกลุ่ม

มาเรียนรู้  พี่ยังต้องเรียนรู้อีกมากค่ะ

สวัสดีค่ะพี่กฤษณา

  ตามพี่แก้วมาเรียนรู้ค่ะ

  รักในงานที่ทำแต่ยังรู้สึกว่างานวิจัยยากอยู่ค่ะคงเป็นเพราะตนเองยังขาดความมานะ พยายาม ทุ่มเท เสียสละ จะพยายามค่ะ 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท