ฉีดน้ำทะเลช่วยนิวเคลียร์รั่วญี่ปุ่น [EN]


สำนักข่าวรอยเตอร์ตีพิมพ์เรื่อง 'Analysis: Seawater helps but Japan nuclear crisis is not over' = "(บท)วิเคราะห์: น้ำทะเลช่วยแต่วิกฤตินิวเคลียร์ญี่ปุ่นยังไม่หมด(ไป)", ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ
  • [ analyze ] > [ แอ๊น - น่ะ - หล่าย - z ] > http://www.thefreedictionary.com/analyze > verb = analyse (สะกดต่างกัน ความหมายเหมือนกัน) = วิเคราะห์ พิจารณา ไตร่ตรอง
  • [ analysis ] > [ แอะ - เน้า - ลาย - สิส - s ] > http://www.thefreedictionary.com/analysis > noun = บทวิเคราะห์ การวิเคราะห์
การฉีดน้ำทะเลเข้าไปช่วยการทำงานของระบบหล่อเย็นโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ เพื่อป้องกันแท่งสารนิวเคลียร์หลอมละลายจากความร้อนสูง ใช้มานานถึง 57 ปีแล้ว
.
วันอาทิตย์ที่ 13 มีนาคม 2553 ทีมผู้เชี่ยวชาญจากบรรษัทโตเกียว อีเลคทริค เพาเวอร์ (TEPCO) ได้ฉีดน้ำทะเลเข้าไปหล่อเย็นชุดแท่งปฏิกรณ์นิวเคลียร์ 2 แกนหลักในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ โดยใช้น้ำจืด 2 ส่วน - น้ำทะเล 1 ส่วน
.
นี่เป็นอุบัติภัยนิวเคลียร์ครั้งสำคัญหลังเหตุการณ์เชอร์โนบิล ยูเครน ปี 1986 หรือ พ.ศ. 2529
.
น้ำมีความสำคัญต่อโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แบบสุดๆ โดยน้ำชนิดหนัก (deuterium oxide) ใช้ในการดูดซับนิวตรอน หรือทำให้ความร้อนแรงของนิวเคลียร์ลดลงอยู่ในระดับที่พอดี ไม่มากจนหลอมละลายหรือระเบิด และไม่อ่อนจนผลิตไฟฟ้าไม่ไหว
.
น้ำชนิดหนักมีคุณสมบัติทางฟิสิกส์ต่างจากน้ำทั่วไป คือ มีความหนาแน่นสูงกว่า หนักกว่า และแน่นอนว่า แพงกว่าด้วย
.
น้ำจืดทั่วไปก็ดูดซับนิวตรอนได้ แต่มีความสามารถตรงนี้ต่ำกว่าน้ำชนิดหนัก
.
การตั้งโรงไฟฟ้านิวเคลียร์จะต้องตั้งใกล้แหล่งน้ำขนาดใหญ่ หรืออยู่ริมทะเล เนื่องจากจะต้องใช้น้ำจากภายนอกจำนวนมากในการหล่อเย็น
.
ปกติแท่งสารกัมมันภาพรังสี หรือแท่งนิวเคลียร์ (ยูเรเนียม) จะต้องมีน้ำหล่อเย็น และมีสภาพคล้าย "บัวใต้น้ำ" (ทำไมคล้ายผู้บริหารบางคนก็ไม่ทราบ)
.
แผ่นดินไหวและซึนามิ (11 มีนาคม 2553) ทำให้ระดับน้ำหล่อเย็นลดลง 90% หลังเหตุการณ์ซึนามิและแผ่นดินไหว ทำให้แท่งนิวเคลียร์มีสภาพคล้าย "บัวแล้งน้ำ", ร้อนขึ้น (superheated; super = เหนือ ซูเปอร์; heat = ร้อน; รวม = ร้อนเกินกำหนด) และหลอมละลายไปบางส่วน
 .
ข้อดีของการฉีดน้ำไปรดเจ้า "บัวแล้งน้ำ" คือ ทำให้บัว (แท่งนิวเคลียร์) เย็นลง ไม่หลอมละลายหรือระเบิด, ทว่า... ทำให้น้ำร้อนบางส่วนที่ปนเปื้อนสารนิวเคลียร์ระเหยไปในอากาศรอบๆ โรงไฟฟ้า
.
อ.โรเบิร์ต เองเกล วิศวกรผู้เชี่ยวชาญจากสวิตเซอร์แลนด์ สมาชิกของ IAEA (องค์กรพลังงานอะตอนนานาชาติ) ที่เข้าไปช่วยงานในญี่ปุ่นกล่าวว่า ปกติแท่งนิวเคลียร์ต้องมี "น้ำเลี้ยง" ท่วมสูง 3-4 เมตร ไม่ใช่อยู่ในสภาพ "บัวแล้งน้ำ" แบบหลังซึนามิ-แผ่นดินไหวใหม่ๆ
.
เหตุการณ์ "บัวแล้งน้ำ" ในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ญี่ปุ่นบอกเป็นนัยว่า ถ้าประเทศไหนจะทำโรงนิวเคลียร์อีกก็ควรมีแหล่งน้ำขนาดยักษ์ไว้สำหรับฉีดป้องกันบัวแล้งน้ำ เช่น ถ้าไทยจะเสี่ยงมีโรงไฟฟ้าระบบ "บัวใต้น้ำ" ก็คงต้องตั้งในภาคใต้หรือภาคตะวันออก
.
เหตุการณ์ซึนามิ-แผ่นดินไหวในญี่ปุ่นแสดงให้เห็นถึงความเข้มแข็งของชาวญี่ปุ่นที่ช่วยเหลือกัน และเข้าคิวรับความช่วยเหลือกันเรียบร้อย เป็นที่ชื่นชมจากคนทั่วโลก
.
ขอแสดงความชื่นชมกองทัพเรือสหรัฐฯ ที่เข้าไปช่วยชาวญี่ปุ่น และรัสเซียที่เตรียมส่งน้ำมัน-แก๊สธรรมชาติไปช่วย ขอให้เหตการณ์นี้ผ่านพ้นไป โดยทุกคนทุกฝ่ายเดือดร้อนน้อยที่สุดครับ 
 > [ Twitter ] - นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ รพ.ห้างฉัตร ลำปาง. 14 มีนาคม 2554.
หมายเลขบันทึก: 431199เขียนเมื่อ 15 มีนาคม 2011 00:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท