หมอใกล้บ้านใกล้ใจ


การพัฒนามนุษย์จึงควรเป็นหัวใจของการสร้างสรรและสืบสานประดิษฐกรรมท้ั้งหลาย

อยุธยาเป็นจังหวัดหนึี่งที่ชวนให้หวนรำลึกถึงที่มาของ หมอ แฟมเมด(แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว)  

๒๒ ปีมาแล้ว โครงการอยุธยา ถือกำเนิดขึ้นที่นั่น เป็นความร่วมมือหลายฝ่าย นพ.สงวน นิตยารัมภ์พงศ์ เป็นผู้จุดประกาย และผลักดันฝ่ายไทย   ฝ่ายเบลเยี่ยม มีแพทย์ที่เคยประสบความสำเร็จในการทดลองส่งเสริมระบบบริการใกล้บ้านใกล้ใจ (ปฐมภูมิ) ในแอฟริกา

 

ถ้าเชื่อว่า ประดิษฐกรรมทั้งหลายในสังคมมนุษย์ ล้วนเป็นมาและเป็นไปด้วย จินตนาการและความเพียรของมนุษย์ทั้งสิ้น  

การพัฒนามนุษย์จึงควรเป็นหัวใจของการสร้างสรรและสืบสานประดิษฐกรรมท้ั้งหลาย

 

ฉ้นใดก็ฉันนั้น  โครงการอยุธยา ได้สร้างคนดีคนเก่งขึ้นจำนวนหนึ่ง ที่ยังยืนหยัดสืบสานอุดมการณ์ "ใกล้บ้าน ใกล้ใจ" ไม่เสื่อมคลาย หมอแฟมเมด เป็นหนึ่งในหลายประเภทที่ถือกำเนิดขึ้นในโครงการนี้

 

ผมได้มีโอกาสคุยโทรศัพท์กับ นพ.สมชัย วิโรจน์แสงอรุณ  ท่านเป็นอดีตนักวิจัยของโครงการอยุธยา และยังทำงานอยู่ท่ีอยุธยาไม่ไปไหนเรื่อยมา คงด้วยท่านเห็นความสำคัญของการสร้างคน  นั่นเอง  ปัจจุบัน ท่านรับผิดชอบด้านการพัฒนาบุคลากรของอยุธยา ทำหน้าที่เป็นทั้งนักคิด นักเชียร์ นักเชื่อม ผู้คนทั้งหลายให้มุ่งมั่นร่วมกันพัฒนา "คน" ในระบบสาธารณสุข

 

คนสายพันธ์ุหนึ่งที่ท่านให้ความสำคัญ คือ หมอแฟมเมด  และอีกสายพันธุ์คือ พยาบาลเวชปฎิบัติ(เอนพี nurse practitioner)

 

ที่สถานีอนามัยวัดพระญาติ หนึ่งในสถานพยาบาลตั้งต้นของโครงการอยุธยา  ปััจจุบันเรียก รพ.ส่งเสริมสุขภาพตำบล วัดพระญาติ คุณสุนทรีย์และพญ.ประกายทิพย์(หมอแฟมเมด) ช่วยกันสร้างทีมบริการใกล้บ้านใกล้ใจ ด้วยการเรียนรู้ร่วมกัน ท่ามกลางการปฎิบัติ  

 

ก่อนออกเยี่ยมบ้าน ทุกคนในทีมจะคุยกันว่า คนไข้มีใครบ้าง แต่ละรายต้องการการดูแลอย่างไร  ต้องเตรียมความรู้ ข้อมูล วัสดุอุปกรณ์ หยูกยา อะไร เพื่อที่จะตอบสนองความต้องการของคนไข้ได้ดีที่สุด  

กลับจากเยี่ยมบ้าน ทุกคนก็มาทบทวนบทเรียนที่ได้ ว่าเป็นไปตามคาดแค่ไหน ยังมีโอกาสพัฒนาอะไรอีก โดยผสมผสานกับบทเรียนจากการให้บริการตั้งรับ ที่สถานีอนามัย(ผมชอบคำนี้มากกว่า)  

............ทำอยู่อย่างนี้ เป็นประจำ  

เช่นเดียวกับการทำหน้าที่ ให้คำปรึกษา แก่แพทย์ประจำบ้าน แฟมเมด และเอนพี ระหว่างตรวจรักษาคนไข้ในสถานีอนามัย 

 

ระหว่างคนไข้เบาหวาน รอรับบริการ คุณหมอประกายทิพย์และทีม ก็จะคิดค้นกิจกรรมใหม่ๆ สื่อใหม่ๆ เพื่อช่วยให้คนไข้เข้าใจ ตระหนักและมีทักษะในการดูแลตนเอง

 

ทั้งหมดนี้ เป็นไปด้วยความริเริ่ม ด้วยใจรัก ถึงขั้น ยอมควักกระเป๋าตนเอง เพื่อให้เกิดบริการ ไม่ปล่อยให้ความกังวลกับการติดขัดของระเบียบการเงินราชการเป็นอุปสรรค

 

ยิ่งกว่านั้น คุณหมอประกายทิพย์และทีม ก็เชื่อครึ่ง ไม่เชื่อครึ่งว่า สิ่งที่ทำอยู่ได้ประโยชน์จริง  เธอยังอยากให้มีการวิจัยเปรียบเทียบให้ชัดเจน รอบด้านยิ่งขึ้นว่า ที่ทำนี้ เกิดประโยชน์ และคุ้มค่าจริงๆ จะได้เป็นบทเรียนให้กับผู้อื่น

 

นอกจากที่วัดพระญาติ นพ.สมชัยได้จัดแจงให้เกิดความร่วมมือ ระหว่างภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัว คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพื่อยกระดับขีดความสามารถด้านเวชศาสตร์ครอบครัวแก่ พยาบาล ตามรพ.ชุมชนและสถานีอนามัยหลายแห่ง ในจังหวัด

 

โครงการอยุธยา คงเชื่อแบบคนจีน ที่ชอบทำอะไรจากเล็ก สู่ใหญ่  วันนี้ ดูเหมือนโครงการอยุธยาได้ปักเสาอันมั่นคงให้แก่การสืบสานสายพันธุ์ แฟมเมด อย่างน่าภาคภูมิใจแล้ว

หมายเลขบันทึก: 429753เขียนเมื่อ 6 มีนาคม 2011 12:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท