การบริหารแบบมีส่วนร่วม


จตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติที่เป็นกฎหมายแม่บทในการบริหารและ จัดการศึกษา ซึ่งมีเนื้อหาที่ส่งเสริมการเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา โดยระบุว่า ให้สถานศึกษาร่วมกับบุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เอกชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการและสถาบันสังคมอื่น ส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชน การบริหารสถานศึกษาในรูปแบบการสร้างเครือข่ายและการมีส่วนร่วม (Network Building and Participatory)

                 เจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติที่เป็นกฎหมายแม่บทในการบริหารและจัดการศึกษา ซึ่งมีเนื้อหาที่ส่งเสริมการเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา โดยระบุว่า ให้สถานศึกษาร่วมกับบุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เอกชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการและสถาบันสังคมอื่น  ส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชน การบริหารสถานศึกษาในรูปแบบการสร้างเครือข่ายและการมีส่วนร่วม (Network Building and Participatory) เป็นการดำเนินงานของสถานศึกษาที่สร้างคุณค่าของสังคม (Public Value) โดยพยายามตอบสนองต่อความต้องการของผู้เรียนและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ดังนั้น สถานศึกษาต้องเข้าใจมุมมองของผู้เรียนและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องต่อการดำเนินกิจกรรมหรือการบริการของสถานศึกษา เพื่อจะกำหนดรูปแบบการดำเนินกิจกรรมจัดการเรียนรู้หรือการส่งเสริมผู้เรียนที่เหมาะสม และก่อให้เกิดคุณค่าทางสังคมสูงสุดจากความรู้สึกของผู้เรียนและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง

               การจำแนกระดับการมีส่วนร่วมของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เป็นการช่วยให้สถานศึกษาได้รู้ถึงระดับการมีส่วนร่วมที่แตกต่างกัน ทั้งช่วยให้ผู้ที่รับผิดชอบจัดกระบวนการมีส่วนร่วมได้เห็นภาพความต้องการของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง และสามารถกำหนดความชัดเจนว่าจะจัดให้ผู้มีส่วนที่เกี่ยวข้องกลุ่มไหนอยู่ในการมีส่วนร่วมในระดับใด ซึ่งจำเป็นต้องเลือกให้ได้ระดับที่เหมาะสมและสื่อสารให้เข้าใจก่อนมีการสร้างเครือข่ายและมีส่วนร่วมต่อไป เพื่อขจัดความขัดแย้งอันเกิดจากการสื่อสารที่ชัดเจนระหว่างสถานศึกษากับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ซึ่งในหลายกรณีพบว่าสถานศึกษาได้รับข้อมูลและความคิดเห็นของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องประกอบการตัดสินใจแล้ว แต่ไม่ได้ทำการประชาสัมพันธ์ให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องได้รับรู้ ทำให้เกิดช่องว่าง เกิดความเข้าใจผิดในหมู่ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ที่คาดหวังว่าความคิดเห็นหรือความต้องการของตน เป็นสิ่งที่สถานศึกษาไม่สนใจปฏิบัติตาม ดังนั้นการจำแนกระดับการมีส่วนร่วมของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง จึงเป็นความจำเป็นที่กระบวนการมีส่วนร่วมนำไปกำหนดทิศทาง ทั้งเป็นการสะท้อนถึงบทบาทและอิทธิพลของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ยิ่งระดับการมีส่วนร่วมของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องมากเท่าใด บทบาทของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง รวมทั้งการอุทิศตัวของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในกิจกรรมการมีส่วนร่วมก็สูงมากขึ้นเท่านั้น

                 เนื่องจากการมีส่วนร่วมของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในทางวิชาการมีหลากหลายตัวแบบ ในที่นี้ใช้ตัวแบบการมีส่วนร่วมของประชาชนของสมาคมการมีส่วนร่วมสากล (International Association for Public Participation) ประกอบด้วยการมีส่วนร่วมของประชาชน 5 ระดับ ดังนี้

                  ระดับที่ 1 การมีส่วนร่วมในระดับให้ข้อมูลข่าวสาร (To Inform) ข่าวสารถือเป็นการสร้างเครือข่ายและการมีส่วนร่วมของประชาชนในระดับเริ่มต้น แต่เป็นระดับที่สำคัญ เพราะเป็นก้าวแรกของการที่สถานศึกษาจะเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าสู่กระบวนการสร้างเครือข่ายและการมีส่วนร่วมในเรื่องต่างๆ ที่ทางสถานศึกษาจัดขึ้น โดยวิธีการให้ข้อมูลสามารถใช้ช่องทางต่างๆ เช่น เอกสารสิ่งพิมพ์ของสถานศึกษา การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารผ่านทางสื่อต่างๆ เช่น วิทยุชุมชน การจัดนิทรรศการนอกสถานศึกษา จดหมายข่าว การจัดงานแถลงข่าว การติดประกาศ และการใช้ข้อมูลผ่านเว็บไซต์ของสถานศึกษา เป็นต้น

               ระดับที่  2 การมีส่วนร่วมในระดับการปรึกษาหารือ (To Consult) เป็นกระบวนการที่เปิดให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลข้อเท็จจริงและความคิดเห็นเพื่อประกอบการตัดสินใจของสถานศึกษาด้วยวิธีการต่างๆ เช่น การรับฟังความคิดเห็น การสำรวจความคิดเห็น การจัดเวทีสาธารณะ การแสดงความคิดเห็นผ่านเว็บไซต์ เป็นต้น

                ระดับที่ การมีส่วนร่วมในระดับให้เข้ามามีบทบาท (To Involve) เป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงาน หรือร่วมเสนอแนะทางที่นำไปสู่การตัดสินใจ เพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่ประชาชนว่าข้อมูลความคิดเห็นและความต้องการของประชาชนจะถูกนำไปพิจารณาเป็นทางเลือกในการบริหารงานของสถานศึกษา เช่น การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพิจารณาประเด็นนโยบายสาธารณะ ประชาพิจารณ์ การจัดตั้งคณะทำงานเพื่อเสนอแนะประเด็นนโยบาย เป็นต้น

                  ระดับที่  การมีส่วนร่วมในระดับสร้างความร่วมมือ (To Collaborate) เป็นการให้กลุ่มประชาชนผู้แทนภาคสาธารณะมีส่วนร่วม โดยเป็นหุ้นส่วนกับสถานศึกษาในทุกขั้นตอนของการตัดสินใจ และมีการดำเนินกิจกรรมร่วมกันอย่างต่อเนื่อง   เช่น   คณะกรรมการสถานศึกษาที่มีฝ่ายประชาชนร่วมเป็นกรรมการสถานศึกษา เป็นต้น

                  ระดับที่  การมีส่วนร่วมในระดับให้เสริมอำนาจแก่ประชาชน (Empower) เป็นขั้นที่ให้บทบาทประชาชนในระดับสูงสุด โดยให้ประชาชนเป็นผู้ตัดสินใจ เช่น การลงประชามติในประเด็นกิจกรรมทางการศึกษาต่างๆ เป็นต้น

สวัสดีครับ

หมายเลขบันทึก: 429587เขียนเมื่อ 5 มีนาคม 2011 09:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 07:47 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท