การสอบประเมินคุณภาพการศึกษาระดับชาติ


การสอบ NT ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553

          การสอบประเมินคุณภาพการศึกษาระดับชาติ  หรือ NT  ชื่อย่อมาจากคำว่า National Test  เป็นการประเมินเพื่อการประกันคุณภาพผู้เรียน  โดยใช้ข้อสอบมาตรฐานจากส่วนกลาง จุดประสงค์หลักก็เพื่อการดูและติดตามการจัดการศึกษา  ประเมินคุณภาพการศึกษาของประเทศในภาพรวม  

การสอบ NT  ของ กศน. กำหนดการสอบ โดยประเมิน

1.  ความรู้พื้นฐานใน 5 รายวิชา ได้แก่  คณิตศาสตร์  วิทยาศาสตร์  ภาษาไทย  ภาษาอังกฤษ  สังคมศึกษา  

2.  ทักษะการเรียนรู้ ทักษะการดำเนินชีวิต ทักษะการประกอบอาชีพ

                 
                           

 

สภาพของการเข้ารับการประเมินคุณภาพ ฯ ของ กศน.อำเภอพระนครศรีอยุธยา  คือ นักศึกษาเข้าห้องสอบ NT  คิดเป็นร้อยละ 95 %   ครู กศน. งานทะเบียน ผู้บริหารสถานศึกษา  ให้ความสำคัญกับการประเมินคุณภาพ ฯ ได้ทำการประชาสัมพันธ์ ติดประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้ารับการประเมินให้ทราบล่วงหน้า ทำให้นักศึกษามีความสนใจในการสอบ  ส่วนผู้ที่ไม่เข้าสอบอาจเนื่องจากติดภาระกิจจำเป็นบางประการ  ซึ่งสถานศึกษาจะทำการทบทวนข้อปัญหาและนำเสนอหน่วยงานต้นสังกัดในลำดับต่อไป
หมายเลขบันทึก: 428955เขียนเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2011 23:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ประเมินคุณภาพสถานศึกษา

วันอังคารที่ ๘  มีนาคม พ.ศ.  ๒๕๕๔

กศน.อำเภอพระนครศรีอยุธยา รับการประเมินคุณภาพสถานศึกษาโดยต้นสังกัด ปีงบประมาณ  พ.ศ. ๒๕๕๔

           ตามพระราชบัญญัติ การศึกษาแห่งชาติ  พ.ศ. ๒๕๔๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒)  พ.ศ. ๒๕๔๕  หมวดที่ ๖ มาตรา  ๔๘  กำหนดให้หน่วยงานต้นสังกัดและสถานศึกษาจัดให้มีระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาและให้ถือว่าการประกันคุณภาพภายในเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารสถานศึกษา  ที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง  มีระบบ มีการจัดทำรายงานการประเมินตนเองเสนอต่อหน่วยงานต้นสังกัด  หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เปิดเผยต่อสาธารณชนและรองรับการประเมินคุณภาพภายนอกต่อไป

             อ.ศิริพรรณ  ขำศรีบุศ  กล่าวต้อนรับ นายวสันต์   รัชชวงษ์  รองผู้อำนวยการ สำนักงาน กศน.จังหวัดพระนครศรีอยุธยาพร้อมด้วย  ผอ. พรทิพย์   จันทรวิเชียร อาจารย์สมจิตร  ชี้แจง  และอาจารย์รานี  น้อยสกุล  คณะกรรมการประเมินคุณภาพสถานศึกษา 

            อ.เอมอร บริบรูณ์  กล่าวต้อนรับพร้อมนำเสนอผลงาน กศน.อำเภอพระนครศรีอยุธยา พร้อม  BEST PRACTICE และแนะนำที่แตกต่างจากอำเภออื่นๆคือมีการเทียบระดับ/ปวช

           มาตรฐานที่  ๑ ปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย วัตถุประสงค์ กลยุทธ์และแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา

  ผู้รับผิดชอบประกอบด้วย        ๑.  น.ส.สุภาพ  ไกรทอง    

                                         ๒.  น.ส.นุสรัติ   รยะติสวัสดิ์

                                         ๓.  นายรังสรรค์  บุญพึ่ง

                                         ๔. น.ส.อัจฉรีญาธร  นพวัชร์บวรภัค (ผู้เขียน)

                                         ๕. นายจักรกฤดิ  ไตรสารศรี 

                มาตรฐานที่ ๑  มีนายวสันต์   รัชชวงษ์  รองผู้อำนวยการ สำนักงาน กศน.จังหวัดพระนครศรีอยุธยา  ผู้ตรวจแฟ้มประเมินพร้อมให้คำแนะนำ  เพื่อนำไปปรับปรุงพัฒนางานต่อไป

จากการรับฟังการประเมินมาตรฐานที่  ๑  มีข้อเสนอแนะดังนี้

๑.ประชากรวัยเรียน  ให้ใช้ ประชากรวัยแรงงาน  อายุ ๑๕-๕๙ ปี 

๒.แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษารวม – หนังสือเชิญวิทยากร, หนังสือเชิญประชุม,วาระการประชุม,รายงานการประชุม เอกสารต้องมีการรับรองจากผู้มีอำนาจ โดย ผอ.

 ๓.การเชิญประชุม บุคลากรในสถานศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาและภาคีเครือข่าย  ต้องแจ้งวาระการประชุมแนบสิ่งที่ส่งมาด้วย (ถ้ามีวาระเข้าที่ประชุมให้เสนอมาก่อนเพื่อเข้าประชุม)

4.วาระการประชุม  ๕วาระ ต้องมีการบันทึกการประชุมและมีรายงานการประชุม

        วาระที่ ๑  ประธานแจ้งที่ประชุม

        วาระที่ ๒ รับรองการประชุม

        วาระที่ ๓  เรื่องสืบเนื่อง               

        วาระที่  ๕ เรื่องพิจารณา   มติการประชุม(รายละเอียด) มติที่ประชุมเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย ให้บันทึกเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบ โดยให้ใส่จำนวนคนด้วย  (สมส.ตามดูร่องรอย)

         วาระที่  ๖  วาระอื่นๆคือการเพิ่มเติมให้ศึกษารายละเอียดเสนอวาระเข้าประชุมต้องทำเป็นหนังสือด้วย      

   ๔. แผนคุณภาพระยะกลาง ๓ ปี ๒๕๕๓-๒๕๕๕ หรือแผนระยะยาว อาจมีนโยบายปรับเปลี่ยนใหม่ให้มีการทบทวนมีการปรับแผน ๑.๒ เรื่องทบทวน ต้องผ่านการประชุมและเห็นชอบจากคณะกรรมการด้วยต้องมีการเชิญประชุมอีกเพื่อเอาปัญหามาแก้ไขทำในปีต่อไป

  ๕.ให้ทำประกาศ (วันหยุด) กำหนดวันหยุดให้ชัดเจน ของบุคลากรด้วย

  ๖.ให้มีหนังสือส่งตัว (ทางราชการ) ไปยังตำบลที่ครูอยู่เพื่อแนะนำเจ้าหน้าที่รับผิดชอบ (นายก อบต.หรือเทศบาล ฯลฯ)

  ๗. หัวหน้า กศน.ตำบลทุกๆตำบล

               - ต้องทำแผนการปฏิบัติงานของตำบล เป็นรูปเล่มพร้อม SAR ของ กศน.ตำบลประเมินตนเองพัฒนางานอย่างไรบ้าง (กำหนดตัวบ่งชี้) ต้องทำทวนให้เป็นไปตามแผน

              - ต้องทำหนังสือรับรองการปฏิบัติงาน เช่น อาชีพ ,ทักษะชีวิตฯลฯ

            -  กศน.ตำบลให้ทำรายงานสำรวจข้อมูล เช่นสำรวจการศึกษาของ อสม.ตำบล สำรวจประชากรวัยแรงงานและสำรวจข้อมูลตำบล

   ๘.ให้มีแผนการนิเทศติดตาม กศน.ตำบล  ให้ทำเป็นคำสั่ง ,แผนนิเทศ ให้มีรายงานเป็นแบบฟอร์มให้มีหลากหลายในการนิเทศ และให้ทำรายงานผลการนิเทศ พร้อมภาพ รายงานให้ ผอ.   การประเมินต้องมีสื่อเอกสารและ Media    

 หมายเหตุ     ท่านรองวสันต์ กล่าวว่าในปีงบประมาณ ๒๕๕๕ จะไม่ให้มีทักษะชีวิตจะให้เน้นอาชีพใน กศน.ตำบล      จบข้อมูลที่รับทราบเท่านี้ค่ะ

                         เดินทางมาแสนไกล ขอพักบล็อกคนใจดีหน่อยนะค๊าบ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท