Calibration


Calibration (การสอบเทียบ) เป็นการสอบเทียบและปรับความถูกต้องของเครื่องมือวัด (ตามหลักวิชาการ) กับมาตรฐานอ้างอิง (reference standard) เพื่อให้มั่นใจว่า  ข้อมูล/กระบวนการ/วิธีการ จะเป็นไปตามมาตรฐาน ซึ่งเมื่อผนวกกับคุณภาพตามมาตรฐานของ input อื่นๆ เช่น วัสดุ บุคลากรหรือแรงงาน ก็จะได้สินค้า/บริการ ที่มีคุณภาพมาตรฐาน   

Calibration มี 2 แบบคือ Intra-calibration เป็นการสอบเทียบและปรับความถูกต้องภายในตัวเครื่องมือวัดนั้นเอง เพื่อให้มั่นใจว่า มีความเที่ยง (validity) แม่นยำ (precision) เชื่อถือได้ (reliability) โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเป็นมาตรฐานอ้างอิง  ส่วน Inter-calibration เป็นการสอบเทียบและปรับความถูกต้องของเครื่องมือวัดนั้นกับเครื่องมืออื่นๆ รวมทั้งมาตรฐานอ้างอิง

ตัวอย่าง การ Calibrate ทันตาภิบาลให้ตรวจฟันกรามแท้เด็กประถมศึกษาปีที่ 1 ที่โรงเรียนได้อย่างถูกต้องเพื่อนำมาเคลือบหลุมร่องฟัน (sealing) ที่สถานพยาบาล  มาตรฐานอ้างอิงคือ ทันตแพทย์ (ในที่นี้เรียก gold standard)  โดยจำลองสถานการณ์ให้เหมือนกับการปฏิบัติงานจริงมากที่สุด  ขั้นตอนคือ

1) การทบทวน/ทำความเข้าใจในเรื่อง ข้อบ่งชี้ในการ seal  การตรวจ (ตำแหน่งท่าทางเด็ก/ผู้ตรวจ วิธีตรวจ การบันทึกผลการตรวจ)   

2) ทั้งทันตาภิบาลและมาตรฐานอ้างอิง ตรวจและบันทึกผลการตรวจเด็ก X คน โดยให้มาตรฐานอ้างอิงตรวจ 2 รอบเพื่อ Intra-calibration      

3) เปรียบเทียบผลการตรวจของทันตาภิบาลกับมาตรฐานอ้างอิง ชี้แจงและอธิบายเกณฑ์การวินิจฉัย   

4) ให้ทันตาภิบาลตรวจครั้งที่ 2 และ 3 โดยไม่ให้เห็นผลตรวจครั้งที่ 1  

5) วิเคราะห์ Kappa เปรียบเทียบผลการตรวจของทันตาภิบาลกับตัวเอง และกับมาตรฐานอ้างอิง     ค่า Kappa ที่ยอมรับคือ 0.8-1 ทั้ง intra และ inter Calibration 

ประโยชน์ของ Calibration ให้เครื่องมือได้มาตรฐานคือ การควบคุม information bias    ดังนั้นผู้เป็นมาตรฐานอ้างอิงซึ่งคือผู้เฉลยและชี้ขาด ต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนั้น สามารถอธิบาย/ชี้แจงให้ผู้ถูกปรับมาตรฐานยอมรับด้วยการใช้ความรู้อย่างมีเหตุผล  ในความเป็นจริง การบอกว่าทักษะความสามารถของบุคคลหนึ่งๆ เป็น มาตรฐานอ้างอิง อาจเหนือจริงไปหน่อย  การใช้คำ gold standard จึงเป็นที่ยอมรับกันมากกว่า คำว่า มาตรฐานอ้างอิง (reference standard) 

ผู้ที่ต้องการไฟล์ตัวอย่าง Kappa analysis สามารถ download ได้ที่

http://gotoknow.org/file/phenkhael/view/696526       

หมายเลขบันทึก: 428854เขียนเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2011 14:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 18:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท