เศรษฐกิจชีวิตคู่-คนไม่คู่ก็อ่านได้


สำนักข่าว VOAnews ภาคภาษาไทย ตีพิมพ์เรื่อง 'Spousonomic แนะนำให้ใช้หลักเศรษฐศาสตร์ Comparative Advantage เพื่อสร้างความสุขในชีวิตคู่', ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟัง และเรียนเสนอให้ท่านผู้อ่านแวะไปอ่านต้นฉบับจริงครับ
อาจารย์พอลา ซุคแมน และอาจารย์เจนนี แอนเดอร์ซัน ผู้เขียนหนังสือ 'Spousonomics: Using Economics to master love, marriage, and dirty dishes' = "เศรษฐกิจชีวิตคู่ (spouse = คู่ครอง; economics = วิชาเศรษฐศาสตร์): ใช้เศรษฐศาสตร์จัดการความรัก การแต่งงาน และจานสกปรก" กล่าวว่า

(1). วิธีแบ่งงานแบบตายตัว 50/50 หรือเอาสองหารไปทุกเรื่อง อาจทำให้เกิดปัญหาตามมา (ที่พบบ่อย คือ หย่าร้าง เลิกกัน แยกกัน เลิกคบ ทำร้ายกัน ฯลฯ) เพราะไม่มีใครทำอะไรได้ดี และรวดเร็วไปเสียทุกอย่าง

ควรใช้หลัก 'comparative advantage' หรือประโยชน์ที่ได้รับจากความถนัด-ความเชี่ยวชาญในงานมาช่วย เช่น ใครล้างจาน-ซักผ้า-ถูพื้นเก่งกว่า-เร็วกว่า หรือชอบงานแบบนี้มากกว่าก็รับไปมากหน่อย ใครไม่เก่งเรื่องนี้ก็รับไปน้อยหน่อย จะทำให้งานทั้งหมดเสร็จเร็วขึ้น และได้ผลมากกว่า "รวมพลังหารสอง"
.
(2). ซื่อสัตย์และปรึกษาหารือกันว่า งานไหนถนัดมากหรือน้อย ชอบมากหรือน้อย เพื่อให้แบ่งสันปันส่วนกันตามข้อ (1) ได้อย่างเหมาะสม
.
(3). เรียนรู้สิ่งใหม่ อะไรที่ไม่เก่ง-ไม่ถนัด-ไม่เชี่ยวชาญ แต่เป็นงานที่ต้องทำร่วมกันก็ควรเรียนรู้ และเข้าไปมีส่วนร่วม เช่น ทำกับข้าวไปเก่งก็ขอเป็นลูกมือช่วยงานอีกฝ่ายหนึ่ง ดีกว่าไม่สนใจ เพราะนี่เป็นโอกาสทองที่จะได้ "ให้เวลาซึ่งกันและกัน"
.
(4). ปล่อยวางความสมบูรณ์แบบ เช่น ถ้าอีกฝ่ายตั้งใจทำงานแล้วเป็นอย่างไรก็ไม่ควรติ (เช่น กับข้าวไม่อร่อย ฯลฯ) ควรแสดงความชื่นชมในความพยายาม หัดยอมรับความแตกต่าง และหาทางส่งเสริมให้อีกฝ่ายเก่งขึ้นเท่าที่จะทำได้ เช่น สอนเคล็ดลับในการทำงานนั้นๆ ให้ (เช่น วิธีเจียวไข่ให้หอม ฯลฯ) ฯลฯ
.
(5). ความยุติธรรมไม่จำเป็นต้อง = 50/50 แต่อาจเป็น 70/30, 80/20, 90/10, 99/1 หรืออะไรก็ได้, ตราบเท่าที่ปรึกษาหารือ หรือพูดคุยกันแล้ว มีความพึงพอใจร่วมกัน (คนในบ้าน)
.
อ.ซุคแมนและ อ.แอนเดอร์ซัน แนะนำว่า ชีวิตคู่ (หรือแม้ความเป็นเพื่อน คนในครอบครัว ญาติสนิทมิตรสหาย ฯลฯ) คล้ายกับหลักทางเศรษฐศาสตร์ คือ ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด เช่น เงินทอง เวลา กำลังใจ ฯลฯ ให้เกิดประโยชน์ และ "ความสุข" สูงสุด
.
ทั้งนี้และทั้งนั้น, ขอให้ใช้หลักเชิงบวกมากกว่าเชิงลบ เช่น แสดงความชื่นชมให้มาก-ติเตียนให้น้อยที่สุด, ให้กำลังใจให้มาก-ทำอีกฝ่ายเสียกำลังใจให้น้อยที่สุด ฯลฯ และกล้าที่จะขอโทษ-ขออภัยกัน เพื่อเริ่มต้นความสัมพันธ์ที่ดีขึ้นใหม่เสมอ
.
หมายเลขบันทึก: 428781เขียนเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2011 07:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท