จริงอยู่ที่ว่ากฎหมายเป็นกฎเกณฑ์ควบคุมความประพฤติของคนในสังคมให้อยู่ในร่องในรอยอันเป็นการจัดระเบียบให้กับสังคมและยังอยู่คู่กับสังคมของเรามาตั้งแต่สมัยยุคมนุษย์หินแล้ว
ดังนั้นที่ใดมีสังคมที่นั้นย่อมต้องมีกฎหมายเห็นจะจริง
และขอเพิ่มเติมอีกว่าถ้ามีเพียงแค่ตัวบทกฎหมายแล้วไม่มีเครื่องมือในการใช้มันก็คงไม่มีประโยชน์ใด
จึงกล่าวได้ว่าเมื่อมีกฎหมายย่อมต้องมีนักกฎหมายด้วย
นักกฎหมายจึงอาจเปรียบเสมือนเครื่องมือหรือตัวช่วยในการปรับโครงสร้างทางสังคม
ตลอดจนช่วยเหลือให้เพื่อนมนุษย์ทั้งหลายสามารถเข้าถึงตัวบทกฎหมายและเข้าใจว่าแท้ที่จริงกฎหมายต่างๆ
ที่ตราใช้ขึ้นในปัจจุบันมีเพื่อประโยชน์แก่พวกเขาอย่างไรและสามารถใช้กฎหมายมาแก้ปัญหากับข้อพิพาทต่างๆได้อย่างถูกต้องและเป็นธรรม
ก่อให้เกิดความสงบและความร่วมมือร่วมใจในสังคม
แต่ในทางกลับกันนักกฎหมายบางคนที่ไม่คำนึงถึงหลักวิชาชีพของตนกลับนำกฎหมายมาใช้เพื่อเอาเปรียบสังคมโดยการตีความกฎหมายให้เกิดความสับสน หรือหาช่องว่าต่างๆนานาในการช่วยเหลือให้ผู้กระทำผิดต้องลอยนวลไป ทำให้สังคมปั่นป่วนวุ่นวาย ประชาชนเดือดร้อนทุกหย่อมหญ้า ท่านใดที่เป็นนักกฎหมายพึงพิจารณาตัวท่านเองเถิดว่า ตอนนี้ท่านเป็นนักกฎหมายประเภทใด แล้วคิดดูว่าท่านจะเป็นนักบุญหรือมือสังหาร...
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย ดวงเด่น ใน "ที่ใดมีสังคม ที่นั่นมีกฎหมาย"
คำสำคัญ (Tags)#สังคม#ชีวิต#สัพเพเหระ#ความคิดเห็น#กฎหมายเพื่อสังคม#หลักกฎหมายทั่วไป#ทัศนคติ
หมายเลขบันทึก: 42855, เขียน: 05 Aug 2006 @ 18:04 (), แก้ไข: 23 Jun 2012 @ 17:57 (), สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการ, ความเห็น: 14, อ่าน: คลิก
ขอบใจจ๊ะที่ค้นมาเขียนให้ค่ะ น่าจะมีอ้างอิงด้วยนะว่า ที่เอามาอธิบายนี้เอามาจากไหน
แล้ว jus dispositivum ล่ะ ไม่อธิบายหน่อยหรือ
ฮิฮิ เรียกว่า ได้ห้าแล้วจะเอาสิบ