คัดกรองเบาหวานและความดันแล้ว...เจอจนได้


ฉันตัดสินใจทำกิจกรรมคัดกรองเบาหวานและความดันในโรงเรียนอีกครั้ง

 เมื่อเด็กคนหนึ่งพูดว่า

"พ่อหนูเป็นอะไรไม่รู้ชาไปทั้งตัว ไม่มีแรงด้วยค่ะ"

และทราบว่าพ่อของเด็กไม่ชอบไปหาหมอ เพราะกลัวเจอโรคที่ไม่อยากเจอ

ฉันนึกถึงงานที่ฉันรับผิดชอบคืองานสอนวิชาจิตอาสาในโรงเรียน

ฉันคิดว่าฉันน่าจะทำอะไรผ่านกิจกรรมการเรียนการสอนให้เด็กได้เรียนรู้ร่วมกัน

กับชุมชน เราจึงวางแผนการเรียนรู้ และทำงานจิตอาสาร่วมกัน

รวมถึงการทำหน้าที่ลูกที่ดี ดูแลและเข้าใจสภาวะจิตใจของพ่อแม่

 และคนใกล้ชิด เพื่อนบ้านด้วยหัวใจมิตรภาพบำบัด

ดังนั้นเราจึงกำหนดวันเวลา โดยถือเอาวันวาเลนไทน์ 14 กุมภาพันธ์ 2554

เป็นวันทำงานคัดกรองวัดความดัน เจาะเลือดให้นักเรียนร่วมกิจกรรมมอบความรักให้พ่อ

แม่ผู้ปกครอง เราตั้งเป้าหมายไว้ 50 คน แต่มารับบริการ 47 คนค่ะ

ใครจะเป็นผู้คัดกรอง แต่กำหนดสถานที่คืออาคารเอนกประสงค์ของรร.สหกรณ์นิคมเกลือ

ฉันนำเสนอไปยังผู้อำนวยการโรงเรียนนางเกศมณี  แสงงาม ให้ท่านทราบและ

ประสานไปยังรพ.ที่ปฐมภูมิ (คุณญาดา) และได้รับการตอบรับพร้อมเครื่องมือ

ในการทำงาน อสม.ประจำหมู่บ้านและกลุ่มแกนนำจิตอาสารพ.สมุทรสาคร

เราประชุมร่วมกัน @74806 และงานก็เริ่มขึ้นด้วยความตื่นเต้นของพวกเราทุกคน

เริ่มคัดกรองตั้งแต่เวลา 08.30น.จนถึง 12.00 น.จึงพัก เก็บข้อมูลส่งรพ.

สรุปการทำงานร่วมกัน ได้ข้อสรุปว่ามีประชาชนต้องการให้เราทำอีก

เพราะช่วยให้เขาได้รู้ทันเบาหวานข้อเสนอแนะ

และมีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการซักข้อมูลผู้ป่วย

พี่จินต์จิตอาสาจากตลาดได้แนะนำการลงข้อมูลให้จิตอาสากลุ่มโคกขาม

หลังจากแลกเปลี่ยนการทำงานกันแล้วจึง แจ้งผลการคัดกรองของผู้ปกครอง

ให้เด็กน้อยมีส่วนร่วมในการรับรู้กิจกรรมวันนี้  @74852

จากการคัดกรองเราพบว่า มีพ่อเด็กคนหนึ่งมีผลเลือดสูงมากกว่า 400  

ซึ่งมากกว่าคนอื่นๆและอีกรายสูงพอดี 400 ทั้งๆที่ออกกำลังกายเต้นแอโรบิคทุกวัน

และแต่มีความดันปกติ สำหรับพ่อของเด็กเขาสารภาพว่าเมื่อคืนเขาดื่มน้ำหวานยอดฮิดสี

แดงเมื่อตอนหัวค่ำไปหลายแก้ว เขาคิดว่าถ้าเขาไม่ดื่มน้ำตาลในเลือดคงไม่สูงอย่างนี้

เสียงเขาบ่นเบาๆว่าทำไมน้ำตาลขึ้นสูงกว่าปีที่ผ่านมา(เราเคยทำกิจกรรมแบบนี้ในรร.มา

ครั้งหนึ่งแล้ว ครั้งเพื่อถวายพ่อหลวง)ทุกคนรู้สึกเป็นห่วงในผลที่ออกมา แต่ดูเหมือนเจ้า

ตัวจะไม่สนใจและเมื่อฉันขอร้องให้เขาไปพบแพทย์ แต่เขาบอกว่า อีก 6 เดือนครับ

ผมเพิ่งไปพบมา เขาคงรอพบแพทย์ตาใบนัด ฉันรู้สึกเป็นห่วงเขามาก

ต่อมาอีกสัปดาห์ เขารู้สึกเพลียมาก และน็อค น้ำตาลสูงถึง 500 เพื่อนบ้าน

ช่วยกันนำส่งรพ.ด่วน จิตอาสาน้อยพากันสนทนาเรื่องนี้

และกลายเป็นประเด็นพูดคุยกันว่า ถ้าผู้ปกครองเป็นเช่นนี้ควรทำอย่างไร

พวกเขาควรเรียนรู้อาการเบื้องต้นของเบาหวานไหม

และเขาจะช่วยเหลือครอบครัวได้อย่างไร หากคนในบ้านเกิดป่วยกระทันหันเช่นกรณีนี้

คำถามเกิดขึ้นมากมาย พวกเราควรต้องเร่งพัฒนาระบบ

และถ่ายทอดเรื่องราวของเบาหวาน โดยขอความร่วมมือกับจนท.ที่เกี่ยวข้อง

มาให้ความรู้กับจิตอาสาน้อยอย่างเหมาะสม

ดญ.จู๊พูดกับเพื่อนว่า"เราว่า..ที่จริงเครื่องมือที่ใช้คัดกรองก็มาจากรพ.นะ

ทำไมพ่อของ....ไม่เชื่อไม่เชื่อคำแนะนำ

ดช.ดำบอกว่าดีนะที่แม่เรารีบไปหาหมอเลย

และฉันคิด ผู้ปกครองป่วยก็มีผลกระทบต่อจิตใจและการเรียนของเด็กน้อย

ใครจะว่าฉันทำงานเกินหน้าที่ฉันก็ไม่คิดจะโกรธเคือง

เพราะอย่างน้อยฉันก็ทำให้เด็กน้อยของฉันได้เรียนรู้

และได้ช่วยดูแลสุขภาพผู้ปกครองที่รักของพวกเขา

สุดท้ายขอขอบคุณslide.com ที่เป็นช่วยให้ฉันได้นำพา

เรื่องราวการทำงานของแกนนำจิตอาสาเบาหวาน

และงานมิตรภาพเบาหวานบำบัดรพ.สมุทรสาคร

ถูกส่งไปถึงนายแพทย์กรภัทร  มยุรสาคร 

นายแพทย์ขวัญใจผู้ป่วยเบาหวานรพ.สมุทรสาคร

ที่ช่วยให้พวกเราจดจำสโลแกน

"เบาหวานสุขแต่ไม่หวาน"ได้อย่างมีความหมาย

และวันนี้ฉันได้รับจดหมายจากคุณหมอกรภัทร มยุระสาคร

ฉันอ่านด้วยความซาบซึ้งในน้ำใจและความห่วงใย

ที่คุณหมอมีต่อผู้ป่วยเบาหวานทุกคน

อยากจะบอกว่าแนวทางการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้ป่วยของคุณหมอ

ทำให้มีวันนี้ วันที่พวกเราชาวDM ได้มีชีวิตอยู่กับเบาหวานได้อย่างมีความสุข

โดยไม่ต้องพึ่งยา อีกทั้งยังช่วยยืดอายุการทำงานของไตอีกด้วย

ขอขอบคุณนายแพทย์กรภัทร  มยุระสาคร ไว้ ณ ที่นี้ด้วยค่ะ

ข้างล่างนี้คือจดหมายของคุณหมอที่บ่งบอกความห่วงใย

ความปรารถนาดีต่อผู้ป่วยเบาหวานทุกคนค่ะ

Dear krutoi,

Thank you for your photos. These remind me of the old days. One of the problems health care system especially at Samutsakhon hospital has is that we don't have a protocol how to take care of screened people. Most people if they have high blood sugar, in general they will go to get medicine right away. Most patients who cannot control their blood glucose will be received more medicine even though properly practicable lifestyle changes are enough.

Moreover, medicine in Thailand is for free!! Patients don't care about the value of these drugs.

I really hope that hospitals and PCU will work closely together and understand how to handle these things.

Last, guideline said that people should be screen ever 3 years for DM. Too often and too rare are bad.

By the way, thank you for your pictures. I am still missing you and my people!.


Best,

Korapat
Sent via BlackBerry by AT&T

 

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 428256เขียนเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2011 22:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 14:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีครับ เคยเรียนที่ศรีธรรมราช ก็คงรู้จัก "คอน" ดี ครับขอบคุณมากครับ  ผลงานที่ผมกำลังเสนอ จากใจจริงของคนคอน  และผมเองรักสังคมมาก ๆ เพราะ ผมชาวนา

Ico48

ขอบคุณค่ะ

ตรงไปตรงมาดีจังเลย

เมืองคอนมีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจมาก

เอามาบันทึกให้อ่านบ้างนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท