การส่งเสริมการเลี้ยงทารกด้วยนมมารดา โรงพยาบาลโพธาราม


การให้นมมารดาแก่ทารก ถือเป็นสิ่งที่ประเสริฐที่สุด ที่มารดาจะสามารถทำให้ลูกได้ โดยไม่ต้องลงทุนใดๆ แต่ผลลัพธ์ที่ได้เกินกว่าจะประมาณค่าได้จริง
ชื่อเรื่อง             ประสิทธิผลของโครงการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่แก่มารดาในเขตอำเภอโพธาราม  จังหวัดราชบุรี

                       Effectiveness of Breastfeeding Promotion Project to Mother at Photharam District,Ratchaburi Province

ชื่อผู้วิจัย            พงษ์พจน์  ธีรานันตชัย  พ.บ.

              
จากการศึกษาครั้งนี้  ก่อนการทดลอง พบว่า กลุ่มตัวอย่าง ทั้งในกลุ่มทดลองและควบคุม มีคะแนนเฉลี่ยความรู้และทัศนคติเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ใกล้เคียงกัน  และเมื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยความรู้และทัศนคติเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่หลังการทดลอง ระหว่าง 2 กลุ่ม พบว่า กลุ่มทดลอง มีคะแนนเฉลี่ยความรู้และทัศนคติเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สูงกว่ากลุ่มควบคุม แต่เป็นความแตกต่างอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ  นอกจากนี้พบว่า มารดากลุ่มทดลองเลี้ยงลูกด้วยนมแม่  นาน 6 เดือนขึ้นไป มีจำนวนมากกว่ากลุ่มควบคุม คิดเป็นร้อยละ 27.5  ซึ่งยังไม่บรรลุเป้าหมายตามนโยบายของประเทศ ที่ต้องการให้มารดาเลี้ยงลูกด้วยนมแม่  นาน 6 เดือน เพิ่มขึ้นเป็น ร้อยละ 30 ทั้งนี้ผู้วิจัยและเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลโพธารามทุกคน ต่างไม่ท้อถอยต่อปัญหาและอุปสรรค หากจะนำผลจากการศึกษาที่ได้รับมาปรับปรุงหาแนวทาง และพัฒนากิจกรรมส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างยั่งยืนต่อไป
 
                  รูปแบบการดำเนินงานในกานส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่แก่มารดา
                                     โรงพยาบาลโพธาราม จังหวัดราชบุรี
ครั้งที่ 1 : สัปดาห์ที่ 1
กิจกรรมที่ 1   การให้ความรู้เรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ (เวลา 15 นาที)
                   - อธิบายความเป็นมาและความสำคัญของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
                   - ให้ความรู้เรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โดยให้กลุ่มตัวอย่างดูวิดีทัศน์เรื่องนมแม่ ทุนสมองของลูกรัก   แจกหนังสือ เรื่อง นมแม่ ทุนสมองของลูกรัก เพื่อกลุ่มตัวอย่างศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง
กิจกรรมที่ 2   การอภิปรายถึง ประโยชน์ และปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ (เวลา 15 นาที)
                  - ให้กลุ่มตัวอย่างทุกคนเขียนความคิดเห็นของตน เกี่ยวกับข้อดี และประโยชน์ของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่  กล่าวสรุปให้กลุ่มตัวอย่างฟังหน้าห้องและร่วมแสดงความคิดเห็น
กิจกรรมที่ 3 การสาธิตและการฝึกท่าทางการให้นมแก่ทารก และวิธีการเก็บนมแม่ (เวลา 30 นาที)
                - ให้กลุ่มตัวอย่างดูวิดิทัศน์ เรื่อง แม่ทำงาน บีบ .. เก็บ .. ตุน.. น้ำนมให้ลูกกินได้
                - สาธิตวิธีการ ท่าทางการให้นมแก่ทารก และวิธีการเก็บนมแม่
                - ให้กลุ่มตัวอย่างฝึกปฏิบัติพร้อมๆกัน และให้กลุ่มตัวอย่างร่วมกันเสนอแนะ
กิจกรรมที่ 4 การซักถามและตอบปัญหา (เวลา 15 นาที)
                - เปิดโอกาสให้กลุ่มตัวอย่างซักถามปัญหาในทุกประเด็นเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
                 - ร่วมตอบปัญหา ข้อซักถาม และสรุปประเด็น
ครั้งที่ 2 : สัปดาห์ที่ 2
กิจกรรมที่ 5 การกระตุ้นเตือนด้วยโปสเตอร์และการประชุมกลุ่ม (เวลา 30นาที)
                 - กลุ่มตัวอย่างบอกถึง ข้อสงสัย ปัญหาและอุปสรรคที่อาจเกิดขึ้นจากการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และร่วมกันแก้ไข
                 - บุคลากรให้กำลังใจ กระตุ้นเตือน ให้กลุ่มตัวอย่างตระหนักถึงความสำคัญของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
                 - ประเมินผลหลังการได้รับความรู้ด้วยแบบสอบถามชุดเดิม (Post – test)
ครั้งที่ 3 : หลังคลอดก่อนกลับบ้าน
         คณะ ผู้วิจัยเยี่ยมมารดาและทารกก่อนกลับบ้าน เพื่อติดตามปัญหา อุปสรรคที่อาจเกิดขึ้นจากการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่  พร้อมทั้งการส่งเสริม แนะนำให้กำลังใจ ให้คำปรึกษาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

 ครั้งที่ 4 : 1 เดือน หลังคลอด   ครั้งที่ 5 : 3 เดือน หลังคลอด     ครั้งที่ 6 : 6 เดือน หลังคลอด 

           ครั้งที่ 4 ถึงครั้งที่ 6 ที มผู้วิจัยติดตามเยี่ยมทางโทรศัพท์    เพื่อสอบถามปัญหา อุปสรรคที่อาจเกิดขึ้น จากการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่  พร้อมทั้งการส่งเสริม แนะนำให้กำลังใจ ให้คำปรึกษาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ กระทั่งสิ้นสุดโครงการ  (6 เดือนหลังคลอด หรือ มารดางดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่) 

  โดย..นพ.พงษ์พจน์  ธีรานันตชัย ,วัลลี ธีรานันตชัย และกลุ่มงานสูตินรีเวชกรรม
หมายเลขบันทึก: 428247เขียนเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2011 21:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

รูปแบบการดำเนินงานดีมากเลยค่ะ เวลารวมกลุ่มสอนตามแนวทางอย่างน้อยต้องมีกลุ่มละกี่คนคะ พอดีที่โรงพยาบาลเป็นโรงพยาบาลขนาด 30 เตียง คลอดเดือนละ ประมาณ 20 คน จะวางแนวทางการดำเนินการได้ยังไงบ้างคะ

แล้วแต่สะดวกค่ะ กลุ่มละกี่คนก็ได้ ไม่จำเป็นต้องกลุ่มใหญ่ ยิ่งน้อยก็จะยิ่งได้รายละเอียดมากค่ะ มีเวลาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันมากกว่าด้วย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท