นวัตกรรมกับการบริหารการศึกษา


นวัตกรรม

นวัตกรรมกับการบริหารการศึกษา

ความหมายของ “นวัตกรรมกับการบริหารการศึกษา ซึ่งประกอบด้วยคำสำคัญ 2 คำ คือคำว่า “การบริหารการศึกษา ( Educational Administration ) ” และ “นวัตกรรม (Innovation )”  ดังนั้นจะขอแยกความหมายของคำทั้งสองนี้ก่อน

นวัตกรรม

        คำว่า "นวัตกรรม" หรือ นวกรรม  มีรากศัพท์เดิมมาจากคำว่า  นว แปลว่า ใหม่ กรรม แปลว่า  การกระทำ  ดังนั้นนวัตกรรมจึงแปลตามรูปศัพท์เดิมว่าเป็นการปฏิบัติหรือการกระทำใหม่ๆ  ในความหมายโดยทั่วไปแล้วสิ่งใหม่ๆ  อาจหมายถึงความคิด วิธีปฏิบัติ วัตถุหรือสิ่งของที่ใหม่  ซึ่งยังไม่เป็นที่รู้จักมาก่อน  คำว่านวัตกรรมนี้อาจมีผู้ใช้คำอื่นๆ อีก เช่น  นวัตกรรม  ความจริงแล้วก็เป็นคำ ๆ เดียวกันนั่นเอง

        Everette  M. Rogers ได้ให้ความหมายของคำว่า นวัตกรรม (Innovation) ว่า นวัตกรรมคือ ความคิด การกระทำหรือวัตถุใหม่ๆ ซึ่งถูกรับรู้ว่าเป็นสิ่งใหม่ๆ ด้วยตัวบุคคลเแต่ละคนหรือหน่วยอื่น ๆ ของการยอมรับในสังคม (Innovation is a new idea, practice or object, that is perceived as new by the individual or other unit of adoption)

การบริหารการศึกษา ( Educational Administration )

ความหมายของ “การบริหารการศึกษา ( Educational Administration )”  โดยดูจากคำว่า “การบริหารการศึกษา” ซึ่งประกอบด้วยคำสำคัญ 2 คำ  คือคำว่า “การบริหาร  ( Administration )” และ “การศึกษา ( Education )”  ดังนั้นจะขอแยกความหมายของคำทั้งสองนี้ก่อน

“การบริหาร” มีผู้ให้ความหมายไว้หลากหลาย ทั้งคล้ายๆกันและแตกต่างกัน ขอยกตัวอย่างสัก 6 ความหมาย ดังนี้

การบริหาร คือ ศิลปะของการทำงานให้สำเร็จโดยใช้บุคคลอื่น

การบริหาร คือ การทำงานของคณะบุคคล ตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ที่ร่วมกันปฏิบัติการให้บรรลุเป้าหมายร่วมกัน

การบริหาร คือ  การที่บุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปร่วมกันทำงาน เพื่อจุดประสงค์อย่างเดียวกัน

การบริหาร คือ  กิจกรรมที่บุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปร่วมกันดำเนินการ ให้บรรลุจุดประสงค์ร่วมกัน

การบริหาร คือ การใช้ศาสตร์และศิลปะนำทรัพยากรการบริหาร (Administrative resource) มาประกอบการตามกระบวนการบริหาร ( Process of administration ) ให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพ

การบริหาร คือศิลปะในการทำให้สิ่งต่างๆได้รับการกระทำจนเป็นผลสำเร็จ หมายความว่าผู้บริหารไม่ใช่ผู้ปฏิบัติ แต่ใช้ศิลปะทำให้ผู้ปฏิบัติงานทำงานจนเป็นผลสำเร็จตรงตามจุดหมายขององค์การ หรือตรงตามจุดหมายที่ผู้บริหารตัดสินใจเลือกแล้ว

จากความหมายของ”การบริหาร”ทั้ง 6 ความหมายนี้  พอสรุปได้ว่า  การดำเนินงานของกลุ่มบุคคลเพื่อให้บรรลุจุดประสงค์ที่วางไว้

“การศึกษา” ก็มีผู้ให้ความหมายไว้คล้ายๆกัน ดังนี้

การศึกษา คือ การงอกงาม หรือ การจัดประสบการณ์ให้เหมาะสมแก่ผู้เรียน เพื่อผู้เรียนจะได้งอกงามขึ้นตามจุดประสงค์

การศึกษา คือ ความเจริญงอกงาม ทั้งร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา

การศึกษา คือ การสร้างเสริมประสบการณ์ให้ชีวิต

การศึกษา คือ เครื่องมือที่ทำให้เกิดความเจริญงอกงามทุกทางในตัวบุคคล

จากความหมายของ ”การศึกษา” ข้างบนนี้พอสรุปได้ว่า  การพัฒนาคนให้มีคุณภาพ ทั้งความรู้ ความคิด  ความสามารถ และความเป็นคนดี เมื่อนำความหมายของ “การบริหาร” มารวมกับความหมายของ “การศึกษา” ก็จะได้ ความหมายของ “การบริหารการศึกษา” ว่า “การดำเนินงานของกลุ่มบุคคล เพื่อพัฒนาคนให้มีคุณภาพ ทั้งความรู้ ความคิด ความสามารถ และความเป็นคนดี” นั่นเอง

 “การบริหารการศึกษา ที่มีผู้ให้ไว้ ดังนี้

การบริหารการศึกษา คือ กิจกรรมต่างๆที่บุคคลหลายคนร่วมมือกันดำเนินการ เพื่อพัฒนาเด็ก เยาวชน ประชาชน หรือสมาชิกของสังคมในทุกๆด้าน เช่น ความสามารถ ทัศนคติ พฤติกรรม ค่านิยม หรือคุณธรรม ทั้งในด้านการสังคม การเมือง และเศรษฐกิจ เพื่อให้บุคคลดังกล่าวเป็นสมาชิกที่ดีและมีประสิทธิภาพของสังคม โดยกระบวนการต่างๆ ทั้งที่เป็นระเบียบแบบแผน และไม่เป็นระเบียบแบบแผน

การบริหารการศึกษา คือ กิจกรรมต่างๆที่บุคคลหลายคนร่วมมือกันดำเนินการ เพื่อพัฒนาสมาชิกของสังคมในทุกๆด้าน นับตั้งแต่บุคลิกภาพ ความรู้ ความสามารถ พฤติกรรมและคุณธรรม เพื่อให้มีค่านิยมตรงกันกับความต้องการของสังคม  โดยกระบวนการต่างๆที่อาศัยการควบคุมสิ่งแวดล้อมให้มีต่อบุคคล เพื่อให้บุคคลพัฒนาตรงตามเป้าหมายของสังคมที่ตนดำรงชีวิตอยู่

ดังนั้นจึงสรุปความหมายของ “การบริหารการศึกษา” ได้ว่า  “การดำเนินงานของกลุ่มบุคคลเพื่อพัฒนาคนให้มีคุณภาพ ทั้งความรู้ ความคิด ความสามารถ และความเป็นคนดี”

นวัตกรรมกับการบริหารการศึกษา

        ดังนั้นนวัตกรรมกับการบริหารการศึกษาจึงเป็นการใช้นวัตกรรมที่เกี่ยวข้องมาช่วยในการบริหารการศึกษา  เพื่อการตัดสินใจของผู้บริหารการศึกษาให้มีความรวดเร็วทันเหตุการณ์  ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก

        นวัตกรรมการศึกษาที่นำมาใช้ทางด้านการบริหารจะเกี่ยวข้องกับระบบการจัดการฐานข้อมูลในหน่วยงานสถานศึกษา  และนอกหน่วยงานสถานศึกษาเช่น ฐานข้อมูล นักเรียน นักศึกษา ฐานข้อมูล คณะอาจารย์และบุคลากรในสถานศึกษา  ด้านการเงิน  บัญชี  พัสดุ  ครุภัณฑ์ และระเบียบปฏิบัติ  กฎหมาย  พระราชบัญญัติ  ที่เกี่ยวกับการจัดการศึกษา ฐานข้อมูลเหล่านี้ต้องการออกระบบที่สมบูรณ์มีความปลอดภัยของข้อมูลสูง

คำสำคัญ (Tags): #นวัตกรรม
หมายเลขบันทึก: 428148เขียนเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2011 12:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 17:24 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท