สังคมสงเคราะห์ในประเทศจีน


 

จากการเข้าร่วมประชุมเรื่องการทบทวนนิยามความหมายใหม่ของสังคมสงเคราะห์ในแถบเอเชียที่กรุงโตเกียว ซึ่งมีประเทศเอเซียเข้าร่วม 12 ประเทศและได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนข้อมูลของแต่ละประเทศจึงขอนำมาบันทึกไว้

ประเทศจีน

  Yongxiang Xu, Vice president, Chiana Association for Social Work Education; East China Uneversity of Science and Technology. ได้เกริ่นนำความเป็นมาของการศึกษาสังคมสงเคราะห์ของจีนซึ่งได้รับการสนับสนุนจากองค์การสหประชาชาติตั้งแต่ระหว่างปี 1920 -1930 มีมหาวิทยาลัยเซี่ยงไฮ้และปักกิ่งเปิดสอนการเรียนการสอนสังคมสงเคราะห์และมีการปฏิบัติงานในโรงพยาบาลและชนบท  หลังจากปี 1949 จีนก้าวเข้าสู่ระบบคอมมูนิสต์บทบาทของงานสังคมสงเคราะห์จึงค่อยๆสูญหายไป

หลังปี 1979 จีนเริ่มเปิดประเทศและพัฒนาระบบเศรษฐกิจพิเศษทำให้ประชนชนมีรายได้เป็นของตนเองมาขึ้น การพัฒนาแบบก้าวกระโดดในเขตเศรษฐกิจพิเศษส่งผลให้ประชาชนเกิดความขัดแย้งภายในตนเองและสังคมเพราะใช้ชีวิตที่ซับซ้อนและโดดเดี่ยวมากขึ้นรัฐเล็งเห็นปัญหาจึงได้เริ่มมีการปฏิรูปการศึกษาและพัฒนานโยบายสังคมและในปี1987 กระทรวงศึกษา ได้นำการศึกษาสังคมสงเคราะห์ กลับมาอีกครั้ง อีก 5 ปีต่อมาได้จัดตั้งสมาคมการศึกษาสังคมสงเคราะห์ 

ในปี 2010นี้ประเทศจีนมีสถาบันการศึกษาสังคมสงเคราะห์ที่เปิด สอนในระดับปริญญาตรี 252 แห่ง ปริญญาโท 59 แห่ง และปริญญาเอก 12 แห่ง  ในนครเซี่ยงไฮ้ มีบริการสังคมสงเคราะห์ทั้งในระดับชุมชน โรงเรียน โรงพยาบาล และองค์กรการกุศลต่างๆ งานสังคมสงเคราะห์มีความต้องการมากขึ้นในเมืองเศรษฐกิจพิเศษริมชายฝั่งทะเล เช่น เชี่ยงไฮ้  เซินเจิ้น และเมื่อมีเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่ เขตหวินฉวน (Wenchuan) เมื่อ พฤษภาคม 2008  ภาพของงานสังคมสงเคราะห์ชัดเจนและได้รับการยอมรับจากสาธารณชนมากขึ้นเพราะ กลุ่มนักสังคมสงเคราะห์และองค์กรสังคมสงเคราะห์จากเมืองต่างๆได้รีบรุดเข้าไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยหรือผู้ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติครั้งนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพเป็นที่ประทับใจของประชาชนทั้งในระดับท้องถิ่นและรัฐบาลกลาง จึงมีผู้สนับสนุน ยอมรับ การปฏิบัติงานในลักษณะการเกื้อหนุน ระบบสวัสดิการสังคม  ขณะนี้รัฐบาลได้ตั้งเป้าว่าปี 2015 จะมีนักสังคมสงเคราะห์ 2,000,000 คน ส่วน ปี 2020 มีเพิ่มขึ้นอีก 1,000,000 คน

รัฐบาลจีนมีมุมมองเกี่ยวกับสังคมสงเคราะห์ว่าเป็นเครื่องมือในการบริหารประเทศให้สังคมมีความสงบกลมกลืน สังคมสงเคราะเป็นส่วนหนึ่งของการบริการสาธารณะและสวัสดิการสังคม รัฐคิดว่าองค์กรพัฒนาเอกชนให้การสงเคราะห์ประชาชนในฐานะผู้ช่วยรัฐบาลและควบคุมดูแลสังคม ไม่ใช่ในฐานะของภาคีที่มีความเท่าเทียมกันเพราะรัฐบาลท้องถิ่นมักหันหน้าเข้าขอให้องค์กรเอกชนช่วยงานสังคมสงเคราะห์

คำสำคัญ (Tags): #สังคมสงเคราะห์
หมายเลขบันทึก: 428036เขียนเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2011 21:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:37 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

อาจารย์โสภาครับ หากอยากรู้เรื่องราวเพิ่มเติมกี่ยวกับงานสังคมสงเคราะห์ในประเทศจีน สามารถศึกษาได้จากที่ไหนบ้างครับ และถ้าหากว่าสนใจไปทำงาน หรือเรียนต่อด้านสังคมสงเคราะห์ในประเทศจีน อาจารย์จะแนะนำไหมครับ และที่ไหนที่สามารถรับนักศึกษาไทยเรียนต่อโทบ้างครับคำถามสุดท้ายคืออยากทราบว่าปกติเคยมีนักศึกษาปริญญาตรีสังคมสงเคราะห์ไปฝึกวิชาชีพที่จีนบ้างไหมครับ และเขามีแนวจะเปิดรับนักศึกษาฝึกงานไหมครับอาจารย์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท