โครงงานชาแดง


โครงงานแปรรูปผลผลิตท้องถิ่น ชั้นม. 3 ปีการศึกษา 2552

   

 อยากจะอัฟบันทึกที่มีสาระบ้างนะคะ  จึงขอนำเอา โครงงานนักเรียน ในรายวิชา งานแปรรูปผลผลิตท้องถิ่น ง33207 ปีการศึกษา 2552 ที่ เคยนำเข้าร่วมแข่งขันระดับเขตพื้นที่การศึกษา  แต่ก็สู้กับ ขนมทองม้วนสมุนไพรไม่ได้  ได้นำบทที่ 1  มาลง ให้ได้ศึกษานะคะ บทต่อไปก็ตามมา  อิอิ  ภาพก็จะพยายามลงนะคะ 

 

  หลักการและเหตุผล

                โรงเรียนแม่หอพระวิทยาคม จังหวัดเชียงใหม่  ได้ทำกิจกรรมสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชตามแนวพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา  สยามบรมราชกุมารี   โดยให้นักเรียนทำการศึกษาพืชพรรณไม้พื้นเมือง  พืชผักสวนครัว พืชสมุนไพร  ที่มีสรรพคุณทางยาและเป็นพืชที่นำมาทำเป็นอาหาร เครื่องดื่มต่างๆ ที่ มีคุณค่าทางโภชนาการ มีสรรพคุณทางยา  ในชุมชนของเรามีการปลูกพืชสมุนไพรครัวเรือนหลายชนิดเป็นพืชที่ปลูกง่ายและใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย เช่น  นำไปปรุงอาหาร เครื่องดื่ม คาวหวาน  และยาสมุนไพรนอกจากนี้พืชผักสมุนไพรในครัวเรือนยังให้สีสัน เช่น กระเจี๊ยบแดงแดง ขมิ้น อัญชัน เป็นต้น พืชผักที่ให้กลิ่น เช่น ตะไคร้ ใบเตย ไพล โหระพา กระเพรา เป็นต้น

             จากการศึกษาสรรพคุณของพืชเหล่านี้   ทำให้คณะผู้จัดทำมีความสนใจเกี่ยวกับพืชพรรณไม้ประเภทผักสวนครัวที่เป็นสมุนไพร     และจากการสังเกต  การสำรวจข้อมูลด้านการทำเครื่องดื่มต่างๆ โดยทั่วไปยังไม่มีการนำพืชสมุนไพรจำพวก กระเจี๊ยบแดง ใบเตย มาผลิตเครื่องดื่มประเภทชา และผลิตภัณฑ์ตามท้องตลาดที่ผลิตอยู่ยังไม่มีเครื่องดื่มชาประเภทที่มีสีสัน และมักมีเครื่องดื่มที่ผลิตเป็นน้ำตะไคร้ นอกจากนี้พบว่ายังไม่มีชาแดงจากกระเจี๊ยบแดง มีแต่น้ำกระเจี๊ยบแดงที่นำไปต้มใส่น้ำตาลเป็นเครื่องดื่มเย็นคลายร้อนดับความกระหายน้ำเท่านั้น

                ดังนั้นผู้จัดทำจึงได้คิดดัดแปลงนำสรรพคุณและสีสันจากพืชสมุนไพรดังกล่าวมาทำเป็นชาแดงเพื่อสุขภาพ  ที่มีลักษณะเป็นผงชา  โดยคาดหวังว่าจะได้ชาที่มีรสชาติ  กลิ่น   สี  เป็นที่น่าสนใจสามารถ ชงเป็นชาร้อน มีความสะดวกในการนำมารับประทานในแต่ละครั้ง นอกจากนี้ในชุมชนทุกครัวเรือนจะได้ประโยชน์จากการปลูกพืชสมุนไพร   ผู้จัดทำโครงงานได้นำกระบวนการออกแบบเทคโนโลยีมาบูรณาการให้สอดคล้องกับสาระการเรียนรู้ การนำพืชพื้นบ้านในท้องถิ่นมา แปรรูปผลผลิตซึ่งมุ่งเน้นให้ผู้เรียนรู้จักการคิดวิเคราะห์   แก้ปัญหาด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ นำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาสอดแทรกในการดำเนินงานและนำไปใช้ในชีวิตประจำวันตลอดไป

 

วัตถุประสงค์

        1.  เพื่อศึกษาการนำสมุนไพรพื้นบ้านมาทำชาแดงเพื่อสุขภาพ

        2.  เพื่อศึกษาส่วนผสมของสมุนไพรพื้นบ้านที่เหมาะสมในการทำชา

        3.  เพื่อศึกษาการนำกระบวนการออกแบบเทคโนโลยีมาใช้ในการผลิตชา

 

สมมุติฐาน

                1. สมุนไพรพื้นบ้านหลายชนิดสามารถนำมาเป็นชาชงดื่มได้

                2. สีแดงของกระเจี๊ยบทำให้ชามีความน่ารับประทานมากขึ้น

 

ตัวแปรที่ศึกษา    การผลิตชาแดงเพื่อสุขภาพจากสมุนไพรพื้นบ้าน

ตัวแปรต้น           สมุนไพรพื้นบ้านมีจำนวนมาก

ตัวแปรตาม          นำสมุนไพรพื้นบ้านมาผลิตเป็นชาแดงเพื่อสุขภาพ

ตัวแปรควบคุม     ปริมาณ ส่วนผสมและปริมาณสมุนไพร

 

นิยามศัพท์เฉพาะ

                1. ชาแดงเพื่อสุขภาพ หมายถึง  ชาผงที่ผลิตมาจากพืชสมุนไพรในชุมชน  ที่มีสีแดงจากกลีบดอกของกระเจี๊ยบแดง  และมีกลิ่นหอมจากตะไคร้  และใบเตย

            2. ต้นทุน- กำไร  หมายถึง  งบประมาณต้นทุนที่ใช้ในการผลิตชาแดงคำนวณจาก ค่าวัตถุดิบในกระบวนการผลิตและค่าแรง กำไรหมายถึง งบประมาณที่คำนวณได้จาก   ร้อยละของราคาต้นทุน/ซอง

            3.  กระบวนการออกแบบและเทคโนโลยี หมายถึง  กระบวนการทำงานที่มีการศึกษาอย่างเป็นขั้นตอนและมีระบบแบบแผนตั้งแต่การกำหนดปัญหา   รวบรวมข้อมูล   เลือกวิธีการ  ออกแบบปฏิบัติการ  ทดสอบ  ปรับปรุงแก้ไข  และประเมินผล

 

ขอบเขตและข้อตกลงเบื้องต้น

             ในการศึกษาครั้งนี้เป็นการผลิตเครื่องดื่มสำเร็จรูปชื่อชาแดงเพื่อสุขภาพเป็นชาชนิดผง ที่ใช้ชงกับน้ำร้อน  บรรจุอยู่ในถุงชา  เมื่อจุ่มถุงชาลงในน้ำร้อนจะเกิดสีแดง และมีกลิ่นหอมของตะไคร้  ใบเตย     ชา 1 ถุง ชงได้ 1 แก้ว  ( น้ำ 120  มิลลิลิตร )  การผลิตชาแดงเพื่อสุขภาพได้นำไปทดลองให้บุคลากรในโรงเรียนจำนวน 100 คน ได้ชิมจำนวน  3 สูตร แล้วนำมาปรับปรุง ผลิตและจำหน่ายในเวลา  3  เดือน  เวลาผลิตสัปดาห์ละครั้ง  

 

ประโยชน์ที่จะได้รับ

                1. ใช้พืชผักสมุนไพรพื้นบ้านมาเป็นเครื่องดื่มชาร้อนอย่างคุ้มค่า

               2.  เกิดทักษะและได้สูตรของสมุนไพรพื้นบ้านที่เหมาะสมในการทำชา

                3. ได้รับความรู้เรื่องการออกแบบและเทคโนโลยีมาใช้ในการทำงาน

 

                                                    

  

      

หมายเลขบันทึก: 427885เขียนเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2011 00:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2015 20:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

โรงเรียนนี้..ท่าจะมีครูการงานฯเก่งนะ..อิอิ

สร้างผลิตภัณฑ์ได้เยอะ  และน่าสนใจ

โดยเฉพาะน้ำพริกสมุนไพร..อร่อย!!!

สวีสดีครับคุณครู  ชื่นชมยินดีกับโครงการนี้ครับ โดยเฉพาะ กระเจี๊ยบแดง  ตะใคร้ และชา นี่มีประสบการณ์ตรงเลย เป็นสมุนไพรประโยชน์มากครับ

สวัสดีค่ะ

ดีจังค่ะ จะได้มีงานวิจัยท้ังครูและเด็ก จะรอติดตามผลการติดตามว่าสูตรไหนเป็นที่นิยม และพึงพอใจมากที่สุด

ขอเป็นกำลังใจค่ะ

  • มหา ดื่นชาแดงไม่เป็น
  • ดื่มเป็นแต่กาแชาแฟ
  • คงแซบ

อืมมมมมมมมีสาระจริงๆทั้งบันทึกเลย

จะรอชมภาพเพื่อเปลี่ยนบรรยากาศเน้อ....

น้ำพริกสมุนไพรลำเจ้อเบ้อๆ....เจ้า

 

Ico48

ขอบคุณพี่ครูอิงที่มาให้กำลังใจค่ะ

 

Ico48

 ค่ะพี่ครูป.1 ร่วมด้วยช่วยกันคิดของแปลกๆ นะคะ 

Ico48

 ขอบคุณมากค่ะลุงหนุ่มกรที่มาให้กำลังใจ  อิอิ

Ico48

 ขอบคุณพี่สรพงค์  อุ๋ยๆๆ ท่านมหา มาให้กำลังใจ  จ้ารักเดียวกะกาแฟ

Ico48

 พี่กีร์ค่ะถ้าได้ชิมแล้วแก้มจะแดงๆๆๆ  แสงจะเรืองๆๆ เปล่งปลั่ง  อิอิ  บ่ใจ้หิ่งห้อยเน้อ  ล่ำบ่ล่ำก็ฟ้อนแวดหลายๆรอบเนาะๆๆๆ 

Ico48
คิม นพวรรณ (ความเห็นล่าสุด)
23 กุมภาพันธ์ 2554 21:26

 ขอบคุณพี่คิมที่มาให้กำลังใจเสมอค่ะ คงต้องทำหน้าที่สอนต่อไปค่ะ เพราะได้กำลังใจจากพี่ๆค่ะ 

  • สวัสดีค่ะ
  • มีสัดส่วนไหมคะว่า แต่ละอย่างใส่เท่าไร
  • แต่เป็นสมุนไพรอยู่แล้ว ไม่มีโทษอะไร
  • ขอบคุณบันทึกที่เป็นประโยชน์นี้ค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท