ประชากรโลกต้องการ “ปรัชญากิจกรรมบำบัด” เพื่อสุขภาพดีทั่วหน้า


Local Ots Go Global, 4 August 2006 in conjunction with WA เป็นสัมมนาย่อยจาก ที่เชิญ นักกิจกรรมบำบัดจาก Western Australia จำนวน 15 ท่านที่ได้ไปนำเสนองานในงานกิจกรรมบำบัดโลก มาแลกเปลี่ยนความรู้ให้กับนักศึกษา ผู้เชี่ยวชาญทางคลินิก นักการศึกษา ในวิชาชีพกิจกรรมบำบัด จำนวน 300 ท่าน
 

“ผมเป็นคนไทยคนเดียว และเป็นหนึ่งในตัวแทนของรัฐนี้ ก็รู้สึกดีใจที่ได้ทำงานวิจัยในประชากรของรัฐนี้ และกำลังถ่ายทอดงานวิจัย กลับสู่นักวิชาชีพของรัฐนี้ ...ลึกๆในใจ ก็อยากนำการสัมมนาย่อยนี้ไปเผยแพร่ให้คนไทยได้รับรู้...จึงขอนำเสนอผ่าน GO TO KNOW ด้วยความขอบคุณแด่ทีมผู้ผลิตเทคโนโลยีนี้ครับ”

 

Professor Carolyn Baum เป็นนักวิชาการที่อุทิศตนเพื่อพัฒนางานกิจกรรมบำบัดในอเมริกา และเป็นผู้ที่มีชื่อเสียงในการผลักดัน  “ปรัชญากิจกรรมบำบัด” ในหน่วยงานต่างๆ ทั้งระดับชาติและนานาชาติ กล่าวว่า ขณะนี้ WHO และ UN ได้ประกาศนโยบายชัดเจนว่า  ประชากรโลกต้องการ “ปรัชญากิจกรรมบำบัด” เพื่อสุขภาพดีทั่วหน้า

 

หลายวิชาชีพทางการแพทย์ในเมืองไทย ได้มีการปฏิรูประบบสุขภาพ เน้นการให้ความรู้ทางสุขภาพเข้าถึงประชาชน ด้วยวิถีการแพทย์ทางเลือกมากมาย แต่หลายวิชาชีพดังกล่าว ลืม ที่จะนำเสนอ “ปรัชญากิจกรรมบำบัด” ที่วิชาชีพกิจกรรมบำบัดได้คิดค้นขึ้นมาเมื่อครั้งสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง อาจเป็นเพราะ นักกิจกรรมบำบัดเป็นวิชาชีพที่กำลังขาดแคลนในเมืองไทย และประเทศที่กำลังพัฒนาทั่วโลก ดังนั้นหลายวิชาชีพจึงได้นำบางส่วนของ “ปรัชญากิจกรรมบำบัด” ไปปรับเปลี่ยนและถ่ายทอดได้ไม่ชัดเจนนัก

 “ปรัชญากิจกรรมบำบัด” มีการพัฒนาอย่างหลากหลายรูปแบบในวิชาชีพ แต่รูปแบบพื้นฐานที่ประชากรโลกสนใจและอยากเรียนรู้ คือ PEO (Person-Environment-Occupation) Model [Law, M., et al., The Person-Environment-Occupational Model: a transactive approach to occupational performance. Canadian Journal of Occupational Therapy - Revue Canadienne d Ergotherapie, 1996. 63(1): p. 9-23.] ที่เน้นมิติของ คนหนึ่งคน (Person/client) ที่มีพัฒนาการและการประสมประสาน (Developmental and integrative processes) ของระบบการทำงานและทักษะต่างๆ ได้แก่ร่างกาย (Physical functions and skills) จิตสังคม (Psychosocial functions and skills) ความรู้ความเข้าใจ (Cognitive functions and skills) ปฏิสัมพันธ์ต่อตนเองและผู้อื่น (Intra and inter personal functions and skills) นำไปสู่การพัฒนาความสามารถในการดำเนินชิวิต (Occupational Performance) ผ่านกิจกรรมหลักในแต่ละวัน (Occupations/activities of daily living) ได้แก่ กิจกรรมดูแลตนเอง (Self-care) กิจกรรมการทำงานหรือการเรียน (Work/education) กิจกรรมการเล่นและการใช้เวลาว่าง (Play and leisure) และกิจกรรมการพักผ่อน (Rest/sleep) ซึ่งมีการเข้าร่วมทำกิจกรรมเพื่อสุขภาวะที่ดี (Activity Participation & Well being)ในรูปแบบที่แตกต่างกันตามบริบทของชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อมนั้นๆ (Societal and Environmental contexts) 

เมื่อวานนี้ Professor Carolyn Baum ยังแนะนำว่า “Occupational Therapists are the unique profession in the health system and expertise in Functions and Skills for Activity Participation & Well being” แต่นักกิจกรรมบำบัดต้องรวมพลังในฐานะสมาคมวิชาชีพหรือองค์กร เพื่อเผยแพร่ความสามารถทางกิจกรรมบำบัดอันมีประโยชน์แก่ประชากรในหลายๆระดับ เช่น มหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงของอเมริกาได้รับนโยบายระดับชาติให้พัฒนาคุณภาพของหลักสูตรต่างๆ ที่เปิดสอนอยู่ให้ไปในทิศทางเดียวกัน หากหลักสูตรใดไม่ผ่านการประเมินคุณภาพก็ให้ตัดทิ้งไป นโยบายนี้มีผลกระทบต่อหลักสูตรกิจกรรมบำบัดที่มีอยู่ถึง 60 มหาวิทยาลัยที่อยู่ในอันดับต้นๆของอเมริกา  ดังนั้นนักวิชาการและสมาคมวิชาชีพจึงรวมพลังวิชาชีพกว่า 15,000 คนทั่วประเทศ มาประชุมวางแผนและปฏิรูประบบการบริการทางคลินิกให้สอคคล้องกับการจัดการเรียนการสอนในแต่ละหลักสูตร มีการสำรวจความต้องการงานกิจกรรมบำบัดภายในชุมชนต่างๆ เพื่อมาปรุงปรุงงานประชาสัมพันธ์วิชาชีพนี้มากขึ้น รวมทั้งส่งตัวแทนร่วมแสดงความคิดเห็นการขึ้นทะเบียนการประกอบโรคศิลปะให้ชัดเจนระหว่างวิชาชีพทางการแพทย์อื่นๆ

 

สมาคมวิชาชีพเองก็ตั้งแผนการและนโยบายเชิงรุก (Action Plan & Mission) ไปจนถึงปี 2015 โดยเน้นการเพิ่มปริมาณ Publication ใน Journal ที่มี Impact Factor or citation ที่สูง ไม่ใช่เฉพาะ Professional Journal เท่านั้นแต่ต้องพยายามไปให้ถึงในระดับ Interdisiplinary Journal or research (การทำงานวิจัยร่วมระหว่างวิชาชีพทางการแพทย์เพื่อเป้าหมายพัฒนาสุขภาวะทางสุขภาพ (Health & Well being)ในกลุ่มคนกลุ่มเดียวกัน จนถึงการทำงานวิจัยในมุมมองที่หลากหลายของวิชาชีพต่างๆ เพื่อเป้าหมายพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในสังคม (Translation research into an enhancement of Quality of Life) และมีการผลิตบุคลากรเสริม คือ ผู้ช่วยนักกิจกรรมบำบัด (Occupational Therapy Assistance) เพื่อช่วยงานกิจกรรมบำบัดขั้นพื้นฐานและให้ความรู้ขั้นพื้นฐานในแต่ละชุมชนได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ

 

นอกจากนี้ควรมีการพัฒนาการรักษาด้วยกิจกรรมบำบัดในสภาวะสุขภาพที่ประชากรในประเทศและทั่วโลกกำลังประสบปัญหาในปัจจุบันและเพิ่มขึ้นในอนาคต (Local and Global Health Problems) เช่น กลุ่ม Rehabilitation, Disability, and Participation (e.g. in people with chronic diseases) กลุ่ม Mental Health กลุ่ม Health & Wellness (e.g. in general population) กลุ่ม Work & Industry (including hand rehabilitation in working population) กลุ่ม Children & Youth in school and community และกลุ่ม Occupational Justice & Cooperation (จากงานวิจัยของ Trevor Goddard) ที่มุ่งเป็นผู้นำสังคมเพื่อวิเคาระห์และแก้ไขปัญหาทางจิตสังคมในบริษัทหรือองค์กร ที่มีผลกระทบต่อประชาชน ตัวอย่างปัญหาดังกล่าวเป็นมุมมองที่น่าสนใจที่เดียว คือ The Global Compact of UN: Human Rights, Labour, Environment, Anti-corruption

 

สุดท้าย  Professor Carolyn Baum ได้เน้นการสอนนักศึกษากิจกรรมบำบัดให้พัฒนา Leadership skills และ Global citizenship skills เพื่อกลายเป็นนักกิจกรรมบำบัดที่มีศักยภาพสูงสุขในการพัฒนาความสามารถของการทำกิจกรรมของคนทุกคนในสังคมให้มีความสุขภาวะที่ดีมีความสุข

คำสำคัญ (Tags): #health#occupational#therapy
หมายเลขบันทึก: 42722เขียนเมื่อ 5 สิงหาคม 2006 10:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มิถุนายน 2012 22:03 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

ทราบจากสถิติที่เพิ่มขึ้นของจำนวนผู้ป่วยอัมพฤกษ์ที่เกิดจากโรคหลอดเลือดสมอง ประเทศไทยเราต้องการคนด้านกิจกรรมบำบัดอย่างอาจารย์ป๊อบอีกหลายๆ คนค่ะ

ดิฉันเองแม้จะไม่รู้อะไรเกี่ยวกับกิจกรรมบำบัดมาก่อน แต่ก็พอจะมีประสบการณ์อยู่บ้างจากการดูแลพ่อซึ่งป่วยอัมพฤกษ์ซึ่งปัจจุบันสามารถเดินได้เป็นปกติแล้ว ดิฉันจะพยายามนำเทคนิคการดูแลคุณพ่อมาเขียนไว้เป็นวิทยาทานใน GotoKnow ที่ http://Dad.GotoKnow.org ค่ะ เพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่นค่ะ

ขอบคุณค่ะ 

Thank you krab, Ajarn Jantawan.

You are right to share a realistic experience during nursing your Dad. At the moment, occupational therapists would gather clients' experience and set up a self-management program...coping a chronic condition with their learning experiences...

Best wishes to you and  and your dad krab.

ผมมาให้กำลังใจเพื่อนครับ

ไม่ได้มีความรู้ในศาสตร์นี้ แต่รับรู้ความเป็นไป ตลอดเวลาอย่างชื่นชมครับ 

แต่ผมเข้าใจว่า งานที่ทำเป็นงานที่ร่วมกันสร้างสุขภาวะให้กับชุมชน ผู้คน

มีคุณค่าครับ.....ให้กำลังใจครับผม 

Thank you krab, my dear friend-Khun Jatuporn.

I am very appreciated in your support as well as sharing experiences, like an interdisciplinary friendship.

A community health is such a link to enhancing wellness in your 'Utopai' people. Your knowledge in public health can be merged with my knowledge of occupational therapy krab.

Best wishes from Perth krab, always.... 

  • แวะมาให้กำลังใจครับ
  • ในอนาคตเราคงมีนักกิจกรรมบำบัดเพิ่มขึ้นอีกครับ
  • ขอบคุณมากครับ

Thank you krab Ajarn Khajit, I am starting a second school of occupational therapy next year....at Mahidol uni krab.

 

ผมกำลังเรียนกิจกรรมบำบัด ปี2 ม.เชียงใหม่

ผ่านมาเลยแวะเข้ามาดูครับ

ยินดีที่ได้รู้จักครับน้องสันติ

ขอให้ตั้งใจเรียนและมีความสุขกับความรู้ทางกิจกรรมบำบัด

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท