รายงานผลการประชุมสัมมนา วันที่ ๒ กับ สคบ."นโยบายการพัฒนาการเรียนรู้ด้านการคุ้มครองสิทธิผู้บริโภค"


MOU ร่วม สคบ.เพื่อคุ้มครองสิทธิผู้บริโภค ตอน ๒
๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ รายงานผลโครงการประชุมสัมมนา ครั้งที่ ๑ วันที่ ๒

     สืบเนื่องจากรัฐบาลได้กำหนดให้นโยบายด้านการคุ้มครองผู้บริโภคเป็นนโยบายของรัฐบาลได้ให้ความสำคัญในการคุ้มครองผู้บริโภคในทุกมิติ โดยรณรงค์สร้างความรู้ความเข้าใจจัดตั้งองค์การอิสระผู้บริโภค บังคับใช้มาตรการทางกฎหมายที่ให้การคุ้มครองดูแลผู้บริโภคโดยเคร่งครัด

     สำนักนายกรัฐมนตรี โดยสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค และ กระทรวงศึกษาธิการ โดยสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จึงได้มีการจัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางการศึกษาร่วมกัน เพื่อกำหนดเป็นนโยบายร่วมกันในการพัฒนาการเรียนรู้ด้านการคุ้มครองผู้บริโภคใน กศน. ตำบล ทุกตำบลทั่วประเทศ โดยกำหนดภารกิจการดำเนินการร่วมกัน คือ

      สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค สำนักนายกรัฐมนตรี มีหน้าที่ 

๑. สนับสนุนสื่อและทรัพยากรที่จำเป็นต่อการจัดกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองสิทธิผู้บริโภค

๒. พัฒนาองค์ความรู้และกระบวนการที่เกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคที่ถูกต้อง
และทันต่อเหตุการณ์ปัจจุบัน

๓. ร่วมพัฒนาหลักสูตรให้เหมาะสมกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และการจัดกิจกรรมของชมรมคุ้มครองผู้บริโภค

๔. สนับสนุนการดำเนินงานการจัดตั้งชมรมคุ้มครองผู้บริโภคในระดับตำบล / ชุมชน

๕. สนับสนุนให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาเป็นที่ปรึกษาชมรมคุ้มครองผู้บริโภค

๖.  เสริมสร้างแรงจูงใจให้แก่ผู้ปฏิบัติงานด้านคุ้มครองสิทธิผู้บริโภค

๗. นิเทศ ติดตาม ประเมินผลและประชาสัมพันธ์

     สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย  กระทรวงศึกษาธิการ มีหน้าที่

๑.  ให้ กศน. ตำบล เป็นแหล่งเรียนรู้ชุมชนตลอดชีวิตด้านคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคของชุมชน

๒.  จัดตั้งชมรมคุ้มครองผู้บริโภคใน กศน. ตำบล เป็นกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต

๓.  ร่วมจัดทำหลักสูตรเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิผู้บริโภค

๔.  เป็นสื่อกลางการรับเรื่องราวร้องทุกข์ของครอบครัวและชุมชน

๕.  ร่วมนิเทศ ติดตามผลการดำเนินงานและประชาสัมพันธ์

      เพื่อให้บันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางการศึกษาร่วมกันระหว่างสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค สำนักนายกรัฐมนตรี กับ สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย กระทรวงศึกษาธิการเกิดผลในทางปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งภารกิจ ที่จะต้องเร่งดำเนินการ ๕ ประการ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ได้แก่

          ๑. จัดตั้งชมรมคุ้มครองผู้บริโภคใน กศน. ตำบล จำนวน ๗,๔๐๙ ตำบล และจัดให้กิจกรรมชมรมคุ้มครองผู้บริโภคเป็นกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต
          ๒. ดำเนินการให้ “ชมรมคุ้มครองผู้บริโภค กศน. ตำบล” เป็น แหล่งการเรียนรู้ชุมชนตลอดชีวิตด้านการคุ้มครองผู้บริโภค
          ๓. “ชมรมคุ้มครองผู้บริโภค กศน. ตำบล” (๗,๔๐๙ ตำบล) เป็น หน่วยรับเรื่องร้องทุกข์ของชุมชน
          ๔. พัฒนาองค์ความรู้และกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาของ กศน. ตำบล เป็นที่ปรึกษาชมรมคุ้มครองผู้บริโภคที่มีประสิทธิภาพ
          ๕. สนับสนุนสื่อและทรัพยากรที่จำเป็นต่อการจัดกระบวนการที่เกี่ยวข้องให้กับ “แหล่งการเรียนรู้ชุมชนตลอดชีวิตด้านการคุ้มครองผู้บริโภค”
     โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงสร้างหลักสูตรตามหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการศึกษานอกโรงเรียนได้กำหนดให้ผู้เรียนต้องทำกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต (กพช.) ซึ่งเป็นกิจกรรมที่เป็นเงื่อนไขที่ผู้เรียนทุกคนต้องทำก่อนการจบหลักสูตร โดยผู้เรียนจะทำกิจกรรมดังกล่าวทุกภาคเรียนหรือภาคเรียนใดภาคเรียนหนึ่งรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า ๑๐๐ ชั่วโมง ด้วยเหตุผลดังกล่าวการจัดตั้งชมรมคุ้มครองผู้บริโภคและจัดให้กิจกรรมชมรมคุ้มครองผู้บริโภคเป็นกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต ซึ่งเป็นกิจกรรมที่สามารถประมวลประสบการณ์และทักษะที่ได้จากการเรียนรู้ตามหลักสูตรไปพัฒนาความสามารถของผู้เรียนตามศักยภาพเพิ่มเติมจากกิจกรรมที่จัดให้เรียนรู้ในหมวดวิชาต่างๆ และกิจกรรมชมรมคุ้มครองผู้บริโภคยังสามารถเป็นกิจกรรมที่พัฒนาผู้เรียน ครอบครัว ชุมชน และสังคม นำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตอยู่ร่วมกันในสังคมและชุมชนได้อย่างมีความสุขปลอดภัยและเป็นธรรม โดยอาศัยการมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้ของชุมชน

พิธีเปิดการประชุมสัมมนา

รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี, ประธานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค และร่วมถ่ายภาพ

 

อภิปรายเรื่อง "กศน.ตำบลแหล่งเรียนรู้ชุมชน : นโยบายการพัฒนาการเรียนรู้ด้านการคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคใน กศน.ตำบลทุกตำบล"

 

อภิปรายเรื่อง "กิจกรรมชมรมผู้บริโภค : และภารกิจตามบันทึกข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือ"

 

อภิปรายเรื่อง "แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้บูรณาการ การค้มครองสิทธิผู้บริโภคตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค เป็นกิจกรรมพัฒนาคุณภาพ : สื่อสำคัญของการพัฒนาการเรียนรู้ด้านการคุ้มครองสิทธิผู้บริโภค"

 

นิทรรศการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้เชิงบูรณาการ

แล้วพบกับบันทึกวันที่ ๓ นะคะ

 

หมายเลขบันทึก: 426626เขียนเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2011 21:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 พฤษภาคม 2012 22:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท