ยักษ์อุตสาหกรรมเครื่องบิน ดูแลสุขภาพพนักงานอย่างไร


อะไรทำให้โบอิ้งสนใจเกี่ยวกับการปรับปรุงบริการสุขภาพของพนักงาน ถ้าไม่ใช่เรื่องภาระค่าใช้จ่ายสำหรับสุขภาพและสวัสดิการพนักงานที่มากถึงปีละ 57พันล้านบาท(ร้อยละ 2.9 ของรายรับ) หากจัดการอย่างเหมาะสมก็จะรักษาศักยภาพการแข่งขันของโบอิ้งเอาไว้ได้

A-ICU at Boeing Corp.

ในโลกอุตสาหกรรมการบิน  โบอิ้ง เป็นผู้ผลิตเครื่องบินรายใหญ่ที่สุดเจ้าหนึ่งของโลก จึงไม่แปลกที่ โบอิ้ง ย่อมมีพนักงานเป็นจำนวนมาก(กว่า 160,000)

แต่อาจจะน่าแปลกใจ ที่โบอิ้ง มีเรื่องราวอันน่าสนใจเกี่ยวกับการจัดบริการสุขภาพแก่พนักงาน 

อะไรทำให้โบอิ้งสนใจเกี่ยวกับการปรับปรุงบริการสุขภาพของพนักงาน  ถ้าไม่ใช่เรื่องภาระค่าใช้จ่ายสำหรับสุขภาพและสวัสดิการพนักงานที่มากถึงปีละ 57พันล้านบาท(ร้อยละ 2.9 ของรายรับ) หากจัดการอย่างเหมาะสมก็จะรักษาศักยภาพการแข่งขันของโบอิ้งเอาไว้ได้

โบอิ้งตั้งต้นพิเคราะห์ทางเลือกในการจัดบริการสุขภาพ ด้วยการวิเคราะห์รายจ่ายสุขภาพของพนักงานแต่ละราย พบว่า มีพนักงานและครอบครัว 700 กว่าคน ซึ่งโบอิ้งต้องจ่ายแพงกว่าเพื่อน (ผมเดาว่าคงใช้วิธีคิดตามทฤษฎี 80-20)  โบอิ้งจึงชวนคลินิกใหญ่สามแห่งในเมืองซีแอตเติ้ลมาวางแผนจัดบริการสุขภาพพิเศษสำหรับพนักงานกลุ่มนี้  โบอิ้งเรียกบริการพิเศษนี้ว่า A-ICU (ambulatory intensive care unit)

แม้ A-ICU เพิ่งเดินเครื่องได้ไม่นาน โดยตั้งต้นจากการดูแลพนักงานดังกล่าวที่สมัครใจร่วมโครงการ 120 ราย A-ICU แสดงให้โบอิ้งเห็นว่า

  1. พนักงานและครอบครัวที่เข้าโครงการพอใจบริการด้านต่างๆ ได้แก่ การเข้าถึงบริการ การสื่อสารกับแพทย์-พยาบาล ความสัมพันธ์กับแพทย์/พยาบาล ความสะดวกในการใช้บริการ
  2. พนักงานและครอบครัว ทำกิจวัตรประจำวันและทำงานได้ดีขึ้น
  3. ผลการรักษาจากการประเมินด้วยการทดสอบทางชีวเคมี(เช่นน้ำตาลในเลือด ความดันเลือด โคเลสเตอรอล)ดีขึ้น
  4. แพทย์และพยาบาลที่ทำงานใน A-ICU พอใจต่อผลงาน
  5. ประหยัดรายจ่ายสุขภาพได้ร้อยละ 20ต่อรายของพนักงานและครอบครัว เทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้เข้าโครงการ เหตุที่ประหยัดได้เนื่องจาก คนไข้ใช้บริการห้องฉุกเฉินหรือนอนรพ.น้อยลง

ข้อค้นพบนี้ได้รับการตรวจสอบโดยนักสถิติอิสระจากโครงการที่มาจากฮารวาร์ดและแรนด์

เอ... แล้วเจ้า A-ICU นี่มันคืออะไรกันหนอ

หลักการคือ

  1. การจัดการความเสี่ยงและวิธีจัดบริการ โดยสนับสนุนให้คนไข้ดูแลตนเองได้เก่งขึ้นโดยการช่วยเหลือทางวิชาการจากแพทย์/พยาบาล และ ผู้ดูแลถึงครัวเรือน ซึ่งทำงานกันเป็นทีม
  2. ทำให้การพบแพทย์แต่ละครั้งคุ้มค่าที่สุด(เพราะแพทย์มีเวลาจำกัดและไม่ได้เก่งทุกเรื่อง)  โดยใช้ไอทีกับผู้ดูแลฯเป็นตัวช่วยให้คนไข้ แพทย์ พยาบาลแสดงบทบาทที่เหมาะสมอย่างราบรื่นได้จังหวะสอดรับกัน เช่น พบแพทย์เพื่อปรับการกินยาและอาหารของคนไข้เบาหวานที่ต้องทำงานกะกลางคืน  นอนกลางวัน
  3. เลือกคนไข้ที่มีความเสี่ยงสูง(หลายโรค ภาวะแทรกซ้อนมาก เข้ารพ.บ่อย) แล้วจำแนกระดับความเสี่ยงและความต้องการบริการเพื่อวางแผนดูแลเฉพาะ โดยมอบให้พยาบาลช่วยคนไข้-ครอบครัววางแผนการปรับวิธีกินอาหาร ออกกำลังกาย การพบแพทย์ การใช้ยา

 

http://www.chcf.org/~/media/Files/PDF/C/PDF%20CINwebinar05262010_AmbulatoryICU.pdf

หมายเลขบันทึก: 426113เขียนเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2011 16:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:36 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท