รวมความรู้เกษตรอินทรีย์


เกษตรอินทรีย์

ขอบคุณข้อมูลจาก...

สวนวันเพ็ญ

ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง

วิทยากรจังหวัดปราจีนบุรี

วันเพ็ญ        สนลอย

โทรศัพท์ : 081-8034930, 037-405026

การขยายเชื้อจุลินทรีย์  พ.ด.1  ไว้ใช้ทำปุ๋ยหมัก

ขี้วัว  10  กิโลกรัม  ผสมกับรำหยาบ 2 กิโลกรัม  ใส่กระบะผสมให้เข้ากัน  จากนั้นนำ  พ.ด. 1 ผสมกับน้ำ 10 ลิตร  คนนาน 5 นาที   แล้วนำไปผสมคลุกเคล้ากับส่วนผสมของวัสดุ โดยให้มีความชื้นประมาณ 60 %   ตักใส่ถุงปิดปากไว้ ตั้งทิ้งไว้บนพื้นปูน   ห้ามถูกแดดประมาณ 7 – 10 วัน จะได้เชื้อจุลินทรีย์เพิ่มขึ้น เป็นจำนวนมาก จากนั้นนำไปผึ่ง ให้แห้งในที่ร่ม จึงเก็บไว้สำหรับเป็นหัวเชื้อในการทำปุ๋ยหมักต่อไป โดยใช้เชื้อที่ขยายได้จำนวน 2 ขีด ต่อการหมักวัสดุเศษพืช 1 ตัน

 

การขยายเชื้อจุลินทรีย์ พ.ด. 2, 5, 6

            นำ พ.ด. 2 (1 ซอง) ผสมกับกากน้ำตาล 2 ลิตร และน้ำ 5 ลิตร ใส่ลงในถังพลาสติก ผสมให้เข้ากันแล้วปิดฝา  หมักไว้นาน 7 – 10 วัน เชื้อจุลินทรีย์จะเจริญเติบโตเต็มที่ จากนั้นนำเชื้อจุลินทรีย์ที่ขยายได้ผสมกับรำหยาบ หรือปุ๋ยหมัก 5 กิโลกรัม เพื่อลดความชื้น ผึ่งให้แห้งในที่ร่ม และเก็บไว้ในถุงพลาสติกเก็บไว้ในถังเพื่อนำไปหมักสารอาหารพืชน้ำต่อไป โดยใช้เชื้อที่ขยายได้ 1 ขีด

 ต่อการหมักปุ๋ยน้ำ 50 ลิตร

 

การขยายเชื้อ พ.ด. 3 เพื่อควบคุมโรครากเน่าโคนเน่าของพืช

            ขี้วัว 5 กิโลกรัม ผสมกับรำละเอียด 2กิโลกรัม ใส่ในถุงพลาสติดคลุกเคล้าให้เข้ากัน  จากนั้นละลาย พ.ด.3 (1 ซอง) ในน้ำ 5 ลิตร คนนาน 5 นาที แล้วนำไปผสมคลุกเคล้ากับส่วนผสมวัสดุให้ได้ความชื้น 60 % รัดปากถุงไว้ตั้งทิ้งไว้บนพื้นปูนไม่ให้ถูกแดดและฝนนาน 7 – 10 วัน จะได้หัวเชื้อจุลินทรีย์ควบคุมโรครากเน่าโคนเน่าของพืช จากนั้นนำไปผึ่งให้แห้งในที่ร่ม จึงเก็บใส่ถุงมัดปากใส่ถังพลาสติกเก็บไว้ใช้ โดยใช้เชื้อที่ขยายได้ 2 ขีด   ต่อการขยายเชื้อในปุ๋ยหมัก 100 กิโลกรัม

 

 

 

การทำหัวเชื้อจุลินทรีย์

ส่วนผสม

1. น้ำต้มสุกปล่อยให้เย็น                                              10        ลิตร    

2. กากน้ำตาล                                                             ½         กก.

3. รำละเอียด                                                              2          กำมือ              

4. หัวเชื้อ พ.ด. 2                                                          1          ซอง

5. นมสด,ยาคูลย์หรือเปลือกสับปะรด                                  4          หัว      

6. เหง้า+หน่อกล้วย                                                      1          หน่อ

 

วิธีทำ  

นำส่วนผสมทุกอย่างเทลงในถังหมักคนให้เข้ากัน เก็บไว้ในที่ร่ม  หรืออุณหภูมิห้อง  ประมาณ 7 – 15 วัน นำไปใช้ได้เลย

 

วิธีใช้   

1. ต้นกล้าอ่อน                                                             1:1000  ส่วน   

2. ผัก ผลไม้                                                                 1:500  ส่วน

3. นาข้าว                                                                    1:800   ส่วน               

4. หมักฟาง                                                                  5  ลิตร  ต่อ 1 ไร่

5. หมักปุ๋ยหมัก                                                            2  ลิตร  ต่อน้ำ  200  ลิตร

 

ความหมายของสารเร่ง พ.ด.1

            เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีความสามารถสูงในการย่อยสลายวัสดุเหลือใช้จากการเกษตร  เพื่อผลิตปุ๋ยหมัก

ประกอบด้วย         -  เชื้อแบคทีเรีย                        2          สายพันธุ์

                           - แอคติโนมัยซีส                      2           สายพันธุ์

                           - รา                                     4           สายพันธุ์

 

ส่วนผสมในการทำปุ๋ยหมัก

            1. เศษพืชแห้ง                          1000                 กก.

            2. มูลสัตว์                                 200                  กก.

            3. รำละเอียด                              50                    กก.

            4. ยูเรีย                                     2                      กก.

            5. สารเร่ง พ.ด.1                         1                      ซอง (100 กรัม )

 

ประโยชน์ของปุ๋ยหมัก

  1. ดินมีการจับตัวเป็นก้อนได้ดีขึ้น          และร่วนซุย
  2. การอุ้มน้ำของดินดีขึ้น
  3. เป็นแหล่งธาตุอาหารพืช
  4. ปรับความเป็นกรดเป็นด่างของดิน
  5. ลดความเป็นพิษของธาตุบางชนิด เช่น  แมงกานีส
  6. เพิ่มแหล่งอาหารของจุลินทรีย์ในดิน ( เป็นจุลินทรีย์ที่ต้องการแสงอากาศ )

 

 

ความหมายของสารเร่ง พ.ด.2

            เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีความสามารถในการย่อยสลายวัสดุการเกษตร 

ประกอบด้วยจุลินทรีย์    3       สายพันธุ์  ดังนี้

  • ยีสต์                 ผลิตแอลกอฮอล์          กรดอินทรีย์     วิตามินบี
  • แบคทีเรีย         ผลิตกรดแลคติก ย่อยสลายโปรตีน    

 

ส่วนผสมในการทำปุ๋ยอินทรีย์น้ำจากผัก ผลไม้

1.   ผักผลไม้                                  45        กก.  

2.   กากน้ำตาล                              15        กก.

3.น้ำมะพร้าว                                 10-20   ลิตร  

4. สารเร่ง พ.ด. 2                           1   ซอง ( 25 กรัม )

ปุ๋ยปลา หรือหอยเชอรี่ กุ้ง แมลง อย่างใดอย่างหนึ่ง

  • ปลา หอย                     30        กก.
  • กากน้ำตาล                  30        กก.
  • น้ำมะพร้าว                  10-20   ลิตร
  • สารเร่ง พ.ด. 2             1          ซอง ( 25 กรัม )

 

วิธีการผสมสารเร่ง พ.ด. 2

  1. นำสารเร่งพ.ด.2 จำนวน 1 ซอง  ผสมในน้ำ 5 ลิตร คนให้เข้ากันนาน 5 นาที
  2. นำส่วนผสมมาสับให้ละเอียดก่อนหมัก และกากน้ำตาล หรือใช้น้ำตาลทรายแดง น้ำอ้อย ก็ได้ลงในถัง 50 ลิตร แล้วเทสาร พ.ด 2 ลงในถัง
  3. คลุกเคล้าหรือคนให้เข้ากัน ปิดฝาหลวม ๆ ตั้งไว้ในที่ร่ม

 

คุณสมบัติของปุ๋ยอินทรีย์น้ำ

  1. มีฮอร์โมนหลายชนิด เช่น ออกซิน  ไซโตคินนิน
  2. มีกรดอินทรีย์หลายชนิด เช่น กรดแลคติก กรดอะซีติด อะมิโน และกรดฮิวมิก
  3. มีวิตามินบี
  4. มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างอยู่ระหว่าง 3 – 4

 

ประโยชน์ของปุ๋ยน้ำ

  1. เร่งการเจริญเติบโตของรากพืช
  2. เพิ่มการเจริญเติบโตและขยายตัวของใบและยืดตัวของลำต้น
  3. ชักนำให้เกิดการงอกของเมล็ด
  4. ส่งเสริมการออกดอกและติดผลดีขึ้น
  5. เป็นสารช่วยขับไล่แมลงศัตรูพืช
  6. ทำความสะอาดและลดกลิ่นเหม็นในคอกสัตว์

 

ความหมายของสารเร่ง พ.ด.3

            เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ ที่มีความสามารถควบคุมเชื้อจากโรคพืชในดิน และสามารถป้องกัน หรือยับยั้งการเจริญหรือการระบาดของโรครากเน่าโคนเน่าของพืช  ( เชื้อไตโคเดอร์มา และบาซิลลัส ที่มีประโยชน์ ) จะเจริญได้ดีในดินที่มีอินทรียวัตถุสูง  และมีความเป็นกรดเป็นด่างระหว่าง 5.5 – 6.5

 

ส่วนผสมในการขยายเชื้อสารเร่งพ.ด.3

  1. ปุ๋ยหมัก                        100      กก.
  2. รำข้าว                          1          กก.
  3. สารเร่งพ.ด.3                 1          ซอง ( 25 กรัม )

 

วิธีทำ

  • ผสมสารเร่งพ.ด.3 และรำในน้ำ 5 ลิตร  ผสมให้เข้ากันนาน 5 นาที
  • ลดสารละลาย พ.ด.3 ลงในกองปุ๋ยหมักเคล้าให้เข้ากัน และปรับความชื้นให้ได้ 50 – 60 เปอร์เซ็นต์

 

สารเร่งพ.ด. 6

            เป็นเชื้อจุลินทรีย์ที่มีคุณสมบัติในการเพิ่มประสิทธิภาพการหมักเศษอาหารในสภาพที่ไม่มีออกซิเจน เพื่อผลิตสารบำบัดน้ำเสีย และขจัดกลิ่นเหม็น สำหรับทำความสะอาดคอกสัตว์บำบัดน้ำเสียและขจัดกลิ่นเหม็นตามท่อระบายน้ำ

 

วัสดุสำหรับผลิตสารบำบัดน้ำเสียและขจัดกลิ่นเหม็น

  1. เศษอาหารหรือ มะกรูด มะนาว                       42        กก.
  2. กากน้ำตาลหรือน้ำตาลทรายขาว                     14        กก.
  3. น้ำ                                                         10        ลิตร
  4. สารเร่ง พ.ด.6                                            1          ซอง ( 25 กรัม )

 

อัตราการใช้

            เจือจางสารบำบัดน้ำเสีย และขจัดกลิ่น                       1:10

 

ประโยชน์ของสารเร่งพ.ด.6

  • ทำความสะอาดคอกสัตว์
  • ช่วยบำบัดน้ำเสียและขจัดกลิ่นเหม็นตามท่อระบายน้ำ

 

สารป้องกันแมลงศัตรูพืชที่ผลิตจากสารพ.ด.7

            เป็นเชื้อจุลินทรีย์ที่มีคุณสมบัติในการเพิ่มประสิทธิภาพการหมัก และการย่อยสลายพืชสมุนไพรชนิดต่างๆ ในสภาพที่ไม่มีออกซิเจน

 

ประโยชน์ของสารเร่งพ.ด.7

            ป้องกันแมลงศัตรูพืช เช่น  เพลี้ยต่างๆ หนอนเจาะผลและลำต้น หนอนใยผัก หนอนชอนใบ หนอนคืบ หนอนกระทู้  หนอนกอ ไรแดง และแมลงหวี่

 

ชนิดพืชสมุนไพร

            ตะไคร้หอม ไพล ขมิ้น ข่า หางไหล ฟ้าทะลายโจร หนอนตายอยาก สะเดา บอระเพ็ด เมล็ดน้อยหน่า ยาสูบ ขิง มะกรูด พริกแดง พริกแกงเผ็ด พริกไทย กระเทียม สาบเสือ

 

วิธีทำ พ.ด.7

 นำวัสดุที่กล่าวมาข้างต้น มาอย่างละพอประมาณเท่าที่จะหาได้ มาสับหรือบดใส่หม้อต้มให้เดือดประมาณ 20-30 นาที กรองเอาแต่น้ำออกมา นำเอาสมุนไพรผงมาแช่อีก 1 ครั้ง เติมน้ำตาลทรายแดงและจุลินทรีย์ พ.ด. 7ลงไป หมักไว้ 1 เดือน

 

วิธีใช้

            ใช้ 3 – 4 ช้อนแกงต่อน้ำ 20  ลิตร

1. สะเดา                       1          กก.                 

2. บอระเพ็ด                   3          กก.

3. ข่า                            1          กก.                 

4. สาบเสือ                    1          กก.

5. ยาสูบ                       1          กก.                 

6. ตะไคร้หอม                1          กก.

7. ขมิ้น                        1          กก.                 

8. ใบยอ                       1          กก.

9. ฝักคูณ                      1          กก.                 

10. พริกไทย                 1          กก.

11. ใบยูคา                   1          กก.                 

12. ใบ ลูกมะกรูด           1          กก.

13. พริกแกงเผ็ด            2          กก.                 

14. กระเทียม               1          กก.

15. น้ำสะเดา               50        ลิตร                

16. น้ำตาลทราย          6 – 10 กก.

17. จุลินทรีย์ พ.ด.7      1          ซอง

 

วิธีใช้

            ใช้ 3 – 4 ช้อนแกงต่อน้ำ 20  ลิตร

 

การทำซุปเปอร์ พ.ด.2  สูตรเร่งการเจริญเติบโต

วัสดุ

  1. ปุ๋ยน้ำพ.ด.2 ( ต้ม )                    5          ลิตร
  2. น้ำหัวไชเท้า                             3          ลิตร
  3. น้ำกาวเครือขาว                         3          ลิตร ( หรือเอ็นเอเอ 
  4. น้ำเมล็ดกำลังงอก                      3          ลิตร ( หรือจิ๊บเบอเรลลิน)
  5. น้ำมะพร้าว                              10        ลิตร
  6. นมสด                                     2          ลิตร
  7. ธาตุอาหารเสริม                         3          ซอง
  8. ปุ๋ยเกล็ดสูตร 25-5-5                   2          กก.
  9. คลูโคลส                                 1          กก.

ผสมเสร็จเก็บไว้ใช้ได้เลย

วิธีใช้    20-30  ซีซี  ผสมน้ำ 20 ลิตร 7-10 วัน ต่อครั้ง

 

การทำซุปเปอร์ พ.ด.2  สูตรเปิดตาดอก

วัสดุ

  1. ปุ๋ยน้ำพ.ด.2 (ต้ม)                      5          ลิตร
  2. น้ำหัวไชเท้า                             3          ลิตร
  3. น้ำเมล็ดกำลังงอก                      3          ลิตร ( หรือจิ๊บเบอเรลลิน)
  4. น้ำกาวเครือขาว                         3          ลิตร ( หรือเอ็นเอเอ  )
  5. น้ำมะพร้าว                               5          ลิตร
  6. นมสด                                     3          ลิตร
  7. ไข่ไก่หรือไข่หอย                      4          กก.
  8. ซุปไก่                                    1          ขวด
  9. คลูโคลส                                 2          กก.
  10. ปุ๋ยเกล็ด สูตร 10-45-15             2          กก.

ผสมแล้วเก็บไว้ใช้ได้เลย

วิธีใช้    20-30 ซีซี  ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทางใบ 7-10 วันครั้ง  ถ้าอยากให้ออกทั้งปีให้ใช้ทุกครั้ง นาข้าวใช้ช่วงส่งรวง  ( ห้ามฉีดพ่นช่วงข้าวตากเกสร )

 

 

 

 

 

 

 

การทำซุปเปอร์พ.ด.2 สูตร บำรุงผล

วัสดุ

  1. ปุ๋ยน้ำ พ.ด. 2 (ต้ม)                  5          ลิตร
  2. น้ำหัวไชเท้า                           5          ลิตร
  3. น้ำเมล็ดกำลังงอก                    3          ลิตร ( หรือจิ๊บเบอเรลลิน)
  4. น้ำกาวเครือขาว                       3          ลิตร ( หรือเอ็นเอเอ  )
  5. น้ำมะพร้าว                             5          ลิตร
  6. นมสด                                   3          ลิตร
  7. อาหารเสริม                            1          ซอง
  8. แคลเซียมโบรอน                     1          ขวด
  9. คลูโคลส                               1          กก.
  10. ปุ๋ยเกล็ดสูตร 20-30-10             2          กก.

วิธีใช้    20-30 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร         7-10 วันต่อครั้ง

 

การทำซุปเปอร์ พ.ด.2         สูตรเร่งหวาน

วัสดุ

  1. ปุ๋ยน้ำพ.ด. 2 ( ต้ม )                              5          ลิตร
  2. น้ำหัวไชเท้า                                        3          ลิตร
  3. น้ำแช่ขี้ค้างคาว                                    3          ลิตร
  4. น้ำมะพร้าว                                          5          ลิตร
  5. แคลเซียมโบรอน                                  1          ขวด
  6. คลูโคลส                                             3          กก.
  7. น้ำผลไม้ที่มีรสหวาน                              3          ลิตร
  8. น้ำดอกดาวเรือง                                   3          ลิตร
  9. ขมิ้นบดป่น                                          ½         กก.

วิธีใช้    30 ซีซีผสมน้ำ 20 ลิตร ถ้าเปลือกหนาใช้ 50 ซีซี ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นก่อนเก็บเกี่ยว 5-7 วันต่อครั้ง

 

ฮอร์โมนประยุกต์ซุปเปอร์พ.ด.2

วัสดุ

  1. น้ำอ้อย                                              1          ลิตร
  2. น้ำผลไม้ทุกอย่าง                                 1          ลิตร
  3. น้ำพืชผักทุกชนิด                                 1          ลิตร
  4. น้ำมะพร้าวอ่อน                                   1          ลิตร
  5. น้ำเมล็ดกำลังงอก                                1          ลิตร
  6. น้ำกาวเครือขาว                                   1          ลิตร
  7. น้ำหัวไชเท้า                                       1          ลิตร
  8. น้ำนึ่งหอย ปู ปลา กุ้ง                            1          ลิตร
  9. นมสด                                               1          ลิตร
  10. ไข่ไก่หรือไข่หอย                                 1          ลิตร
  11. คลูโคลส                                            1          กก.
  12. อาหารเสริม                                         3          ซอง
  13. แม่ปุ๋ย                                                1          กก.
  14. ซุปไก่                                                1          ขวด
  15. ผงชูรส                                               1          ซอง ( 10 บาท )

ผสมแล้วใส่ถังเก็บไว้ใช้ได้เลย

วิธีใช้    10-20 ซีซี ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่น 7-10 วันครั้ง

 

 

 

 

 

 

 

 

การเผาทำลายตอซังข้าว

 

            ซึ่งมีผลทำให้ดิน ที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำเพิ่มมากขึ้น และทำให้ดินเป็นกรด  พืชจึงไม่สามารถดูดซับธาตุอาหาร มาใช้ประโยชน์ได้  โดยเฉพาะอย่างยิ่งฟอสฟอรัสเป็นธาตุอาหารอีกธาตุหนึ่ง ที่มีความสำคัญอย่างมากต่อการเจริญเติบโตของพืชโดยมีบทบาทต่อการสร้างราก การแตกกอ และการแตกแขนงของกิ่งก้าน  ทำให้มีการสร้างดอก สร้างเมล็ดของพืชที่เพาะปลูก

 

ประโยชน์จากฟางข้าวที่หมักด้วยปุ๋ยน้ำพด 2

วิธีการหมัก

            ฟางข้าวและตอซังด้วยปุ๋ยน้ำพด 2-3-5 ลิตร ต่อ 1ไร่ ฟางข้าว 1 ไร่ จะได้ฟาง 1 ตันเมื่อหมักแล้วจะได้ธาตุอาหารทั้งธาตุหลักและธาตุรองมีดังนี้

ไนโตรเจน                                              6                    กก.                 

แคลเซียม                                             1.2                 กก.

ฟอสฟอรัส                                           1.4                 กก.                            

โปรแตสเซียม                                       17                    กก.

แมกนีเซียม                                          1.3                   กก.                 

ธาตุซิลิก้า                                            50                    กก.     

 

ซิลิก้า               - สร้างความแข็งแกร่งของเซลล์พืชไม่ล้มง่าย ป้องกันแมลงมากัดกิน

วิตามินอี          - ลดอาการเครียดของพืช กระตุ้นการเจริญเติบโต

วิตามินบี          - ช่วยบำรุงราก สร้างรากใหม่

 

ความสำคัญของธาตุอาหารต่อพืช

ไนโตรเจน - บำรุงราก ดอก ผล สร้างยีน เยื่อบุ ผนังเซลล์และเอ็นไซน์สลายแป้งให้เป็นน้ำตาล นำ       ธาตุอาหารทั้งปวงส่งไปเลียวส่วนต่าง ๆ ของพืช

ฟอสฟอรัส – ช่วยในการสังเคราะห์โปรตีนและสร้างอินทรีย์ที่สำคัญในพืช ช่วยสะสมแป้งและน้ำตาล กระตุ้นการออกดอก ช่วยรดอาหารเผื่อใบ พัฒนาการในด้านการสุกเร็วขึ้น

โปรแตสเซียม - สร้างน้ำตาล แป้ง และโปรตีน สังเคราะห์แสงเคลื่อนย้ายน้ำตาลไปยังผล ช่วยขยายเซลล์เปิดปากใบ เร่งราก ดูดซับไนโตรเจน

แคลเซียม - บำรุงดอก ผลเมล็ด เสริมไนโตรเจนปรับสมดุลฮอร์โมน

แมกนีเซียม - สร้างอาหารและโปรตีน เคลื่อนย้ายฟอสฟอรัสจากส่วนที่อ่อน

กำมะถัน ซัลเฟอร์ - ช่วยการหายใจ ปรุงอาหารเพิ่งกลิ่นดอกผล

เหล็ก - บำรุงยอดอ่อน ช่วยการดูดซึมสารอาหาร สังเคราะห์แสง

ทองแดง – ช่วยให้อายุยืน เสริมการออกดอกผลลำเลียงส่วนต่างของ

คำสำคัญ (Tags): #บุรีรัมย์7
หมายเลขบันทึก: 425832เขียนเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2011 14:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
  • ขอบพระคุณยิ่ง.....ในการแบ่งปัน
  • กำลังหาวิธีจากใบไม้ที่ร่วงหล่นจากต้น...อยู่พอดี ..

 

หากเราอนุรักษ์ดิน และน้ำ ไว้ ไม่เผาตอซัง หรืออื่นๆ ที่ทำให้คุณภาพดินต่ำ เราก็จะได้ผลผลิตที่ดีได้ ขอบคุณสำหรับข้อมูลที่เป็นประโยชน์ ที่เราอาจจะได้ใช้งานซักวันหนึ่งข้างหน้า ^^

 

เผากันเห็นๆ แบบนี้
ที่คลองหลวง จ.ปทุมธานี บังเอิญขับไปเจอ ก็เลยถ่ายภาพมาสอน เด็กนักศึกษา ^^

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท