KM..Bed sore sharing


วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา 14-16น.

ณ ห้องประชุมศิษย์เก่า คณะแพทยศาสตร์ ชั้น 3 อาคารเรียนรวม มีการจัด KM Forum ครั้งที่ 5/2554 พันธกิจด้านการรักษาพยาบาลหัวข้อ Preesure sore for ...Sharing

อาจารย์นภา มาเปิดงานและให้แนวคิดก่อน ลปรร

 

เนื่องจากคนสนใจจำนวนมาก เราจึงแบ่งเป็น 2 กลุ่ม

facilitator ...2 คน คือ คุณรุ่งทิวา ชอบชื่นและ คุณพัชรินทร์ อ้วนไตร

 

คุณรุ่งทิวา นำเสนอ Care-map การดูแลแผล bed sore

 

คุณรุ่งทิวา ชอบชื่น  facilitator กลุ่ม

 

กลุ่มที่ 1 มีหัวหน้าฯ จินตนา บุญจันทร์ มาร่วมให้ข้อเสนอแนะด้วยค่ะ

กลุ่ม 2 คุณพัชรินทร์ อ้วนไตร เป็น Facilitator

 

จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในวันนั้น ดิฉันขอสรุปเป็นคลังความรู้ดังนี้

คลังความรู้ (Knowledge Assets)เรื่อง Pressure sore for sharing 

วันที่  12 กุมภาพันธ์ 2554

ประเด็นหลัก/หลักการสำคัญ

เรื่องเล่า 

  • ประเมินผู้ป่วยต่อเนื่องช่วยป้องกันการเกิดแผลได้

ใช้แบบประเมินBraden scale   

มีการประเมินติดตาม 100% ใน 3-4 วัน

ถ้าคะแนนมากกว่า 16 ประเมินอย่างต่อเนื่องและให้การพยาบาลตามแนวปฏิบัติ

  • ต้องรู้ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดแผลกดทับ

ผู้ป่วย Septic shock. Diarrhea, ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ เคลื่อนไหวไม่ได้ สับสน

มีภาวะซีด ขาดอาหาร ขาดอออกซิเจน พลิกตัวไม่ได้ ความเปียกชื้น

ส่วนกลุ่มที่เกิดอุบัติเหตุ ระยะแรกผิวหนังจะดี ต่อมาเกิดการเสียดสีและกดทับ

  • การป้องกันสำคัญที่สุด

ลดแรงกด โดยการจัดท่า เปลี่ยนท่าทุก 2 ชัวโมง มีนวัตกรรมใช้นาฬิกาเป็นสัญลักษณ์ในการพลิกตะแคงตัว

การพลิกตัว ต้องช่วยกันทำ 2 คนขึ้นไปเพื่อสุขภาพของบุคลากร

บุคลากรต้องเรียนรู้วิธีการพลิกตัว การยกผู้ป่วยอย่างถูกวิธี

ใช้อุปกรณ์ป้องกัน ใช้หมอนเจล ที่นอนลม เบารองนั่ง ใช้หมอนน้ำ ใช้หมอนเด็ก

  • Nursing  care  

มีการ conference ให้ตระหนักในการดูแล มีการส่งเวร

การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยลดการเสียดสี ไม่ลากดึง ที่นอนปูเรียบตึง

ตอนเช็ดตัวให้ผู้ป่วยให้สังเกตแผล  

Skin  care เป็นหัวใจในการป้องกันแผลกดทับ ทำความสะอาดร่างกายและทาโลชั่น

จัดให้นอนศีรษะสูง

การดูแลเรื่องอาหารที่ครบถ้วน

สอนและแนะนำญาติในการดูแลและป้องกันการเกิดแผลกดทับ

มีการวางแผนการจำหน่ายอย่างเป็นระบบเพื่อป้องกันแผลกดทับที่จะเกิดขึ้นได้

มีกิจกรรมกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน เชิญคนที่แผลหายแล้วมาเล่าให้คนอื่นฟัง

มีคู่มือการปฏิบัติสำหรับพยาบาลเพื่อป้องกันแผลกดทับ มาใช้เป็นแนวทางเดียวกัน

มีคู่มือสำหรับผู้ป่วยและญาติเพื่อป้องกันแผลกดทับ

 

  • เมื่อมีแผลกดทับการดูแลแผลเป็นสิ่งสำคัญ

การดูแลแผล บางคนใช้แป้งโยคี dermazine 

กรณีแผลเกรด 3-4 รายงานแพทย์ เพื่อวางแผนในการรักษา เช่น debridement  ให้ยาปฏิชีวนะ ฯลฯ  

  • ตัวชี้วัด อัตราการเกิดกดทับไม่สูง    ไม่ได้หมายความว่าไม่เกิดแผลกดทับ

ทบทวนตัวชี้วัดแผลกดทับแล้วพบว่าสถิติต่ำมาก  1 –2 แผล/ปี

 แผลกดทับที่เกิดส่วนใหญ่เกิดมาจากบ้าน เกรด 3-4 เกิดมาจากที่อื่น ไม่ได้เกิดในหอผู้ป่วยของตน

แผลกดทับที่เกิดจาก ET tube, NG tube ไม่ได้บันทึก

 

จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในครั้งนี้....

มีการนำเสนอจากเลขาฯกลุ่ม

 

 

 

 

คณะกรรมการ KM ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้

 

 

คุณจงกล พลตรี ผู้สังเกตการณ์กลุ่ม

 

คุณติ๋ว กฤษณา เลขาฯ KM

 

ท่านหัวหน้าพยาบาล พี่จินตนาบุญจันทร์ได้ให้ข้อเสนอแนะว่า....

 

 

  1. การดูแลเพื่อป้องกันแผลกดทับที่บ้าน
  • ควรมีคู่มือการดูแลเพื่อป้องกันแผลกดทับให้ผู้ป่วยและญาติ
  • ควรมีระบบส่งต่อการดูแลให้กับ PCU หรือ โรงพยาบาลใกล้บ้าน
  • สร้างเครือข่ายการดูแลในโรงพยาบาลในภาคฯ

2. การประเมินแผลกดทับจะต้องครอบคลุมถึง การกดทับที่เกิดจาก NG,ET tube

3. ควรมีระบบการขอคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญ

4. ระบบการดูแลแผลกดทับ เราอาจตั้งเป็นชุมชนนักปฏิบัติ การดูแลแผลกดทับ

5. ควรมีการต่อยอดจากงานประจำให้เป็นงานวิจัย

 

สำหรับดิฉันเองได้เสนอแนะว่า .....

หลังจากที่เราได้แลกเปลี่ยนองค์ความรู้จากการปฏิบัติแล้ว เราสามารถไปทบทวนงานวิจัยหรือ systematic review แล้วมาปรับ guide line ให้ครอบคลุม ทันสมัยและเหมาะกับบริบทของ รพ ศรีนครินทร์  ลองนำแนวปฏิบัติไปใช้ แล้วทำเป็นงานวิจัย โดยประเมินผลการปฏิบัติตามแนวปฏิบัติและติดตามตัวชี้วัดที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วย คือ อัตราการเกิดแผลกดทับ

 

จากการสังเกตกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

 

  • ทุกคนที่มาเข้ากลุ่มล้วนเป็นผู้มีประสบการณ์
  • มีการแบ่งปันเรื่องเล่าดีดีที่เกิดขึ้น จากการทำงานอย่างมีความสุข
  • ทุกคนตั้งใจฟังเพื่อนเล่าไม่มีการขัดจังหวะกัน อาจมีการเสริมให้เรื่องเล่านั้นๆให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
  • สำหรับ facilitator ทั้ง 2 คน เป็นคนที่มีความรู้ในเรื่องนั้นเป็นอย่างดี คอยดูแลประคับประคองให้ทุกคนได้มีโอกาสเล่า มีการสอบถามผู้เล่าโดยผู้ถูกถามไม่รู้สึกอึดอัด
  • ความรู้ที่ได้ในวันนี้ คงจะสามารถนำไปต่อยอดให้ครบถ้วน สมบูรณ์ สามารถนำไปใช้เพื่อผู้ใช้บริการ นำไปสู้สิงที่ดีที่สุด (Best practice)

 

อุบล จ๋วงพานิช

ผู้บันทึก

หมายเลขบันทึก: 425581เขียนเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2011 10:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (16)

ขอบพระคุณพี่เเก้วสำหรับบันทึกดีดี วันนี้กุ้งไป round คนไข้ระยะสุดท้ายที่ได้รับ consultกับอาจารย์ศรีเวียง  ฮือ so sad ค่ะ คนไข้ยังมาไม่นานเท่าไหร่เลย bed sore กินเเล้ว คนไข้มีปัญหาเรื่อง pain เเต่หลังจากที่ palliative care team ลงมาดูตอนนี้ control pain ได้เเล้ว  เช้านี้เลยบอกน้องๆ พยาบาลที่ดูแลเรื่องที่หน่วยมีที่นอนลมให้ยืมค่ะ  เเละฝากพลิกตะเเคงตัวทุกสองชั่วโมงเเละสอน caregiver ให้ทำเป็นด้วยเผื่อคนไข้ได้กลับบ้าน 

ขอบคุณพี่แก้วค่ะ ที่นำรายละเอียดมาเล่าให้รับทราบอย่างรวดเร็วทันใจ

มีบันทึกเรื่องนี้เพิ่มเติมที่นี่ค่ะ

การประชุมสัมมนา KM Forum ครั้งที่ 5/2554 “Pressure sore for… Sharing” : การจัดการความรู้อย่างง่ายๆ...

น้องกุ้ง

ประเด็นคนไข้ระยะสุดท้าย คุณอภิญญา หัวหน้าตึก 6ข ได้เล่าให้ฟังว่า

ตะแคงหรือพลิกตัวยากมากเพราะปวด ถ้าปวดลดลงอาจจะพอพลิกได้ อาจต้องใช้ที่นอนลมน่าจะดีที่สุด และทำความสะอาดผิวหนังและเช็ดให้แห้งค่ะ

คุณติ๋วบันทึกได้ยอดเยี่ยมมากค่ะ ทำให้เติมเต็มกันและกันได้ พี่ขออนุญาติส่ง link ไปให้น้องไข่เจียวด้วยนะคะ

ขอบคุณมากค่ะพี่แก้ว เยี่ยมมากค่ะ

ดอกไม้หอมคุณยายหอมมาก คงป้องกันแผลกดทับได้ค่ะ

ขอบคุณน้องไข่ตุ๋นที่ตามมาอ่านค่ะ

คุณแก้วคะ สรุปบทเรียนได้ดีจังค่ะ

  • ทำอย่างไรให้คนม่กลัว KM ดีคะ
  • สวัสดีค่ะ
  • สุขสันต์วันวาเลนไทน์ค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ

                        

สวัสดีค่ะ...

  • สุขสันต์วันวาเลนไทน์ นะค่ะ... "วันวาเลนไทน์"...The Beauty Of Night"...
  • มาชวนไปดูสิ่งที่มหัศจรรย์ในค่ำคืนนี้ค่ะ...
  • http://gotoknow.org/blog/bussayamas2554/425785
  • ลบออกให้ด้วยนะค่ะ...เพราะ คลิกเบิ้ลค่ะ...
  • ขอบคุณค่ะ...

พี่บุญคะ

ก็บอกว่าเชิญมาคุยกันเรื่อง ....

เปิดโอกาสให้ทุกคนได้พูดคนละ 5 นาที ระหว่างที่เพื่อนพูด อดใจรอให้เพื่อนพูดให้เสร็จก่อน

หา fa เก่งๆค่ะ ที่มีประสบการณ์เรื่องนั้นๆ

ขอบคุณค่ะพี่แก้วที่ได้กรุณาสรุปประเด็นจาก KM วันนั้น ทำให้เห็นคุณค่าและประโยชน์การ  Sharing ได้เยี่ยมจริง ๆ ค่ะ

 /จงกล 

การถอดบทเรียน จากการ ลปรร เป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้รู้ว่า เรายังขาดความรู้ส่วนไหนจะได้ค้นคว้าเพิ่ม เติมให้เต็มและบันทึกไว้ เพื่อความรู้อยู่คู่กับโลกต่อไปค่ะ น้องจงกล

ได้เข้ามาทบทวนความรู้ที่ลืมหมดแล้ว

สรุปไว้ดี๊..ดี

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท