นอนไม่พอเสี่ยงโรคหัวใจ-อัมพฤกษ์ อัมพาต [EN]


สำนักข่าว Telegraph ตีพิมพ์เรื่อง 'Too many late night causes health 'ticking time bomb' = "นอนดึกมากไปเสี่ยงระเบิดเวลา (บอมบ์) สุขภาพ", ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ
  • [ tick ] > [ ทิค - k ] > http://www.thefreedictionary.com/tick > noun, verb = ทำเครื่องหมาย (คนไทยนิยมเรียกว่า "ติ๊ก" หรือใส่เครื่องหมายถูก), (การ)ส่งเสียงดังติ๊ก เช่น เสียงนาฬิกา ระเบิดเวลา ฯลฯ
ศ.ฟรานเซสโก แคปปุคชิโอ ผู้เชี่ยวชาญสาขาหัวใจ-ระบบไหลเวียนเลือด และระบาดวิทยา จากมหาวิทยาลัยวอร์วิค อังกฤษ ทำการศึกษาข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างอายุ 7-25 ปี จาก 8 ประเทศ 470,000 คน
.
ผลการศึกษา (ตีพิมพ์ใน Eu Heart) พบว่า การนอนดึกหลังเที่ยงคืน นอนหลับๆ ตื่นๆ และนอนไม่พอ (น้อยกว่า 6 ชั่วโมง/คืน) เพิ่มเสี่ยงโรคหัวใจ 48%, สโตรค (stroke = โรคหลอดเลือดสมองแตก-ตีบตัน อัมพฤกษ์ อัมพาต) 15%
.
ศ.แคปปุคชิโอแนะนำว่า การนอน 7-8 ชั่วโมง/คืน จะดีกับสุขภาพมากที่สุด, และถ้านอนมากไป คือ มากกว่า 9 ชั่วโมง/คืน ควรตรวจหาว่า มีปัญหาสุขภาพอะไรซ่อนอยู่หรือไม่ เช่น โรคซึมเศร้า ฯลฯ
.
การนอนไม่พอ หรือนอนหลับๆ ตื่นๆ อาจทำให้ความดันเลือดสูง ระบบต่อมไร้ท่อทำงานผิดปกติ น้ำตาลในเลือดสูงขึ้นจากภาวะดื้อต่ออินซูลิน (คล้ายกับที่พบในเบาหวานชนิดที่ 2 หรือเบาหวานในผู้ใหญ่-เด็กอ้วน)
.
ปี 2553 ศ.คัปปุคชิโอและคณะ ทำการทบทวนการศึกษาวิจัย 16 รายงาน รวมกลุ่มตัวอย่าง 1.3 ล้านคน
.
ผลการศึกษาพบว่า คนที่นอนน้อยกว่า 6 ชั่วโมง/คืน เสี่ยงตายก่อนอายุ 65 ปี เพิ่มขึ้น 12% เมื่อเทียบกับคนที่นอน 7-8 ชั่วโมง/คืน
.
ผลการสำรวจในอังกฤษ (UK) ทำในเดือนมกราคม 2554 พบว่า คนที่นั่นมีปัญหานอนไม่หลับ 37%, และอีก 24% มีปัญหาการนอนแบบอื่น
.
อ.ดร.ชาร์ลิน อาฮ์เมด จากสมาคมสโตรค แนะนำว่า การนอน 6-8 ชั่วโมง/คืน น่าจะช่วยป้องกันสโตรค หรือกลุ่มโรคหลอดเลือดสมองแตก-ตีบตัน อัมพฤกษ์ อัมพาตได้
.
วิธีอื่นๆ ที่ช่วยป้องกันสโตรคได้แก่ การป้องกันความดันเลือดสูง ไขมันในเลือด (โคเลสเตอรอล) สูง. เบาหวาน, ไม่ดื่ม (แอลกอฮอล์) หนัก, ไม่สูบบุหรี่
.
ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านทุกๆ ท่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

 > [ Twitter ]                             

  • Thank Telegraph.  
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ รพ.ห้างฉัตร ลำปาง. 9 กุมภาพันธ์ 2554.
  • ข้อมูล ทั้งหมดเป็นไปเพื่อ การส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูงจำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแล ท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้.
หมายเลขบันทึก: 425132เขียนเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2011 21:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เรียนท่านอาจารย์

  • คุณยายพยายามปรับเวลานอนค่ะ แต่ยากมาก ยิ่งดึกยิ่งตาสว่าง เพราะฝึกมาตั้งแต่เรียนพยาบาลค่ะ
  • แรกๆจะมีปัญหาง่วงเวลาเข้าเวรดึก เลยต้องฝืนและฝึกจนชินตอนนี้ดึกๆมาตาแป๋วเลยค่ะ แต่ก็ไม่มีปัญหาเวลาทำงานนะคะ ไม่มีง่วงเหงาหาวนอนเลยค่ะ ทำงานได้ปกติ บางทีสดชื่นกว่าคนที่นอนมากๆ ยังงงๆตัวเองอยู่ค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท