เอเชียใต้(อินเดีย บังคลาเทศ ฯลฯ)-มหาอำนาจโรคหัวใจ


สำนักข่าวรอยเตอร์ตีพิมพ์เรื่อง 'South Asia faces rising incidence of heart disease, diabetes' = "เอเชียใต้เผชิญหน้ากับอุบัติการณ์โรคหัวใจ เบาหวานเพิ่มขึ้น" หรือ "พบโรคหัวใจ, เบาหวานเพิ่มในเอเชียใต้", ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ
ธนาคารโลก เตือนเอเชียใต้ (อินเดีย ปากีสถาน บังคลาเทศ ศรีลังกา ฯลฯ) กำลังเสี่ยงวิกฤติสุขภาพ เนื่องจากโรคหัวใจ เบาหวาน และโรคอ้วนกำลังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว 
.
ที่นั่นไม่ได้รักษาฟรี แต่ต้องจ่ายเงินเอง (pay for treatment out of the pocket = จ่ายค่ารักษาพยาบาลเอง โดยรัฐไม่ได้ช่วยจ่าย) ทำให้เสี่ยงต่อการประท้วงรุนแรงได้
.
เอเชียใต้เป็นภูมิภาคที่อะไรๆ มักจะเป็นแบบสุดโต่ง (extreme) หรือ "ที่สุด" เสมอ เช่น คนรวยก็รวยที่สุด คนจนก็จนที่สุด ฯลฯ
.
เอเชียใต้ คือ กลุ่มประเทศอินเดีย บังคลาเทศ เนปาล ปากีสถาน อัฟกานิสถาน มัลดีฟส์ ภูฏาน และศรีลังกา
.
คนเอเชียใต้เป็นโรคหัวใจครั้งแรกที่อายุประมาณ 53 ปี หรือเป็นเร็ว (ตอนเป็นอายุน้อย) กว่าที่อื่นๆ ในโลกประมาณ 6 ปี
.
โรคหัวใจเป็นสาเหตุการตายหลักของคนเอเชียใต้ในช่วงอายุ 15-69 ปี
.
โรคที่ไม่ติดต่อ (ไม่ใช่โรคติดเชื้อ) เป็นสาเหตุการตายก่อนวัยอันควร และทุพพลภาพ (พิการ) ประมาณ 55% ของโรคทั้งหมด
.
เอเชียใต้เป็นภูมิภาคพิเศษ คือ มีโรคมาก ทั้งโรคติดต่อ เช่น วัณโรค ท้องเสียในเด็ก ฯลฯ และโรคไม่ติดต่อ เช่น โรคหัวใจ ฯลฯ
.
อ.ไมเคิล เอนเกลเกา ผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุขจากองค์การอนามัยโลก (WHO) กล่าวว่า คนจนที่ลำบากที่สุด คือ คนจนที่อายุยืน เพราะหลังจากป่วยหนัก หรือป่วยหลายๆ ครั้งจะไม่มีเงินออมเหลืออยู่เลย
.
ปัจจัยเสี่ยงสำคัญของโรคหัวใจในเอเชียใต้ได้แก่ ภาวะน้ำหนักเกิน-โรคอ้วน ความดันเลือดสูง ไขมันในเลือด (โคเลสเตอรอล) สูง, น้ำตาลในเลือดสูง-เบาหวาน
.
WHO เรียกร้องให้ช่วยกันลดการสูบบุหรี่ เพิ่มภาษีบุหรี่ ห้ามโฆษณาบุหรี่ และกินอาหารสุขภาพ
.
บุหรี่เป็นสาเหตุการตายมากถึง 1/5 ของสาเหตุทั้งหมด (20%) ของสาเหตุทั้งหมดในอินเดีย
.
เรื่องนี้อาจส่งผลกระทบถึงไทยด้วย คือ ต่อไปน่าจะมีคนไข้อินเดีย-ศรีลังกา-บังคลาเทศ เข้ามารักษาพยาบาลในไทยมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งถ้าเราเตรียมผลิตบุคลากรสุขภาพให้มากขึ้น (ทุกวันนี้ขาดพยาบาลมากกว่าหมอฟัน และหมอ) จะช่วยป้องกันวิกฤติการขาดแคลนได้ในอนาคต
.
ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ
.

 > [ Twitter ]                             

  • Thank Reuters
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ รพ.ห้างฉัตร ลำปาง. 9 กุมภาพันธ์ 2554.
  • ข้อมูล ทั้งหมดเป็นไปเพื่อ การส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูงจำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแล ท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้.
หมายเลขบันทึก: 425131เขียนเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2011 21:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 18:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท