KM กับ โพชฌงค์


เมื่อเราดึงเอาสติเข้ากำกับกับการงานสิ่งใดแล้วทำให้ใจตั้งมั่น ทำให้การเรียนรู้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพยิ่ง

ความรู้อาจแบ่งใหญ่ๆ ได้ ๒ ประเภท คือ

๑. ความรู้เด่นชัด (Explicit Knowledge) เป็นความรู้ที่อยู่ในเอกสาร หรือ วิชาการ อยู่ในตำรา

๒. ความรู้ซ่อนเร้น (Tacit Knowledge) เป็นความรู้ที่แฝงอยู่ในตัวคน เป็นประสบการณ์ที่สั่งสมมายาวนาน เป็นภูมิปัญญา
โดยที่ความรู้ทั้ง ๒ ประเภทนี้มีวิธีการจัดการ “ความรู้เด่นชัด” จะเน้นไปที่การเข้าถึงแหล่งความรู้นำไปใช้แล้วเกิดความรู้ใหม่ มาสรุปไว้ ใช้ในอ้างอิง หรือให้ผู้อื่นเข้าถึงได้ต่อไป

ส่วนการจัดการ “ความรู้ซ่อนเร้น” นั้นจะเน้นไปที่การจัดเวทีเพื่อให้มีการแบ่งปันความรู้ที่อยู่ในตัวผู้ปฏิบัติ ทำให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน อันนำ

ส่วนโพชฌงค์ตามความหมาย หมายถึง  องค์ธรรมเพื่อเป็นไปเพื่อการรู้แจ้ง
องค์ประกอบของโพชฌงค์ ๗
 ๑. สติสัมโพชฌงค์ หมายถึง มีความระลึกถึงได้                                                ๒. ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ หมายถึงสอดส่องธรรม วิจัยธรรม                                    ๓. วิริยสัมโพชฌงค์ หมายถึง พากเพียรพยายาม มุ่งมั่น
 ๔. ปิติสัมโพชฌงค์ หมายถึงอิ่มใจ
 ๕. ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ หมายถึง สงบกายสงบใจ
 ๖. สมาธิสัมโพชฌงค์ หมายถึง ใจตั้งมั่นต่อการงานสิ่งนั้นไม่วอกแวก                      ๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์ หมายถึง วางเฉยเป็นกลาง

เมื่อเราดึงเอาสติเข้ากำกับกับการงานสิ่งใดแล้วทำให้ใจตั้งมั่น ทำให้การเรียนรู้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพยิ่ง

คำสำคัญ (Tags): #km#ศรีสะเกษ7
หมายเลขบันทึก: 424363เขียนเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2011 09:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 18:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ใช่แล้วค่ะการเรียนรู้จะมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นถ้าเรานำหลักโพชฌงค์มาใช้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท