เรื่องของครกกับคนใต้


ในชนบทโดยเฉพาะในภาคใต้ที่ยังมีคนแก่ๆนิยมกินหมาก ยังคงใช้ครกสำหรับทิ่มหมาก - พลูแทนบอกยน

ภูมิปัญญาการทำครกสีข้าวแบบพื้นบ้านภาคใต้

          ครกสีข้าวเป็นเครื่องมือใช้ในการทำมาหากินของชาวเกษตรกรในชนบทไทย อันเกิดจากภูมิปัญญาพื้นบ้านหรือเทคโนโลยีชุมชนที่มีมาตั้งแต่ครั้งโบราณกาลที่ชาวนาเริ่มรู้จักปลูกข้าวกิน ครกสีข้าวของชาวนาหรือชาวชนบทมีหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับภูมิปัญญา และทรัพยากรที่มีอยู่ในแต่ละถิ่น เช่น ชุมชนชาวนาในพื้นที่ราบลุ่มที่มีไม้ไผ่อุดมสมบูรณ์ก็จะใช้ไม้ไผ่มาเป็นวัสดุในการทำ “ครกสี” เป็นส่วนใหญ่ ส่วนชาวนาที่อยู่ตามป่าตามดอย หรือแถบควนเขาที่ไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ก็จะใช้ลำต้นไม้เนื้อแข็งมาทำเป็น “ครกยี” ส่วน “ครกทิ่มข้าว” (ภาษาถิ่นใต้จะใช้คำว่า “ทิ่ม” แทน “ตำ”) ทั้งชาวนาในพื้นที่ราบลุ่ม และชาวนาที่อยู่ตามป่าตามดอย จะใช้ส่วนลำต้นของไม้เนื้อแข็งขนาดใหญ่ นำมาถากด้วยขวานและเกลาให้มีรูปทรงกลม พร้อมทั้งขุดเป็นหลุมภายในด้านบนให้มีลักษณะลึกก้นเรียว ปัจจุบันไม้เนื้อแข็งขนาดใหญ่หายาก ในชุมชนที่ยังคงกินข้าวซ้อมมือ จึงหันมาใช้ครกทิ่มข้าวที่ทำด้วยปูนซิเมนต์

ครกยี

เครื่องมือสำหรับหมุนบดข้าวเปลือกให้เปลือกแตกเป็นข้าวกล้องใช้ประโยชน์เช่นเดียวกับครกสีข้าว

ครกสีข้าวพื้นบ้าน

ครกสีข้าวพื้นบ้านของทางใต้ทำจากวัสดุพื้นบ้านได้แก่ไม้ไผ่ ดินเหนียว และไม้ ปัจจุบันกระแสข้าวกล้องได้รับความนิยมจากลูกค้าที่สนใจอาหารเพื่อสุขภาพ ในชุมชนชาวนา จึงมีการทำนานำข้าวมาสีเป็นข้าวกล้องขาย ครกสีข้าวพื้นบ้านจึงได้รับความนิยมอีกครั้ง และทำให้มีการหันกลับมาใช้ครกสีข้าวพื้นบ้านสีข้าวกันมากขึ้นด้วย เพราะไม่ต้องพึ่งโรงสีข้าว

ครกทิ่มข้าว

(ภาษาถิ่นใต้ ใช้คำว่า “ทิ่ม” แทน “ตำ”) เป็นเครื่องมือใช้สำหรับตำข้าว ลักษณะโดยทั่วไปของครกในพื้นบ้านภาคใต้ทำด้วยส่วนลำต้นของไม้เนื้อแข็ง นำมาถากด้วยขวานและเกลาให้มีรูปทรงกลม พร้อมทั้งขุดเป็นหลุมภายในด้านบนให้มีลักษณะลึกก้นเรียวในการทิ่มหรือตำข้าวจะใช้สากไม้ตำพอให้ยางข้าวที่หุ้มอยู่รอบเมล็ดข้าวออกนิดหน่อยพอยังมีรำข้าวเกาะติดอยู่ การตำข้าวหลายคน ๒-๓ คน เรียกว่าตำข้าวแบบ “ซอมือ”

ครกกระเดื่อง

ใช้สำหรับตำข้าว มีลักษณะที่แตกต่างคือใช้คู่กับกระเดื่องซึ่งทำด้วยไม้คานยาวเหมือนกับไม้กระดก ที่ปลายมีท่อนไม้ลักษณะคล้ายกับค้อน การใช้นั้นจะต้องกดที่ปลายอีกข้างหนึ่งแล้วค่อยปล่อยเพื่อให้ปลายที่รูปร่างคล้ายค้อนตกลงมากระแทกกับข้าวเพื่อให้แหลก

ครกกระเดื่อง เป็นของใช้พื้นบ้านซึ่งใช้สำหรับตำข้าว ตำถั่ว ตำข้าวโพด และตำแป้ง เป็นต้น บางทีก็เรียกครกกระดก หรือครกถีบก็มีปัจจุบันการใช้ครกกระเดื่องมีใช้กันน้อยมาก จะมีอยู่ในบางหมู่บ้านที่ไม่มีโรงสีข้าว หรืออาจจะอยู่ห่างไกล พวกชนกลุ่มน้อยบางพวก เช่น พวน โซ่ง แม้ว อีก้อ ซึ่งอยู่ในเขตหัวเมืองฝ่ายเหนือ ยังคงใช้ครกกระเดื่องกันอยู่มากพอสมควรตัวครกทำด้วยท่อนไม้ขนาดใหญ่ ตัดให้เป็นท่อน สูงประมาณ ๕๐ - ๖๐ เซนติเมตร ขุดส่วนที่สำหรับใส่เพื่อตำข้าวหรือสิ่งอื่นๆ ให้เป็นเบ้าลึกลงไป ให้สามารถบรรจุเมล็ดข้าวเปลือกได้ครั้งละเกือบ ๑ ถัง

ครกบด

เครื่องมือสำหรับโม่แป้งประกอบด้วยตัวโม่เป็นหินรูปกลมมีฐานในตัวทำเป็นร่องเพื่อให้แป้งไหลลงภาชนะที่รองไว้ตรงปลายที่ยื่นออกมาเวลาใช้จะมีแผ่นหินรูปกลมอีกแผ่นหนึ่งวางซ้อนมีรูด้านข้าง สำหรับสวมไม้จับเวลาหมุนบดข้าวก่อนนำไปประกอบอาหารต่อไป

ครก เป็นเครื่องครัวประเภทหนึ่ง ซึ่งใช้ในการทำอาหารประเภทที่ต้องทิ่ม หรือตำเครื่องครัวหรือของกินของใช้ให้ละเอียดเพื่อง่ายต่อการปรุง และเพื่อให้อาหารการกินมีรสชาติในการกิน เช่น เครื่องแกง น้ำพริก ส้มตำ หรืออาหารประเภทใดก็ตามที่ต้องการความแหลกครกที่ใช้กันในครัวเป็นเครื่องครัวที่มีลักษณะภายนอกเป็นกรวยยอดตัด ๒ อันซ้อนกันโดยหันเอาฐานที่แคบกว่าเข้าประกบกัน ส่วนภายในเป็นเบ้าที่ค่อนข้างจะเป็นครึ่งทรงกลม ต้องมีการใช้คู่กับสาก

  นอกจากนี้ในชนบท(โดยเฉพาะในภาคใต้)ที่ยังมีคนแก่ๆที่นิยมกินหมากยังคงใช้ครกสำหรับทิ่มหมาก - พลูแทนบอกยน(ภาชนะทรงกระบอกใช้สำหรับตะบันหมาก)ให้เนียน(ละเอียด)เพื่อง่ายต่อการกิน(เพราะคนแก่บางคนฟันไม่มี เหลือแต่เหงือก)

หมายเลขบันทึก: 423392เขียนเมื่อ 31 มกราคม 2011 20:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 09:33 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ตอนที่อยู่พังงาทำครกและสากมากับมือ  ครกใช้ไม้เนื้อแข็ง ขุดๆแล้วเอาไฟหมกแล้วขุดต่อทำไปแบบนั้นหลายหนจนเป็นรูปครก

บอกยน(บอกยน  คำอุปมาอุมัย ...จนเหมือนยนหม้ายดัน)

คำว่าครกมีการเรียก ..มีเปรียบเทียบอีกหลาย เช่น ครกสีหน่วยใต้ หมายถึงคนอ้วนเท่าโคนเท่าปลาย ครกสีหมุนบางถิ่น เรียกครกสีหัน แต่ไม่มักอิใช้คำนี้ เพราะ เรียกแล้วมันดักดู้เดียม

อิอิ   คนบ้านเราไม่ว่าเรื่องไหร มักอี้ออกคำผวนเรื่อยไป ผมก็เป็นครกสีหน่วยแล้วครับครู

คำผวนกับคนใต้ถือเป็นภูมิปัญญาที่สามารถ ลองแลกลอนสับพะลีหวนของคนเมืองคอนตะ ใครเขียนได้มั่ง หรือกลอนทายสอนเด็กของคนแต่แรกที่ว่า ไขหลุด ไขหลั้ว สาหัวไข เด็กในอยูคนในอยูว่าไม่รู้อ้ายไหร คนใหญๆเถ.จัง เพราะคนในอยู.ม่าย.ปัญญา

อิอิสาหัวไขอ่อนๆให้มาก ไขหลั้วจะอร่อย ฮายเที่ยงๆได้ กินไขหลั้ว เหงือแตกพลักๆแน่ครับครู

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท