เสียงดังเพิ่มเสี่ยงอัมพฤกษ์อัมพาต [EN]


สำนักข่าว 'Mailonline / Dailymail.co.uk' ตีพิมพ์เรื่อง 'The stress caused by living near a busy road: Noise of traffic can raise risk of stroke' = "ความเครียดจากการอยู่ใกล้ถนน(ที่คับคั่ง): เสียงจราจรรบกวนเพิ่มเสี่ยงสโตรค (stroke = กลุ่มโรคหลอดเลือดสมองแตก-ตีบตัน, อัมพฤกษ์ อัมพาต)", ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ > 'Mailonline / Dailymail.co.uk'
  • [ stress ] > [ s - เตร้ส - s ] > http://www.thefreedictionary.com/stress > noun = ความเครียด
  • [ busy ] > [ บิ๊ส - สี่ ] > http://www.thefreedictionary.com/busy > adjective = (ซึ่ง)ยุ่งเหยิง ไม่ว่าง คับคั่ง เต็มไปด้วยรถ-คน-สิ่งของ; verb = ไม่อยู่เฉย
  • [ traffic ] > [ ทร้าฟ - ฝิค - k ] > http://www.thefreedictionary.com/traffic > noun = (การ)จราจร; คำนี้เดิมมีความหมายคล้ายคำ 2 คำได้แก่ 'trans-' = ทางผ่าน เส้นทางการค้า; 'trade' = ค้าขาย 

> omafra.gov.on.ca

ภาพที่ 1: ตารางแสดงระดับเสียงเป็นเดซิเบล, แถวทางซ้ายเรียงจากเสียงเครื่องบินเจ็ต เสียงในโรงงาน เสียงในรถ เสียงที่บ้าน ห้องนอน ใบไม้ร่วง > omafra.gov.on.ca

แถวทางขวาเรียงจากเสียงเครื่องเจาะถนน ดนตรี ออฟฟิซ-ที่ทำงาน กังหันลม และเสียงกระซิบ (เสียงพูดคุยทั่วไป = 60-70 dB; เสียงกระซิบ = 20-30 dB)

การศึกษาใหม่ (ตีพิมพ์ใน European Heart J) ทำในอาสาสมัครอายุ 50-64 ปี 51,485 คน ติดตามไป 10 ปี

ผลการศึกษาพบว่า เสียงรบกวนจากการจราจรอาจเพิ่มเสี่ยงสโตรค (หลอดเลือดสมองแตก-ตีบตัน อัมพฤกษ์ อัมพาต) ในคนวัยกลางคนและวัยสูงอายุ
.
คนวัยกลางคนขึ้นไปส่วนใหญ่มีวงจรการนอนหลับตื้นกว่าคนอายุน้อย ทำให้ตื่นหรืออยู่ในสภาพ "หลับๆ ตื่นๆ" ได้ง่ายเมื่อมีเสียงรบกวน
.
เสียงรบกวนที่ดังขึ้น 10 เดซิเบล (decibels / dB = หน่วยความดังของเสียง) เพิ่มเสี่ยงสโตรค 14%
.
ความเสี่ยงจะเพิ่มเป็น 27%/10 dB ในคนที่อายุ 65 ปีขึ้นไป (อายุมากขึ้น-ผลกระทบเพิ่มขึ้น) และถ้าเสียงดังเกิน 60 dB จะส่งผลกระทบมากทั้งคนอายุมากและคนอายุน้อย
.
เสียงในเมืองใหญ่อยู่ในช่วง 40-82 dB, ระดับเสียงที่รบกวนชัดเจน คือ ตั้งแต่ 50-55 dB ขึ้นไป, คนที่อยู่ใกล้สนามบินมักจะได้รับเสียงรบกวนช่วง 60-70 dB
.
อ.ดร.เมตต์ โซเรนเซน กล่าวว่า เสียงรบกวนทำให้คุณภาพการนอนลดน้อยลง เพิ่มฮอร์โมนเครียด และความดันเลือดได้
.
การศึกษานี้บอกเป็นนัยว่า ถ้าเลือกได้... ควรเลือกบ้านที่อยู่ไกลถนนใหญ่ หรือแหล่งเสียงรบกวนมากหน่อย
.
รัฐบาลควรเข้มงวดกวดขันกับแหล่งเสียงรบกวน เช่น ไนท์คลับ ผับ บาร์ คาราโอเกะ ฯลฯ, ควรออกแบบแปลนอาคารบ้านพักที่ช่วยลดเสียงรบกวนแจกฟรี และน่าจะมีการประกวดแบบแปลนอาคารบ้านพักที่ช่วยลดเสียงรบกวน
.
เมืองไทยเป็นเมืองท่องเที่ยว... ปัญหาหนึ่งที่นักท่องเที่ยว โดยเฉพาะนักท่องเที่ยววัยกลางคนขึ้นไป ไม่ค่อยพอใจ คือ เสียงรบกวนจากห้องข้างบนหรือห้องข้างๆ
.
ถ้าเราลงทุนวิจัยพัฒนา และปรับปรุงฉนวนกันเสียงรบกวน และนำไปปรับเปลี่ยนโรงแรม-ที่พักให้กันเสียงได้มากขึ้น... การท่องเที่ยวไทยน่าจะก้าวไปอีกไกล
.
ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ
 

 > [ Twitter ]

ที่ มา                               

  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ รพ.ห้างฉัตร ลำปาง. 29 มกราคม 2554.
  • ข้อมูล ทั้งหมดเป็นไปเพื่อ การส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูงจำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแล ท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้.
หมายเลขบันทึก: 423168เขียนเมื่อ 29 มกราคม 2011 21:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 18:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท