แนวคิดเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ในกฎหมายขัดกัน


นักกฎหมายมักจะสับสนเรื่องความสงบเรียบร้อยฯ ตามมาตรา 5 กฎหมายขัดกัน กับ ความสงยเรียบร้อยฯ ในกฎหมายอื่น ๆ เช่นกฎหมายอาญา กฎหมายภาษีอากร

ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พ.ศ. 2481

ในมาตรา 5 "ถ้าจะต้องใช้กฎหมายต่างประเทศบังคับให้ใช้กฎหมายนั้นเพียงที่ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชนแห่งประเทศสยาม"

นักกฎหมายมักจะสับสนเรื่องความสงบเรียบร้อยฯ ตามมาตรา 5 กฎหมายขัดกัน กับ ความสงยเรียบร้อยฯ ในกฎหมายอื่น ๆ เช่นกฎหมายอาญา กฎหมายภาษีอากร

ในเรื่องหลักเกณฑ์การเลือกใช้กฎหมาย ตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล ซึ่งใช้บังคับกับนิติสัมพันธ์ของเอกชนที่มีองค์ประกอบต่างชาติ เป็นไปได้ 2 กรณีกล่าวคือ นิติสัมพันธ์ระหว่างเอกชน และเอกชน กับนิติสัมพันธ์ระหว่างเอกชนกับรัฐ ภายใต้กฎหมายเอกชน

ส่วนกฎหมายอาญา และกฎหมายภาษีอากรนั้นเป็นนิติสัมพันธ์ระหว่างเอกชนกับรัฐ ตามกฎหมายมหาชน ดังนั้น กฎหมายมหาชนซึ่งบังคับใช้ภายในดินแดนของรัฐ จึงเป็นกฎหมายพึงบังคับใช้ทันที มาตรการของความสงบเรียบร้อยฯ ตามกฎหมายหมายมหาชน จึงแตกต่างกับความสงบเรียบร้อยฯ ตามหลักเกณฑ์ว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย ภายใต้พระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พ.ศ. 2481

คำสำคัญ (Tags): #กฎหมายขัดกัน
หมายเลขบันทึก: 42311เขียนเมื่อ 3 สิงหาคม 2006 14:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 10:02 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

อ.แหววเชื่อว่า แก่นของความคิดเรื่อง public order เหมือนกัน แต่เมื่อจะต้องถูกนำไปใช้ในแต่ละเรื่องที่แตกต่างกัน ปรากฏการณ์ของ public order ในแต่ละเรื่องก็อาจต่างกันได้

ข้อที่เหมือนกัน ก็คือ เป็นการคุ้มครอง goodness of society ค่ะ

public policy เป็นเรื่องหนึ่งในกฎหมายขัดกันที่น่าสนใจทีเดียว แต่ข้าน้อยใคร่ขอให้ท่านช่วยให้ความกระจ่างสักหน่อยว่าเหตุใด "กฎหมายมหาชนซึ่งบังคับใช้ภายในดินแดนของรัฐ " จึงเป็นกฎหมายพึงบังคับใช้ทันที 

ไม่แน่เสมอไปค่ะที่กฎหมายมหาชนจะเป็นเรื่องของการบังคับใช้ทันที อาจจะเป็นเรื่องบริการสาธารณะ หรือหากไม่ใช่เรื่องของ "หน้าที่" แต่เป็นเรื่องของสิทธิ ก็ไม่ใช่เรื่องที่จะพึงบังคับใช้ทันที

public policy ในกฎหมายขัดกันเป็นเรื่องที่ต้องผ่านช่องทางหรือกระบวนการต่าง ๆ ว่าด้วยกฎเกณฑ์ของกฎหมายขัดกันก่อนแล้วจึงมาโดนสกัดกั้นเสมือนหนึ่งเป็นห้ามล้อหรืออาจจะกล่าวได้ว่าโดนปฏิเสธไม่ให้ใช้กฎหมายที่ได้ผ่านช่องทางกฎหมายขัดกันแล้วนั้นเองเพราะเหตุว่าขัดต่อความสงบเรียบร้อยซึ่งความหมายของคำว่าความสงบเรียบร้อยจะเป็นอย่างไรก็ย่อมแตกต่างกันไปตามสังคมของแต่ละประเทศ แต่ความสงบเรียบร้อยในกฎหมายมหาชนนั้นนำมาใช้โดยไม่ต้องผ่านช่องทางต่าง ๆ ของกฎหมายขัดกัน กล่าวคือไม่พิจารณาถึงกฎเกณฑ์ของกฎหมายขัดกัน ข้าพเจ้าเองคิดว่าความน่าสนใจของคำว่าความสงบเรียบร้อยอยู่ที่ ขอบเขตของความสงบเรียบว่ามีอยู่แค่ไหนเพียงไรซึ่งเป็นเรื่องที่ยากที่จะเข้าใจ และคิดว่าผู้พิพากษาเท่านั้นที่จะเป็นผู้วินิจฉัย
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท