การหาปลาโดยวิธีการล้อมกล่ำหรือจับหมรำ


ภูมิปัญญาการหาปลาของชาวทะเลน้อยในอดีต:การล้อมกล่ำหรือจับหมรำ

       การหาปลาด้วยวิธีนี้ชาวบ้านเรียกว่าการจับหมรำ(กล่ำ) ทำโดยใช้กิ่งไม้และหรือขอนไม้ที่เป็นโพรงมาสุมกองกันไว้ในน้ำ(ทะเลน้อย)เพื่อให้ปลาเข้าไปพักอาศัย หลบซ่อน  ทิ้งไว้ระยะหนึ่งจนสังเกตเห็นว่าปลาเข้าไปพักอาศัยอยู่แล้ว จึงค่อยจับ เมื่อถึงคราวจะจับปลา คนจับจะค่อย ๆนำเรือบรรทุกเฝือกเข้าไปใกล้ ๆหมรำ แล้วยกเฝือกซึ่งกรองด้วยซี่ไม้ไผ่ปักวางล้อมหมรำเอาไว้ โดยค่อย ๆวางเฝือกเพื่อกันไม่ให้ปลาตื่นหนี แล้วพาตัวเองเข้าไปอยู่ในวงล้อมของเฝือก หลังจากนั้นก็นำกิ่งไม้ที่สุมไว้โยนออกจากวงล้อมเฝือกด้านใดด้านหนึ่งให้กิ่งไม้และขอนไม้ที่โยนออกไป กองสุมไว้เหมือนเดิม เมื่อนำกิ่งไม้และขอนไม้ออกหมดแล้ว ค่อย ๆกระชับวงล้อมเฝือกให้เล็กลง จนปลาเคลื่อนตัวได้ในวงแคบ หลังจากนั้นใช้สวิงตักปลาที่อยู่ในวงล้อมเฝือกที่ถูกกระชับให้วงแคบลง ด้วยวิธีนี้จะได้ปลาไปกินหรือไปขายโดยที่ลงทุนไม่มาก บางครั้งได้ปลาจำนวนมากเกินคุ้มแรงที่ลงไป

ปลาที่จับได้มีตั้งแต่กุ้ง ปลากระทิง ปลาตาแดง ปลานกเขา ปลาสลาด ปลากด ปลาเนื้ออ่อน ปลาโสด เป็นต้น

หมายเลขบันทึก: 422824เขียนเมื่อ 27 มกราคม 2011 16:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 14:16 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สวัสดีค่ะ

               ได้เรียนรู้วิธีจับปลาโดยวิธีจับกล่ำ ของภูมิปัญญาท้องถิ่นในอดีต  เป็นวิถีชีวิตของคนที่อยู่ติดกับแหล่งน้ำอย่างทะเลน้อย...บ้านครูดาหลาไม่มีทะเลเลยไม่ค่อยเข้าใจการจับปลาแบบนี้ค่ะ   

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท