วีระศิริวัฒน์
nok นางสาวทัณฑิกา nok วีระศิริวัฒน์

ทัณฑิกา วีระศิริวัฒน์


งานวิจัยที่ ม.น

งานวิจัยที่จัดบอร์ด การศึกษาพัฒนาสมุนไพรบำรุงความจำ “พรมมิ” โดยคณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น บทนำ

พรมมิเป็นสมุนไพรที่มีประวัติการใช้ยาวนาน มีสรรพคุณทางอย่างมากในการบำรุงความจำ บำรุงสมอง มีการศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของพรมมิต่อร่างกายหลายระบบ โดยเฉพาะระบบประสาทส่วนกลางและความจำ แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของสมุนไพรพรมมิในการเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารหรือสมุนไพรบำรุงความจำ  บำรุงสมอง การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ได้ข้อมูลพื้นฐานทางเคมี เภสัชวิทยา และพิษวิทยาของพรมมิ ก่อนนำมาพัฒนาเป็นเภสัชภัณฑ์

การสกุลและการควบคุมคุณภาพ

วัตถุดิบ            ส่วนเหนือดินของพรมมิ
วิธีสกัด            perrlation ใน alcohol
องค์ประกอบทางเคมี Total sapanins 5%
วิธีวิเคราะห์     HPLC
ความคงตัว     คงตัวไม่น้อยกว่า 1 ปี เมื่อเก็บไว้ที่ 25 องศาเซลเซียล

ฤทธิ์ต่อความจำและการเรียนรู้ 1. ผลการพรมมิในหนูปกติ

พบว่าเมื่อให้สารสกัดพรมมิขนด 20,40 และ 80 mg/kg BW ในหนูปกติเป็นเวลา 14 วัน หนูมีการเรียนรู้และความจำที่ดีขึ้น ซึ่งประเมินจาก Morris Water maze test และเมื่อศึกษาสภาพเซลล์สมองส่วน Hippocampusของหนูที่ได้รับสารสกัดพรมมิขนาด 40 และ 80  mg/kg BW เทียบกับกลุ่มควบคุม พบว่าความหนาแน่นของเซลล์สิ่งมีชีวิตอยู่รอดบริเวณ Hippocampus เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ

  1. ผลของพรมมิในหนูที่มีสภาวะความจำบกพร่อง จากการศึกษาผลของสารสกัดพรมมิในหนูถีบจักรที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดสภาวะความจำบกพร่องด้วยการฉีด Scopolamine (0.6 mg/kg BW) ที่ช่องท้อง หรือโดยการผูกหลอดเลือด common carotid แล้ว ทดสอบภาวการณ์เรียนรู้และความจำด้วย Morris Water maze test โดยให้สารสกัดพรมมิขนาด 4, 40 และ 80 mg/kg BW เป็นเวลาติดต่อกันนาน 2 สัปดาห์ก่อนสมองถูกทำให้บกพร่อง พบว่าพรมมิทุกขนาดสามารถป้องกันการสูญเสียความจำได้ นอกจากนี้สารสกัดพรมมิขนาด 40 mg/kg BW ยังสามารถช่วยฟื้นฟูความจำในการทดสอบด้วย Radio Arm Maze ในหนูที่ถูกทำลายสมส่วน Hippocampus ทั้งสองข้างด้วยสารเคมี Kincaid (1 mg/ml) เมื่อเหนี่ยวนำให้หนูแรท เกิดภาวะคล้าย Alzheimer’s disease ด้วยการฉีด AF 64A ซึ่งเป็น Cholinotoxin เมื่อทำลาย Cholinergic neuron พบว่าสารสกัดพรมมิขนาด 20 และ40 mg/kg BW สามารถป้องกันการถูกทำลายของ เซลล์ ประสาท นอกจากนี้ สารสกัดพรมมิขนาด 40 mg/kg BW ยังสามารถลดการเพิ่มความหนาแน่นของเซลล์ที่มี Calbindin D-28 k ที่เหนี่ยวนำโดย AF 64A ได้
  2. ผลงานพรมมิต่อการป้องกันเซลล์ประสาท beta amyloid พบว่าสารสกัดพรมมิมีฤทธิ์ป้องกันเซลล์ประสาทจากอันตรายที่เกิดจาก beta amyloid ในเซลล์สมองเพาะเลี้ยงได้ และสำหรับการทดลองในสัตว์ทดลอง คณะผู้วิจัยได้ให้สารสกัดพรมมิ ขนาด 4 , 40, 80 mg/kg BW ในหนูก่อนการได้รับ beta amyloid เทียบกับหนูกลุ่มควบคุม และกลุ่มที่ได้รับ beta amyloid เพียงอย่างเดียว พบว่าในกลุ่มที่ได้รับสารพรมมิทั้ง 3 ขนาด มีการตายของเซลล์ประสาทลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ได้รับ beta amyloid เพียงอย่างเดียว นอกจากนี้หนูกลุ่มที่ได้รับ beta amyloid มีจำนวน NMDA receptor cell สมองส่วน frontal cortex เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ

การศึกษาความเป็นพิษ การศึกษาความเป็นพิษเฉียบพลัน เมื่อได้รับสารสกัด ขนาด 2 mg/kg BW ครั้งเดียว พบว่าไม่มีหนุตายภายในสองสัปดาห์ การศึกษาพิษกึ่งเรื้องรัง ไม่พบความผิดปกติเกิดขึ้นกับหนูที่ได้รับสารสกัดพรมมิในปริมาณ 4, 40 และ 80 mg/kg BW เป็นระยะเวลา 100 วัน การศึกษาลักษณะทางพยาธิกายวิภาค และจุลพยาธิวิทยา ขนาดอวัยวะสมอง ตับ ไต ของหนูทั้งหมดไม่พบความแตกต่างระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม

สรุป

คณะผู้วิจัยสามารถพัฒนาวิธีสกัด และควบคุมคุณภาพของสารสกัดพรมมิ ได้สารสกัดที่มีมาตรฐานและมีความคงตัว เมื่อนำไปศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา พบว่าสารสกัดพรมมิที่ได้มีผลกระตุ้นความจำและการเรียนรู้ในหนูปกติ และหนูที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดความจำบกพร่อง
นอกจากนี้ยังพบว่าสารสกัดพรมมิที่ได้มีฤทธิ์ป้องกันการถูกทำลายของเซลล์ประสาทอีกด้วย ส่วนการทดสอบพิษเฉียบพลัน และพิษเรื้อรัง พบว่าสารสกัดพรมมิในขนาดที่ใช้ไม่มีพิษต่อสัตว์ทดลอง สมุนไพรพรมมิจึงมีแนวโน้มว่าจะเป็นสมุนไพรที่มีความปลอดภัย และมีศักยภาพในการนำมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เสริมสุขภาพ บำรุงความจำได้

 งานวิจัยที่จัดบอร์ด การพัฒนาโปรแกรมการตัดสินใจในการเตือนภัยน้ำหลากและน้ำแล้งบนเว็บไซต์ สำหรับลุ่มน้ำป่าสักตอนบน จังหวัดเพชรบูรณ์

โดย สมบัติ ชื่นชูกลิ่น

ภาควิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก

บทคัดย่อ

จังหวัดเพชรบูรณ์ตั้งอยู่ในลุ่มน้ำป่าสักตอนบน ซึ่งมีแม่น้ำป่าสักไหลผ่านใจกลางของพื้นที่จังหวัด แม้ว่าได้มีแหล่งกักเก็บน้ำที่ได้พัฒนาไปแล้ว โดนกรมชลประทานและหน่วยงานอื่นๆ แล้ว แต่ยังไม่เพียงพอกับความต้องการในการบรรเทาปัญหาความเดือนร้อน เนื่องจากการเกิดน้ำท่วมในฤดูน้ำหลาก และสภาวะการขาดแคลนน้ำอย่างรุนแรงในฤดูแล้ง จากข้อมูลสถิติฝนของจังหวัดมีค่าเฉลี่ย1280 มิลลิเมตร และปริมาณน้ำท่าในแม่น้ำป่าสักที่ไหลผ่านตัวเมืองเพชรบูรณ์จึงหวั่นวิตกกับภัยทางน้ำ โดยเฉพาะในช่วงฤดูน้ำหลากที่ได้ทำความเสียหายให้กับทรัพย์สินจำนวนมาก ดังเช่น ในปี พ.ศ.2545 ดังนั้นจังหวัดเพชรบูรณ์จึงได้ดำเนินการวิจัยจัดตั้งศูนย์เตือนภัยทางน้ำของจังหวัดเพชรบูรณ์ พร้อมพัฒนาโปรแกรมประกอบการตัดสินใจในการเตือนภัยทางน้ำของจังหวัดเพชรบูรณ์บนเว็บไซต์ขึ้น โดยใช้ข้อมูลที่ได้ทำการรวบรวมจากรายงานประจำวันในสภาวะปกติ หรือบางชั่วโมงในสภาวะวิกฤติน้ำท่วม จากหน่วยงานประจำที่มีหน้าที่เก็บข้อมูลน้ำฝนจากอำเภอต่างๆ และข้อมูลจากสภาพน้ำท่าในแม่น้ำป่าสัก ณ สถานีวัดระดับน้ำต่างๆ จากนั้นจึงใช้การประมวลผลด้วยโปรแกรมที่พัฒนาจากภาษาที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในท้องตลาดทั่วไปเพื่อสร้างเว็บไซต์ โดยให้สามารถกรอกข้อมูลหรือเชื่อมโยงข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ที่เก็บไว้ในรูปแบบดิจิตอล พร้อมแสดงผลทางจอคอมพิวเตอร์ในโครงข่ายเว็บไซต์นี้ให้เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้นที่ระบุไว้ให้เป็นเกณฑ์ในการเตือนภัย ที่สามารถแสดงรายงานให้เห็นทั้งแบบกราฟิก และตารางเปรียบเทียบกัน เพื่อใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจแจ้งเตือนภัยเฉพาะพื้นที่นั้นๆ ต่อไป



หมายเลขบันทึก: 42246เขียนเมื่อ 3 สิงหาคม 2006 09:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 02:32 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สมุนไพรพรมมิชนิดแคปซูน หาซื้อได้ที่ไหนค่ะ

ติดต่อมาได้ครับ 089 190 8301

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท