Ph.D. นิเทศน์นวัตกรรมเกริก รุ่น 2 ,นวัตกรรมการสื่อสารเพื่อการพัฒนาประเทศ


โครงการปริญญาเอกสาขานิเทศน์นวัตกรรม มหาวิทยาลัยเกริก

สวัสดีครับ

ผมได้รับเกียรติจาก ม.เกริก ให้มาสอนนักศึกษาปริญญาเอกสาขานิเทศน์นวัตกรรม วิชานวัตกรรมการสื่อสารเพื่อการพัฒนาประเทศ ครั้งนี้เป็นรุ่นที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 เเล้ว ผมจึงเปิด Blog นี้ขึ้นมาเพื่อเป็นแหล่งรวบรวมความรู้ในการเรียนการสอนครั้งนี้ด้วยครับ

                                                                          จีระ หงส์ลดารมภ์

 

 

โครงการปริญญาเอกนิเทศศาตร์ มหาวิทยาลัยเกริก  

หลักสูตร                ปรัชญาดุษฎีบัญฑิต สาขานิเทศศาสตร์นวัตกรรม

รหัสวิชา-ชื่อวิชา      นศ.นวัตกรรมการสื่อสารเพื่อการพัฒนาประเทศ

                              (Innovation Communication for National Development )

อาจารย์ผู้สอน         ศ. ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ และทีม Chira Academy โทรศัพท์ 0-2619-0512-3

                             e-mail: [email protected]         เว็บไซต์: www.chiraacademy.com

วัตถุประสงค์

  1. เรียนเพื่อนำไปใช้ และนำไปสร้างโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต
  2. หลักสูตรขึ้นอยู่กับผู้เรียน ถ้าสนใจอะไรก็สามารถเพิ่มเติมได้
  3. อาจารย์เป็นผู้ประสานความรู้
  4. วิธีการเรียนแบบ 4L’s
  5. หา Concepts ใหม่ ๆ
  6. หาหัวข้อวิจัยที่เป็นประโยชน์

ครั้งที่ 

วันที่ 

หัวเรื่อง 

1

วันอาทิตย์ที่ 23 มกราคม 2553

เวลา 09.00 – 16.00 น.

เช้า- ปฐมนิเทศ

     - ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ Macro – Micro ที่มีผลกระทบกับการสร้างนวัตกรรมการสื่อสาร

     - การศึกษาไทยกับการนวัตกรรมการสื่อสาร

           เปิดเทป อ.จีระ และ อ.ธงทอง

โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ 

2

วันอาทิตย์ที่ 30 มกราคม 2553เวลา 09.00 – 16.00 น.

(เดินทางไปพัทยา)

เดินทางไป study Tour ที่พัทยา

เช้า-ดูงานที่เขตปกครองพิเศษเมืองพัทยาเน้นนวัตกรรมการสื่อสารในระดับท้องถิ่น

บ่าย- การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน

โดย  ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์, ม.ล.ชาญโชติ ชุมพูนุช และ ดร.ละเอียด ศิลาน้อย

3

วันอาทิตย์ที่ 6 กุมภาพันธ์ 2553

เวลา 09.00 – 16.00 น.

เช้า- กรณีศึกษาการตลาดกับนวัตกรรมการสื่อสารเพื่อการพัฒนา 

   ประเทศ

โดย ศาสตราภิชานไกรฤทธิ บุณยเกียรติ       

บ่าย- นวัตกรรมการสื่อสารกับภาพลักษณ์ประเทศไทย

โดย ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ 

 

 

 

4

วันอาทิตย์ที่ 13 กุมภาพันธ์ 2553

เวลา 09.00 – 16.00 น.

เช้า- การพัฒนาทุนมนุษย์เพื่อการสื่อสารในยุคของการเปลี่ยนแปลง

       การท่องเที่ยวและสร้าง Brand (Expro 2020)

โดย  นายอรรคพล สรสุชาติ

บ่าย – กรณีศึกษาการแพทย์แบบ พญ.นลินี ไพบูลย์

โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

5

วันอาทิตย์ที่ 27 กุมภาพันธ์ 2553

เวลา 09.00 – 16.00 น.

- กรณีศึกษานวัตกรรมการสื่อสารโดยการใช้ทุนทางวัฒนธรรมเพื่อ

  สร้างเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Panel discussion)

โดย  ดร.กล้า สมตระกูล

       คุณปรัญชา ปิ่นแก้ว

       คุณสามารถ จันทร์สูรย์

       ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม

บ่าย – กรณีศึกษา Cooperate Communication ของ Central

โดย คุณบุษบา จิราธิวัฒน์ 

6

วันอาทิตย์ที่ 6 มีนาคม 2553

เวลา 09.00 – 16.00 น.

กรณีศึกษาการพัฒนาทุนมนุษย์ในงานสื่อสารมวลชน

โดย  คุณสมเกียรติ อ่อนวิมล

       คุณวีรวรรณ วรรุตน์

      ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

7

วันอาทิตย์ที่ 13 มีนาคม 2553

เวลา 09.00 – 16.00 น.

การสื่อสารนวัตกรรมเพื่อสร้างสังคม ภาคประชาชนและภาคท้องถิ่น

โดย คุณรสนา โตสิตตระกูล

       คุณรุ่งโรจน์ สีเหลืองสวัสดิ์

      ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

8

วันอาทิตย์ที่ 20 มีนาคม 2553

เวลา 09.00 – 16.00 น.

กรณีศึกษา White Ocean กับนวัตกรรมการสื่อสาร

โดย   คุณดนัย จันทร์เจ้าฉาย

สอบปลายภาค

*หัวข้อย่อยอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม

การวัดผลการเรียน

1.   Assignment โดยใช้Blog                                                                                               10%

2.   Case Study                                                                                                                 10%

3.   สอบกลางภาค ครั้งที่ 1 (Midterm Exam I) (ข้อเขียน)                                                             15 %   

4.   กลางภาค ครั้งที่ 2 (Midterm Exam II) (ข้อเขียน)                                                                  15 %   

5.   การมีส่วนร่วมในห้องเรียน                                                                                                 10%

6.   วิจารณ์ เรื่อง                                                                                                                   10%

7.   Study Tour                                                                                                                   10%

8.   Public Seminar                                                                                                             20%

 

 

ภาพบรรยากาศวันที่ 13 ก.พ. 54

ศาสตราภิชานไกรฤทธิ บุณยเกียรติ  

 

   

หมายเลขบันทึก: 422228เขียนเมื่อ 24 มกราคม 2011 11:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 19:49 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (41)

การบ้านที่ให้ไว้เมื่อวันที่ 23 มกราคม ในชั้นเรียน

1. จากการชมรายการ ไทยมุง เรื่อง "ปฎิรูปการศึกษา พัฒนาการเรียนรู้เด็กไทย" ให้วิเคราห์

- ปัญหาคุณภาพและปริมาณ เราจะ Mobilize ความสัมพันธ์ในเรื่องคุณภาพการศึกษาอย่างไร?

- การปฎิรูปการศึกษา ครั้งที่ 1 เป็นอย่างไร?

- การปฎิรูปพฤติกรรมเป็นอย่างไร?

- การปฎิรูปเด็ก Life Long Learning ทำอย่างไร?

- การบริหารงารบุคลากรในการปฎิรูปการศึกษา ควรทำอย่างไร?

[ตามสมาส่งหน้าใหม่นะครับ]

 

การปฎิรูปการศึกษา

 

ตั้งแต่ผมกลับไปช่วยงานวางแผนด้านการบริหารให้กับกิจการของทางบ้านซึ่งก็คือ โรงเรียนเอกชนในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ทำให้ผมได้เริ่มเห็นและพร้อมๆกันก็เริ่มวิตกจริตกับอนาคตเด็กไทยเป็นอย่างมากครับ ซึ่งพออาจารย์เอาเทปสัมภาษณ์นี้มาเปิด จึงยิ่งเป็นเรื่องที่น่าสนใจมากจริงๆ

 

เพราะ “โลก” หมุนแรงและเปลี่ยนแปลงเร็วยิ่งกว่า นับวันโลกก็จะแคบลงมีการลื่นไหลระหว่างวัฒนธรรมมากขึ้น และการเมืองแบบเสรีประชาธิปไตย จะได้รับการนิยมและเป็นที่ยอมรับทั่วทุกมุมของโลก จะมีระบบเศรษฐกิจฐานความรู้และการค้าแบบไร้พรมแดน จะมีความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการสื่อสาร เป็นอย่างมาก “สังคมไทยยุคใหม่” ต้องปรับตัวเองตามโลกให้ทัน ถ้ายังง้องแง็งเงาะแงะง้อยเปลี้ยเสียขากันอยู่อย่างนี้ละก็ เตรียมตัว “ตกโลก” ถูกทิ้งอยู่เบื้องหลังกันได้เลยครับพี่น้อง

 

สังคมไทยจะต้องปรับตัวเองให้เป็นสังคมเข้มแข็ง และมีคุณภาพ ต้องทำตัวเป็นสังคมที่ยึดหลักความสมดุล และพึ่งตนเองได้ และเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ มีการปรับเปลี่ยนระบบโครงสร้างการบริหาร การเมืองการปกครอง การจัดการศึกษาให้มีการกระจายอำนาจจากส่วนกลางสู่ท้องถิ่น โดยการเปิดโอกาสให้ทุกส่วนของสังคม/ทุกคนในสังคม มีส่วนร่วมอันจะเป็นระบบที่เอื้อต่อการพัฒนาสังคมไทยที่ยั่งยืน มีการผสมกลมกลืนระหว่างเทคโนโลยีสมัยใหม่กับภูมิปัญญาไทยอย่างสมบูรณ์ ระบบการศึกษาจะต้องสามารถสร้างแนวความคิด ต้องมีการปฏิรูประบบโครงสร้างการบริหารการเมือง การปกครอง และระบบการศึกษาให้ไปในทางเดียวกัน เพื่อพัฒนาคนและสังคมไทยให้ยั่งยืน อนาคตภายในทางลบของสังคมไทยจะเป็นสังคมที่อ่อนแอแข่งขันไม่ได้ คนไทยมีคุณภาพต่ำ มีความไหลบ่าของวัฒนธรรมต่างชาติสูง บ้าฝรั่ง-ไหว้ญี่ปุ่น-บูชาเกาหลี ทำให้คนไทยขาดความภาคภูมิใจในความเป็นคนไทย และการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นจะเป็นไปอย่างเชื่องช้า ไม่ทันเหตุการณ์

 

การปฏิรูปการศึกษาตามแนวคิด “ความรู้คู่คุณธรรม มีความสุข เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้และคุณธรรมมีจริยธรรม และวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต, สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข มองกว้าง คิดไกล ใฝ่สูง มุ่งทำงาน และชาญชีวิต, เป็นผู้ที่คิดเป็น ทำเป็น คิดสร้างสรรค์และรักการเรียนรู้ตลอดชีวิต, เป็นผู้ที่สามารถสร้างความรู้ใหม่ ประดิษฐ์คิดค้นสิ่งใหม่ รักการทำงาน และมีพลวัตในตนเองสูง, และเป็นคนไทยที่มาตรฐานสากล คือ เป็นผู้มีความสามารถทางด้านภาษาสากล เทคโนโลยีสื่ออิเล็กทรอนิกส์, มีความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมนานาชาติ, มีค่านิยมสากล และสามารถบูรณาการวิถีชีวิตไทยกับสังคมสากลได้อย่างมีความสุข” นั่นเป็นนโยบายที่สวยหรู เป็นความฝันที่รัฐบาลวาดมันขึ้น แต่ในโลกแห่งความเป็นจริง ในระยะเวลาปีกว่าที่ผมกลับไปใช้ชีวิตอยู่กับกิจการโรงเรียนผมค้นพบว่า แนวทางของระบบการศึกษาไทยดำเนินไปอย่างน่ากลัว ผมขอยกเอารายงานเรื่อง “ปัญหาการศึกษา” ที่พอดีผมไปอ่านเจอมาลงดังนี้นะครับ

 

1. คุณภาพการศึกษาตกต่ำไม่ทันโลก แข่งขันไม่ได้ ความสามารถในการแข่งขันสู้ประเทศเพื่อนบ้านไม่ได้ (ประเทศไทยอยู่อันดับที่ ๓๓ จาก ๔๗ ประเทศ), คุณภาพผู้เรียนไทยเป็นที่พอใจ มีสัมฤทธิ์ผลต่ำในทุกวิชา เช่น สังคมศึกษา (ร้อยละ ๕๕) ภาษาไทย (ร้อย ๔๗) ภาษาอังกฤษ (ร้อยละ 34) และคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ (ร้อยละ 30). ผู้สำเร็จการศึกษามีคุณภาพต่ำ คิดไม่เป็น ทำไม่ได้ แก้ปัญหาไม่ได้ ไม่รักการเรียนรู้ เป็นแรงงานที่มีคุณภาพต่ำ. การเรียนการสอนไม่ได้เน้นความสามารถสากลเท่าที่ควร, ขาดการอบรมบ่มนิสัย ไม่ได้ปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมและภูมิปัญญาไทยอย่างเพียงพอ. ทั้งนี้เพราะคุณภาพครูส่วนใหญ่ไม่ได้มาตรฐาน และหลักสูตรการเรียนการสอนและการประเมินผลผู้เรียน เน้นวิชาและครูเป็นตัวตั้ง ไม่ได้ให้ความสำคัญแก่ผู้เรียน, การเรียนการสอนไม่เชื่อมโยงกับชีวิตจริง เน้นการท่องจำ แต่ไม่เน้นการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และการคิดริเริ่มสร้างสรรค์

2. การเข้ารับการศึกษาไม่กว้างขวาง ไม่ทั่วถึง และไม่เป็นธรรม เกิดความเหลื่อมล้ำในโอกาสการเข้ารับการศึกษา และคุณภาพการศึกษาที่ได้รับ, คนไทยมีการศึกษาเฉลี่ยเพียง 7.1 ปี, แรงงานอายุ 13 ปีขึ้นไป(48 ล้านคน) ร้อยละ 68 มีการศึกษาระดับประถมศึกษาหรือต่ำกว่า, มีประชาชนอายุ 13-24 ปี ซึ่งเป็นคนในวัยเรียน ถึง 7.1 ล้านคน ที่ยังอยู่นอกระบบการศึกษา. นอกจากนี้ ยังมีคนที่พลาดโอกาสและด้อยโอกาสที่จะเข้ารับการศึกษาขั้นพื้นฐานมีจำนวนมาก เช่น เด็กพิการอายุ 6-17 ปี มีถึงร้อยละ 80 พลาดโอกาสเข้ารับการศึกษา

3. การศึกษาแปลกแยกจากสังคม ศาสนา และวัฒนธรรม การศึกษาที่จัดอยู่ในปัจจุบันเป็นการศึกษาแบบแยกส่วน ไม่สอดคล้องกับการดำรงชีวิตในสังคม, อีกทั้งการศึกษาขาดการบูรณาการเชื่อมโยงกับด้านศาสนา ศิลป์ และวัฒนธรรมเข้าไว้ในกระบวนการเรียนรู้อย่างเหมาะสม, ทำให้ผู้สำเร็จการศึกษาอ่อนด้อยทางคุณภาพ และจริยธรรม และขาดความภูมิใจในศิลปะ และภูมิปัญญาไทย ซึ่งเป็นอันตรายอย่างยิ่งก็การดำรงอยู่ และความมั่นคงสถาพรของชาติไทย

4. การบริหารจัดการศึกษาขาดประสิทธิภาพและประสิทธิผล ในปัจจุบันมีการบริหารรวมศูนย์อำนาจสู่ส่วนกลาง, มีการจัดองค์กรซ้ำซ้อน สายบังคับบัญชายาว, ไม่มีเอกภาพด้านนโยบาย และมาตรฐานประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรต่ำ, ขาดการเปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วม, วิชาชีพครูตกต่ำ จึงไม่ได้คนดีคนเก่งมาเป็นครู, สังคมขาดศรัทธาและความเชื่อมั่นในวิชาชีพครู, ขาดการพัฒนานโยบายอย่างต่อเนื่อง, ขาดแคลนโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ และขาดความเชื่อมโยงกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และชุมชน

 

ถ้าเราจะปฏิรูปการศึกษาให้ถูกทาง ผมว่าเราต้องมองการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมรวมทั้งการศึกษาในความหมายกว้างกว่าการผลิตแรงงานไปรับใช้ระบบเศรษฐกิจทุนนิยมคือต้องมุ่งพัฒนาคนทุกคนตามศักยภาพของพวกเขาอย่างทั่วถึงเป็นธรรม เพื่อยกระดับคนทั้งประเทศให้มีทั้งความรู้ ความฉลาดทางอารมณ์ มีบุคลิกนิสัยและจิตสำนึกที่ดี พอที่จะไปพัฒนาตัวเอง ครอบครัว ชุมชน ประเทศให้เติบโตอย่างสมดุล เป็นธรรมเพื่อคุณภาพชีวิตและความสุขของประชาชนอย่างยั่งยืน ซึ่งมีความหมายกว้างกว่าการพัฒนาแบบทุนนิยมอุตสาหกรรมที่เน้นการเจริญเติบโตของสินค้าและบริการ

การที่จัดการศึกษาเพื่อแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมในความหมายกว้างได้ ต้องส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างองค์ความรู้และเทคโนโลยีที่เหมาะสม และเผยแพร่ให้คนทุกชนชั้นทุกกลุ่มมีโอกาสเข้าถึงและเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้คนแต่ละคนได้พัฒนาศักยภาพของเขาได้ดีที่สุด องค์กร ชุมชนและประเทศได้เรียนรู้สิ่งที่ดี เป็นประโยชน์ต่อตัวเองและส่วนรวมมากที่สุด เพื่อประชาชนจะหัดมีจิตสำนึกในการทำประโยชน์ให้กับประเทศชาติกันบ้าง

Sustainability การพัฒนาเศรษฐกิจในประเทศไทย จะยั่งยืนอย่างไร

การพัฒนาประเทศ การพัฒนาเศรษฐกิจของไทย ให้ยังยื่นในระยะยาว เราไม่จำเป็นต้องไปแข่งขันกับใคร แต่ให้แข่งกับตัวเอง ไม่ต้องไปมัวแต่กังวลมองว่าประเทศไหนใครจะเจริญรุ่งเรืองสถาพรกว่าเราแค่ไหน คนไทยก็คือคนไทย ประเทศไทยก็คือประเทศไทย ที่มีความเป็นตัวของตัวเองสูง มีลักษณะของประเทศที่ต่าง ไม่ต้องอะไรมากแค่เราหัดรู้จักลดการใช้ของฟุ่มเฟือย ไม่นำเงินออกนอกประเทศและรัฐบาลควรส่งเสริมการส่งออกให้มากขึ้น ในขณะที่อีกแนวทางหนึ่งก็เร่งพัฒนานำเอา “เศรษฐกิจแบบพอเพียง” มาใช้ให้เหมาะสมกับภาวะเศรษฐกิจของไทย เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่ และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชนจนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนา และบริหารประเทศให้ดำเนินไปใน ทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์

ทั้งนี้จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่ง ในการนำวิชาการต่าง ๆ มาใช้ในการวางแผน และการดำเนินการทุกขั้นตอน และขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติโดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎี และนักธุรกิจในทุกระดับให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต

และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิต ด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุล และพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี

และที่สำคัญถ้าคนไทยรู้จักคำว่าพอเพียงให้ดีขึ้นประเทศก็จะสงบสุข โดยการพัฒนาที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของทางสายกลาง และความไม่ประมาท คำนึงถึงความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ตลอดจนใช้ความรู้ความรอบคอบ และคุณธรรม ประกอบการวางแผน การตัดสินใจ และการกระทำ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

และแนวทางที่ดีที่สุดที่ผมเห็นก็คือ เศรษฐกิจพอเพียงกับทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ เศรษฐกิจพอเพียง และแนวทางปฏิบัติของทฤษฎีใหม่ เป็นแนวทางในการพัฒนาที่นำไปสู่ความสามารถในการพึ่งตนเอง ในระดับต่าง ๆ อย่างเป็นขั้นตอน โดยลดความเสียงเกี่ยวกับความผันแปรของธรรมชาติ หรือการเปลี่ยนแปลงจากปัจจัยต่าง ๆ โดยอาศัยความพอประมาณ และความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดี มีความรู้ ความเพียร และความอดทน สติ และปัญญา การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และความสามัคคี

“…บารมีนั้น คือ ทำความดี เปรียบเทียบกับธนาคาร …ถ้าเราสะสมเงินให้มากเราก็สามารถที่จะใช้ดอกเบี้ย ใช้เงินที่เป็นดอกเบี้ย โดยไม่แตะต้องทุนแต่ถ้าเราใช้มากเกิดไป หรือเราไม่ระวัง เรากิน เข้าไปในทุน ทุนมันก็น้อยลง ๆ จนหมด …ไปเบิกเกินบัญชีเขาก็ต้องเอาเรื่อง ฟ้องเราให้ล้มละลาย เราอย่าไปเบิกเกินบารมีที่บ้านเมือง ที่ประเทศได้สร้างสมเอาไว้ตั้งแต่บรรพบุรุษของเราให้เกินไป เราต้องทำบ้าง หรือเพิ่มพูนให้ประเทศของเราปกติมีอนาคตที่มั่นคง บรรพบุรุษของเราแต่โบราณกาล ได้สร้างบ้านเมืองมาจนถึงเราแล้ว ในสมัยนี้ที่เรากำลังเสียขวัญ กลัว จะได้ไม่ต้องกลัว ถ้าเราไม่รักษาไว้…”

การจัดสรรทรัพยากรมาใช้เพื่อการผลิตที่คำนึงถึง คุณค่า มากกว่า มูลค่า จะก่อให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่าง บุคคล กับ ระบบ เป็นไปอย่างยั่งยืน ไม่ทำลายทั้งทุนสังคมและทุนเศรษฐกิจ นอกจากนี้จะต้องไม่ติดตำรา สร้างความรู้ รัก สามัคคี และความร่วมมือร่วมแรงใจ มองกาลไกลและมีระบบสนับสนุนที่เป็นไปได้

ขอขอบคุณข้อมูลจาก ศูนย์การเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงภาคเหนือ จังหวัดเชียงใหม่ สำนักประชาสัมพันธ์เขต 3 จังหวัดเชียงใหม่

 

การกระจายรายได้ ระหว่างคนเมือง กับ ชนบท

ความเป็นชนบทกับความเป็นเมือง ความเท่าเทียมบนความไม่เท่าเทียม มันก็แล้วแต่ใครจะตีความละครับ ชนบทมีหลายๆสิ่งที่เมืองไม่มี และหลายๆสิ่งที่ในเมืองมีชนบทก็ไม่มีเช่นกัน ความเท่าเทียมในสิทธิ นี่คงจะเท่าเทียมกันทุกคน แต่ถ้ามีปัจจัยอื่นๆมาทำให้ไม่เท่าเทียม อาทิ เส้น สาย หน้าที่การงาน นี่ก็มีให้เห็นกันทั้งคู่

ทั้งในชนบทและในเมือง มีสิ่งหนึ่งที่ผมคิดว่า ชนบทขาดไปโดยไม่เท่าเทียม ก็คือ การศึกษา สุขอนามัยที่ครบครัน องค์ความรู้ต่างๆที่จะพัฒนาท้องถิ่น เรือกสวนไร่นา ต่างๆที่ยังกระจายไปยังไม่ทั่ว แต่ชนบทก็มีอะไรน่ารักๆ มีเสน่ห์ที่เป็น identity and charm มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ต่อคนรอบข้าง ความมีน้ำจิตน้ำใจ ช่วยเหลือ ซึ่งกันและกัน

ส่วนในเรื่องของการกระจายรายได้ ก็อย่างว่าละครับต้องยอมรับละว่า มันเท่าเทียมบนความไม่เท่าเทียม แต่ก็มีอะไรมากมายที่ทำให้เมืองกะชนบทแตกต่าง สังคมทุกสังคมก็มีความแตกต่างกันทั้งนั้นแหละหาความเท่าเทียมได้ยากครับ (ตามทฤษฏีของคาร์ล มาร์กซ ที่กล่าวว่ามนุษย์มีความขัดแย้งกัน ตั้งแต่เริ่มต้นแห่งมนุษยชาติ สังคมนิยมเท่านั้นที่จะแก้ปัญหาได้)

แต่อย่างไรก็ตามผมคิดว่าความไม่เท่าเทียมระหว่างคนชนบทกับคนเมือง คือ โอกาสที่จะเข้าถึงในสิ่งต่างๆ นโยบายของรัฐบาลที่ผ่านๆมาตั้งแต่อดีต ไม่ได้พยายามลดความแตกต่างหรือ ช่องว่างทางสังคม การศึกษาที่แตกต่างระหว่าง คนชนบท กับคนเมือง ทำไห้เกิดการไม่ยอมรับเสียง ซึ่งกันและกัน ทำไห้เกิดความไม่เสมอภาคทางความคิด

การที่สังคมเมือง ที่ใช้เทคโนโลยีเป็นปัจจัยหลักทำไห้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมอย่างรวดเร็วแบบโลกาภิวัตร ต่างจากสังคมชนบทที่ยังได้รับเทคโนโลยีในการพัฒนากับข่าวสารน้อยมาก ก่อไห้เกิดความแตกต่าง หรือแบ่งโลกกันเลยครับ ทั้งที่อยู่ในรัฐเดียวกัน สิ่งต่างๆโดยย่อยเหล่านี้ ทำไห้เกิด ความไม่เสมอภาคทาง สังคม เพราะความแตกต่าง การศึกษา ฐานะ เทคโนโลยี จึงส่งผลโดยตรง ต่อสถานการณ์ปัจจุบัน

(โดยรวมถึงการแสวงหาอำนาจทางการเมืองของคนบางกลุ่ม อีกต่างหาก)

 

ความสมดุลย์ของธุรกิจข้ามชาติกับธุรกิจ SME ผลกระทบอันเกิดจากการเปิดเสรีทางการค้า

บรรษัทข้ามชาติ ยักษ์ใหญ่ค้าส่ง – ค้าปลีก ในไทย อย่าง สยามแม็คโคร (จากเนเธอร์แลนด์) เทสโก้-โลตัส (จากอังกฤษ) คาร์ฟูร์ (จากฝรั่งเศส) บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ (โดยกลุ่มกาสิโน จากฝรั่งเศส) จากเดิมที่จะมีการเปิดสาขาแต่เฉพาะในกรุงเทพฯ และหัวเมืองใหญ่ๆ

เริ่มด้วย สยามแม็คโคร เป็นรายแรกที่ออกมาประกาศ ว่าจะขยายสาขาออกไปใน ๕๐ จังหวัดทั่วประเทศ ทำให้เกิดความวิตกกังวลในกลุ่ม พ่อค้ารายย่อย ร้านค้าปลีกท้องถิ่นและ SMEs ในแต่ละจังหวัด ต่างก็เกรงว่าจะได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง จากการเปิดสาขาขึ้นในจังหวัดของตน เพราะที่ผ่านมาในจังหวัดที่ ยักษ์ใหญ่ค้าปลีกข้ามชาติไปเปิดสาขา ร้านค้าปลีกในท้องถิ่นและ SMEs ก็จะได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง

การแข่งขันเสรีนั้นแน่นอนย่อมเป็นสิ่งที่ดี แต่การเปิดให้ยักษ์ค้าปลีกระดับโลกเข้าแข่งขันกับ พ่อค้ารายเล็กรายน้อยในต่างจังหวัด ดูเหมือนว่าจะเป็นการแข่งขันที่ไร้กฎกติกาไม่ได้ยืนอยู่บนกฎกติกาที่เสมอภาคเป็นธรรม

รัฐบาลไทยเป็นตัวแทนของประชาชนชาวไทย ควรที่จะต้องดูแลผลประโยชน์ให้กับคนไทยอย่างน้อย ก็ต้องยืนอยู่บนพื้นฐานของความเป็นธรรม ไม่ใช่ปล่อยให้ ไมค์ ไทสัน ขึ้นเวทีแข่งขันชกมวยอย่างเสรี กับ พะเยาว์ พูนธรัตน์ แล้วบอกว่า นี่คือการแข่งขันเสรีตามเงื่อนไข WTO การแข่งขันที่เพียงประกบคู่ ก็รู้ผลแล้วว่า พะเยาว์ ถูกน็อคเอ้าท์อย่างแน่นอน จะเอาอะไรไปสู้

ดูอย่างประเทศออสเตรเลีย เขาปกป้องเกษตรกรเลี้ยงไก่ของเขา ภายใต้การแข่งขันเสรีตามเงื่อนไข WTO โดยการออกกฎหมาย ให้ไก่สดแช่แข็งที่จะนำเข้าประเทศ จะต้องผ่านการต้มสุกฆ่าเชื้อก่อน เพื่อป้องกันเชื้อโรคไก่ที่อาจติดมากับซากไก่สดได้ ถามว่าแล้วจะเป็นไก่สดได้อย่างไร? ในเมื่อต้องต้มให้สุกเพื่อฆ่าเชื้อเสียก่อน เหตุผลที่ประเทศอื่นๆฟังดูแล้วไร้เหตุสิ้นดี แต่ผู้นำของออสเตรเลีย เมื่อเขาเห็นว่าการเปิดเสรีดังกล่าวเป็นผลลบต่อเกษตรกรฟาร์มไก่ของเขา เขาก็ออกระเบียบมาเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของประชาชนทันที แม้ใครจะว่าไม่มีเหตุผลก็ตาม

ขณะที่ผู้นำของไทย กลับออกปกป้องผลประโยชน์ของต่างชาติ เมื่อกลุ่มผู้ค้าปลีก หอการค้าไทย สภาอุตสาหกรรมไทย กลุ่มนักวิชาการ และกลุ่มผู้รักชาติ ออกมาเคลื่อนไหวเรียกร้องให้รัฐบาล ออกกฎหมายเป็นมาตรการมารองรับ การเปิดเสรีทางการค้าภายในประเทศ เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของชาติ-ประชาชน ซึ่งผลกระทบอันอาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต ต่อผู้ค้าปลีกไทย และผลกระทบอื่นๆที่จะตามมาอีกมากมาย ขอชี้ตัวเลยละกันครับ อย่างดร.สุวรรณ วลัยเสถียร รมช.กระทรวงพาณิชย์ ที่ออกมาปกป้องผลประโยชน์ของทุนต่างชาติ ว่า

1.ไทยต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขการเปิดเสรีทางการค้าในฐานสมาชิกองค์การค้าโลก(WTO)

2.ร้านใหญ่ไม่ได้หมายความถึงต่างชาติทั้งหมด แต่หมายถึงร้านไทยอย่างเดอะมอลล์ เซ็นทรัลควบรวมเข้าไปด้วย นอกจากนี้การที่จะไปบอกว่าร้านพวกนี้เป็นต่างด้าวนั้น ไม่ถูกต้องนัก เพราะแม็คโครและบิ๊กซี มีการซื้อขายในตลาดหุ้น คนไทยมีโอกาสที่จะเป็นเจ้าของหุ้น ซึ่งเชื่อว่าในอนาคตคาร์ฟูร์และเทสโก้ ก็คงจะนำบริษัทเข้าตลาดหุ้นไทยในที่สุด

ดร.สุวรรณ วลัยเสถียร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ยังกล่าวอีกว่า ธุรกิจค้าปลีกข้ามชาติที่เข้ามาลงทุนในไทยนั้นจะมีผลดีต่อประเทศในระยะยาว เพราะจะช่วยผู้ผลิต ธุรกิจขนาดกลางและเล็กหรือ SMEs ได้ประโยชน์ในเรื่องตลาดรองรับสินค้า ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า หากกลุ่ม SMEs มีความเข้มแข็ง จะเป็นตัวช่วยให้เศรษฐกิจของประเทศฟื้นตัวได้เร็วขึ้น

นอกจากนี้ผู้บริโภคจะได้รับประโยชน์ เพราะมีทางเลือกเพิ่มมากขึ้น รวมถึงในระยะยาว หากบริษัทข้ามชาติ เข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ คนไทยก็สามารถเข้าไปเป็นเจ้าของร่วมด้วย จากแนวความคิดของ ดร. สุวรรณ วลัยเสถียร ดังกล่าว นับเป็นแนวความคิดที่ขาดวิสัยทัศน์ ดร.สุวรรณ แยกไม่ออกเลยหรือว่า วิธีคิดของตน จะนำไปสู่การพังทะลาย ของโครงสร้างการผลิต SMEs โครงสร้างทางการตลาด โครงสร้างทางการเงิน และสังคมวัฒนธรรมไทย ในอนาคต

ส่วนการที่ต่างชาตินำเอาเงื่อนไข สุขอนามัยสัตว์ สวัสดิการสัตว์ การตัดต่อทางพันธุกรรม (GMO) ฯลฯ มากีดกันทางการค้า อันจะนำมาสู่การล้มละลายของเกษตรกร นี่ยังไม่นับรวมไปถึงราคาพืชผลทางการเกษตรตกต่ำถึงขั้นล้มละลายอยู่แล้ว ไม่ตายวันนี้แล้วจะตายวันไหนครับ หากวิสัยทัศน์ของผู้นำไทยยังมืดบอด ปล่อยให้ยักษ์ใหญ่ค้าปลีก ที่สามารถทุ่มทุน มหาศาลระดับหมื่นล้าน แสนล้าน เข้ามาลงทุนค้าปลีกแข่งขันกับพ่อค้าไทย ได้อย่างเสรี และไม่มีขอบเขตจำกัด ก็จะนำไปสู่การสูญสิ้นเผ่าพันธุ์พ่อค้ารายย่อย ที่พัฒนามานับพันปีในสังคมไทย

และยังจะส่งผลกระอย่างร้ายแรงต่อ โครงสร้างการผลิต SME และการตลาดของไทยในอนาคตอันใกล้ การเปิดเสรีทางการค้าที่ผ่านมาย่อมเป็นบทเรียนเป็นอย่างดีและชัดเจน ทุกสิ่งทุกอย่างอันเป็นผลมาจาก WTOมิได้ดำเนินการไปตามเงื่อนไขการค้าที่เป็นธรรม ตามอุดมการณ์ของการก่อตั้ง WTO ตรงกันข้ามกลับเต็มไปด้วยการช่วงชิงผลประโยชน์กันของบรรดาประเทศมหาอำนาจ

ประเทศมหาอำนาจต่างๆ อาศัยความได้เปรียบในเงื่อนไขข้อตกลง WTO ซึ่งล้วนแล้วแต่ทำให้เศรษฐกิจ และผลประโยชน์ของประชาชนไทย ตกต่ำลงไปทุกที ปัญหาการรุกเข้ามาของยักษ์ใหญ่ค้าปลีก บรรษัทข้ามชาติระดับโลก ที่ทุมทุนเป็นหมื่นล้านเพื่อเข้าแข่งขันในธุรกิจค้าปลีกไทย

ผู้นำไทยจะต้องมีวิสัยทัศน์ กล้าหาญ ทันเหลี่ยม ทันเกมส์ ในการที่จะออกมาปกป้องดูแลผลประโยชน์ของ ธุรกิจค้าปลีกรายย่อย (โชวห่วย) ของไทย ไม่ผิดต่อข้อตกลงของ WTO หรอก หากท่านจะขอความเป็นธรรมให้กับประชาชนของท่านบ้าง เพราะ 

นอกจากท่านจะไม่ออกมาปกป้องดูแลผลประโยชน์ของ ธุรกิจค้าปลีกรายย่อย (โชวห่วย) ของไทยแล้ว ท่านยังเดินหน้าออกมาสร้างเหตุผลต่างๆนานา ข้างๆคูๆ ชักแม่น้ำทั้งห้า เพื่อใช้เป็นข้ออ้าง ในการปกป้องผลประโยชน์ ให้แก่ยักษ์ใหญ่ค้าปลีก บรรษัทข้ามชาติระดับโลก

ไม่ต้องระดับโลกก็ได้ เอาแค่พญาละแวกแห่งเขมร ท่านอภิสิทธิ ท่านเทพเทือก ท่านกษิต ยังกลัวจนตัวสั่น เกรงใจเค้าซะเหลือเกิน จะทำอะไรก็กลัวเค้าจะโกรธ ไหวจะเครียมั๊ยนี่

 

การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ต่อการพัฒนาประเทศ เราจะวัดอย่างไร? Growth

การวัดความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ ได้รับการยอมรับว่าเป็นดัชนีที่บ่งบอกถึงระดับความกินดีอยู่ดีของประชาชนในประเทศนั้นๆ โดยมีแนวคิดว่าระดับความกินดีอยู่ดีของประชาชนขึ้นอยู่กับระดับการบริโภคของประชาชนและกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น ผลผลิตรวมของประเทศหรือผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (Gross Domestic Product: GDP : หมายถึง มูลค่าขั้นสุดท้ายของสินค้าและบริการที่ผลิต และบริโภคในระบบตลาดโดยนิยมวัดต่อปี หรือต่อไตรมาส ซึ่งมีวิธีการคำนวณอยู่ 3 วิธีคือ การคำนวณทางด้านผลผลิต ทางด้านรายจ่าย และการรวมมูลค่าของผลผลิตขั้นสุดท้าย ทั้งนี้ GDP จะพิจารณามูลค่ารวมที่เกิดขึ้นภายในอาณาเขตของประเทศและการบริโภค เป็นต้น และค่าใช้จ่ายในการป้องกันมลพิษดังกล่าวกลับถูกนำไปรวมเป็นส่วนหนึ่งของ GDP ทั้งๆ ที่ค่าใช้จ่ายดังกล่าวเป็นต้นทุนทางสิ่งแวดล้อมที่น่าจะถูกนำมาหักลบออกจาก GDP) จึงถูกนำมาใช้เป็นดัชนีในการวัดความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศโดยองค์การสหประชาชาติมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2496 เป็นต้นมาซึ่งเป็นดัชนีที่ยอมรับกันทั่วโลก

การวัดการเจริญเติบโตและการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทยไม่มีตัวชี้วัดใดที่สมบูรณ์ ต้องใช้ตัวชี้วัดหลายชนิดรวมกัน เช่น ตัวชี้วัดรายได้ที่แท้จริงต่อบุคคลจะแสดงถึงการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและความสามารถในการผลิตของบุคคล แต่ไม่ได้แสดงถึงสภาพความเป็นอยู่ของประชาชนในด้านอื่นๆ ดังนั้นในการพิจรณาต้องใช้ชีวัดอื่นประกอบ เช่นภาวการณ์การลงทุน ดุลการค้าระหว่างประเทศ อัตราการเพิ่มของประชากร อัตราการไม่รู้หนังสือ การเกิดอาชญากรรม ฯลฯ

 

การเปิดการค้าเสรีในอาเซียน, WTO, FGA คนไทยได้อะไร

รัฐบาลใช้นโยบายการตลาดมากกว่านโยบายทางเศรษฐกิจ มุ่งแต่กระแสทำ FTA โดยไม่ห่วงเรื่องของคุณภาพของการผลิต การแข่งขัน ซึ่งเราไม่ทำเลย และความต่อเนื่องของนโยบายก็ไม่มี ที่สำคัญการทำ FTA รัฐบาลเป็นคนตัดสินใจทาง การเมืองมาโดยตลอด

การเปิด FTA มากๆ มีทั้งส่วนดีและส่วนเสีย โดยจะทำให้ไทยเปิดตลาดได้มากขึ้น ในทางกลับกันประเทศคู่ค้าก็จะเปิดตลาด ในไทยได้มากขึ้น แต่จะมีส่วนทำให้ไทยขาดดุล การค้าจากการเปิดเสรีหรือไม่ ซึ่งต้องยอมรับว่ามี ส่วน เพราะในการเจรจา FTA ประเทศที่จะมาทำ FTA กับไทยรัฐบาลของเขาต่างมีการศึกษาผลดีผลเสีย และมีเป้าหมายชัดเจนว่าจะเรียกร้องให้ไทยเปิดตลาดอะไรให้ พอเปิดแล้วก็เข้ามาใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่

จุดอ่อนของรัฐบาล คือไม่มีการส่งสัญญาณเตือนภัย รัฐบาลจำเป็นต้องบอก ต้องพูด ต้องปรับระบบการสื่อสารใหม่ ไปทำอะไรมา ก็ต้องบอก ไม่เช่นนั้น จะเป็นปัญหาในอนาคต โดย FTA จะกลับกลายเป็นว่าคู่ค้าได้ประโยชน์ แต่คนไทยไม่ได้อะไร เหมือนอย่างอ๊าฟต้า (เขตการค้าเสรีอาเซียน) ที่ขณะนี้มีการเปิดเสรีกันแล้ว แต่คนไทยใช้ประโยชน์ไม่ถึง 5% จากสัดส่วนการค้าที่ไทยทำกับอาเซียน ปีละกว่า 20%Ž

กำหนดตัวละครในการสื่อสาร ไปยัง Stake Holder

Stake Holder ของรัฐบาลก็คือ ประชาชน และการสื่อสารสู่ประชาชน เป็นการทำงานที่จะต้องใช้การตัดสินใจของผู้บริหารประเทศในลักษณะของ Top down ในระดับสูง เนื่องจากต้องอาศัยการตัดสินใจในการเปลี่ยนแปลง (Transformation) จำนวนมาก ทั้งกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการปฏิบัติงาน ที่ต้องการสนับสนุน คน เงิน งบประมาณ จำนวนเพียงพอ และต่อเนื่อง เป็นระยะเวลานาน โดยผมขอแบ่งกลุ่มตัวละคร Stake Holder ออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่คือ

1. กลุ่มผู้มีความรู้ระดับสูง เป็นกลุ่มที่มีความสามารถทางปัญญา และมีโอกาสในการศึกษาสูงในประเทศ กลุ่มนี้เป็นประชากรที่มีความพร้อม และความคาดหวังสูงต่อการให้บริการของรัฐบาล

2. กลุ่มผู้มีความรู้ปานกลาง ได้แก่ ผู้ประกอบการ ขนาดกลาง และขนาดย่อม (SMEs) ประชาชนทั่วไป ตลอดจนนิสิตนักศึกษา

3. กลุ่มผู้มีความรู้น้อย และด้อยโอกาส เป็นผู้ที่มีรายได้น้อย การศึกษาน้อย มีโอกาสการเข้าถึงการศึกษา และมีโอกาสทางธุรกิจต่ำ พวกนี้ยังรวมไปถึงผู้ใช้แรงงาน คนพิการในรูปแบบต่าง ๆ และเกษตรกร ชาวไร่ ชาวนา ในชนบทที่ห่างไกล

สิ่งที่สำคัญก็คือ รัฐบาลควรให้ความสำคัญกับการสื่อความที่เข้มข้นขึ้นโดยเฉพาะการให้ความสำคัญกับเนื้อหาความชัดเจน โปร่งใส มีกระบวนการสื่อสารทั้งสองทาง การอธิบายแหล่งที่มาของข้อมูล วิธีการตรวจสอบ ช่องทางแสดงความคิดเห็น การปรับปรุงการสื่อความทั้งภายในของคณะรัฐบาล ควรมีทิศทางที่ชัดเจนสอดคล้องไปในทิศทางเดียวกัน การให้ความสนใจต่อการสื่อสารถึงประเด็นการแก้ปัญหา

ในภาคประชาชน การเปิดเวที ช่องทางของการรับฟังมากขึ้น การเร่งเปิดพื้นที่สาหรับการเจรจาเพื่อลดข้อขัดแย้งการให้ความสำคัญกับประชามติการเปิดรับฟังความคิดเห็น ทั้งองค์กรภาคธุรกิจและภาคสังคม การแสวงหาแนวร่วมเชิงสร้างสรรค์ หรือการสร้างกระบวนการไปสู่ประชามติ เพราะความเห็นที่แตกต่าง ไม่ใช่ความขัดแย้ง แม้ว่าประเทศ ยังต้องเผชิญกับปัญหาที่รุมเร้าอีกสารพัน แต่สิ่งที่จะทาให้ประเทศของเราพัฒนาอย่างมีเอกภาพได้ ก็คือการเร่งแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง ด้วยการวางยุทธศาสตร์การสื่อสารที่เหมาะสม

มันยากนักหรือที่จะสร้างความกระจ่าง สร้างความเข้าใจของประชาชน ไม่ใช่มาใช้ทีวีพูลแถลงแก้ตัวที่ฟังดูงงๆสารพัดอย่างที่เพิ่งเกิดมานี้ รัฐบาลมีสื่อสารพัด งบมากมายในมือ ทำไมไม่พัฒนาสร้างนวัตกรรมการสื่อสารเพื่อประโยชน์สูงสุดของชาติ

เป็นคำถามที่ผมอยากได้คำตอบจังครับ

ขอบคุณครับ

ลืมใส่ชื่อ

ข้างบนนั่นเป็นข้อความของผมนะครับ พิมพ์เสร็จแล้วมึนลืมใส่ชื่อ

กุ๊ก กฤษณพงศ์

นางสาวฟ้าประธาน รัตนธาดา

นางสาวฟ้าประธาน รัตนธาดา รหัส 5213305

การบ้าน 23/1/11

วิเคราะห์ จากการชมรายการไทยมุง เรื่อง “ปฏิรูปการศึกษา พัฒนาการเรียนรู้เด็กไทย”

 

                เมื่อนึกถึงคำว่า “การศึกษาสร้างคน คนสร้างชาติ” ก็ยิ่งทำให้เห็นความสำคัญของการศึกษา เพราะการศึกษาเป็นพื้นฐานที่สำคัญยิ่งในการพัฒนาประเทศ สำหรับประเทศไทยได้มีการปฏิรูปการศึกษามาแล้วถึง 3 ครั้ง เริ่มตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ได้ทรงปฏิรูปการศึกษา โดยมุ่งสร้างความทันสมัยและธำรงความเป็นเอกราชของชาติไทย ในครั้งที่ 2 เมื่อพ.ศ.2520 หลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคม การปฏิรูปการศึกษาจึงเป็นการมุ่งสร้างการศึกษาเพื่อชีวิตและสังคม สำหรับในครั้งที่ 3 เมื่อพ.ศ. 2542 เป็นการเริ่มต้นสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ในกระแสโลกาภิวัตน์ ควบคู่ไปกับหลักเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน สำหรับในปัจจุบันถือเป็นการปฏิรูปการศึกษาครั้งที่ 4 ในปีพ.ศ. 2552 โดยมุ่งเน้น การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา เพิ่มโอกาสทางการศึกษาและการเรียนรู้ ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนเพื่อให้คนไทยเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ไปตลอดชีวิต ทั้งในระบบ นอกระบบอย่างมีคุณภาพและเท่าเทียมกันทุกระดับ

 

                การปฏิรูปการศึกษาสิ่งที่สำคัญที่สุด คือ การปฏิรูปทางปัญญา ปัจจุบันสังคมไทยเกิดวิกฤตทางปัญญา เมื่อปัญญาไม่พร้อมก็ไม่สามารถจัดการกับวิกฤตได้ เพราะตามสภาพความเป็นจริงแล้วนั้น สังคมไทยมีการศึกษาแบบการท่องจำ เป็นการเรียนรู้เพียงในตำรา ไม่ใช่การเรียนรู้จากชีวิตจริง การสอนของครูเป็นการป้อนข้อมูลให้นักเรียนฟังแล้วจำ ไม่ได้กระตุ้นให้มีการคิด วิเคราะห์ ไม่กระตุ้นให้เกิดปัญญา สิ่งที่การศึกษาควรจะให้ความสำคัญ ไม่ใช่แค่เพียงความรู้ที่อยู่ในตำรา ความรู้นอกตำรายังมีอีกมากมาย การศึกษาควรเรียนรู้ควบคู่ไปกับชีวิตจริง สังคม สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม เศรษฐกิจ และประชาธิปไตย ภาคอุดมศึกษากลายเป็นธุรกิจ ถือว่ามีความอ่อนแอทางวิชาการอย่างเห็นได้ชัด หากต้องการเอ็นฯ ติด ก็จำเป็นต้องเรียนพิเศษเสริมเพิ่มเติมกันให้ยุ่งยาก เสียเงินทองมากมาย บัณฑิตที่จบมาก็ทำงานไม่เป็น ไม่มีความอดทน ภาครัฐนั้นใช้งบประมาณกับการศึกษาไปมาก แต่ผลตอบแทนทางด้านคุณภาพกลับน้อยมาก ถือว่าเป็นการศึกษาที่ไม่มีประสิทธิผล

 

                สังคมไทยให้ความสำคัญกับใบปริญญามากเกินไป แต่กลับไม่ให้ความสำคัญหรือยกย่องสรรเสริญคนที่มีปัญญา ความเป็นจริงที่เกิดขึ้นคือ คนมีปริญญาบางคนกลับไม่ได้มีปัญญาเทียบเท่าเสมอใบปริญญาที่ได้มา นักเรียนนักศึกษาบางกลุ่มหวังเพียงเรียนเพื่อให้ได้ใบปริญญาแต่ไม่ได้มุ่งให้ความสำคัญกับความรู้ที่ควรจะมี เป็นเรื่องที่น่าแปลกโดยเฉพาะกับคนในเมืองคงอาจจะเป็นเพราะ คนในเมืองไม่มีความจำเป็นต้องต่อสู้ดิ้นรน มีความเป็นอยู่ที่สะดวกสบายต่างจากคนตามชนบทที่โรงเรียนอยู่ห่างไกล มีความยากจน ขาดแคลนสมบัติทางความรู้ จึงต้องมุ่งมั่น ขยันอดทน และใฝ่เรียน เพื่อให้ได้เรียนรู้ในสิ่งที่ตนคิดว่าจะเป็นสิ่งที่ช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนให้ดีขึ้นและมีอนาคตที่ดีได้ อีกทั้งสังคมไทยไม่เห็นความสำคัญและคุณค่าของการศึกษาระบบอาชีวะ หรือสายอาชีพต่างๆ ทั้งๆ ที่การเรียนสายอาชีพนั้นมีประโยชน์มหาศาล ทรัพยากรที่จบมานั้น นอกจากจะมีความรู้แล้วยังสามารถประกอบอาชีพได้ทันที มีความรู้ความเข้าใจในสายงานเป็นอย่างดี ได้รับการเรียนรู้ควบคู่ไปกับการปฏิบัติจริง ถือได้ว่าเป็นกำไรอย่างมากทีเดียว

 

                สิ่งที่ประชาชนคนไทยควรจะเห็นความสำคัญอย่างแท้จริง คือ เราต้องคิดว่า ทำอย่างไรให้การศึกษาของบ้านเรานั้นมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลอย่างแท้จริง ทำอย่างไรให้เรามีทรัพยากรที่มีความรู้ ความสามารถอย่างแท้จริงทัดเทียมประเทศต่างๆ เป็นที่น่าฉงนว่า เด็กไทยขึ้นชื่อว่าเป็นเด็กที่ฉลาดและมีพรสวรรค์ แต่กลับแพ้เด็กนักเรียนนอกเมื่อมีการทำกิจกรรมร่วมกัน ดังนั้นเราควรหันไปใส่ใจกับวิธีคิด วิธีเรียน หาแนวทางและมองปัจจัยต่างๆ ที่เชื่อมโยงซึ่งกันและกัน และให้ความสำคัญกันอย่างจริงจังสักที

 

                สิ่งที่ดิฉันมองว่าเป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญมีหลายปัจจัยดังนี้

  1. ต้องสร้างให้ประเทศไทยกลายเป็นวัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้อย่างแท้จริง
  2. ต้องปลูกฝังให้เด็กไทยมีนิสัยรักการอ่าน ต้องสร้างสรรค์ความรู้ที่น่าสนใจ มีคุณภาพ สร้างตำรา หนังสือต่างๆ ให้ส่งเสริมสนับสนุนนิสัยรักการอ่านนี้
  3. การปลูกฝังให้เห็นความสำคัญของเด็กปฐมวัย ต้องมีการเรียนรู้ที่เหมาะสม ควบคู่ไปกับพัฒนาการของเด็ก พร้อมทั้งต้องปลูกฝังจิตสำนึกเรื่องศีลธรรม จริยธรรมและคุณธรรม
  4. ควรปรับให้การศึกษามีโครงสร้างระบบการศึกษาให้เรียนรู้ครบทุกมิติ รู้รอบด้าน  คือ การเรียนรู้ควบคู่ไปกับชีวิตจริง สังคม สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม เศรษฐกิจ และประชาธิปไตย
  5. ต้องปฏิรูปการศึกษา ระบบการเรียนการสอน ไม่ใช่เพียงสอนเพื่อท่องจำแล้วสอบผ่าน แต่ต้องสามารถคิด วิเคราะห์เป็น รวมทั้งบุคลากรครูต่างๆ ต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถอย่างแท้จริง และครูต้องมีประสบการณ์และโลกทัศน์ที่กว้างไกล ที่จะคอยสอน สนับสนุน สั่งสอนแนะนำแนวทางที่ดีให้กับลูกศิษย์ได้
  6. ต้องรู้จักใช้เทคโนโลยีให้เป็นประโยชน์  เทคโนโลยีสามารถนำมาช่วยส่งเสริมการเผยแพร่ความรู้ได้อย่างทั่วถึง หากรัฐมีนโยบายการจัดการที่ดี

 

        ท้ายที่สุดแล้วสังคมจะอ่อนแอหรือเข้มแข็ง ก็ขึ้นอยู่กับคุณภาพของเยาวชน หากเรามองเห็นปัญหา คิดว่าน่าจะแก้ไข แต่ไม่ได้มุ่งมั่นและให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหานั้นๆ อย่างจริงจังแล้วละก็ ไม่มีทางที่ประเทศเราจะเจริญได้อย่างที่ทุกๆ คนคาดหวังแน่นอน

ขอบคุณค่ะ

นางสาวฟ้าประธาน รัตนธาดา

นางสาวฟ้าประธาน รัตนธาดา รหัส 5213305

การบ้าน 23/1/11

วิเคราะห์ จากการชมรายการไทยมุง เรื่อง “ปฏิรูปการศึกษา พัฒนาการเรียนรู้เด็กไทย”

 

                เมื่อนึกถึงคำว่า “การศึกษาสร้างคน คนสร้างชาติ” ก็ยิ่งทำให้เห็นความสำคัญของการศึกษา เพราะการศึกษาเป็นพื้นฐานที่สำคัญยิ่งในการพัฒนาประเทศ สำหรับประเทศไทยได้มีการปฏิรูปการศึกษามาแล้วถึง 3 ครั้ง เริ่มตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ได้ทรงปฏิรูปการศึกษา โดยมุ่งสร้างความทันสมัยและธำรงความเป็นเอกราชของชาติไทย ในครั้งที่ 2 เมื่อพ.ศ.2520 หลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคม การปฏิรูปการศึกษาจึงเป็นการมุ่งสร้างการศึกษาเพื่อชีวิตและสังคม สำหรับในครั้งที่ 3 เมื่อพ.ศ. 2542 เป็นการเริ่มต้นสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ในกระแสโลกาภิวัตน์ ควบคู่ไปกับหลักเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน สำหรับในปัจจุบันถือเป็นการปฏิรูปการศึกษาครั้งที่ 4 ในปีพ.ศ. 2552 โดยมุ่งเน้น การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา เพิ่มโอกาสทางการศึกษาและการเรียนรู้ ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนเพื่อให้คนไทยเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ไปตลอดชีวิต ทั้งในระบบ นอกระบบอย่างมีคุณภาพและเท่าเทียมกันทุกระดับ

 

                การปฏิรูปการศึกษาสิ่งที่สำคัญที่สุด คือ การปฏิรูปทางปัญญา ปัจจุบันสังคมไทยเกิดวิกฤตทางปัญญา เมื่อปัญญาไม่พร้อมก็ไม่สามารถจัดการกับวิกฤตได้ เพราะตามสภาพความเป็นจริงแล้วนั้น สังคมไทยมีการศึกษาแบบการท่องจำ เป็นการเรียนรู้เพียงในตำรา ไม่ใช่การเรียนรู้จากชีวิตจริง การสอนของครูเป็นการป้อนข้อมูลให้นักเรียนฟังแล้วจำ ไม่ได้กระตุ้นให้มีการคิด วิเคราะห์ ไม่กระตุ้นให้เกิดปัญญา สิ่งที่การศึกษาควรจะให้ความสำคัญ ไม่ใช่แค่เพียงความรู้ที่อยู่ในตำรา ความรู้นอกตำรายังมีอีกมากมาย การศึกษาควรเรียนรู้ควบคู่ไปกับชีวิตจริง สังคม สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม เศรษฐกิจ และประชาธิปไตย ภาคอุดมศึกษากลายเป็นธุรกิจ ถือว่ามีความอ่อนแอทางวิชาการอย่างเห็นได้ชัด หากต้องการเอ็นฯ ติด ก็จำเป็นต้องเรียนพิเศษเสริมเพิ่มเติมกันให้ยุ่งยาก เสียเงินทองมากมาย บัณฑิตที่จบมาก็ทำงานไม่เป็น ไม่มีความอดทน ภาครัฐนั้นใช้งบประมาณกับการศึกษาไปมาก แต่ผลตอบแทนทางด้านคุณภาพกลับน้อยมาก ถือว่าเป็นการศึกษาที่ไม่มีประสิทธิผล

 

                สังคมไทยให้ความสำคัญกับใบปริญญามากเกินไป แต่กลับไม่ให้ความสำคัญหรือยกย่องสรรเสริญคนที่มีปัญญา ความเป็นจริงที่เกิดขึ้นคือ คนมีปริญญาบางคนกลับไม่ได้มีปัญญาเทียบเท่าเสมอใบปริญญาที่ได้มา นักเรียนนักศึกษาบางกลุ่มหวังเพียงเรียนเพื่อให้ได้ใบปริญญาแต่ไม่ได้มุ่งให้ความสำคัญกับความรู้ที่ควรจะมี เป็นเรื่องที่น่าแปลกโดยเฉพาะกับคนในเมืองคงอาจจะเป็นเพราะ คนในเมืองไม่มีความจำเป็นต้องต่อสู้ดิ้นรน มีความเป็นอยู่ที่สะดวกสบายต่างจากคนตามชนบทที่โรงเรียนอยู่ห่างไกล มีความยากจน ขาดแคลนสมบัติทางความรู้ จึงต้องมุ่งมั่น ขยันอดทน และใฝ่เรียน เพื่อให้ได้เรียนรู้ในสิ่งที่ตนคิดว่าจะเป็นสิ่งที่ช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนให้ดีขึ้นและมีอนาคตที่ดีได้ อีกทั้งสังคมไทยไม่เห็นความสำคัญและคุณค่าของการศึกษาระบบอาชีวะ หรือสายอาชีพต่างๆ ทั้งๆ ที่การเรียนสายอาชีพนั้นมีประโยชน์มหาศาล ทรัพยากรที่จบมานั้น นอกจากจะมีความรู้แล้วยังสามารถประกอบอาชีพได้ทันที มีความรู้ความเข้าใจในสายงานเป็นอย่างดี ได้รับการเรียนรู้ควบคู่ไปกับการปฏิบัติจริง ถือได้ว่าเป็นกำไรอย่างมากทีเดียว

 

                สิ่งที่ประชาชนคนไทยควรจะเห็นความสำคัญอย่างแท้จริง คือ เราต้องคิดว่า ทำอย่างไรให้การศึกษาของบ้านเรานั้นมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลอย่างแท้จริง ทำอย่างไรให้เรามีทรัพยากรที่มีความรู้ ความสามารถอย่างแท้จริงทัดเทียมประเทศต่างๆ เป็นที่น่าฉงนว่า เด็กไทยขึ้นชื่อว่าเป็นเด็กที่ฉลาดและมีพรสวรรค์ แต่กลับแพ้เด็กนักเรียนนอกเมื่อมีการทำกิจกรรมร่วมกัน ดังนั้นเราควรหันไปใส่ใจกับวิธีคิด วิธีเรียน หาแนวทางและมองปัจจัยต่างๆ ที่เชื่อมโยงซึ่งกันและกัน และให้ความสำคัญกันอย่างจริงจังสักที

 

                สิ่งที่ดิฉันมองว่าเป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญมีหลายปัจจัยดังนี้

  1. ต้องสร้างให้ประเทศไทยกลายเป็นวัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้อย่างแท้จริง
  2. ต้องปลูกฝังให้เด็กไทยมีนิสัยรักการอ่าน ต้องสร้างสรรค์ความรู้ที่น่าสนใจ มีคุณภาพ สร้างตำรา หนังสือต่างๆ ให้ส่งเสริมสนับสนุนนิสัยรักการอ่านนี้
  3. การปลูกฝังให้เห็นความสำคัญของเด็กปฐมวัย ต้องมีการเรียนรู้ที่เหมาะสม ควบคู่ไปกับพัฒนาการของเด็ก พร้อมทั้งต้องปลูกฝังจิตสำนึกเรื่องศีลธรรม จริยธรรมและคุณธรรม
  4. ควรปรับให้การศึกษามีโครงสร้างระบบการศึกษาให้เรียนรู้ครบทุกมิติ รู้รอบด้าน  คือ การเรียนรู้ควบคู่ไปกับชีวิตจริง สังคม สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม เศรษฐกิจ และประชาธิปไตย
  5. ต้องปฏิรูปการศึกษา ระบบการเรียนการสอน ไม่ใช่เพียงสอนเพื่อท่องจำแล้วสอบผ่าน แต่ต้องสามารถคิด วิเคราะห์เป็น รวมทั้งบุคลากรครูต่างๆ ต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถอย่างแท้จริง และครูต้องมีประสบการณ์และโลกทัศน์ที่กว้างไกล ที่จะคอยสอน สนับสนุน สั่งสอนแนะนำแนวทางที่ดีให้กับลูกศิษย์ได้
  6. ต้องรู้จักใช้เทคโนโลยีให้เป็นประโยชน์  เทคโนโลยีสามารถนำมาช่วยส่งเสริมการเผยแพร่ความรู้ได้อย่างทั่วถึง หากรัฐมีนโยบายการจัดการที่ดี

 

        ท้ายที่สุดแล้วสังคมจะอ่อนแอหรือเข้มแข็ง ก็ขึ้นอยู่กับคุณภาพของเยาวชน หากเรามองเห็นปัญหา คิดว่าน่าจะแก้ไข แต่ไม่ได้มุ่งมั่นและให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหานั้นๆ อย่างจริงจังแล้วละก็ ไม่มีทางที่ประเทศเราจะเจริญได้อย่างที่ทุกๆ คนคาดหวังแน่นอน

 

ขอบคุณค่ะ

ภาวินี กิจอุดมสิน

การปฏิรูปการศึกษาพัฒนาการเรียนรู้เด็กไทย

หลังจากดูหนัง VDO เสวนาระหว่า อ. จีระ และ อ. ธงทอง แล้ว สรุปประเด็นได้ดังนี้

ก่อนอื่นเราต้องยอมรับกันก่อนว่า ระบบการศึกษาไทยทุกวันนี้มีปัญหา และมองหาแนวทางว่าเราจะทำกันอย่างไร  เช่น ระบุประเด็นปัญหา, สาเหตุที่มาของปัญหา, ผู้เกี่ยวข้อง หรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมดมีใครบ้าง, ทางออกของแต่ละปัญหา โดยให้มองในภาพกว้าง  (Macro) แบบองค์รวมก่อนแล้วค่อย ๆ มองลงไปในระดับเล็กลง (Micro)

  1.  ครูไม่มีคุณภาพ - ปัญหาจากระบบการศึกษา
  • ระบบการศึกษา หลักสูตรของผู้ที่จะมาเป็นครูไม่สร้างสรรค์ ไม่สอนให้ครูได้คิด หรือมีปลูกจิตวิญญาณความเป็นครูที่ดีแก่สังคมได้
  • ระบบการคัดเลือกไม่ดีพอ เมื่อเอ่ยถึงอาชีพครู ก็จะเป็นอาชีพสุดท้ายที่ไม่สามารถหาอาชีพอื่นได้อีกแล้ว จึงเป็นที่ที่รวมเอาคนระดับท้าย ๆ ของสังคมเข้าไว้ด้วยกัน
  • ไม่มีการวางแผนล่วงในการผลิตครูเข้าสู่ระบบในแต่ละปี ซึ่งสามารถทำได้โดยการทำ Projection ไปข้างหน้า (Supply Size) เช่น ดูอัตราการเกิดในวันนี้และวางแผนในวันหน้าที่จะผลิตครูเพื่อให้รองรับกับความต้องการ (Demand Size) ไม่มากจนเกินไปเหมือนเช่นทุกวันนี้ เป็นต้น
  • ระบบการศึกษาที่ดีควรมุ่งเน้นไปที่ตัวเด็กเป็นศูนย์กลาง (Child Center) เพื่อยกระดับความสามารถของเด็กในวันนี้ให้ดีขึ้น

2.  ปัญหาจากโครงสร้างของครู ตั้งแต่กระทรวง ทบวง กรม หน่วยงานย่อย ๆ  ที่มีความเป็นศูนย์กลางเยอะมาก ทำให้การตัดสอนใจ การดำเนินการเป็นไปอย่างเชื่องช้า

3. โครงสร้างเงินเดือนของครูค่อนข้างต่ำ ไม่เพียงพอกับความเป็นอยู่ในปัจจุบัน ทำให้ขาดขวัญกำลังใจ ทุกวันนี้ ครูต่างหารายได้เสริม เพื่อเพิ่มรายได้ให้เพียงพอกับค่าใช้จ่ายของตัวเอง ส่งผลให้ครูไม่เอาใจใส่กับนักเรียนเท่าที่ควร  

4. ปัญหาจากตัวของครูเอง

  • ขาดจิตวิญญาณของครู ขาดความทุ่มเท ขาดใจรัก
  • ครูไม่ใฝ่รู้  ไม่รู้จริง ทำให้เด็กไม่สนใจการเรียน และเบื่อหน่ายในที่สุด
  • ไม่เข้าใจ Learning Methodology ใช้การเรียนการสอนรูปแบบเดิม ๆ ไม่พลิกแพลงเปลี่ยนแปลง
  • มีวิธีการเรียนรู้ที่แคบ (Narrow Mind)
  • ขาดความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) ไม่กระตุ้นเด็กให้คิด ให้ใฝ่รู้ และสร้างเด็กให้เป็นเลิศ และ อย่าหยุดการเรียนรู้

5. ปัญหาจากตัวนักเรียน ที่ครูต้องกระตุ้นให้เด็กคิด ใฝ่รู้ และเรียนรู้ตลอดเวลา ครูต้องพยายามที่จะทำให้เด็กสนใจในการเรียน รักที่จะเรียน และมีความคิดเชิงบวก มาก ๆ จะทำให้เกิด Life Long Learning กับตัวเด็ก และติดตัวไปจนวันตาย

6. สร้างค่านิยมใหม่ “ครู เป็นวิชาชีพชั้นสูง ที่มีเกียรติ และศักดิ์ศรี” และเป็นอาชีพต้น ๆ ที่ใคร ๆ ก็อยากจะเป็นครู

นอกจากนั้น เราต้องนำการบริหารจัดการ ควบคู่กับ IT เข้ามาดำเนินการในทุกระดับ  รวมถึงการฝึกภาวะผู้นำให้เกิดขึ้นในทุกระดับ นอกจากนี้ยังต้องเน้น ระบบเครือข่าย (Networking) กับหน่วยงานภายนอกให้มากขึ้น เพื่อเปิดโลกทัศน์ และสร้างความสัมพันธ์ให้มากขึ้น

เราจะต้องปฏิรูปการศึกษาทั้งระบบ รวมไปถึงครู และนักเรียน เราสามารถทำให้เป็นจริงได้ หากเราทุกคนร่วมมือร่วมใจกัน ผู้เกี่ยวข้องหรือผู้รับผิดชอบเห็นร่วมกัน และตั้งใจที่จะปฏิรูปการศึกษาอย่างจริงจัง เพื่อความเป็นเลิศทางด้านการศึกษาของไทย

Tukta

ภาวินี กิจอุดมสิน

การปฏิรูปการศึกษาพัฒนาการเรียนรู้เด็กไทย

หลังจากดูหนัง VDO เสวนาระหว่า อ. จีระ และ อ. ธงทอง แล้ว สรุปประเด็นได้ดังนี้

ก่อนอื่นเราต้องยอมรับกันก่อนว่า ระบบการศึกษาไทยทุกวันนี้มีปัญหา และมองหาแนวทางว่าเราจะทำกันอย่างไร  เช่น ระบุประเด็นปัญหา, สาเหตุที่มาของปัญหา, ผู้เกี่ยวข้อง หรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมดมีใครบ้าง, ทางออกของแต่ละปัญหา โดยให้มองในภาพกว้าง  (Macro) แบบองค์รวมก่อนแล้วค่อย ๆ มองลงไปในระดับเล็กลง (Micro)

  1.  ครูไม่มีคุณภาพ - ปัญหาจากระบบการศึกษา
  • ระบบการศึกษา หลักสูตรของผู้ที่จะมาเป็นครูไม่สร้างสรรค์ ไม่สอนให้ครูได้คิด หรือมีปลูกจิตวิญญาณความเป็นครูที่ดีแก่สังคมได้
  • ระบบการคัดเลือกไม่ดีพอ เมื่อเอ่ยถึงอาชีพครู ก็จะเป็นอาชีพสุดท้ายที่ไม่สามารถหาอาชีพอื่นได้อีกแล้ว จึงเป็นที่ที่รวมเอาคนระดับท้าย ๆ ของสังคมเข้าไว้ด้วยกัน
  • ไม่มีการวางแผนล่วงในการผลิตครูเข้าสู่ระบบในแต่ละปี ซึ่งสามารถทำได้โดยการทำ Projection ไปข้างหน้า (Supply Size) เช่น ดูอัตราการเกิดในวันนี้และวางแผนในวันหน้าที่จะผลิตครูเพื่อให้รองรับกับความต้องการ (Demand Size) ไม่มากจนเกินไปเหมือนเช่นทุกวันนี้ เป็นต้น
  • ระบบการศึกษาที่ดีควรมุ่งเน้นไปที่ตัวเด็กเป็นศูนย์กลาง (Child Center) เพื่อยกระดับความสามารถของเด็กในวันนี้ให้ดีขึ้น

2.  ปัญหาจากโครงสร้างของครู ตั้งแต่กระทรวง ทบวง กรม หน่วยงานย่อย ๆ  ที่มีความเป็นศูนย์กลางเยอะมาก ทำให้การตัดสอนใจ การดำเนินการเป็นไปอย่างเชื่องช้า

3. โครงสร้างเงินเดือนของครูค่อนข้างต่ำ ไม่เพียงพอกับความเป็นอยู่ในปัจจุบัน ทำให้ขาดขวัญกำลังใจ ทุกวันนี้ ครูต่างหารายได้เสริม เพื่อเพิ่มรายได้ให้เพียงพอกับค่าใช้จ่ายของตัวเอง ส่งผลให้ครูไม่เอาใจใส่กับนักเรียนเท่าที่ควร  

4. ปัญหาจากตัวของครูเอง

  • ขาดจิตวิญญาณของครู ขาดความทุ่มเท ขาดใจรัก
  • ครูไม่ใฝ่รู้  ไม่รู้จริง ทำให้เด็กไม่สนใจการเรียน และเบื่อหน่ายในที่สุด
  • ไม่เข้าใจ Learning Methodology ใช้การเรียนการสอนรูปแบบเดิม ๆ ไม่พลิกแพลงเปลี่ยนแปลง
  • มีวิธีการเรียนรู้ที่แคบ (Narrow Mind)
  • ขาดความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) ไม่กระตุ้นเด็กให้คิด ให้ใฝ่รู้ และสร้างเด็กให้เป็นเลิศ และ อย่าหยุดการเรียนรู้

5. ปัญหาจากตัวนักเรียน ที่ครูต้องกระตุ้นให้เด็กคิด ใฝ่รู้ และเรียนรู้ตลอดเวลา ครูต้องพยายามที่จะทำให้เด็กสนใจในการเรียน รักที่จะเรียน และมีความคิดเชิงบวก มาก ๆ จะทำให้เกิด Life Long Learning กับตัวเด็ก และติดตัวไปจนวันตาย

6. สร้างค่านิยมใหม่ “ครู เป็นวิชาชีพชั้นสูง ที่มีเกียรติ และศักดิ์ศรี” และเป็นอาชีพต้น ๆ ที่ใคร ๆ ก็อยากจะเป็นครู

นอกจากนั้น เราต้องนำการบริหารจัดการ ควบคู่กับ IT เข้ามาดำเนินการในทุกระดับ  รวมถึงการฝึกภาวะผู้นำให้เกิดขึ้นในทุกระดับ นอกจากนี้ยังต้องเน้น ระบบเครือข่าย (Networking) กับหน่วยงานภายนอกให้มากขึ้น เพื่อเปิดโลกทัศน์ และสร้างความสัมพันธ์ให้มากขึ้น

เราจะต้องปฏิรูปการศึกษาทั้งระบบ รวมไปถึงครู และนักเรียน เราสามารถทำให้เป็นจริงได้ หากเราทุกคนร่วมมือร่วมใจกัน ผู้เกี่ยวข้องหรือผู้รับผิดชอบเห็นร่วมกัน และตั้งใจที่จะปฏิรูปการศึกษาอย่างจริงจัง เพื่อความเป็นเลิศทางด้านการศึกษาของไทย

Tukta

เมื่อวันอาทิตย์ที่ 30 มกราคม ที่ผ่านมาผมมีโอกาสพานักศึกษา ป.เอก ไปเรียนนอกสถานที่ ช่วงเช้าเราไปร่วมเเลกเปลี่ยนกับ อบจ.หนอปรือ ท่านายก อบจ.ให้การต้อนรับเป็นอย่างดี ต่อจากนั้นได้เดินทางไปมูลนิธิคุณพ่อเรย์ ซึ่งเป็นมูลนิธิที่ให้การช่วยเหลือเด็กยากจนเเละคนพิการ ต้องขอขอบคุณ คุณสมชาย ศิโรรัตน์ พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จังหวัดชลบุรี ซึ่งเป็นคนประสานงานในการเข้าเยี่ยมทั้งสองที่นี้เป็นอย่างดีครับ

ต่อจากนั้นผมพานักศึกษามาที่ริมหาด เพื่อเปิดห้องเรียนตามทฤษฎี 4 L ของผม และผมได้เชิญ มล.ชาญโชติ ชมพูนุช และ ดร.ละเอียด ศิลาน้อย มาร่วมเเลกเปลี่ยนกับนักศึกษาในประเด็นเกี่ยวกับการท่องเที่ยวด้วยครับ ผมจึงเก็บภาพบรรยากาศมาฝากกัน

                                                                        จีระ หงส์ลดารมภ์

 

ภาวินี กิจอุดมสิน

ภารกิจสำคัญเกิดที่พัทยา

ขอขอบคุณ อ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์, ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุช และ ดร.ละเอียด ศิลาน้อย และทีมงานทุก ๆ คนที่ทำให้พวกเราลูกศิษย์ ป.เอก ม.เกริก ได้ไปเปิดโลกกว้าง และได้เรียนรู้ที่จะพัฒนาประเทศในภาพรวม (Macro) และที่ขาดเสียไม่ได้ที่จะต้องขอบคุณ คือ คุณสมชาย จากกระทรวงพัฒนาท้องถิ่น นายกเทศบาลเมืองหนองปรือ พร้อมทีมงานเทศบาลหนองปรือทุกท่าน ที่ให้การต้อนรับพวกเราเป็นอย่างดี  

การเยี่ยมชมเทศบาลหนองปรือ จ.ชลบุรี

สิ่งที่ได้รับ

  1. ทราบบทบาทหน้าที่ของเทศบาลเมืองหนองปรือ ว่ารับผิดชอบต่อชุมชนอย่างไร และได้ทำอะไรไปแล้วบ้าง
  2. มองเห็นการบริหารจัดการของเทศบาลเมืองหนองปรือ ที่มีพัฒนาการมาอย่างต่อเนื่องจนทุกวันนี้ ที่พยายามพัฒนาชุมชนให้มีความพร้อมในทุก ๆ ด้านอย่างต่อเนื่อง อาทิเช่น
    2.1 การศึกษาขั้นพื้นฐาน เช่น ให้มีอาคารเรียนที่ทันสมัย มีการศึกษาในชุมชนจนถึงระดับมัธยมปลาย เป็นต้น
    2.2 การพัฒนาชุมชน การดูแลเด็ก และเยาวชน รวมไปถึงเด็กพิการ เด็กพิเศษ ฯลฯ
    2.3 การรักษาความปลอดภัยของชุมชน เช่น มีอาสาสมัคร ระดมทุนเพื่อจัดซื้ออุปกรณ์ที่จำเป็น ฯลฯ
    2.4 จัดหางบประมาณเพิ่มเติมจากงบทางการที่จัดสรรค์ให้ในแต่ละปี
  3. รับรู้วิสัยทัศน์ของเทศบาลเมืองหนองปรือที่สั้น กระชับ แต่ได้ใจความ
    เมืองหนองปรือน่าอยู่ ผู้คนสมายนฉันท์ ผูกพันธ์วัฒนธรรม เลิศล้ำการเรียนรู้ ” และมุ่งมั่นที่จะทำทุกอย่างเพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ดังกล่าว
  4. มองไปในอนาคตว่าเทศบาลเมืองหนองปรือ จะเป็นที่ที่บริการประชาชนอย่างครบวงจร เหมือน Shopping Mall ที่เปิดให้บริการกับประชาชนทุกคนในชุมชน รวมไปถึงบริการแบบ One Stop Service

สิ่งที่อยากจะแบ่งปัน

  1. อยากให้ผู้บริหารเทศบาลเมืองหนองปรือทุกคนทำตัวเป็น Role Model และเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับพนักงานทุกระดับ และประชาชนในชุมชน ทำงานด้วยความจริงใจ
  2. ผู้บริหารเห็นความสำคัญในตัวของพนักงานทุกคน ให้ความใส่ใจ และยอมลงทุนกับพนักงานในเรื่องต่าง ๆ เช่น การฝึกอบรมให้ความรู้พนักงาน การให้ทุนการศึกษา รวมไปถึงสวัสดิการพิเศษด้านต่าง ๆ เพื่อเพิ่มความรู้ความสามารถ และที่สำคัญคือ การสร้างจิตสาธารณะ หรือ Service mind ให้เกิดขึ้นกับตัวของพนักงานเอง และเผื่อแผ่ไปยังคนรอบข้าง รอบ ๆ ชุมชน
  3. มีแผนงานรองรับไม่ว่าจะเป็นแผนระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว รวมไปถึงการจัดลำดับความสำคัญงานโครงการต่าง ๆ ว่าอะไรสำคัญที่สุด และรองลงมา, อะไรที่ทำแล้วเกิด Impact มากน้อย อย่างไร และเราจะทำงานไหนก่อนเพื่อน
  4. นำนวัตกรรมการสื่อสารรูปแบบใหม่ ๆ มาใช้ให้เกิดประโยชน์ และเป็นส่วนหนึ่งของงานประจำ ซึ่งจะทำให้งานที่เราทำเกิดประสิทธิภาพ และบรรลุเป้าหมายไปด้อย่างมีประสิทธิผล ได้แก่
    4.1 การประชาสัมพันธ์งานโครงการสำคัญ ๆ ให้ชุมชนรับทราบอย่างเป็นระยะ และต่อเนื่อง (ให้เขารู้ทุกอย่างได้ก็ยิ่งดี)
    4.2 หาแนวร่วมจากชุมชนให้มากที่สุด เพื่อให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมเสมือนว่าโครงการต่างๆ เขาเป็นเจ้าของ ระดมทุนสร้างโรงพยาบาล ห้องสมุดชุมชน สถานที่รับเลี้ยงเด็กเล็กก่อนวัยเรียน สนามกีฬา สนามเด็กเล่น รวมไปถึง การดูแลความปลอดภัยของชุมชน เป็นต้น

4.3 ปลูกฝังค่านิยมดี ๆ ให้กับคนในชุมชน ว่าอะไรดีที่ควรทำ อะไรไม่ดีไม่ควรทำ เช่น วางแผนการมีบุตร, มีลูกเมื่อพร้อม, ครอบครัวอบอุ่นพร้อมหน้าพร้อมตา, ทิ้งขยะให้เป็นที่, แยกขยะ (Recycle), ไม่โกงกิน, ไม่หาผลประโยชน์จากรัฐ, เป็นผู้ให้มากกว่าเป็นผู้รับ

สิ่งนี้จะเกิดขึ้นไม่ได้ หากผู้นำชุมชนไม่ลุกขึ้นมาทำอย่างจริงจัง และให้คนในชุมชนมีส่วนร่วมตั้งแต่งานเล็ก ๆ ถึงงานระดับใหญ่ และต้องทำอย่างต่อเนื่อง รับรองได้เลยว่าจะเป็นชุมชนที่มีวิวัฒนการ พัฒนา และก้าวไปสู่ชุมชนที่ยั่งยืนต่อไป

การเยี่ยมมูลนิธิคุณพ่อเรย์ จ.ชลบุรี

ดิฉันรู้สึกประทับใจกับเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานที่นี่เป็นอย่างยิ่ง ที่ทุกคนจะต้องมีจิตอาสา หรือจิตสาธารณะ ที่เป็นผู้ให้มากกว่าเป็นผู้รับ ทำเพื่อเด็ก ๆ ที่ด้อยโอกาสทางสังคม ทุ่มเททั้งแรงกายและแรงใจให้กับงานเพื่อนำไปสู่โอกาสทางสังคมของเด็กพิการ เด็กเร่ร่อน เด็กที่ถูกทอดทิ้ง ฯลฯ

สิ่งที่อยากเห็นในสังคมไทย

  1. คนพิการควรมีสิทธิเสรีภาพในการดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้เท่าเทียมกับบุคคลทั่ว ๆ ไปไม่ว่าจะอยู่ส่วนไหนของประเทศไทย (ไม่เป็นคนอันดับสอง สาม สี่)
  2. องค์กรต่างๆ ควรเปิดใจกว้าง ให้โอกาสกับบุคคลเหล่านี้ในการทำงานให้เพิ่มมากขึ้น ๆ ในทุก ๆ ปี
  3. ประชาสัมพันธ์ในรูปแบบต่างๆ เพื่อให้ทุกคนรับรู้เกี่ยวกับเด็กพิการ เด็กเร่ร่อน เด็กที่ถูกทอดทิ้ง ฯลฯ เขาสามารถทำอะไรได้เหมือเราทุกอย่าง
  4. ปรับเปลี่ยนมุมมองที่คนธรรมดามีต่อคนพิการ โดยอย่ามองเขาด้อยกว่าคนธรรมดา
    “พิการแต่ตัว ใจไม่พิการ”
  5. นำนวัตกรรมการสื่อสารเข้ามาช่วยเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ข้อมูลของคนพิการ มูลนิธิ ให้กับสาธารณชนรับทราบสม่ำเสมอ และให้ชุมชนรอบข้างในประเทศ ระหว่างประเทศ และทั่วโลก
  6. ประสานงานหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ให้สนับสนุน ช่วยเหลือครอบ ครัว ชุมชน มูลนิธิประเภทนี้
    ให้มากขึ้น ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ หรือการรดมทุนสมทบช่วยเหลือเป็นประจำทุก ๆ ปี
    (วันคนพิการแห่งชาติ)
  7. สร้างเด็กพิการ เด็กเร่ร่อน เด็กที่ถูกทอดทิ้ง ฯลฯ ให้เป็นผู้ที่ใฝ่รู้ ไม่หยุดนิ่งที่จะเรียนรู้ รู้อะไรให้รู้จริง และสามารถสร้างคุณค่าให้กับสังคมได้เท่าเทียมกับคนธรรมดา

สุดท้าย การใช้นวัตกรรมการสื่อสารในการให้ความรู้เกี่ยวกับคนพิการ เด็กเร่ร่อน เด็กที่ถูกทอดทิ้ง ฯลฯ ถือเป็นสิ่งสำคัญยิ่งที่สามารถจะทำให้ชุมชน หรือประชาชนชาวไทยรู้ และมีข้อมูลในวงกว้าง (เมื่อไม่รู้ ก็ไม่รู้จะไปช่วยเหลือได้อย่างไร)  เมื่อคนส่วนใหญ่ของประเทศไม่รู้ ที่มาที่ไป สาเหตุของปัญหา ของคนกลุ่มนี้ ทำให้ประชาชนกว่า 90 % ไม่เข้าใจ และมองหรือตีความหมายคนพิการไปต่าง ๆ นานาเข้าบวกกับสังคมปัจจุบันที่ใช้คนพิการเป็นเครื่องมือในการทำมาหากิน (เช่น ขอทาน) ทำให้มีทัศนคติเชิงลบเกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ขอขอบคุณ อ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ และทีมงานทุกคนอีกครั้งคะ  และขอไปนอกสถานที่แบบนี้อีกนะค่ะ ชอบมาก....

Tukta

ภาวินี กิจอุดมสิน

ภารกิจสำคัญเกิดที่พัทยา (ต่อ)

การพัฒนาการท่องเที่ยวของไทย

เมื่อได้ยินประโยคนี้ ดิฉันเกิดคำถามขึ้นมากมายตามมาทันที อาทิเช่น ตอนนี้การท่องเที่ยวไทยเป็นอย่างไร, นักท่องเที่ยวมีจำนวนมากน้อยเพียงไรใจแต่ละปี เพราเหตุใด, ปัญหาอุปสรรคของการท่องเที่ยวมีอะไรบ้าง, ภาครัฐสนับสนุนอย่างไรบ้าง, ใครที่มีส่วนเกี่ยวข้องบ้าง, สถานที่ท่องเที่ยวที่มีอยู่นั้นยัง OK หรือไม่ อย่างไร และจำนวนสถานที่ท่องเที่ยวเก่า ใหม่อยู่ที่ไหนบ้าง มีจำนวนมากน้อยเท่าไร, โอกาส หรือการขยายตัวในอนาคตของการท่องเที่ยวไทยจะเป็นไปในทิศทางไหน, เราจะทำอย่างไรเพื่อไปยืนยังจุดที่เราตั้งเป้าหมายไว้ เป็นต้น

ดร.ละเอียด ศิลาน้อย และ มล.ชาญโชติ ชมพูนุท  ได้เล่าเรื่องวิกฤตการสื่อสารการท่องเที่ยวให้กับพวกเราฟังจากประสบการณ์จริงที่ท่านพบเจอ โดยกลั่นกรองเป็นขบวนการ การบริหารจัดการที่สมดุลระหว่างธรรมชาติ นักท่องเที่ยว และสถานที่ท่องเที่ยวอย่างเป็นระบบ เพื่อการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน

ปัญหาหลัก ๆ ที่สำคัญ ๆ พึงประกอบด้วย

  1. ขาดวิสัยทัศน์ของการท่องเที่ยวไทยในระยะยาว เช่น อีก 10 ปีข้างหน้า การท่องเที่ยวไทยจะเดินไปสู่...........
  2. ขาดการวางแผนอย่างเป็นระบบ ทั้งในระยะสั้น ระยะกลาง ระยะยาว และยั่งยืน
    (Beyond the long term – Horizon)
  3. ขาดการบริหารจัดการที่ดี (Good Management) ของคน กับ ธรรมชาติ-สิ่งแวดล้อม
  4. ขาดองค์ความรู้ (Knowledge)
  5. ขาดการกระจายรายได้อย่างทั่วถึง ไปสู่ชุมชน และผู้เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง
  6. ผู้คนส่วนใหญ่มองเห็นแก่ผลประโยชน์ โดยไม่คำนึงถึงธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมของสถานที่ท่องเที่ยว
    สนใจแต่สนองตอบนักท่องเที่ยว ไม่รับรู้ว่า หรือเพิกเฉยกับแหล่งท่องเที่ยวว่าจะเสียหายมากน้อยขนาดไหน
  7. ขาดการเชื่อมต่อของจิ๊กซอว์สำคัญ ๆ ของผู้เกี่ยวข้องหรือตัวละครในแต่ละบทบาทว่าประกอบด้วยใครบ้าง (Stakeholders) ได้แก่ ภาครัฐ ภาคเอกชน ผู้ประกอบการ ชุมชน ผู้นำชุมชน นักท่องเที่ยว ลูกจ้าง-คนงาน ประชาชนทั่วไป ว่าแต่ละคนทำหน้าที่อะไร และได้ทำหน้าที่นั้นอย่างเต็มที่แล้วหรือยัง หากทำไม่ได้เกิดจากสาเหตุใด มีทางออกอย่างไร
  8. ขาดการปลูกจิตสำนึกให้กับประชาชน ชุมชน ให้รักและหวงแหนธรรมชาติ และแหล่งท่องเที่ยวท้องถิ่นของตนเอง และสร้างค่านิยมด้านจริยธรรมให้เกิดขึ้น คือ ไม่เห็นแก่เงินจนเกินไป หรือเอาแต่ประโยชน์ส่วนตน โดยการไปหลอกลวงนักท่องเที่ยว/ พูดโกหก / ชิงทรัพย์ / ลักขโมย เป็นต้น (Truth and Trust จึงไม่เกิดขึ้น)
  9. ขาดการใช้กฎหมายบังคับอย่างจริงจัง ไม่เข้มงวด (มีเงินทุกอย่างก็ทำได้  / จากผิดก็เป็นถูกได้)

ทางออกสำหรับการท่องเที่ยวไทย

  1. หน่วยงานภาครัฐ ผู้มีอำนาจหน้าที่ ผู้รับผิดชอบจะต้องหันหน้ามาคุยกันอย่างจริงใจ มองเห็นปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบันร่วมกันว่า หากเราไม่ลุกขึ้นมาทำอะไรอนาคตการท่องเที่ยวของประเทศไทยคงจะล่มสลายไปในที่สุด รายได้ไม่เข้าประเทศ เศรษฐกิจไม่ขับเคลื่อน รายได้ประชากรตกต่ำ ปัญหาอาชญากรรมจะเพิ่มขึ้น ประชาชนดำเนินชีวิตอยู่ด้วยความหวาดระแวง ทุกอย่างผูกพันซึ่งกันและกันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
  2. มีวิสัยทัศน์ที่ยาวไกล พร้อมสร้างเส้นทางเดินไปสู่การท่องเที่ยวแบบยั่งยืน และที่ขาดเสียไม่ได้คือ นิยามความหมายของการท่องเที่ยวกันก่อนว่า มีความหมายครอบคลุมไปถึงไหน และปรับจูนให้เข้าใจตรงกันเสียก่อน จะได้คุยเป็นเรื่องเดียวกัน
  3. ตั้งเป้าหมายที่มองเห็นเป็นรูปธรรม และมีความท้าทาย
  4. นำการบริหารจัดการเข้ามาช่วยในการจัดโครงสร้าง และพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวอย่างเป็นระบบ
  5. จัด Workshop ระดมความคิดเห็น เพื่อวางแผนงาน และกลยุทธ์ของการท่องเที่ยวไทย มองให้ครอบคลุมกับผู้เกี่ยวข้องทุกกลุ่ม (Stakeholders) มีแผนรองรับในระดับ Macro  และแผนย่อยในระดับ Micro แต่ทุกแผนต้องไปในทิศทางเดียวกัน

Stakeholders

-  ผู้ให้ข้อมูล (providers)

-  ผู้ประกอบการ (entrepreneurs)

-  นักท่องเที่ยว (visitors)

-  ผู้นำชุมชน ผู้นำท้องถิ่น / ชุมชน (community leaders)

สถานที่ท่องเที่ยว

-  มีแผนการดูแลรักษาสมดุลธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม รวมไปถึงการชดเชย หรือการกลับคืนสู่ธรรมชาติ (ปิด - เปิดเฉพาะช่วงเวลา)

-  มีแผนการรองรับนักท่องเที่ยว และสาธารณูปโภคต่าง ๆ ประกอบไปด้วยปัจจัยอะไรบ้าง

-  มีการกำจัดขยะ และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และธรรมชาติในระยะยาว

การจัดการด้านวัฒนธรรม

-  ส่งเสริมให้มีการอนุรักษ์วัฒนธรรมของชุมชน และสนับสนุนให้คนในชุมชนเห็นคุณค่าวัฒนธรรมท้องถิ่นร่วมกัน

-  จิตบริการของคนไทยทุกๆ คนเป็นสิ่งสำคัญ ยิ้มรับนักท่องเที่ยว หากทุกคนทำได้ นักท่องเที่ยวไม่มีวันจางหายไปแน่นอน

-  ดึงนำจุดเด่นของแต่ละชุมชุนออกมาผูกเป็นเรื่องราว (story) มีตัวแสดงอะไรบ้าง มีประวัติความเป็นมาอย่างไร   

    6.  จัดทำแผนระยะสั้นที่สามารถทำให้เห็นเป็นรูปธรรมได้ ร่วมด้วยช่วยกันทำ เพื่อไปสู่เป้าหมายเดียวกัน (ไม่ใช่ต่างคนต่างทำ) เช่น เตรียมคน + ชุมชน + สถานที่ท่องเที่ยว + สภาพแวดล้อม + Infrastructure

    6.1 ให้ความรู้และทำความเข้าใจกับชุมชนอย่างต่อเนื่อง

     - ทำความเข้าใจ ให้ความรู้กับชุมชนที่มีแหล่งท่องเที่ยว ในเรื่องต่าง ๆ  เช่น การมีจิตบริการ ไม่เอาเรียบนักท่องเที่ยว หรือลูกค้า

     - สอนให้คนในชุมชนช่วยกันดูแล และรักษาสิ่งแวดล้อมให้คงอยู่กับเราอย่างยาวนาน ชั่วลูกชั่วหลาน ว่าเขาทำกันอย่างไร ทำไปแล้วชุมชนจะได้อะไร มีข้อดี ข้อเสียอย่างไร

     -  สอนให้ชุมชนเห็นและสามารถดึงจุดเด่นของตนเองออกมาให้ได้ เพื่อใช้เป็นจุดขายแก่นักท่องเที่ยว

     -  พัฒนารูปแบบต่าง ๆ ของการท่องเที่ยวในแต่ละชุมชน เพื่อเสริมเพิ่มเติมให้กับนักท่องเที่ยว (มาทีเดียวได้ครบทุกอย่าง) เช่น มาเที่ยวทะเล บ้านพักริมทะเล ได้การออกเรือชมการหาปลา ไปดำน้ำดูปะการัง มีการสอนการทำอาหารทะเลรูปแบบต่าง ๆ นอกจากนี้ ยังมีแหล่งช็อบปิ้งสำหรับหาซื้อของทะเลสด ๆ หรือของแห้งไปฝากเพื่อนฝูงได้

   6.2 ให้ความรู้กับมัคคุเทศก์ มีการจัดฝึกอบรมเตรียมความพร้อมสำหรับการเป็นมัคคุเทศก์ กระตุ้นให้เขาเป็นคนใฝ่รู้ รู้รอบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะต้องเข้าใจ รู้ประวัติความเป็นมาของสถานที่ท่องเที่ยวนั้น ๆ เป็นอย่างดี และสามารถอธิบายได้ และขณะเดียวกันมัคคุเทศก์ก็ให้ความรู้กับนักท่องเที่ยวเช่นกัน ในการท่องเที่ยวในสถานที่แต่ละแห่งนักท่องเที่ยวต้องทำตัวอย่างไร ทำอะไรไม่ได้ เพราะอะไร

    6.3 ให้ความรู้กับนักท่องเที่ยว ปลูกฝัง หรือเชิญชวนให้ช่วยกันอนุรักษ์สถานที่ท่องเที่ยว และไม่ทำสิ่งซึ่งจะไปทำลายสิ่งแวดล้อม การทำลายธรรมชาติ หากละเมิดต้องโดนลงโทษ เช่น การทิ้งขยะ การตัดต้นไม้ การเก็บของป่า เก็บปะการัง และนำกลับบ้าน ต้องรับโทษตามที่กำหนด (ไม่มีละเว้น) เป็นต้น

    6.4 พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวที่มีอยู่เดิม พร้อมทั้งเสาะแสวงหาและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวใหม่ ๆ เพื่อให้เพียงพอและสามารถรองรับกับการเติบโตของนักท่องเที่ยวในอนาคต

    7. จัดทำแผนระยะกลาง จะต้องมองไปข้างหน้า 3-5 ปี ว่าเราอยากจะให้การท่องเที่ยวไทยก้าวไปข้างหน้าอย่างไร เช่น

    7.1  เป็นแหล่งข้อมูลกลางของการท่องเที่ยวที่ Update ทันสมัย (Central Database) ของประเทศไทย

    7.2  การเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวจากเดิมอีก 10% ที่สามารถทำให้เห็นเป็นรูปธรรมได้ ร่วมด้วยช่วยกันทำ
เพื่อไปสู่เป้าหมายเดียวกัน (ไม่ใช่ต่างคนต่างทำ)

   7.3  มีแหล่งท่องเที่ยวใหม่ ๆ เพิ่มขึ้น 5 % จากจำนวนที่มีอยู่เดิม

   7.4  มีผู้ประกอบการที่ดีมีคุณภาพเพิ่มขึ้นในแหล่งท่องเที่ยวจากเดิม 10 % (อาจจะต้องระบุ % ย่อยๆ ของนักท่องเที่ยวในสถานท่องเที่ยวแต่ละแห่ง)

   7.5  เพิ่มตลาดนักท่องเที่ยวใหม่ ๆ จากต่างประเทศ

   7.6  เพิ่มตลาดนักท่องเที่ยวภายในประเทศ โดยแบ่งเป็น Segment เช่น วัยรุ่น / วัยทำงาน / วันเกษียณ

   7.7 จำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มเป็นระบบ อย่างต่อเนื่อง และให้นักท่องเที่ยวที่เคยมาแล้ว
กลับมาใหม่ 5-10 %

   7.8 วัฒนธรรม การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ โดยการผูกโยงเป็นเรื่องราวที่น่าสนใจ  เช่น การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ที่ผูกเรื่องราว เช่น ตามรอยพระนเรศวร (ตั้งแต่เกิด – ขึ้นครองราชย์) พักบ้านชาวบ้าน (Home Stay) ผสมผสานกันการแสดงของท้องถิ่น (ทำยุทธหัตถี) และประเพณีโบราณ
(การบวชพระสมัยโบราณ) เป็นต้น

   7.9 การดูแลรักษาความปลอดภัยในสถานที่ท่องเที่ยวแต่ละแห่ง ที่ต้องมีการวางรูปแบบ ขั้นตอนวิธีการที่ดี ทำให้นักท่องเที่ยวมีความมั่นใจ และสบายใจเมื่อได้ไปในที่แห่งนั้น

   7.10  เสริมสร้าง และส่งเสริมพฤติกรรมใหม่ ๆ ให้กับคนไทยที่ชอบ หรือนิยมไปเที่ยวต่างประเทศ ให้กลับมาเที่ยวในเมืองไทย, ปลูกจิตสำนึกให้ใช้จ่ายในประเทศ เงินทองไม่รั่วไหล

   8.  จัดทำแผนระยะยาว เราจะต้องมองไปในอีก 10 ปีข้างหน้า และมองไกลไปถึงการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน

    8.1 ทำให้รายได้จากการท่องเที่ยว เป็นอันดับหนึ่งของรายได้ของประเทศ (ไม่พึ่งพาการส่งออก)

   8.2  ทำให้ประเทศไทยเป็นตลาดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่สมบูรณ์แบบ (มาแล้วไม่ผิดหวัง)

   8.3 เพิ่มตลาดนักท่องเที่ยวภายในประเทศ เป็น 50 % ของประชากรทั้งประเทศ

   8.4 เพิ่มงาน เพิ่มรายได้ให้กับคนไทยทุกคน มีเศรษฐกิจที่ดี และสร้างความมั่นคง มั่งคั่งให้กับประเทศไทยอย่างยั่งยืน

   8.5 ปลูกฝังให้คนไทยทุก ๆ คน เป็นเจ้าบ้านที่ใจดี มีน้ำใจในทุก ๆ ที่ ตลอดเวลา และเพิ่มรอยยิ้มให้กัน
และกันเสมอ  ลงความขัดแย้งในสังคม

   8.6 กำหนดเป็นกลยุทธ์ในการกระจายรายได้จากการท่องเที่ยวให้ครอบคลุมทุกภูมิภาค ทุกชุมชน ท้องถิ่น และที่สำคัญคือทั่วถึง ไม่ตกหล่น หรือ ไม่มีคอรัปชั่น

   9. แผนงานต่าง ๆ  จะต้องคำนึง และต้องมีการบริหารต้นทุนทางสังคม (Social Cost) ที่จะต้องเกิดขึ้นในแผนงานแต่ละขั้นตอน ซึ่งเป็นต้นทุนที่เรามองไม่เห็น (intangible Cost) แต่เป็นสิ่งสำคัญยิ่งอย่ามองข้าม เช่น  เราได้เงินจากนักท่องเที่ยวมามากมาย แต่ต้นทุนทางสังคมก็มีมากเช่นกัน เช่น คนมาเที่ยวมากขึ้น ขยะก็มากเป็นเงาตามตัว ต้นทุนในการดูแลกำจัดขยะก็เพิ่มขึ้น ฉะนั้น จะต้องมีการวางแผนรองรับทุนทางสังคมควบคู่กันไปกับการเพิ่มจำนวนสถานที่ และจำนวยนักท่องเที่ยว เราต้องพยายามทำให้ทั้ง 2 อย่างสมดุลกันอย่างแท้จริง เพื่อนำไปสู่การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน

เปรียบเปรยได้กับ

การปรับเปลี่ยนมุมมองของคนไทยทุกคน ให้มองประเทศไทยว่าเป็นเสมือนศูนย์การค้าชื่อดัง ยิ่งใหญ่ น่าดึงดูด และคนทั่วโลกต่างใฝ่ฝันว่าครั้งหนึ่งในชีวิตขอได้มาเยือนสักครั้ง โดยศูนย์การค้านี้จะต้องมีสินค้าดี มีคุณภาพมากมาย หลากหลาย เหมาะกับทุกเพศทุกวัย มาแล้วไม่ผิดหวัง มีที่จอดรถ สาธารณูปโภค ห้องน้ำ ห้องอาหาร ที่เพียงพอ ราคาที่เป็นธรรม ยุติธรรม ไม่ค้ากำไรเกินควร (ทั้งหมดนี้ต้องมีการเตรียมตัวตั้งแต่เริ่มต้น) เช่น การก่อสร้างอาคารน้ำประปา ไฟฟ้า การเตรียมพนักงาน การสั่งซื้อสินค้าที่หลากหลาย
การออกแบบตกแต่งสถานที่ทั้งภายใน และภายนอก เตรียมจราจร เตรียมสถานที่รับ-ส่งคน ที่จอดรถ เคาเตอร์ประชาสัมพันธ์ฯลฯ

เบื้องหน้า ที่ท่านเห็น นั้นมีเรื่องราว และมีเบื้องหลังมากมายที่ต้องมีการบริหารจัดการ

ขอบคุณสำหรับประสบการณ์ที่มีค่าของอาจารย์ดร.ละเอียด ศิลาน้อย อาจารย์มล.ชาญโชติ ชมพูนุท และ อาจารย์ ดร.จีระ หงส์ลดารภ์

Tukta

ภาวินี กิจอุดมสิน

การพัฒนาเศรษฐกิจในประเทศไทยอย่างยั่งยืน

ประเทศไทยควรจะนำเอาทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงมาปฏิบัติกันอย่างจริงจัง ทุกคนในประเทศยอมรับในข้อนี้ แต่ก็ไม่มีหัวหน้ารัฐบาลชุดไหนที่จะใส่ใจ เอาจริงเอาจังกับเรื่องนี้สักคน นักการเมืองไทยส่วนใหญ่ยังไม่มีความคิดสร้างสรรค์ เอาใจใส่ และใส่ใจกับการช่วยเหลือประชาชนคนไทยทั้งประเทศ ทำให้คิดไปได้ว่า นักการเมืองจะทำทุกอย่างเพื่อผลประโยชน์ที่ตนเอง ประกอบกับค่านิยมแบบผิด ๆ ที่ ใครรวยมีสตางค์ ทำอะไรก็ได้ในสังคมไทย ไม่ผิด แถมดูดี  ทำให้ทุกคนยึดติดกับวัตถุเสียยิ่งกว่าศักดิ์ศรีของตนเอง

ผู้นำต้องใส่ใจ และมุ่งมั่นที่จะทำจริงกับการใช้ทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียงให้เกิดเป็นรูปธรรมในทุก ๆ ชุมชน สังคม และที่สำคัญจะต้องทำอย่างต่อเนื่องให้ติดตัว ติดใจ ติดเป็นนิสัยของคนไทยทุกคน

การกระจายรายได้ระหว่างคนเมืองกับคนชนบท

ความยากจนของประเทศไทยลดลงอย่างรวดเร็วตั้งแต่ปี 2543-2550 เนื่องจากการดำเนินนโยบายของรัฐบาลที่ให้ความสำคัญในเรื่องการเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันให้แก่เศรษฐกิจฐานรากอย่างต่อเนื่องตามเป้าหมายของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 9 (พ.ศ.2545-2549) ที่กำหนดเป้าหมายลดสัดส่วนคนยากจนให้เหลือไม่เกินร้อยละ 12 ของจำนวนประชากร โดยในปี 2549 พบว่าจำนวนคนจนอยู่ที่ 6.1 ล้านคน จากสัดส่วนคนจนร้อยละ 9.5 ในขณะที่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 10 (พ.ศ.2550-2554) มีเป้าหมายที่จะลดสัดส่วนคนยากจนให้เหลือไม่เกินร้อยละ 4 ของประชากรภายในปี 2554 โดยพบว่าในปี 2550 ซึ่งเป็นปีแรกของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 นั้น พบว่าสัดส่วนคนจนอยู่ที่ร้อยละ 8.48 ของจำนวนประชากรทั่วประเทศ และจำนวนคนจนอยู่ที่ 5.4 ล้านคน

กระทรวงการคลังมีบทบาทสำคัญในการใช้กลไกเครื่องมือนโยบายด้านการเงินผ่านสถาบันการเงินเฉพาะกิจทั้ง 6 แห่ง เข้ามาเสริมสร้างความเป็นธรรมทางสังคมและเปิดโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน เช่น (1) การให้สถาบันการเงินของรัฐเพิ่มโอกาสเข้าถึงแหล่งเงินทุนให้แก่ผู้มีรายได้น้อย ผ่านสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ (SFI) ซึ่งในปัจจุบัน พบว่า สถาบันการเงินเฉพาะกิจทั้ง 6 แห่ง ได้แก่ ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM) ธนาคาร

พัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย และธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ทั้งนี้ สถาบันการเงินเฉพาะกิจทั้ง 6 แห่งในปี 2552 สามารถอนุมัติสินเชื่อได้รวม 1,186,411 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 128.0 ของเป้าหมายจำนวน 927,000 ล้านบาท และเบิกจ่ายแล้วเป็นเงิน 1,096,592 ล้านบาท หรือคิดร้อยละ 118.3 ของเป้าหมาย และมีผู้ได้รับประโยชน์แล้ว 5.03 ล้านราย (2) โครงการแก้ไขปัญหาหนี้สินภาคประชาชน (หนี้นอกระบบ) ซึ่งปัจจุบัน พบว่า มีจำนวนผู้ลงทะเบียนแล้วกว่า 1.19 ล้านราย คิดเป็นมูลหนี้ 1.2 แสนล้านบาท หรือเฉลี่ยรายละ 103,000 บาท (3) โครงการฟื้นฟูและพักชำระหนี้ให้แก่เกษตรกรรายย่อยและผู้ยากจน และขณะนี้กำลังผลักดันร่างกฎหมายต่างๆ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม เช่น ร่างพระราชบัญญัติกองทุนการออมแห่งชาติ เพื่อเพิ่มโอกาสให้คนไทย 24 ล้านคนที่ยังไม่มีระบบประกันสังคมใดๆ ให้มีระบบการออมที่ช่วยให้มีรายได้ดูแลตนเองหลังเกษียณอายุและ (4) การผลักดันแผนแม่บทการเงินระดับฐานราก เพื่อให้เป็นแหล่งเงินออมและแหล่งทุนของชุมชนอย่างยั่งยืน และมีการบริหารจัดการที่เป็นระบบโดยชุมชน เพื่อเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตและลดปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคมดังนั้น การดำเนินนโยบายและมาตรการต่างๆ เหล่านี้จะสามารถช่วยลดความเหลี่ยมล้ำทางเศรษฐกิจของประเทศและทำให้คนไทยส่วนใหญ่มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและสามารถดำรงอยู่ในสังคมได้อย่างเท่าเทียมกันในอนาคตต่อไป

แหล่งที่มา ข่าวเศรษฐกิจ กระทรวงการคลัง -- อังคารที่ 28 กันยายน 2553 12:23:58 น.

จากข่าวเศรษฐกิจดังกล่าว เป็นแนวคิดที่ดีมากที่จะลดความเหลือมล้ำของสังคมเมืองและสังคมชนบท หากแต่รัฐบาลหรือผู้เกี่ยวข้องยังคงต้องติดตามดูการดำเนินงานในแต่ละเรื่องว่าเป็นไปตามตามเป้าหมายที่ว่าไว้หรือไม่ ทั้งในแง่ของประสิทธิภาพ และประสิทธิผล  นอกจากนี้น่าจะมีการทำรวิจัยในเชิงลึกถึงในแต่ละเรื่อง เพื่อพิสูจน์ว่าแต่ละโครงการได้ผลลัพธ์หรือเป้าหมายอย่างที่คาดการณ์เอาไว้ และที่ส่วนล้มเหลวเป็นเพราะวาเหตุอะไร มองหาปัญหาที่แท้จริงในแต่ละเรื่องให้ได้ และก่อให้เกิดปัญหาอื่นในระบบตามมาหรือไม่ เช่น ปัญหาหนี้นอกระบบที่รัฐบาลได้ดำเนินการผ่านมาแล้วนั้น ประชาชนส่วนใหญ่ก็ยังคงมีหนี้สินรุงรัง และสร้างหนี้นอกระบบอยู่เหมือนเดิม !!! มันเพราะอะไรเหรอ ?

ในอีกประเด็นหนึ่งที่อยากสะกิดให้ช่วยกันคิด คือ การที่ประชาชนคนไทยแทบทุกคนไม่พึงระวังการใช้เงินผ่านบัตรเครดิต หรือที่เรียกกันว่าใช้เงินในอนาคต ซึ่งแต่ละคนมีกันคนละหลาย ๆ ใบ สิ่งนี้น่าจะเป็นระเบิดเวลาที่อันตรายร้ายแรงอย่างมาก กระจายไปทุกครัวเรือน ทุกตัวคน ซึ่งสังคมไทยยังเป็นสังคมที่มีการศึกษาน้อย ฉะนั้น จะถูกหลอกให้เป็นเหยื่อ และเป็นหนี้บัตรเครดิตได้ง่าย ถึงง่ายที่สุด ...  ขอภาวนาอย่าให้วันนั้นมาถึง...

ความสมดุลระหว่างธุรกิจข้ามชาติกับธุรกิจ SMEs

ทุกวันนี้ สิ่งที่เราเห็นได้คือธุรกิจข้ามชาติที่ตั้งอยู่ในทุกชุมชน ไปที่ไหนเราก็เจอ โดยเฉพาะซุปเปอร์มาร์เก็ตชื่อดัง
สิ่งเหล่านี้เกิดจากผู้มีอำนาจหน้าที่ในบ้านเมือง เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน ยอมอนุญาตให้เปิดได้อย่างเสรี ขาดการตรวจสอบ ส่งผลให้ธุรกิจ SMEs ไทยแท้ ๆ อยู่ไม่รอด หรือรอดแบบพออยู่ได้เท่านั้นเอง ไม่เพียงเท่านี้ ยังมีธุรกิจข้ามชาติอีกหลายแห่งที่ฉกฉวยโอกาสตลอดเวลา ในการมาลงทุนในประเทศไทย แต่สุดท้ายต้องการกอบโกยผลประโยชน์จากประเทศไทยในระยะยาว (ทั้งนั้น) ที่สุดแล้วระยะยาว ธุรกิจ SMEs ของไทยก็คงจะหดหาย ล้มตายกันไปเรื่อย ๆ

ดังนั้น ทำไมเราคนไทยจึงไม่ลุกขึ้นมาสร้าง Thai Brand ให้โดดเด่น มีเอกลักษณ์ที่โดดเด่น ในรูปแบบที่ไม่เหมือนใคร ในธุรกิจประเภทต่าง ๆ เพื่อสร้างเศรษฐกิจไทยให้เจริญรุ่งเรืองอย่างแท้จริง และยั่งยืน ทั้งนี้จะต้องได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐอย่างเต็มที่ และต่อเนื่อง

การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ต่อการพัฒนาประเทศ เราจะวัดความเจริญรุ่งเรืองได้อย่างไร

ไม่ว่าเราจะพัฒนาประเทศไปในทิศทางใด ด้วยทรัพยากรบุคคล หรือเทคโนโลยีแบบไหน ก็มีตัวเลขทางเศรษฐกิจออกมายืนยันถึงผลการดำเนินงานที่แท้จริงเสมอ ไม่ว่าจะเป็น Cost / Benefit / Profit แต่สิ่งที่เราไม่ควรมองข้ามคือ การวัดค่าความสุขของคน (Happiness) ในประเทศว่ามีมากน้อยเพียงใด เพราะสาเหตุอะไร สิ่งนี้น่าจะเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด เปรียบได้กับตัวเรา บางครั้งเราทำงานในงานที่เราชอบ แม้จะได้เงินเดือนไม่มาก เพียงเพราะว่าเรารักงานที่ทำ และมีความสุขที่ได้ทำงานที่ชอบ อย่ามองข้ามทุนแห่งแความสุขHappiness Capital

การเปิดการค้าเสรีในอาเซียน คนไทยได้อะไร

มองว่าได้ก็ได้ มองว่าเสียก็มี....  อะไรมากน้อยกว่ากัน ก็ต้องมีตัวเลขมายืนยันกันหล่ะ ...

มีเพียงคนบางกลุ่มเท่านั้นที่จะรู้เรื่องเหล่านี้ดี รัฐบาลหรือผู้เกี่ยวข้อง ไม่ได้นำเอานวัตกรรมการสื่อสารมาใช้เพื่อสื่อความส่งสาร ข้อมูลเหล่านี้ให้กับประชาชนทราบ ทำให้ประชาชนไม่รู้เลยว่ารัฐบาลจะทำอะไร หรือมีแผนงานอะไรรองรับบ้าง อย่างไร และมีคำถาม “ประชาชนคนไทยจะได้หรือเสีย”  คำตอบคือ  “ No answer…”

ขอวิงวอนผู้เกี่ยวข้อง หรือมีบทบาทหน้าที่ตรงนี้ โปรดใช้นวัตกรรมการสื่อสารทุกรูปแบบที่จะสามารถนำมาใช้งานได้ ช่วยสื่อสาร ส่งข่าวคราว บอกเล่าสิ่งเหล่านี้ให้ประชาชนคนไทยรับรู้บ้างเถอะ....

กำหนดตัวละครในการสื่อสารไปสู่ Stakeholders

ได้เป็นรัฐบาล ก็ถือได้ว่าเป็นราวกับ “พระเอก”  มีแต้มต่อ และรูปหล่อเป็นเดิมพัน ขาดแต่แผนการสื่อสารผ่านสื่อในรูปแบบต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง และจริงใจ  พระเอกจะแสดงได้สมบทบาทหรือไม่ ก็อยู่ที่ว่าจะสื่อสาร หรือแสดงตัวตนให้ ผู้เกี่ยวข้อง ผู้คนรอบข้างได้อย่างไร

Stakeholders ที่สำคัญคือ ประชาชนทั่วไป, กลุ่มนักธุรกิจ หรือนักลงทุน, กลุ่มนักวิชาการ, กลุ่มนักการเมือง (ฝ่ายค้าน)

โดยรัฐบาลตะต้องมีแผนรองรับสำหรับการประสานงานในแต่ละกลุ่ม โดยพื้นฐานที่มีมุมมองแตกต่างกัน

เรื่องเดียวกัน แต่ต้องใช้วิธีการสื่อสารที่ไม่เหมือนกัน สิ่งสำคัญคือ Key Messages ที่ส่งไปนั้นเหมือนกัน ไปสู่แนวทางเดียวกัน

Tukta

บทเรียนจากการเรียนรู้ที่พัทยา

ในฐานะทีมงานของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ การมีโอกาสได้ร่วมเดินทางไปทัศนศึกษากับนักศึกษาปริญญาเอกของมหาวิทยาลัยเกริกในครั้งนี้นับว่า "Big Event" อีกครั้งหนึ่งที่น่าจดจำ ขอชื่นชมว่าการที่ได้รับฟังมุมมอง ความคิด ความเห็นของทุกท่านเป็นมุมมองที่น่าสนใจและควรที่จะขยายผลออกไปสร้างสังคมการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นในชุมชนการเรียนรู้กลุ่มอื่น ๆ ที่กว้างออกไป และแนวคิดของทุกท่านหากได้นำไปคิดต่อ ทำต่อ หรือสื่อสารให้คนในสังคมส่วนใหญ่ได้ทราบก็คงจะเกิดประโยชน์มากมาย

การเดินทางในครั้งนี้ พวกเราต้องขอขอบคุณ หัวหน้าสมชาย สิโรรัตน์ พัฒนาสังคมจังหวัดชลบุรีซึ่งท่านช่วยประสานให้เราได้ไปเยี่ยมชมการทำงานของเทศบาลหนองปรือ จังหวัดชลบุรี และมูลนิธิคุณพ่อเรย์ซึ่งทำให้พวกเราได้เรียนรู้่ในอีกแง่มุมหนึ่งของสังคม สิ่งที่ประทับใจหัวหน้าสมชาย คือ ท่านเป็นข้าราชการนักพัฒนาสังคมฯ ที่มีความมุ่งมั่น ตั้งใจจริง ทำงานเชิงรุก เป็นผู้ที่มีทุนทางเครือข่าย หรือ Social Capital สูงมาก และมีความเสียสละเพื่อสังคม เป็นแบบอย่างที่ดีของข้าราชการไทย หากสังคมไทยมีข้าราชการแบบหัวหน้าสมชายเยอะ ๆ ก็คงจะพัฒนาไปได้ไกล

ที่เทศบาลหนองปรือ.. เราได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่นจากท่านผู้บริหารและคณะ นำโดย ท่านมาย ไชยนิตน์ นายกเทศมนตรีเมืองหนองปรือ ท่านให้เกียรติมาต้อนรับด้วยตนเอง และยังให้ความรู้ในภาพรวมของการบริหารงานของเทศบาลหนองปรือซึ่งทำให้พวกเราได้เรียนรู้ว่า องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นมีความสำคัญมากต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนไทย และสังคมไทย กิจกรรมดี ๆ มากมายเกิดขึ้นที่นี่ แต่น่าเสียดายที่อาจจะไม่ได้มีการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้สาธารณชนในวงกว้างได้รับรู้ และดูเป็นแบบอย่าง มีความคิดเห็นเพิ่มเติมที่ท่านอาจารย์จีระฝากไว้ที่นี่ ก็คือ ยุทธศาสตร์หนึ่งที่สำคัญสำหรับการบริหารงานที่นี่ คือ การจัดลำดับความสำคัญของกิจกรรมต่าง ๆ ที่จะทำ และเลือกทำบางเรื่องที่สำคัญและจำเป็นก่อนให้เกิดความสำเร็จ ซึ่งพวกเราทุกคนก็คิดแบบนั้นเช่นกัน ..ท่านอาจารย์จีระมักจะมองในมุมที่พวกเราคิดไม่ถึงเสมอ

จากเทศบาลเมืองหนองปรือ.. เราเดินทางต่อไปที่มูลนิธิคุณพ่อเรย์ เป็นมูลนิธิที่ทำงานด้านพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ที่สำคัญหลายด้าน ประกอบด้วย

  1. เด็ก เยาวชน สตรี และคนชรา

      - บ้านแรกรับและงานภาคสนามเพื่อเด็กและเยาวชนพระมหาไถ่ (2547)

      - บ้านเด็กพระมหาไถ่ (2533)

      - หมู่บ้านเด็กคุณพ่อเรย์ (2551)

      - ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กพระมหาไถ่ (2551)

      - บ้านพักคนชรา (2532)

  2. ด้านสวัสดิการสังคม

   3. คนพิการ

      - โรงเรียนอาชีวะพระมหาไถ่พัทยา (2527) และหนองคาย (2552)

      - โรงเรียนสอนคนตาบอดพระมหาไถ่ (2529)

      - มูลนิธิพระมหาไถ่เพื่อคนพิการ

ที่มูลนิธิคุณพ่อเรย์นี้ เราได้เห็นถึงมุมมองในการช่วยเหลือมนุษย์อีกแง่มุมหนึ่งซึ่งมีความจำเป็นและสำคัญมาก และยังส่งผลการะทบไปสู่คุณภาพชีวิตและคุณภาพสังคมของประเทศไทยมากมายในอีกหลาย ๆ ด้าน

การทำงานของมูลนิธินี้น่าสนใจ จากวิสัยทัศน์ของคุณพ่อเรย์ก่อให้เกิดกิจกรรมดี ๆ เพื่อคนที่ด้อยโอกาสในสังคมไทยมากมาย ด้วยบุคลากรกว่า 300 คน และการดูแลเด็ก ๆ ด้อยโอกาสอีกกว่า 850 ชีวิต สิ่งที่มูลนิธินี้ต้องการก็คือการช่วยเหลือสนับสนุนด้วยเงินบริจาคที่จะช่วยหล่อเลี้ยงให้มูลนิธิฯ นี้อยู่รอดและทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทราบว่าหลังจากที่คุณพ่อเรย์เสียไปการสนับสนุนจากภาคส่วนต่าง ๆ ก็น้อยลงไปมาก จากการวางรากฐานไว้อย่างดีตั้งแต่สมัยคุณพ่อเรย์ทำให้หลาย ๆ คนที่เห็นภายนอกอาจจะคิดว่ามูลนิธินี้ร่ำรวย ได้รับเงินทุนสนับสนุนมากเพียงพอแล้ว แต่ความจริงมูลนิธินี้มีรายจ่ายที่ต้องเลี้ยงดูเด็ก ๆ ที่ด้อยโอกาสที่อยู่ในความดูแลกว่า 850 คน แต่ละวันต้องมีอาหาร 3 มือ มีเงินให้เด็ก ๆ ได้ติดกระเป๋าไปโรงเรียนเพื่อการดำรงชีวิต และอีกมากมาย ซึ่งก็คงต้องขอความช่วยเหลือจากผู้ที่มีกำลังความสามารถ มีความเมตตา จากหลาย ๆ ภาคส่วนยื่นมือเข้ามาช่วยกัน พวกเราเองก็พยายามที่จะช่วยโดยการเผยแพร่ข้อมูลเหล่านี้ไปยังสาธารณชนมากยิ่งขึ้น..และอยากให้หลาย ๆ ฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้นำไปคิดต่อถึงการป้องกัน แก้ไขปัญหาสังคมของไทยเราในระยาวยาวด้วยว่า..เราจะสามารถลดปัญหาสังคมที่เกิดขึ้นได้อย่างไร?

จากมูลนิธิคุณพ่อเรย์..ท่านอาจารย์พาเราไปนั่งเรียนกันในบรรยากาศที่มองเห็นทะเล อาจารย์จีระบอกว่า..อยากให้ทุกคนเห็น "Blue Ocean" และก็ได้ผลมาก เพราะในบรรยากาศการเรียนรู้ (Learning Environment) นี้ ทุก ๆ คนเกิดความคิดดี ๆ ทุก ๆ คนเกิดความกระตือรือร้นที่จะแบ่งปันความรู้ และยังคิดต่อกันไปถึงการเผยแพร่สาระความรู้เหล่านี้ไปยังสาธารณชนอีกด้วย ขอขอบคุณ ดร.ละเอียด ศิลาน้อย และมล.ชาญโชติ ชมพูนุท อย่างสูงที่เสียสละเวลามาให้ความรู้กับพวกเราเกี่ยวกับการท่องเที่ยวกับมุมมองหลายๆ มิติที่น่าสนใจด้วย

ขอขอบพระคุณท่านอาจารย์จีระ ที่ให้โอกาส และจุดประกายความคิดให้กับพวกเราด้วยบรรยากาศ และวิธีการเรียนรู้ดี ๆอยู่เสมอ.. ท่านอาจารย์เป็นแบบอย่างทางความคิดและการเรียนรู้ของพวกเรา และก็ของสังคมไทยจริง ๆ 

วราพร ชูภักดี 

 

ปฏิรูปการศึกษา พัฒนาการเรียนรู้เด็กไทย สามารถสรุปและวิเคราห์เพิ่มได้ดังนี้ครับสามารถนำมาประยุกต์ใช้เป็นแนวทางการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องควรให้ความสำคัญในการพัฒนาครูประจำการให้เป็นครูยุคใหม่ ด้วยวิธีการพัฒนาที่หลากหลาย บนพื้นฐานของการปฏิบัติงานจริง (Work-based Professional Development), ผลิตครูพันธุ์ใหม่จากผู้มีจิตวิญญาณครู โดยมีการเร่งรัดสรรหา และคัดกรองคนดี คนเก่ง อยากเป็นครู และพัฒนาทักษะการเป็นวิทยากรกระบวนการ (Facilitator), คืนครูให้แก่ศิษย์ โดยลดภาระงานที่ไม่ใช่งานสอนของครู เพื่อให้ครูได้ทำหน้าที่ครูที่ดีอย่างเต็มที่, พัฒนาศึกษานิเทศก์ยุคใหม่ ครูนิเทศให้เป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะเรื่องและเฉพาะวิชา เพื่อเป็นพี่เลี้ยงให้คำแนะนำและพัฒนาครูในการปฏิบัติงานจริงในสถานศึกษา และครูของครู ครูอาชีวศึกษา ครูทางเลือก ครูวิทย์ ครูคณิต

สถานศึกษาและแหล่งเรียนรู้ใหม่ ควรมีข้อตกลงอย่างเป็นทางการ ระหว่างผู้บริหาร ครู เขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษา และแหล่งเรียนรู้ เพื่อให้เกิดความร่วมมือในการจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนอย่างหลากหลาย, สนับสนุนโรงเรียนดีประจำตำบล อำเภอ จังหวัด และพัฒนาคุณภาพด้วยระบบเครือข่าย โรงเรียนคู่พัฒนา ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนประจำตำบล และแหล่งเรียนรู้อื่นๆ โดยมีการทบทวนและหาทางพัฒนา สนับสนุน อปท.

ส่งเสริมแหล่งเรียนรู้สำหรับแรงงาน ทั้งในภาคเกษตรและนอกภาคเกษตร และแรงงานต่างด้าว, ส่งเสริมเอกชน ชุมชน สถาบันศาสนา สถานประกอบการ องค์กรสังคมอื่น ฯลฯ ให้มีบทบาทและหรือมีส่วนร่วมในการจัดและสนับสนุนการจัดการศึกษาอย่างเป็นรูปธรรม, ส่งเสริมให้มหาวิทยาลัยมีส่วนช่วยพัฒนาคุณภาพการศึกษาทุกระดับอย่างน้อย 1 จังหวัด ด้วยรูปแบบหลากหลาย รวมถึงเลิร์นนิ่งคลัสเตอร์ (Learning Cluster) พัฒนาศูนย์นวัตกรรมการเรียนรู้ (innovative center)

สร้างโอกาสการเข้าถึงมาตรฐานการศึกษาและเทคโนโลยีสารสนเทศ 3Ns ที่เท่าเทียมกันทั้งประเทศ โดยเชื่อมโยงการพัฒนาระบบเครือข่ายใยแก้วนำแสงความเร็วสูง (UNINET) รวมทั้งระบบไร้สายให้เข้าถึงทุกโรงเรียนและชุมชน, ส่งเสริมสถานศึกษารูปแบบใหม่ ได้แก่ โรงเรียนนิติบุคคล โรงเรียนพันธะสัญญา โรงเรียนในกำกับ โรงเรียนวิทยาศาสตร์ โรงเรียนเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ สถานศึกษาทางเลือก

กระบวนการเรียนรู้ใหม่ ต้องปรับหลักสูตรและการจัดกระบวนการเรียนการสอนและการประเมินผลในรูปแบบใหม่ โดยเน้นกิจกรรมมากขึ้น (70 : 30), ให้ผู้เรียนมีทักษะวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ และเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยดำเนินการให้เป็นวาระแห่งชาติ, ส่งเสริมพัฒนาสุขภาวะในการเรียนรู้ของเด็ก เยาวชน และครอบครัว, ส่งเสริมสนับสนุนการศึกษาทางเลือก ด้วยความร่วมมือของชุมชนและครอบครัว รวมทั้งเพิ่มโอกาสทุกรูปแบบ ทั้งการศึกษาในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย ที่เชื่อมโยงกับการศึกษาในระบบ

สร้างความเป็นพลเมือง และมีมาตรการยกย่องคนดีอย่างเป็นรูปธรรม, จัดให้มีระบบคัดกรอง และส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ ซึ่งรวมถึงเด็กที่มีความสามารถพิเศษ, ใช้สื่อมวลชนและการสื่อสารสาธารณะ สื่อท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ใหม่ โดยเฉพาะการสร้างตัวแบบที่ดีแก่เยาวชน, ส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนแบบใหม่ โดยใช้การวิจัย โครงงาน และกิจกรรมที่หลากหลาย เพื่อให้ผู้เรียนคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และแก้ปัญหาเป็น เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้มากขึ้นและคิดวิเคราะห์
 
การบริหารจัดการใหม่  ปรับบทบาทของกระทรวงศึกษาธิการให้เป็นหน่วยอำนวยการ สนับสนุน ส่งเสริม กำกับติดตามประเมินผล ตลอดจนยกเครื่องระบบการบริหารงานบุคคล (ปรับระบบการประเมินวิทยฐานะครูเป็นเชิงประจักษ์) เพื่อให้เกิดการจัดการศึกษาที่หลากหลายอย่างมีคุณภาพ เน้นเรื่องการกระจายอำนาจหน้าที่ และความรับผิดชอบ (accountability) และการมีส่วนร่วม รูปแบบการจัดการร่วมกับองค์กรอื่น, ส่งเสริม พัฒนาสถาบันผลิตครูพันธุ์ใหม่ และพัฒนาครูยุคใหม่ให้มีความเข้มแข็ง และมีประสิทธิภาพ สถาบันคุรุศึกษา สถาบันอุดมศึกษา และหน่วยงานที่มีศักยภาพในระดับภาค, ปรับระบบการจัดสรรงบประมาณ ที่เน้นอุปสงค์หรือผู้เรียน (Demand side) ด้วยมาตรการทุกรูปแบบ/งบประมาณอัตราครูเกษียณบางส่วนมาเสริมการพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้านอื่นๆ

ส่งเสริมเครือข่ายและความเป็นหุ้นส่วนทางการศึกษาขององค์กร ตลอดจนการจัดกิจกรรมรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) ด้านการศึกษา โดยเฉพาะเพื่อแก้ปัญหา เฝ้าระวัง ป้องกัน ส่งเสริม และพัฒนาเด็กและเยาวชน การจัดศูนย์เด็กเล็กในสถานประกอบการ การสร้างงานระหว่างเรียน การจัดการศึกษาสำหรับเด็กในสถานพินิจฯ ส่งเสริมให้สิทธิประโยชน์เชิงภาษีต่อภาคเอกชน

จัดระบบ “คูปองการศึกษา” ให้ครูในการเพิ่มพูนความรู้และทักษะใหม่ๆ/อุดมศึกษา, จัดระบบ “คูปอง” ให้แก่ผู้ด้อยโอกาสได้มีโอกาสเข้าถึงการศึกษาอย่างมีคุณภาพ, เพิ่มประสิทธิภาพและลดความสูญเปล่าของโรงเรียนขนาดเล็กด้วย มาตรการที่เหมาะสมภายในระยะเวลาที่เหมาะสม (ภายใน พ.ศ.2561) ได้แก่ การควบรวม การปรับปรุงประสิทธิภาพ การสร้างเครือข่าย ตลอดจนสนับสนุนให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา, ปรับระบบบริการและและการจัดการระบบอุดมศึกษาสร้างกลไกความร่วมมือทางสังคมดูแลเด็กในพื้นที่เสี่ยง และการบริหารจัดการที่เอื้อให้เกิดการบูรณาการการทำงานร่วมกันภายในกระทรวงศึกษาธิการกับหน่วยงานอื่นๆ โดยเร่งรัดให้มีการบูรณาการองค์รวมโดยเร่งด่วนกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

 

จากการไปทัศนะศึกษาที่พัทยา เมื่อ 30 มกราคม

 

การเยี่ยมชม อบต.หนองปรือ

 จากการที่ได้ไปศึกษา+สังเกตุ และเรียนรู้การทำงานของเทศบาลเมืองหนองปรือ ได้ประโยชน์มากกับการนำมาวิเคราะห์ในวิชาของเราที่ว่าด้วยการพัฒนาประเทศครับ แต่ก็เสียดายที่เวลาไม่อำนวยในวันนั้นเราจึงเพียงแค่ได้ไปฟังคำบรรยาย ไม่ได้มีเวลาพอที่จะไปสังเกตการณ์การทำงาน ณ.สถานที่จริง แต่เท่าที่ได้ดู ก็จะขอแจงออกมาดังนี้ครับ

 

  1. ท่านนายกดูจะเป็นคนที่มีความตั้งใจ อยาก+พยายามทำในหลายๆอย่าง สิ่งที่ดีก็คือหนองปรือได้นายกที่มีความตั้งใจ มีไฟในการทำงาน ทำเพื่อพัฒนาชุมชน ซึ่งนับว่าเป็นโชคดีของชาวหนองปรือ แต่สิ่งที่ผมกังวลน่าจะเป็นเรื่องการทำงานแบบ “ดาวกระจาย” คือด้วยความตั้งใจสูงที่จะทำในหลายสิ่งของท่านนายก และด้วยปัจจัยหลายๆอย่างที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ก็อาจจะทำให้หลายๆอย่างไม่เป็นไปอย่างเป้าหมาย ไม่ว่าจะเป็น ปัญญาในเรื่องทุนที่จะหนุนโปรเจ็ค คน-ทั้งทีมงานของท่านนายยกเอง ที่อาจจะมีกำลังไม่พอ คน-ในชุมชนเองก็อาจจะเป็นปัญหาได้ และรวมถึงสถานะการณ์ทั้งจากภายนอก/ภายใน
  2. สถานะภาพของ “หนองปรือ” น่าศึกษาและน่าสนใจโดยแท้ครับ เมืองที่มีหลายๆอย่างในเมืองเดียวกัน เรียนว่ามีตั้งแต่วัดยันโสเภณีเด็ก เลยทีเดียว เรียกว่ามี Stakeholder ได้ Variety มาก
  3. ดีใจ ที่เทศบาลที่นี่ให้ความสนใจในเรื่องการศึกษาปฐมวัย ตามที่ท่านนายกเล่าถึงเรื่องที่พยายามสร้างแหล่งการศึกษา เพราะผมเชื่ออย่างแรงเลยครับว่า คนเป็นคนจะดีได้ด้วยการศึกษา

 

สิ่งที่อยากเสนอแนะ

  • พอเห็นโปรเจ็คต่างๆ เห็นความตั้งใจแล้วเหนื่อยแทนครับ และก็พอจะเข้าใจด้วยว่าทำไม “งบ” ถึงไม่มีวันพอ อยากเสนอความคิดหนึ่งให้พิจารณาแล้วแต่จะเห็นควร
  • ก็คือการ “แปลงคนให้เป็นทุน” อย่างเช่น

 

  1. เรื่องขโมย-โจร-มิฉาชีพ ที่หนองปรือนี่ขโมยดุครับ บ้านผมที่เคยซื้ออยู่ที่นี่สมัยก่อนโดนสองหน เพื่อนผมซึ่งตอนนี้อาศัยยอยู่ที่หมู่บ้านเอกฯ(ที่ท่านนายกไปร่วมประชุมคืนก่อนที่เราจะไปเยี่ยมชมนะครับ) ก็โดนกันซะ อยากให้ลองใช้วิธี “ฝากบ้านกับเพื่อนบ้าน” คือผมมาจากบ้านนอก บ้านข้างๆใครทำอะไรก็รู้กันหมด ตอนนี้ผมมาอยู่กรุงเทพฯข้างๆบ้านชื่ออะไรผมยังไม่รู้เลย ถ้าเราพยายามจัดคนในชุมชนให้เป็นหูเป็นตาให้กัน มีเบอร์ คอยดูดูให้กันได้ ก็จะลดภาระของตำรวจซึ่งไม่มีวันที่จะมีพนักงานปฏิบัติงานพอได้เลยในสองชาตินี้
  2. เรื่องการศึกษา โรงเรียนชุมชนในอเมริกาหรือออสเตรเลีย ผู้ปรกครองเด็กจะต้องมีหน้าที่ช่วยเข้าไปดูแลนักเรียน คือทำหน้าที่เหมือนครูผู้ซึ่งจะทำให้ช่วยผ่อนเบาโรงเรียนไปได้เยอะ
  3. สร้างความรู้สึก “เรา” ให้เกิดขึ้นในชุมชน อันนี้สำคัญมากครับ เพราะถ้าคนในชุมชนพากันรู้สึกว่าชุมชนนี้เป็นของ “เรา” และเรามีหน้าที่ในการพัฒนาชุมชน ไอเดีย-โปรเจ๊ค-แผนงาน ทุกอย่างจะไม่ไกลเกินเอื้อมเลยครับ

 

ตอนนี้คิดได้ประมาณนี้นะครับ

 

การเยี่ยมมูลนิธิคุณพ่อเรย์ จ.ชลบุรี

อันนี้น่าสนใจมากครับ ขอเคารวะในความดีที่ทางมูลนิธิทำเพื่อเด็กๆ และเด็กผู้ด้อยโอกาสครับ ผมตั้งใจแน่วแน่ว่าจะรับอุปการระทุนการศึกษาเด็กที่นี่ และจะแวะไปอีกครั้งแน่นอนเพื่อศึกษาเพิ่มเติมครับ

 

ป.ล.

เรื่องการท่องเที่ยวเดี๋ยวมาครับ

(ผมไม่แน่ใจว่าส่งที่หน้าไหน เลยเอาการบ้านนี้มาโพสมันสองหน้าเลยละกันนะครับ)

Kinokuniya

หนังสือที่ได้เลือกจาก ร้าน Kinokuniya คือ CLASSIC DRUCKER Essential Wisdom of Peter Drucker from the Pages of Harvard Business Review

ด้วยความเป็นคนชอบอ่านวันนั้นผมเลือกซื้อหนังสือมาหลายเล่มมาก แล้วทีนี้เอาละซิ เลือกไม่ถูกว่าจะอ่านเล่มไหน จนในที่สุดก็เลือกเล่มนี้ซึ่งผมใช้เวลานานมากในการอ่าน และในที่สุดผมก็อ่านหนังสือเล่มนี้จนจบ ในตอนแรกที่ผมเลือกเล่นนี้ก็คิดว่าเป็นเพียงแค่หนังสือเกี่ยวกับปรัชญาการบริหารจัดการทั่วไป พอยิ่งอ่านยิ่งรู้เลยว่าเป็นหนังสื่อที่อ่านง่าย แต่เป็นการอ่านง่ายแบบที่ต้องคิดตามตลอด เพราะภายในหนังสือเล่มนี้อัดแน่นไปด้วยเรื่องราวต่างๆที่นอกเหนือไปจากหลักการบริหารจัดการ ยังมีเรื่องของการสร้างมนุษย์ให้เป็นทรัพยากร และสำคัญสุดก็คงจะเป็นเรื่องแง่คิดดีดีมากหมายในการใช้ชีวิต ซึ่งเราสามารถนำมาเป็นหลักในการดำเนินชีวิตจริง

ศาสตราจารย์ ดร.ปีเตอร์ เอฟ. ดรักเกอร์ ได้รับสมยานามว่าเป็น “บิดาแห่งศาสตร์ทางด้านบริหารจัดการ” เป็นผู้ทรงอิทธิพลทางความคิดชี้นำทิศทางการบริหารจัดการที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอย่างสม่ำเสมอให้แก่องค์กรต่างๆทั่วโลก เขาได้ทำการปลูกฝังแนวความคิดที่เป็นประโยชน์จำนวนมากด้วยเหตุนี้เองในแต่ละปีจึงมีนักบริหารจัดการจำนวนมากที่พบกับความเชื่อมโยงแบบฉับพลัน “คงจะไม่มีอะไรที่ก่อให้เกิดประโยชน์อย่างแน่นอน ถ้าเราลงมือทำสิ่งที่ควรจะทำอย่างมีประสิทธิภาพเต็มที่”(1963) เมื่ออ่านจะสังเกตได้เลยถึง ความสามารถในการสรรหาถ้อยคำ หรือคุณค่าที่ดรักเกอร์สามารถสรุปปัญหาหรือบรรยายสิ่งที่นักบริหารจัดการควรจะทำได้เป็นอย่างดี เช่นที่ดรักเกอร์กล่าวว่า “ไม่มีนักบริหารที่สามารถคงความมีประสิทธิผลไว้ได้ ในขณะที่พวกเขาทำงานสองอย่างในเวลาเดียวกัน” หรือที่โชว์ว่า ดรักเกอร์ให้ความสำคัญกับ HR ก็คือที่ว่า “ความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ที่สุดเพียงประการเดียวที่นักบริหารจัดการในประเทศพัฒนาแล้วต้องเผชิญหน้าด้วยก็คือ การเพิ่มผลิตผลและคุณภาพแก่คนทำงานด้วยความรู้” และน่านับถือในพรสวรรค์สามด้านของเขา

 1. พรสวรรค์ในด้านการถามคำถามที่เหมาะสม

ดรักเกอร์มองว่า ปัญหาของนักบริหารคือ “ขาดความชัดเจน มองภาพใหญ่-ภาพรวมไม่ออก” โดยที่เขาแนะนำให้ผู้บริหารกังวลกับความมี “ประสิทธิภาพ” ให้น้องลงแล้วหันไปใส่ใจกับความมี “ประสิทธิผล” ให้มากขึ้น

 2. พรสวรรค์ในการมองเห็นองค์กรในภาพรวม

ดรักเกอร์จะทำการระบุปัญหาที่เกิดขึ้นกับองค์กรทั้งหมดในภาพรวม โดยไม่ยึดติดกับปัญหาที่เกิดขึ้นเพียงส่วนเดียว และส่งผลกระทบไปยังส่วนอื่นๆต่อไป เขาจะทการวิเคราะห์ข้อมูลทุกประการด้วยความแม่นยำที่สุด ก่อนที่จะระบุปัญหาที่เกิดขึ้นในภาพรวมได้สำเร็จ

 3. พรสวรรค์ในความสามารถในการกำหนดเหตุผลได้ทั้งการพิจารณาจากเหตุผล และการพิจารณาจากหลักการทั่วไป

ดรักเกอร์สามารถคิดค้นหลักการ หรือทฤษฎีใหม่ขึ้นมาจากกลุ่มข้อมูล หรือมองหาหลีกการที่เหมาะสมที่สามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้ ในช่วงที่เขากำลังเผชิญหน้ากับสิ่งนั้นๆ

 

นับว่าเขาเป็นนักทฤษฎีที่ไม่ยอมอดทนอยู่กับสิ่งที่ไม่สามารถนำมาใช้งานได้จริง หรือยังไม่เคยได้รับการทดสอบมาก่อนเป็นอันขาด ซึ่งนี่เองเป็นส่วนผสมที่สำคัญที่ทำให้เขาเป็นสุดยอดได้

 

 ในหนังสือเล่มนี้แบ่งเนื้อหาออกเป็นสองส่วนคือ

  • ส่วนที่  1 หน้าที่ความรับผิดชอบของนักบริหารจักการ

-            เราจะต้องเข้าใจตนเองอย่างถ่องแท้ ไม่ใช่รู้เพียงแค่จุดแข็งวและจุดอ่อนที่เป็นอยู่ แต่ต้องกระจ่างแจ้งว่าค่านิยมหรือคุณค่า Values ที่ต้องการนั้นคืออะไร? จะเรียนรู้และทำงานร่วมกับคนอื่นๆได้อย่างไร? และคุณจะเป็นพลังที่แข็งกล้าให้กับองค์กรได้อย่างไร?

-            อย่าเปลี่ยนแปลงตัวเอง เพราะคุณจะประสบความสำเร็จได้ยาก แต่จงมุ่งมั่นพัฒนาวิธีการทำงานของคุณ และจงอย่าไปพยายามทำงานที่คุณเองไม่สามารถสร้างผลงานได้ หรือถึงจะทำได้ก็ไม่ดี !

-            ผู้บริหารที่มีประสิทธิผลนั้นไม่จำเป็นต้องตัดสินใจยิ่งใหญ่อะไรมากมายนัก พวกเขาเพียงแค่ต้องให้ความสำคัญกับสิ่งที่มีความสำคัญ และพยายามทำการตัดสินใจอย่างสำคัญตามระดับความเข้าใจสูงสุดที่มีต่อเรื่องนั้นๆ พยายามมองหาว่าอะไรคือปัจจัยเชิงกลยุทธ์และอะไรคือปัจจัยทั่วไปมากกว่าที่จะต้องคอยตั้งรับอยู่ฝ่ายเดียว

-            ผู้บริหารส่วนใหญ่นั้นใช้เวลาหมดไปกับการบริหารจัดการผู้คน รวมทั้งการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับ “คน” มากกว่าการดำเนินงานประเภทอื่นๆ ซึ่งมันก็ควรจะเป็นเช่นนั้นต่อไปเนื่องจากไม่มีการตัดสินใจใดที่จะดำรงคงอยู่ได้ตลอดไป หรือจะไม่มีวันถูกเปลี่ยนแปลงแก้ไข ผู้บริหารที่ไม่พยายามทำการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับ “ผู้คน” ให้เหมาะสมมักจะก่อให้เกิดความเสี่ยงที่สูงยิ่งกว่าการเกิดผลการดำเนินการที่ย่ำแย่ ที่สำคัญพวกเขาเสี่ยงที่จะสูญเสียความน่าเชื่อถือขององค์กรตามไปด้วยอย่างแน่นอน

-            ผุ้ที่ประสบความสำเร็จ ต้องมีความมุ่งมั่นอย่างเอาจริงเอาจังในการ “สร้างนวัตกรรม” อย่างเป็นระบบ เพราะนวัตกรรมสามารถเป็นสิ่งที่เราจัดการอย่างเป็นระบบได้ ถ้าหากเรารู้ว่าเราจะมองหาที่จุดไหน และอย่างไร ซึ่งนวัตกรรมถือเป็นหน้าที่หลักของเจ้าของกิจการ และมันเป็นวิธีที่เจ้าของกิจการใช้สร้างเป็นแหล่งผลิตความมั่นคั่งใหม่ๆ หรือใช้อัดฉีดศักยภาพใหม่ให้เพิ่มพูนเพื่อสร้างความมั่งคั่งให้กับพวกเขา

-            จนมาถึงคำถามสุดท้ายที่ว่า อะไรคือหน้าที่แรก และอะไรคือความรับผิดชอบที่ต่อเนื่องของนักบริหารจัดการทางธุรกิจ? ซึ่งคำตอบก็คือ ความพยายามเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ทางเศรษฐศาสตร์ที่ดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้จากทรัพยากรที่มีอยู่ในปัจจุบัน หรือทรัพยากรที่สามารถจัดหามาได้

 

  • ส่วนที่  2 โลกของผู้บริหาร

-            ผู้บริหารอย่าคิดหรือพูดว่า “ฉัน” แต่จงคิดและพูดว่า “เรา” ผู้บริหารที่มีประสิทธิผลรู้ดีว่าพวกเขามีความรับผิดชอบสูงสุดที่จะแบ่งปันหรือมอบหมายให้ใครไม่ได้ แต่พวกเขามีอำนาจสั่งการก็เฉพาะเมื่อพวกเขาได้รับความไว้วางใจจากองค์กรเท่านั้น นั่นหมายความว่าพวกเขาคิดถึงความต้องการและโอกาสขององค์กรก่อนที่จะคิดถึงความต้องการและโอกาสของตนเอง

-            องค์กรทุกแห่งมักจะพูดอยู่เสมอว่า “ผู้คนคือสินทรัพย์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดสำหรับเรา [People are our greatest asset] แต่พวกเขากลับมีการดำเนินงานและความเชื่อที่สอดคล้องกับคำกล่างนั้นเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ซึ่งจริงๆแล้วองค์กรจะต้องดึงดูด เก็บรักษา ตระหนัก ให้รางวัล ชักจูงใจ ให้บริการ และสร้างความพึงพอใจให้กับพนักงานขององค์กรอยู่เสมอ เพื่อการทำงานที่มีประสิทธิผลสูงสุด

 

ในหนังสือเล่มนี้เราจะได้เรียนรู้ว่า การบริหารจัดการเป็นหลักการที่มีความสำคัญเหนือกว่าปัจจัยอื่นๆเป็นอย่างมาก โดยสรุปคือ

  • 1. การบริหารจัดการเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับความเป็นมนุษย์ เนื่องจากมันเป็นงานของการนำความสามารถของผู้คนมาใช้ร่วมกัน เพื่อเสริมสร้างความมีประสิทธิผลให้แก่จุดแข็ง และลบล้างจุดอ่อนที่เป็นอยู่
  • 2. การบริหารจัดการเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการรวบรวมผู้คนเพื่อให้เกิดการทำงานร่วมกัน
  • 3. องค์กรทุกแห่งต้องการจุดมุ่งหมายร่วมกันที่เรียบง่าย และชัดเจน โดยต้องมีความชัดเจนทางพันธกิจ (mission) ขององค์กร และมีขนาดใหญ่อย่างเพียงพอที่จะก่อให้เกิดวิสัยทัศน์ (vision) ได้ ด้วยเหตุนี้เองเป้าหมายที่อยู่ภายใต้พันธกิจดังกล่าว จึ้งจำเป็นต้องได้รับการกำหนดขึ้นอย่างชัดเจน เป็นที่รู้จักกันอย่างทั่วถึง และได้รับการยื่นยันอย่างต่อเนื่อง
  • 4. นักบริหารต้องทำให้องค์การและสมาชิกทุกคนเจริญเติบโต และพัฒนาได้ทั้งตามความต้องการ และตามการเปลี่ยนแปลงของโอกาส
  • 5. องค์กรทุกแห่งประกอบไปด้วยผู้คนที่มีทักษะ และความรู้แตกต่างกัน ในการทำงานที่แตกต่างกันเป็นจำนวนมาก ด้วยเหตุนี้เอง “การติดต่อสื่อสารและการกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบ” ให้แก่ทุกคนในองค์กรอย่างชัดเจน
  • 6. ปริมาณของผลลัพธ์ และตัวผลลัพธ์ ไม่ใช่ปัจจัยเพียงพอสำหรับการดำเนินผลการดำเนินงานของการบริหารจัดการองค์กรได้
  • 7. ไม่มีผลลัพธ์ใดเกิดขึ้นภายในองค์กร เนื่องจากผลลัพธ์ของการดำเนินการนั้นอยู่ภายนอก คือ ความพอใจของลูกค้า สิ่งที่เกิดขึ้นภายในองค์กรคือ ศูลย์ต้นทุน (cost centers) เท่านั้น แต่ผลลัพธ์จำเป็นต้องเกิดขึ้นจากภายนอกองค์กรเสมอ

ฉะนั้นแนะนำเลยนะครับ จะเป็นนักธุรกิจหรือไม่ก็มีประโยชน์ในการพัฒนาตนเอง อยู่ในหนังสือเล่มนี้มากมาย เมื่ออ่านแล้วก็จะได้เข้าใจถึง

  • วิวัฒนาการ และการเปลี่ยนแปลงขององค์กรจากอดีตถึงปัจจุบัน รวมถึงในเรื่องของการบริหารจัดการทรัพยากรบุคคล
  • บทบาทของผู้บริหารและผู้จัดการที่จะต้องดำเนินการ ทั้งในส่วนที่เกี่ยวข้องกหับตนเอง และองค์การ
  • มุมมองขอแงองค์กรในอนาคตพร้อมวิธีการปรับตัว การใช้สารสนเทศ และการตัดสินใจ รวมทั้งการพัฒนาให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลง
นางสาวฟ้าประธาน รัตนธาดา

นางสาวฟ้าประธาน รัตนธาดา รหัส 5213305

การบ้าน 23/1/11

จากการที่ได้ไปเยี่ยมชมเทศบาลเมืองหนองปรือ สิ่งที่ดิฉันได้รับมาอย่างแรกเลย คือความประทับใจที่ได้มีโอกาสได้เข้าไปเรียนรู้แนวความคิดและวิธีการทำงานของท่านนายกเทศมนตรีเมืองหนองปรือ ท่านมาย ไชยนิตย์ ที่มีแนวความคิดและแผนในการทำงานเชิงรุก คิดและลงมือปฏิบัติอย่างทันท่วงที ไม่รีรองบประมาณ สิ่งที่สำคัญอย่างหนึ่งคือ การที่ท่านสนใจ ใส่ใจและให้ความสำคัญกับชุมชนอย่างแน่วแน่ มุ่งหวังที่จะแก้ปัญหารอบด้าน มุ่งพัฒนาชุมชน สร้างความเชื่อมั่นและความปลอดภัยให้แก่ชุมชน รวมทั้งการเล็งเห็นความสำคัญทางด้านการให้การศึกษาแก่เยาวชน ถือเป็นเรื่องที่น่าประทับใจมากค่ะที่ได้มีโอกาสดีๆ เช่นนี้ แต่สำหรับดิฉันยังมีประเด็นที่น่าเป็นห่วงเป็นอย่างมาก คือเรื่องของสภาพแวดล้อมรอบๆ ตัวที่เกิดขึ้นเป็นประจำ เยาวชนได้มองเห็นและรับรู้จนเกิดความรู้สึกชินและดูว่าจะถูกมองว่าเป็นเรื่องธรรมดาสามัญ ไม่ผิดแต่อย่างใด คือการที่เยาวชนได้เห็นภาพแหล่งท่องเที่ยวซึ่งต้องขอบอกว่าค่อนข้างเป็นแนวอบายมุข ดูยั่วยุ การเห็นชาวต่างชาติซื้อบริการสาวๆ หรือแม้กระทั่งซื้อบริการเด็กชาย การมองเห็นหนุ่มสาวแสดงความรักต่อกันอย่างเปิดเผย เห็นทุกวันจนชินตา อาจจะทำให้เยาวชนรู้สึกว่าเป็นเรื่องไม่ผิดหากตนจะเลียนแบบพฤติกรรมนั้นๆ เป็นเรื่องที่น่าเศร้าอย่างมากค่ะ ดังนั้นเป็นเรื่องที่ท้าทายมากที่จะเข้าไปสอดส่องดูแลเพื่อแก้ปัญหาเรื่องสำคัญเช่นนี้ ยังไงก็อยากจะให้ท่านนายกเข้มงวดในเรื่องนี้ด้วยค่ะ

สำหรับการได้เข้าเยี่ยมชมมูลนิธิคุณพ่อเรย์นั้น ดิฉันรู้สึกว่าภายใต้สถานการณ์ที่ดูเลวร้ายในความเป็นจริงนั้นยังมีเรื่องดีๆ อยู่อีกมากมาย อย่างเช่นการได้เข้าไปรับรู้การทำงานของมูลนิธิคุณพ่อเรย์ซึ่งต้องถือว่าเป็นผู้ที่เล็งเห็นและให้ความสำคัญกับเรื่องของสังคมและชุมชนเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะความจริงใจและความตั้งใจที่จะเข้าไปแก้ไขปัญหาหรือช่วยเหลือผู้ที่มีปัญหาให้เห็นทางสว่าง การเข้าไปช่วยเหลือของมูลนิธิคุณพ่อเรย์นั้นไม่เพียงเป็นการยื่นมือเข้าช่วยเหลือเพื่อให้คลายความทุกข์เท่านั้น แต่ที่สำคัญสิ่งที่ดิฉันประทับใจมากคือ แนวคิดการสร้างพลัง สร้างความรู้ สร้างอาชีพให้ผู้คนเหล่านั้น มีความสามารถในการยืนด้วยลำแข้งของตนเองได้ในสังคม กลายเป็นผู้ที่มีคุณค่าและเป็นที่ยอมรับได้ในสังคม ไม่ว่าพวกเขาเหล่านั้นจะมีอดีตเป็นเช่นไร บางคนอาจจะเคยได้รับการทำทารุณกรรมหรือมีสภาพร่างกายที่พิการ แต่เมื่อได้ผ่านการช่วยเหลือจากที่นี่แล้วพวกเขาเหล่านั้นจะมีความภาคภูมิใจและเท่าเทียมได้ในสังคม เพราะที่นี่สอนให้รักและเคารพตัวเอง สร้างความรู้ความสามารถให้กับตัวเอง ทำให้รู้สึกได้ว่า การช่วยเหลือในลักษณะนี้เป็นสิ่งที่น่ายกย่องเชิดชูเป็นอย่างมากค่ะ สิ่งที่ดิฉันอยากจะให้เกิดขึ้นจากการได้เข้าไปเรียนรู้ถึงการทำงานของมูลนิธิคุณพ่อเรย์ในครั้งนี้ คือ ดิฉันอยากเห็นคนไทยให้ความเคารพและเปิดโอกาสให้กับผู้ที่มีร่างกายพิการ ซึ่งจิตใจไม่ได้พิการเหมือนคนปกติที่ร่างกายสมบูรณ์พร้อมแต่จิตใจพิการนะคะ อยากให้รัฐบาลให้ความสำคัญกับผู้พิการจริงๆ ไม่ใช่เพียงพูดว่าเห็นความสำคัญแต่แท้ที่จริงแล้วไม่ลงมือทำ ยังมีผู้พิการที่มีความรู้ความสามารถและมีความเก่งอีกมากมายค่ะที่รอโอกาสนี้อยู่ อยากเห็นรัฐบาลตั้งใจจริงมากกว่านี้ค่ะ

 

ขอบคุณค่ะ (สำหรับเรื่องการท่องเที่ยวจะส่งตามมานะคะ)

การพัฒนาการเศรษฐกิจในประเทศไทยให้เกิดความยั่งยืน สามารถช่วยให้ระบบเศรษฐิิจไทยเติบโตได้ในอนาคต แต่อย่าไรก็ตามเราต้องทำความเข้าใจและยอมรับความเป็นจริงที่เป็นอยู่และแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจากสถานการณ์ทางเศรษฐกิจคือ

1. เศรษฐกิจไทยเจริญเติบโตอย่างไม่ยั่งยืนและขาดความสมดุลมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจโดยใช้ทรัพยากรอย่างฟุ่มเฟือย และเน้นการพึ่งพิงทุนและเทคโนโลยีจากต่างประเทศ ขาดการเตรียมความพร้อมในการเปิดเสรีทางการค้าและการเงิน ขาดระบบบริหารจัดการ และกำกับตรวจสอบที่มีประสิทธิภาพ จนเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ อันเป็นผลมาจากการใช้จ่ายเกินตัว และ พึ่งพิงต่างประเทศ โดยเร่งระดมเงินลงทุนจากต่างประเทศ ขณะที่ระบบการเงินและการลงทุนภาคเอกชน ขาดประสิทธิภาพและยังพึ่งพิงตนเองได้น้อย ทั้งในด้านเงินทุน เงินออม เทคโนโลยีและกำลังคน เน้นลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ ทำให้ต้องกู้ยืมเงินทุนจำนวนมาก จนเกิดหนี้สินราว 3 ล้านล้านบาท

ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ในระบบทุนนิยมเสรีที่รัฐบาล ไทยทุกยุคสมัย นำตัวเองเข้าไปผูกพันจนดิ้นไม่หลุด และหลงระเริงกับภาวะเศรษฐกิจแบบฟองสบู่ ปล่อยให้มีการกู้ยืมเงินมาลงทุน ในกิจการที่ไม่จำเป็น จนเกิดหนี้สูญหายจำนวนมาก จึงเกิดการปล่อยค่าเงินลอยตัว และนำเงินสำรองของประเทศไปเล่นพนันเงิน ในรูปของการรักษาเสถียรภาพเงินบาท จนต้องแพ้พนันและหมดเงินถึงขั้นหน้ามืดไปเที่ยวไล่ขอยืมเงินคนอื่นไปทั่วโลก เสมือนหนึ่งผีพนันเข้าสิงจนถอนตัวไม่ได้ ยิ่งเล่นยิ่งเสียยิ่งหงุดหงิด และหาทางออกไม่ได้ จึงจำเป็นต้องขายทุกอย่าง และ ระดมทรัพย์สินของคนไทยทั้งหมด มาพยุงเพื่อเอาตัวรอด และใช้หนี้เขาไปวันๆ ลำพังแค่หนี้สินของรัฐบาลเอง ยังไม่เพียงพอ ยังเอาตัวเองไปค้ำประกันหนี้สินให้กับภาคธุรกิจเอกชนที่ล้มละลาย แล้วกลายเป็นคนเตี้ยอุ้มค่อม จนส่งผลวิกฤติเศรษฐกิจ ทั่วทุกหัวระแหง เกิดกลุ่มคนเคยรวยแล้วจน คนจนแล้วยิ่งจนอีก

2. ผลกระทบการพัฒนา เกิดความเหลื่อมล้ำของการกระจายรายได้ และความยากจนรุนแรงขึ้น ในปี 2542 กลุ่มคนที่มีรายได้น้อย ที่สุด 20% ซึ่งเป็นกลุ่มคนจนที่สุด มีสัดส่วนรายได้ลดลงจากร้อยละ 4.2 เหลือร้อยละ 3.8 ของรายได้ ระดับครัวเรือนทั้งหมด ขณะที่กลุ่มคนที่มีรายได้สูงสุด 20% ซึ่งเป็นกลุ่มคนรวยที่สุด มีสัดส่วนรายได้สูงขึ้นจากร้อยละ 56.5 เป็นร้อยละ 58.5 ในปี 2542 หลังจากวิกฤติเศรษฐกิจ คนจนเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 15.9 คิดเป็น จำนวน 9.9 ล้านคน โดยส่วนใหญ่ร้อยละ 69 ประกอบอาชีพ ในภาคเกษตร และพบว่ามีการว่างงานในปี 2542 จำนวน 1.38 ล้านคน หรือร้อยละ 4.2 (2) โดยเหตุที่แนวคิดกระแสหลักในการพัฒนาเศรษฐกิจ ได้เน้นไปที่การลงทุนอุตสาหกรรม พาณิชยกรรมและบริการ เทคโนโลยีชั้นสูง การส่งออก และการลงทุนจากต่างประเทศ ด้วยความเชื่อว่า จะส่งผลให้ประชาชนมีงานทำและรายได้อย่างทั่วถึง ในลักษณะของการ กระจายตัวแบบ Trickle Down Effect แต่ผลกลับกลายเป็นปรากฏการณ์ปัญหาข้างต้น และไม่เกิดการมีอาชีพและรายได้แก่กลุ่ม คนยากจนและวัยแรงงานแต่กลับให้ประโยชน์แก่ต่างชาติและนายทุนชาติ

ดังนั้น คำว่า เศรษฐกิจชุมชน เศรษฐกิจพอเพียง เศรษฐกิจพึ่งตนเอง จึงน่าจะมีนัยทางหลักการและแนวคิดเหมือนกัน และนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนของชุมชนได้ โดยนัยของความยั่งยืน มี 6 ประการ คือ

1. การพึ่งตนเองได้ทางเศรษฐกิจ อันหมายถึง ความพยายามในการตรวจสอบทรัพยากรทางความคิด ความสามารถ วัสดุอุปกรณ์และเงินทุน โดยริเริ่มจากสิ่งที่มีอยู่ ไม่เป็นหนี้หรือเป็นหนี้น้อยๆ ตามความจำเป็น ลดความต้องการวัตถุลงและ พิจารณาว่า มีสิ่งใดบ้างที่ยังขาดแคลนอยู่ เพื่อที่จะได้เพิ่มขีดความสามารถทางการผลิต โดยการศึกษา เรียนรู้ แบ่งปันความรู้ เทคนิคและทรัพยากรของเกษตรกรต่อเกษตรกรด้วยกันเองและภายนอก ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม และมีความขยันหมั่นเพียร โดย ดำรงชีวิตอย่างมีอิสระและศักดิ์ศรีในการดำรงชีวิตอย่างสมดุลย์ ทั้งภายในครอบครัวและการรวมกลุ่มเป็นเครือข่ายเกื้อกูลกัน

 2. การดูแลรักษาสุขภาพตนเองได้ โดยรู้จักการกินอยู่หลับนอน การพึ่งตนเองทางสุขภาพ โดยพึ่งพิงการแพทย์สมัยใหม่ ให้น้อยที่สุด ศึกษาหาความรู้สาเหตุอาการทางสุขภาพ การใช้ยาสมุนไพร การนวดพื้นบ้าน การออกกำลังกายและ รับประทานอาหารที่ถูกสุขลักษณะ เป็นต้น

3. การรวมกลุ่มวิเคราะห์ปัญหาและทางเลือกจนนำไปสู่การแก้ไขปัญหาได้ โดยต้องเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชน ให้หลากหลายกลุ่ม ทั้งผู้ที่มีสถานภาพทางการ เช่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) และผู้ที่มีสถานภาพไม่เป็นทางการ เช่น ผู้อาวุโส ผู้นำสตรี ผู้นำเยาวชน พระ คนจน ผู้นำกลุ่ม/องค์กรไม่เป็นทางการต่างๆ เมื่อรวมกลุ่มได้ เปิดเวทีสำรวจปัญหาและทางเลือกที่แก้ไขได้จริงร่วมกัน อันจะนำไปสู่การวางแผนแบบมีส่วนร่วมและการจัดสรรงบประมาณสนับสนุนการดำเนินงานให้บรรลุผลสำเร็จ

4. การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยชุมชน เป็นเจ้าของและมีส่วนร่วมในการดูแลรักษา ฟื้นฟูอนุรักษ์และพัฒนา โดยหลักคิดคนอยู่ร่วมกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้

5. การดำรงรักษาวัฒนธรรม ประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวการอยู่ร่วมกันในครอบครัวและชุมชน โดยไม่ละเลยและให้ความสำคัญกับความเป็นท้องถิ่น ที่มีองค์ความรู้และผู้รู้ในการดำรงความเป็นชุมชนอย่างยั่งยืน

6. การใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับชุมชน โดยเน้นการผลิต การแปรรูปทางการเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตร ลดการใช้สาร เคมี การนำเข้าเครื่องจักรกล พันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ และส่งเสริมเทคโนโลยีพื้นบ้าน

ความยั่งยืนทั้ง 6 ประการต้องมีแผนแม่บทในการพัฒนา จึงจะนำไปสู่การพึ่งตนเองทางเศรษฐกิจและฟื้นฟูเศรษฐกิจชุมชนให้เข้มแข็ง สร้างความเท่าเทียมกันในทางเศรษฐกิจ ลดความเหลื่อมล้ำต่ำสูง และมีการกระจายรายได้อย่างทั่วถึง จนก่อเกิดผลประโยชน์แก่ชาวบ้านและชุมชนได้จริง มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค ไม่ทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ไม่ดึงดูดเงินและทรัพยากร อื่นๆ ออกจากชุมชน จนก่อเกิดรากฐานชุมชนเข้มแข็งที่เชื่อมโยงกับเศรษฐกิจชุมชนและการพัฒนาอย่างยั่งยืน

 


จากการได้เยี่ยมเทศบาลเมืองหนองปรือ ทำให้เกิดความเข้าใจแนวนโยบายในการพัฒนาท้องถิ่น และวิสัยทัศน์เทศบาลเมืองหนองปรือ ที่ว่า “เมืองหนองปรือน่าอยู่ ผู้คนสมานฉันท์ ผูกพันวัฒนธรรม ล้ำเลิศการเรียนรู้” ซึ่งที่ผ่านมาได้ดำเนินการในส่วนของการพัฒนา 7 ข้อ หลัก อันได้แก่

1.การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประชาชนทั้งในส่วนของถนนหนทาง การประปา ไฟฟ้า ซึ่งรองรับความต้องการของประชาชนได้อย่างเหมาะสม

2.ส่งเสริมการศึกษา ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม โดยได้จัดให้มีโครงการก่อสร้างโรงเรียนอนุบาลเมืองหนองปรือเพื่อรองรับอนาคต

3.ส่งเสริมเรื่องสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ที่จะส่งเสริมสุขภาพดีในประชาชน และเมืองปลอดมลพิษ

4.ส่งเสริมสวัสดิการและสังคม โดยให้ความสำคัญในผู้สูงอายุ คนพิการ และคนด้อยโอกาส

5.การป้องกันและรักษาความสงบให้อประชาชน รวมถึงการปราบปรามยาเสพติดที่ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง

6.การพัฒนาคุณภาพคน โดยมีการตัดตั้งชุมชนท้องถิ่นขึ้นรวม 43 ชุมชน ซึ่งเป็นการกระจายอำนาจลงสู่ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาเมืองที่อยู่อาศัย

7.การส่งเสริมเศรษฐกิจท้องถิ่น และ การส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพสังคม ซึ่งให้มีการบูรณาการให้ประชาชนอยู่ดีมีสุขและมีกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตควบคู่กันอย่างเหมาะสม

จากการเยี่ยมมูลนิธิคุณพ่อเรย์ ได้ทำให้เข้าใจในความตั้งใจอย่างแน่วแน่ของบุคลากรทุกท่านที่อุทิศตนเพื่อช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส ให้มีความรู้และความสามารถติดตัว เพื่อใช้ประกอบอาชีพในอนาคต ซิ่งเป็นการทำงานที่สร้างสรรค์สังคมและช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์อย่างแท้จริง

 

(เอาการบ้านเรื่องการท่องเที่ยวมาต่อนะครับ)

 

จากการสนทนาเรื่องวิกฤตการสื่อสารการท่องเที่ยวกับ ดร.ละเอียด ศิลาน้อย และ มล.ชาญโชติ ชมพูนุท

 

ดร.ละเอียด ศิลาน้อย และ มล.ชาญโชติ ชมพูนุท  

กรุณาให้เกรียติเป็นอาจารย์พิเศษ บรรยายในเรื่องวิกฤตการสื่อสารการท่องเที่ยวให้กับพวกเราฟัง ทั้งยังเปิดโอกาสให้เราได้ถาม และร่วมกันแลกเปลี่ยนความคิด ประมาณนี้

 

ธุรกิจท่องเที่ยวเป็นสาขาหนึ่งในธุรกิจภาคการค้าบริการ  

โดยมีวัตถุดิบมาจากสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ และจากการจัดการของมนุษย์  ขบวนการในการให้บริการของธุรกิจท่องเที่ยว เกี่ยวเนื่องกับเศรษฐกิจในทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นภาคเกษตรกรรม, ภาคอุตสาหกรรม.และภาคการค้า ( สินค้า ) และภาคการค้าบริการในสาขาธุรกิจอื่นๆ เช่น การเงิน การขนส่งคมนาคม โรงแรม ฯลฯ 

วัตถุดิบที่สำคัญของธุรกิจท่องเที่ยวประกอบด้วย 

  • สถานที่ท่องเที่ยว ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ และเกิดจากการจัดการของมนุษย์
  • การคมนาคม ได้แก่การขนย้ายนักท่องเที่ยวเข้าไปและออกจากสถานที่ท่องเที่ยว ประกอบด้วยพาหนะ ได้แก่ รถ เรือ เครื่องบิน เส้นทางการเดินทาง ถนน แม่น้ำ ทะเล อากาศ
  • ที่พักแรม อาหารเครื่องดื่ม และบริการอื่นๆที่ให้กับนักท่องเที่ยว
  • ประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม และอารยะธรรม ความเป็นอยู่ของประชาชนในแต่ละชุมชน
  • มนุษย์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการและการให้บริการ

 

ซึ่ง Stakeholder ของการท่องเที่ยวไทยแบ่งเป็น 2 กลุ่มก้อนใหญ่ๆ

  • กลุ่มผู้มาใช้บริการ พวกนักท่องเที่ยวต่างชาติ นักท่องเที่ยวไทย พวกแบ็กแพ็ก-เที่ยวหรู ฯ
  • กลุ่มที่ไม่ใช่ผู้ให้บริการหรือใช้บริการโดยตรง เช่น ประชาชนทั่วไปในชุมชนที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว

 

ปัญหาต่างๆของการท่องเที่ยว

1. ปัญหาด้านคุณภาพการบริการ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ คน / ที่พัก / คุณภาพที่ท่องเที่ยว

2. ปัญหาด้านความปลอดภัย เช่นเรื่อง การหลอกลวงเอารัดเอาเปรียบนักท่องเที่ยว / อัตราการเกิดอุบัติเหตุสูง โดยเฉพาะอุบัติเหตุจากการขนส่งทางถนน / กิจกรรมประเภทมีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ ไม่มีบุคลากรที่มีความรู้ทักษะในการจัดการความเสี่ยง / ภัยจากธรรมชาติ โรคระบาด และภัยจากการก่อการร้าย

3. ปัญหาด้านสภาพแวดล้อมที่ยั่งยืน หรือ พัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ก็เช่น แหล่งท่องเที่ยวบางแห่งมีการกระจุกตัวของจำนวนนักท่องเที่ยวมากเกินไป / วัฒนธรรมท้องถิ่น มีการมุ่งใช้วัฒนธรรมประเพณีมาเป็นสินค้าทางการท่องเที่ยว โดยขาดความรู้ความเข้าใจที่ / การจัดการท่องเที่ยวที่มุ่งสนองความต้องการของนักท่องเที่ยว โดยไม่ตระหนักถึงความพร้อมของแหล่งท่องเที่ยว

 4. ปัญหาการพัฒนาบุคลากรด้านการท่องเที่ยวแผนแม่บท เกี่ยวกับ การผลิตบุคลากรด้านการท่องเที่ยว

 

แนวทางการดำเนินการเพื่อก้าวไปสู่ทิศทางการท่องเที่ยวระยะเร่งด่วน

โดยเราจะต้องเร่งสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักท่องเที่ยวต่างชาติ กู้ภาพลักษณ์ต่างๆที่เน่าๆ และเร่งรัดมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยว โดยต้องดำเนินร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชนในการประชาสัมพันธ์ดึงดูดนักท่อง เที่ยวต่างชาติ ส่งเสริมการท่องเที่ยวของคนไทยในประเทศ รวมทั้งลดหย่อนค่าธรรมเนียมและค่าบริการที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเพื่อ ดึงดูดให้มีการเดินทางท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น

 

แนวทางการดำเนินการเพื่อก้าวไปสู่ทิศทางการท่องเที่ยวระยะกลาง

เราต้องพยายามสร้างคนในชาติให้เป็นเจ้าบ้านที่ดี เช่น เค้ามาก็ไม่ต้องไป ลัก-ขโมย-ปล้น-จี้ เค้า หรือพัฒนาคนให้รู้วิธีรับมือนักท่องเที่ยวอย่างถูกวิธี เพื่อเตรียมการในแผนยะระยาวที่ยั่งยืนต่อไป

 

แนวทางการดำเนินการเพื่อก้าวไปสู่ทิศทางการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน

การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (Sustainable Tourism) : เป็นแนวคิดในการจัดการการท่องเที่ยวที่เหมาะสม ตอบสนองทั้งความต้องการของนักท่องเที่ยว และผู้เป็นเจ้าของท้องถิ่น โดยมีการปกป้องและสงวนโอกาสในการใช้ทรัพยากรของชนรุ่นหลัง

 

โดยมีสาระสำคัญในการพัฒนาการท่องเที่ยวเพื่อนำไปสู่แนวคิดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน

  • ต้องการให้เกิดการท่องเที่ยวอย่างมีคุณภาพ
  • มีการจัดการสิ่งแวดล้อม เสริมสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม
  • เปิดโอกาสให้ทุกส่วนที่เกี่ยวข้องได้ร่วมกันจัดการ การท่องเที่ยวของตนเอง โดยเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชน

 

แล้วก็มาถึงหัวข้อที่เราถกกันอย่างออกรสชาติ เป็นคำถามที่ว่า เราจะพัฒนาการท่องเที่ยวไทยให้เป็นที่นิยม มีนักท่องเที่ยวเข้ามาจำนวนมากได้อย่างไร ?

ซึ่งผมคิดว่าเราหาแนวทางและวิธีการเพื่อเพิ่มจุดเด่น ให้เด่นชัดยิ่งขึ้น และแก้ปัญหาจุดด้อยให้ปัญหาลดน้อยลง โดย

  • กระทรวง ทบวง กรม ที่เกี่ยวข้องต้องเข้ามาจัดการเพื่อให้จุดเด่นของการท่องเที่ยวไทย ในแต่ละเรื่อง ให้เด่นชัด เป็นความจริงอย่างภาพลักษณ์ที่นักท่องเที่ยวอยากเห็น
  • สร้างเมืองท่องเที่ยวให้มีมากขึ้น ให้มีกระจายทั่งประเทศ เช่น นครราชสีมา สุรินทร์ อุดรธานี  กาญจนบุรี นครสวรรค์  ชุมพร  หาดใหญ่
  • สร้างมาตรฐาน ราคาสินค้า  ค่าบริการต่างๆ ที่ขายให้กับนักท่องเที่ยว ต้องมีราคาเท่ากับหรือใกล้เคียงกับราคาที่ขายให้กับคนไทย
  • กระทรวงมหาดไทย และตำรวจต้องจัดการเพื่อแก้ปัญหาจุดด้อยของการท่องเที่ยวไทยให้ได้ผล

 

เพราะเราคิดง่ายๆ นักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวไทย มาเพราะชื่อเสียงและภาพลักษณ์ที่ดีของเมืองไทย ซึ่งก็คือ

   1. เป็นเมืองสวยงามน่าอยู่ อุดมสมบูรณ์ มีวิถีชีวิตเรียบง่ายสบายๆ

   2. มีวัฒนธรรมดีงาม มีวัดวาอารามมากแสดงถึงผู้คนมีจิตใจดี

   3. ชื่อเสียงของเมืองท่องเที่ยวที่สนุกสนาน เช่น พัฒน์พงศ์  พัทยา ภูเก็ต เชียงใหม่

   4. ชื่อเสียงเรื่องค่าครองชีพถูก ใช้เงินน้อยเที่ยวได้คุ้มค่า

 

การบ้านวิชา นศ.8202 นวัตกรรมการสื่อสารเพื่อการพัฒนาประเทศ

เรื่อง หลักเศรษฐศาสตร์จุลภาคเบื้องต้น

ประจำวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2554

มีดังต่อไปนี้ครับ

1. เศรษฐศาสตร์ระดับ Macro คือ ภาพใหญ่ระดับประเทศ และระดับ Micro คือ ตัวเราและบริษัท หากจะวิเคราะห์จากหลักเศรษฐศาสตร์

- ในแง่ของผู้บริโภค..ระยะยาว Cost กับ Benefit จะสามารถ Balance กันอย่างไร?

- ในระดับ Micro ตัวละคร (Stakeholders) ผู้ให้และผู้รับ ควรเป็นใคร?

- เครื่องมือในการสื่อสารต่างๆ เพื่อให้สังคมใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าควรเป็นอย่างไร?

- Positive Economy กลไกการทำงานของตลาด(ปริมาณและความต้องการ) ที่ไม่มีการบิดเบือนหรือแทรกแซง.. Stakeholders หรือ ตัวละครคือใคร?

2. ในการดำเนินนโยบายต่างๆของรัฐบาล ถ้าเราตั้งหลักเกณฑ์ Cost - Benefit จะช่วยให้ประเทศอยู่รอดได้อย่างไร? การทำงาน (Function) ของตลาดควรเป็นอย่างไร? ใครควรเป็นผู้อธิบายว่าการจัดสรรทรัพยากรต้องทำอย่างไร? ในระยะยาว..นักการเมืองต้องทำอย่างไร? และ เราต้อง Communicate อย่างไร?

3. ยกตัวอย่างการแทรกแซงของตลาด เช่น การกำหนดราคาลำไย ถ้ามีการแทรกแซงตลาด ผลเสียระยะยาวจะเป็นอย่างไร จะแก้ไขอย่างไร? (โดยการใช้สื่อมวลชน)

4. ประชาวิวัฒน์ กับ Micro Economic มีความเชื่อมโยงและขัดแย้งกันอย่างไร? ประชาวิวัฒน์มีประโยชน์ในระยะสั้นอย่างไร?

หากในระยะยาวเกิด habit ที่ไม่ดี คือ ประชาชนนั่งงอมืองอเท้าขอเงินจากรัฐบาลจะแก้ไขอย่างไร? (ยืมเงินอนาคต, บิดเบือนคุณภาพทรัพยากร)

5. ทฤษฎี Social Cost (ต้นทุนเงิน, ค่าเสียโอกาส) ศึกษาว่าถ้ามี Social Cost เพิ่มขึ้น เราจะช่วยแก้ปัญหาภาวะโลกร้อนได้อย่างไร? ต้องจัดสรรทรัพยากร คนเสียและคนได้ ให้เท่ากัน

6. การยกหนี้ให้ชาวนา (น้ำฟรี, รถไฟฟรี) มีโทษแก่สังคมอย่างไร?

สุขสันต์วันเกิดค่ะ อ.จีระ

Happy Birthday ka สุขสันต์วันเกิดค่ะ อ.จีระ

ขอให้ท่านอาจารย์มีความสุขมากๆ มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงสมบูรณ์ ฟิตเปรี้ยะเลยนะคะ และก็ขอให้ท่านอาจารย์มีอารมณ์ที่ดีแล้วก็ชอบสอนหนังสืออย่างนี้ต่อไปนานๆ นะคะ ที่สำคัญไม่ว่าจะผ่านไปอีกกี่ปีก็ขอให้ท่านอาจารย์ดูหนุ่มอย่างทุกวันนี้ไปตลอดเลยค่ะ (ยังไงหนูก็ไม่เชื่อนะคะว่าอายุ 66 ปี)

ด้วยรักและเคารพเป็นอย่างสูง

ฟ้าประธาน รัตนธาดา เฟค่ะ

 

Happy Birthday ครับ ขออำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย จงคุ้มครองให้ท่านอาจารย์จีระ มีสุขภาพแข็งแรงตลอดไปครับ

นิติกร ดุลยากร

นางสาวฟ้าประธาน รัตนธาดา

นางสาวฟ้าประธาน รัตนธาดา รหัส 5213305

การบ้าน 23/1/11

การพัฒนาเศรษฐกิจในประเทศไทยอย่างยั่งยืน

การพัฒนาเศรษฐกิจได้อย่างยั่งยืน คือ ความสมดุลของการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดได้อย่างมีค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งนี้ต้องมีความสมดุลกันระหว่างความสัมพันธ์ของเศรษฐกิจและสังคม สิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อ ระบบเศรษฐกิจมีเสถียรภาพอย่างต่อเนื่อง, การขยายตัวทางเศรษฐกิจมีความสมดุลกับสังคม, การเจริญเติบโตของเศรษฐกิจเอื้อประโยชน์ต่อคนส่วนใหญ่ และ การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจนั้นคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม

หากการพัฒนาด้านเศรษฐกิจของประเทศไทย หมายถึง การที่คนไทยตื่นเต้นไปกับกระแสโลกาภิวัตน์ที่วัดความเจริญกันด้วยค่าของเงิน โดยหลงลืมหลักทางสายกลาง ความพอดีที่เคยเป็นมาตั้งแต่อดีต หลงลืมภาคเกษตรกรรมที่เป็นรากฐานของการดำเนินชีวิตและหลงติดอยู่กับภาคอุตสาหกรรม ความหรูหรา ความฟุ่มเฟือยดังเช่นปัจจุบันที่เป็นอยู่ มิหนำซ้ำยังขาดระบบการบริหารจัดการที่ดี หวังพึ่งพิงทุนและเทคโนโลยีจากต่างประเทศ เกิดการใช้จ่ายเกินตัว โดยเร่งระดมเงินลงทุนจากต่างประเทศ ขณะที่ระบบการเงินและการลงทุนภาคเอกชน ขาดประสิทธิภาพและยังพึ่งพิงตนเองได้น้อย ทั้งในด้านเงินทุน เงินออม เทคโนโลยีและกำลังคน เน้นลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ ทำให้ต้องกู้ยืมเงินทุนจำนวนมาก จนเกิดหนี้สินจำนวนมาก และไม่ย้อนมองดูความเหมาะสมที่ควรจะแก้ไขปรับปรุงอย่างเร่งด่วนแล้วนั้น ก็หมายถึง การเชื้อเชิญให้ชาวต่างชาติเข้ามาเป็นเจ้าของประเทศ  เชื้อเชิญให้พวกเขาเหล่านั้นมีสิทธิที่จะครอบครองผืนแผ่นดินไทย สิ่งต่างๆ ที่เป็นอยู่มีผลกระทบกันเป็นทอดๆ คนรวยบางคนรวยซะจนเหลือกินเหลือใช้ คนรวยบางคนก็กลับจนอย่างไม่น่าเชื่อ มิหนำซ้ำคนจนก็กลับยิ่งจนหนักมากขึ้นไปอีก ผลกระทบจากการพัฒนาแบบผิดๆ นี้ ก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ำของการกระจายรายได้ มีความยากจนที่รุนแรงขึ้น  ด้วยเหตุที่การพัฒนาเศรษฐกิจเน้นแต่การลงทุนในภาคอุตสาหกรรม พาณิชยกรรมและบริการ ลงทุนในเทคโนโลยีชั้นสูงต่างๆ การส่งออก และการลงทุนจากต่างประเทศ เพียงหวังว่าการกระทำดังกล่าวจะเป็นการสร้างรายได้ให้กับประชาชนได้มีงานทำและมีรายได้อย่างทั่วถึง แต่ผลที่ได้กลับตรงกันข้ามก่อให้เกิดการเข้ามาแสวงหาผลประโยชน์จากนายทุนชาวต่างชาติและธุรกิจข้ามชาติต่างๆ มากมาย

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้พัฒนาหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อที่จะให้พสกนิกรชาวไทยได้เข้าถึงทางสายกลางของชีวิตและเพื่อคงไว้ซึ่งทฤษฏีของการพัฒนาที่ยั่งยืน ทฤษฎีนี้เป็นพื้นฐานของการดำรงชีวิตซึ่งอยู่ระหว่าง สังคมระดับท้องถิ่นและตลอดระดับสากล จุดเด่นของแนวปรัชญานี้คือ แนวทางที่สมดุล โดยชาติสามารถทันสมัย และก้าวสู่ความเป็นสากลได้ โดยปราศจากการต่อต้านกระแสโลกาภิวัฒน์และการอยู่รวมกันของทุกคนในสังคม

หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมีความสำคัญในช่วงปี พ.ศ. 2540 ซึ่งเป็นช่วงที่ประเทศไทย ต้องประสบปัญหาภาวะทางเศรษฐกิจ และ ต้องการรักษาความมั่นคงและเสถียรภาพ เพื่อที่จะยืนหยัดในการพึ่งพาผู้อื่น และ พัฒนานโยบายที่สำคัญเพื่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ มีพระราชดำริว่า “มันไม่ได้มีความจำเป็นที่เราจะกลายเป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่” พระองค์ได้ทรงอธิบายว่า ความพอเพียงและการพึ่งตนเอง คือ ทางสายกลางที่จะป้องกันการเปลี่ยนแปลงความไม่มั่นคงของประเทศได้

        ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเชื่อว่าจะสามารถปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางสังคมของชุมชนให้ดีขึ้นได้โดยมีปัจจัย 2 อย่างคือ 1.การผลิตจะต้องมีความสัมพันธ์กันระหว่าง ปริมาณผลผลิตและการบริโภค 2.ชุมชนจะต้องมีความสามารถในการจัดการทรัพยากรของตนเอง  ผลที่เกิดขึ้นคือ เศรษฐกิจพอเพียงสามารถที่จะคงไว้ซึ่งขนาดของประชากรที่ได้สัดส่วน มีการใช้เทคโนโลยีได้อย่างเหมาะสม และสามารถรักษาสมดุลของระบบนิเวศและปราศจากการแทรกแซงจากปัจจัยภายนอก 

ระบบเศรษฐกิจพอเพียงมุ่งเน้นให้บุคคลสามารถประกอบอาชีพได้อย่างยั่งยืน และใช้จ่ายเงินให้ได้มาอย่างพอเพียงและประหยัด ตามกำลังของเงินของบุคคลนั้น โดยปราศจากการกู้หนี้ยืมสิน และถ้ามีเงินเหลือ ก็แบ่งเก็บออมไว้บางส่วน ช่วยเหลือผู้อื่นบางส่วน และอาจจะใช้จ่ายมาเพื่อปัจจัยเสริมอีกบางส่วน สาเหตุที่แนวทางการดำรงชีวิตอย่างพอเพียง ได้ถูกกล่าวถึงอย่างกว้างขวางในขณะนี้ เพราะสภาพการดำรงชีวิตของสังคมทุนนิยมในปัจจุบันได้ถูกปลูกฝัง สร้าง หรือกระตุ้น ให้เกิดการใช้จ่ายอย่างเกินตัว ในเรื่องที่ไม่เกี่ยวข้องหรือเกินกว่าปัจจัยในการดำรงชีวิต เช่น การบริโภคเกินตัว ความบันเทิงหลากหลายรูปแบบ ความสวยความงาม การแต่งตัวตามแฟชั่น การพนันหรือเสี่ยงโชค เป็นต้น จนทำให้ไม่มีเงินเพียงพอเพื่อตอบสนองความต้องการเหล่านั้น ส่งผลให้เกิดการกู้หนี้ยืมสิน เกิดเป็นวัฏจักรที่บุคคลหนึ่งไม่สามารถหลุดออกมาได้ ถ้าไม่เปลี่ยนแนวทางในการดำรงชีวิต ข้อมูลจาก : เศรษฐกิจพอเพียง วิกิพีเดีย

นอกจากปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงแล้ว การเล็งเห็นความสำคัญของแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์จะส่งผลให้เกิดการสร้างคุณค่าพัฒนาและการต่อยอดแนวคิดสร้างสรรค์เพื่อเพิ่มขีดความสามารถให้กับประเทศไทยมีบทบาทที่สำคัญในเวทีการค้าโลกอย่างสง่าผ่าเผย  นิยามของเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) “สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ” ได้ให้นิยามว่า “เศรษฐกิจสร้างสรรค์ หมายถึง แนวคิดการขับเคลื่อนเศรษฐกิจบนพื้นฐานของการใช้องค์ความรู้ (Knowledge) การศึกษา (Education) การสร้างสรรค์งาน (Creativity) การใช้ทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual Property) ที่เชื่อมโยงกับพื้นฐานทางวัฒนธรรม ตลอดจนการสั่งสมความรู้ของสังคมและเทคโนโลยีนวัตกรรมใหม่” จากความหมายที่กล่าวมาทำให้ทราบว่า เศรษฐกิจสร้างสรรค์มีองค์ประกอบหลายๆ ปัจจัยเป็นตัวขับเคลื่อน ทั้งนี้องค์ประกอบต่างๆ ดังกล่าว เราไม่สามารถละเลยสิ่งที่สำคัญที่สุดของปัจจัยการพัฒนาสิ่งต่างๆ นั่นก็คือ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีความรู้ ความสามารถเพื่อรองรับการพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น ดังนั้นทุนมนุษย์จึงเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่เราจะมองข้ามไปไม่ได้ เราควรจะคิดว่า ทำอย่างไรเราถึงจะสามารถสร้างและพัฒนาศักยภาพของคนในประเทศให้มีความรู้ ความเข้าใจ ความสามารถ เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นได้ ถึงเวลาแล้วที่พวกเราทุกคนควรจะใส่ใจและให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง เพื่อประโยชน์สุขของตัวเราเองและความยั่งยืนในการอยู่รอดปลอดภัยของประเทศชาติตลอดไป

ขอบคุณค่ะ

ข้อสอบกลางภาควิชานวัตกรรมการสื่อสารเพื่อการพัฒนาประเทศ

ปริญาเอกสาขาสื่อสารนวัตกรรม ม.เกริก

เวลา 1 ชั่วโมงครึ่ง อ.เลือกให้ 2 ข้อ

 

1. หัวข้อการท่องเที่ยว

  • การมองเป้าหมายเรื่องการท่องเที่ยวในวิกฤตการณ์ภาวะโลกร้อนเป็นแบบ Green Tourism
  • การท่องเที่ยวกับความหลากหลายทางวัฒนธรรมและการร่วมมือด้านการท่องเที่ยวในกลุ่ม GMS
  • การท่องเที่ยวหลังวิกฤต พฤษภาคม 53 

คำถาม ให้ตอบเป้าหมาย 3 ข้อด้านบนโดยใช้

  1. Creativity และ Innovation ของการสื่อสารคืออะไร ยกตัวอย่างตัวละครที่ทำหน้าที่ตอบโจทย์ทั้ง 3 ประเด็น
  2. ความแตกต่างระหว่างนักท่องเที่ยวในประเทศกับต่างประเทศการใช้สื่อนวัตกรรมต่างกันอย่างไร
  3. ออกแบบวิธีการบริหารจัดการสื่อ โดยใช้ทุนมนุษย์และภาวะผู้นำ
  4. อธิบายตัวละครที่เกี่ยวข้องว่ามีบทบาทอย่างไรโดยเน้นที่ความสำเร็จ (Execution)

 

2. หัวข้อการพัฒนาเศรษฐกิจ

  • ถ้าท่านได้รับโอกาสเป็นที่ปรึกษาด้านการสื่อสารและการสร้าง Brand ให้กับ  สภาพัฒน์ฯ , ธนาคารชาติ, กระทรวงต่างประเทศ, กระทรวงพาณิชย์

คำถาม

  1. สรุปเป้าหมายทางเศรษฐกิจและสังคมหน่วยงาน 4 หน่วยงานว่าเหมือนหรือต่างกันอย่างไร
  2. ใช้สื่อเพื่อการสื่อสารและการสร้าง Brand แบบ Creativity และ Innovation อย่างไร
  3. ออกแบบการบริหารจัดการ โดยใช้ทุนมนุษย์และภาวะผู้นำ
  4. อธิบายตัวละครที่เกี่ยวข้องว่ามีบทบาทอย่างไรโดยเน้นที่ความสำเร็จ (Execution)

 

3. หัวข้อด้านการศึกษา

  • “การศึกษาในประเทศไทยกำลังมุ่งไปสู่การล้มละลายทางปัญญา”
  • ยกหลักฐานที่อ้างได้เป็นตัวเลขในหรือต่างประเทศอ้างถึง 4 องค์กร ในกระทรวงศึกษาธิการ คือ กศน., สำนักงานอุดมศึกษา, สพฐ., อาชีวะ

คำถาม

ออกแบบ (Design) เชิงนวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์ อธิบายตัวละครอย่างชัดเจน เน้นความสำเร็จ (Execution) โดยใช้หลักบริหารจัดการภาวะผู้นำและทุนมนุษย์

หลักเศรษฐศาสตร์จุลภาคเบื้องต้น ประจำวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2554

1. เศรษฐศาสตร์ระดับ Macro คือ ภาพใหญ่ระดับประเทศ และระดับ Micro คือ ตัวเราและบริษัท หากจะวิเคราะห์จากหลักเศรษฐศาสตร์

- ในแง่ของผู้บริโภค..ระยะยาว Cost กับ Benefit จะสามารถ Balance กันอย่างไร?

ปริมาณความต้องการซื้อสินค้าของผู้บริโภค = Demand และ อุปทานปริมาณสินค้าที่ผู้ผลิตเสนอขาย = Supply ของตลาดสินค้าหนึ่งภายใต้ตลาดที่ระดับการแข่งขันสูง เมื่อใดที่ Demand มากกว่า Supply ปริมาณสินค้าที่ผู้บริโภคต้องการซื้อ มีมากกว่าจำนวนสินค้าที่ผู้ผลิตวางขายอยู่ ณ ระดับราคาที่เป็นอยู่ กลไกตลาดจะผลักดันให้ราคาสินค้าเพิ่มสูงขึ้น ผู้บริโภคก็จะมีซื้อสินค้าน้อยลง ส่วนผู้ผลิตมีแรงจูงใจในการผลิตเพิ่มขึ้น ในทางตรงกันข้าม เมื่อ Demand น้อยกว่า Supply คือการที่สินค้าที่ถูกผลิตขึ้นแล้ว ขายไม่หมด หากผู้ผลิตอยากจะขายสินค้าให้หมด เขาก็ต้องลดราคาลง เมื่อราคาลดลงผู้บริโภคจะซื้อเพิ่มขึ้น ดังนั้นด้วยกลไกข้างต้น ณ ระดับราคาหนึ่ง (ราคา ณ จุดดุลภาพ) ปริมาณความต้องการซื้อจะเท่ากับปริมาณการผลิตสินค้านั้นของสังคม หากสินค้า (เอกชน) ทุกชนิดในระบบ 3 ทั้งรัฐ ชุมชน และตลาดต่างต้องสัมพันธ์กัน ตลาดจะทำงานไม่ได้ถ้าปราศจากรัฐ หรือแม้จะทำได้ก็ไม่มีประสิทธิภาพ เช่น การมีระบบเศรษฐกิจนั้นมีระดับการแข่งขันสูงทั้งระหว่างผู้ซื้อและระหว่างผู้ขายเช่นเดียวกับสินค้าข้างต้นแล้วสังคมนั้นจะมีราคาสินค้าชุดหนึ่ง ที่ทำให้เกิดการจัดสรรทรัพยากรในลักษณะที่ระดับการผลิตและระดับการบริโภคของสินค้าจะเท่ากันพอดีในทุกตลาด ซึ่งก็คือภาวะที่สินค้าในแต่ละตลาดถูกผลิตขึ้นในจำนวนที่ขายหมดพอดี จะไม่มีสินค้าที่ขายไม่ออกและผู้บริโภคทุกคนก็จะสามารถซื้อสินค้าในปริมาณที่ตนต้องการได้ทั้งหมด

 

ดังนั้นเราจึงกล่าวได้ว่า ณ จุดดุลภาพรวมนั้น การจัดสรรทรัพยากรของสังคมเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคมีประสิทธิภาพสูงสุด มีประสิทธิภาพสูงสุดในความหมายว่า ความต้องการสินค้าของคนทุกคนในสังคมได้รับการตอบสนองแล้ว โดยไม่มีสินค้าที่ขายไม่ออกเหลืออยู่เลย

 

- ในระดับ Micro ตัวละคร (Stakeholders) ผู้ให้และผู้รับ ควรเป็นใคร?

Stakeholder ตัวละครที่แบ่งเป็นสองพวกชัดๆ ควรเป็น

1. ผู้รับ ตัวละคร คือ ผู้บริโภค (consumer) โดยที่มีสมาชิกในครัวเรือนจะเป็นผู้ตัดสินใจเกี่ยวกับชนิดของสินค้าและบริการที่จะทำการผลิตในระบบเศรษฐกิจ (What to Produce)

 

 

2. ผู้ให้ ตัวละคร คือ เจ้าของปัจจัยการผลิต (Resource Owners) ซึ่งจะได้รับรายได้จากการขายปัจจัยการผลิตและเมื่อใช้จ่ายเงินรายได้ที่ได้รับมาจากครัวเรือนก็จะอยู่ในฐานะของผู้บริโภคหน่วยธุรกิจนักธุรกิจหน่วยธุรกิจ (Business Firms) เป็นหน่วยเศรษฐกิจที่ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับการผลิต เป็นผู้ซื้อปัจจัยการผลิตจากครัวเรือน และทำการตัดสินใจเกี่ยวกับวิธีการที่จะนำมาใช้ในการผลิตสินค้าและบริการ (How to produce goods and services) ซึ่งจะได้รับผลกำไรเป็นผลตอบแทนจาก เศรษฐศาสตร์จุลภาค  

          

- เครื่องมือในการสื่อสารต่างๆ เพื่อให้สังคมใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าควรเป็นอย่างไร?

โดยการใช้ “การตั้งราคา” สร้างค่านิยมให้ผู้ซื้อรู้คุณค่ามากกว่าแค่รู้ราคาของสิงค้าที่ซื้อ เช่น การตั้งราคาให้สูงสักนิดเพื่อให้ผู้ซื้อรู้คุณค่าของสิงค้า

 

- Positive Economy กลไกการทำงานของตลาด(ปริมาณและความต้องการ) ที่ไม่มีการบิดเบือนหรือแทรกแซง.. Stakeholders หรือ ตัวละครคือใคร?

1. เจ้าหน้าที่จากภาครัฐ ทั้งผู้กำกับนโยบาย และผู้สนองปฎิบัติ

2. พ่อค้า นักธุรกิจคนกลาง ผู้รับงานต่อจากภาครัฐอีกที

3. ประชาชนในชุมชน

 

2. ในการดำเนินนโยบายต่างๆของรัฐบาล ถ้าเราตั้งหลักเกณฑ์ Cost - Benefit จะช่วยให้ประเทศอยู่รอดได้อย่างไร? การทำงาน (Function) ของตลาดควรเป็นอย่างไร? ใครควรเป็นผู้อธิบายว่าการจัดสรรทรัพยากรต้องทำอย่างไร? ในระยะยาว..นักการเมืองต้องทำอย่างไร? และ เราต้อง Communicate อย่างไร?

เศรษฐศาสตร์ประกอบไปด้วยหลายภาคส่วน ทั้งส่วนของประชาชน และหน่วยงานรัฐผู้บริหารประเทศ ต่างทำหน้าที่ของกันและกัน เอื้อกันและกัน ต่างทำหน้าที่เป็นผู้ประสานการแบ่งงานกันทำและการจัดสรรฯ โดยวิธีการต่างๆ กัน

 

จุดต่างของภาคประชาชนต่อภาครัฐ และตลาดก็คือ การสื่อสารและจัดสรรฯ ผ่านความร่วมมือของสมาชิกที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานความสัมพันธ์ส่วนบุคคลที่ใกล้ชิด และความไว้วางใจซึ่งกันและกัน ในขณะที่ตลาดประสานผ่านการแข่งขันบนพื้นฐานที่คนทำตามผลประโยชน์ของตัวเอง

 

ส่วนรัฐนั้น ก็ใช้วิธีสื่อสารผ่านอำนาจบังคับ เนื่องจากสถาบันทั้ง 3 ต่างมีข้อดี/เสียที่แตกต่างกัน ดังนั้นระบบเศรษฐกิจที่เอื้อให้เกิดการพัฒนาจึงต้องผสม 3 สถาบันในสัดส่วนที่เหมาะสม ไม่ว่าจะเป็น ตลาด ประชาชน และภาครัฐ เพื่อจัดสรรทรัพยากรสูงสุดได้

 

3. ยกตัวอย่างการแทรกแซงของตลาด เช่น การกำหนดราคาลำไย ถ้ามีการแทรกแซงตลาด ผลเสียระยะยาวจะเป็นอย่างไร จะแก้ไขอย่างไร? (โดยการใช้สื่อมวลชน)

แนวทางการแก้ไข(กรณีศึกษาปัญหาลำไย)โดยการใช้สื่อมวลชนที่อยากนำเสนอ โดยที่รัฐสามารถใช้สื่อในการกระจายข่าวสาร เพื่อช่วยแก้ปัญหาได้หลายวิธีการ เช่น

   1. เพราะ Demand => Supply เมื่อสิงค้าล้นตลาดแน่นอนราคาก็จะตก รัฐใช้สื่อได้โดยการให้สื่อช่วยเผยแพร่ข้อมูลว่าช่วงนั้น ช่วงนี้ ผลผลิตเป็นอย่างไร แล้วเชิญชวนให้เกษตรกรต้องเว้นช่วงการปลูกลำไยนอกฤดูเพื่อป้องกันปัญหาลำไยล้นตลาด

   2. สื่อสามารให้ความรู้ในการนำข้อมูล เช่น การแปรรูปและพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีมูลค่าเพิ่ม เช่น การนำลำไยทำลำไยอบแห้ง ทำแยม เพื่อให้เกษตรกรมีความรู้เป็นแนวทาง

   3. แน่นอนเราจะหวังเพียงการส่งออกอย่าสงเดียวย่อมไม่ได้ ต้องกระตุ้นตลาดในประเทศด้วย เช่น  อาจจะจัดแคมเปญโฆษนาเกี่ยวกับคุณภาพลำไยว่ากินลำไยแล้วได้ประโยชน์ต่อร่างกายอย่างไรบ้าง

เป็นต้น


4. ประชาวิวัฒน์ กับ Micro Economic มีความเชื่อมโยงและขัดแย้งกันอย่างไร? ประชาวิวัฒน์มีประโยชน์ในระยะสั้นอย่างไร?

หากในระยะยาวเกิด habit ที่ไม่ดี คือ ประชาชนนั่งงอมืองอเท้าขอเงินจากรัฐบาลจะแก้ไขอย่างไร? (ยืมเงินอนาคต, บิดเบือนคุณภาพทรัพยากร)

ในยะยะสั้นประชาวิวัฒน์อาจจะช่วยกระตุ้นแรงซื้อ ทำให้เศรษฐกิจมีแรงขับเคลื่อนขึ้นมา แต่ระยะยาวถ้าสร้างนิสัยจนเป็นสันดาลละแย่แน่ หนทางแก้ไขก็คือ การรู้จักพอเพียง

เศรษฐกิจพอเพียง และแนวทางปฏิบัติของทฤษฎีใหม่ เป็นแนวทางในการพัฒนาที่นำไปสู่ความสามารถในการพึ่งตนเอง ในระดับต่าง ๆ อย่างเป็นขั้นตอน โดยลดความเสียงเกี่ยวกับความผันแปรของธรรมชาติ หรือการเปลี่ยนแปลงจากปัจจัยต่าง ๆ โดยอาศัยความพอประมาณ และความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดี มีความรู้ ความเพียร และความอดทน สติ และปัญญา การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และความสามัคคี

การจัดสรรทรัพยากรมาใช้เพื่อการผลิตที่คำนึงถึง คุณค่า มากกว่า มูลค่า จะก่อให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่าง บุคคล กับ ระบบ เป็นไปอย่างยั่งยืน ไม่ทำลายทั้งทุนสังคมและทุนเศรษฐกิจ นอกจากนี้จะต้องไม่ติดตำรา สร้างความรู้ รัก สามัคคี และความร่วมมือร่วมแรงใจ มองกาลไกลและมีระบบสนับสนุนที่เป็นไปได้

 

5. ทฤษฎี Social Cost (ต้นทุนเงิน, ค่าเสียโอกาส) ศึกษาว่าถ้ามี Social Cost เพิ่มขึ้น เราจะช่วยแก้ปัญหาภาวะโลกร้อนได้อย่างไร? ต้องจัดสรรทรัพยากร คนเสียและคนได้ ให้เท่ากัน

ผมมองถึงวิธีแก้ไขอย่างได้ผลในระยะยาวครับ
โดยที่เราต้องหยุดการใช้พลังงานความร้อนจากน้ำมัน และพลังงานทุกชนิดที่ปล่อยก๊าซ คาบอนไดออกไซด์ออกสู่ชั้นบรรยากาศโลก ซึ่งนอกจากจะต้องช่วยกันประหยัดทรัพยากรที่เราต้องใช้กันในวันนี้แล้วนะครับ ในอนาคตเราก็ควรจะช่วยกันหันไปหาพลังงานทดแทนใหม่ในอนาคต อย่างที่ตอนนี้มีนักประดิษฐ์พยายบามสร้าง เครื่องจักรกลพลังงานความเย็น  ทุกคนจะเคยได้ยินแต่ เครื่องจักรกลพลังงานความร้อนกัน ใช่ไหมครับ แต่นี้กลับกลายเป็น เครื่องจักลกลพลังงานความเย็น แล้วมันใช้เชื้อเพลิงหรือพลังงานอะไรกันแน่
ครับ เชื่อเพลิงนั้นอยู่ในรูปแบบของของเหลว ซึ่งจะต้องดูดและแยกออกมาจากอากาศ และถูกนำมาใช้กับเครื่องจักรกลแนวใหม่ ซึ่งเครื่องจักรกลชนิดนี้จะดึงดูดเอาพลังงานความร้อนจากอากาศเข้ามาและแปลเปลี่ยนไปเป็นพลังงานกล จากนั้นก็ใช้ก๊าซในอากาศที่ถูกกลั่นให้เป็นของเหลวเข้ามาทำปฏิกิริยากันภายในเครื่องจักรนั้น  เครื่องจักรจะให้พลังงานกล และปลดปล่อยความเย็นออกมาทิ้งสู่ชั้นบรรยากาศโลกที่อุณหภูมิ ลบ 50 องศาC ซึ่งแน่นอนที่สุดครับ เครื่องจักรพลังงานความเย็น พลังงานทดแทนใหม่นี้จะช่วยแก้ไขปัญหาใหญ่ๆของโลกได้ถึง 2 ปัญหาเลยที่เดียว

 
1 สามารถแก้ไขปัญหาการขาดแคลนพลังงานเชื้อเพลิงได้ และเราจะมีพลังงานทดแทนให้ใช้กันอย่างเกินพอครับ

 


2 สามารถแก้ไขปัญหาสภาวะเรือนกระจกได้โดยสิ้นเชิง ซึ่งจะทำให้โลกเย็นลงได้อย่างรวดเร็ว โดยที่ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ยังคงค้างอยู่ในชั้นบรรยากาศนั้นจะไม่เป็นผลอีกต่อไป

6. การยกหนี้ให้ชาวนา (น้ำฟรี, รถไฟฟรี) มีโทษแก่สังคมอย่างไร?

เค้าเรียกว่าเกาไม่ถูกที่คันครับ

เป็นการตอกย้ำว่ารัฐบาลนี้ไม่มีนักเศรษฐศาสตร์มาช่วย – ด้วยความเคารพครับคุณอภิสิทธิ ไอ้มาตรการเลียนแบบ"ประชานิยม" แบบยุครัฐบาลทักษิณ ก็ต้องบอกว่า รัฐบาลนี้ยังหลงยุค และทำลายวินัยการคลังอย่างน่าวิตก รัฐบาลกำลังบริหารประเทศแบบ"จนตรอก" สร้างนิสัยการไม่อยู่บนโลกแห่งความจริงของประชาชน คิดแต่จะซื้อความนิอยมของคนไปวันๆ ไม่ได้แก้ไขปัญหาระยะยาวได้เลยครับ

การลงทุนของภาครัฐเพื่อการกระตุ้นเศรษฐกิจรูปแบบที่ดีที่สุดก็คือการลงทุนในโครงการที่สร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศในระยะยาว เช่น โครงสร้างพื้นฐาน ถนนหนทาง รถไฟฟ้า เขื่อน ฯลฯ เนื่องจากโครงการเหล่านี้จะส่งผลต่อการจ้างงานในระบบเศรษฐกิจอย่างน้อยสองถึงสามปีแบบต่อเนื่องนะครับท่านนายก       

การบ้านวันที่ 6 ก.พ.54

1. เศรษฐศาสตร์ระดับ macro unit analysis (ระดับประเทศ) ตัวเราและบริษัท คือผู้บริโภค ในหลักเศรษฐศาสตร์ระยะยาว นักอุตสาหกรรม cost กับ benefit จะสามารถ balance กันอย่างไร? และในระดับ micro ตัวละคร (stake holder) ผู้ให้และ  ผู้รับ ควรเป็นใคร? เครื่องมือในการสื่อสารต่างๆเพื่อให้สังคมใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าอย่างไร? Positive Economy กลไกตลาด (ปริมาณและความต้องการ) stack holder ตังละครคือใคร?

หลักเศรษฐศาสตร์ก็หนีไม่พ้น Demand – Supply  ตัวเราจะต้องอยู่ในฐานะใดฐานะหนึ่งของระบบ ซึ่งบางครั้งเราก็เป็นผู้ผลิต บางครั้งเราก็เป็นผู้บริโภค ที่ต้องมี Balance ซึ่งกันและกัน หากข้างใดข้างหนึ่งมากไป ก็จะทำให้ Cost &benefit ไม่ลงตัว เช่น ข้าวของแพง คนแย่งกันซื้อ (เช่นน้ำมันปาล์มที่ขณะนี้ความต้องการมาก แต่ supple น้อย ราคาจึงถีบตัวสูงขึ้น ๆ โดยรัฐบาลเข้ามาควบคุม ผู้ประกอบการกำหนดให้ผู้บริโภคซื้อได้ไม่เกินคนละ 1 ขวดเป็นต้น)

ระบบ Macro (ระดับประเทศ) ก็คงต้องเป็นรัฐบาลอย่างแน่นอน ผู้เป็น Stakeholder ที่สำคัญ จะต้องดูแลประเทศทั้งระบบ ดูแลให้ Demand – Supply สมดุลกัน ถึงแม้ว่าจะมีปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้เข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น อัตราเงินเฟ้อ อัตราแลกเปลี่ยน ค่าดัชนีต่าง ๆ (SET Index)

ระดับ Micro มี Stakeholders ที่สำคัญได้แก่ องค์กร ชุมชน ครอบครัว บุคคล
ซึ่งสัมพันธ์เกี่ยวข้องซึ่งกันและกัน และผลัดกันเป็นทั้ง ผู้ให้และ ผู้รับตลอดเวลา

เครื่องมือสื่อสารที่สำคัญและชัดเจนในตัวคือ ราคาของสินค้า ที่แสดงให้เราเห็นความเป็นไปของตลาดอย่างชัดเจน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับผู้บริโภคว่าจะเลือกซื้อ หรือ บริโภคแบบใด ราคาใด  เช่น ของจีนแดง ไม่ค่อยมีคุณภาพแต่ราคาถูก ก็ไม่เป็นไร = รับได้ แต่บางคนต้องใช้ของดีมียี่ห้อ แบรนด์เนมเท่านั้น เป็นต้น

What Does Positive Economics Mean?
The study of economics based on objective analysis. Most economists today focus on positive economic analysis, which uses what is and what has been occurring in an economy as the basis for any statements about the future. Positive economics stands in contrast to normative economics, which uses value judgments.

Positive Economics
For example, a positive economic statement would be: "Increasing the interest rate will encourage people to save." This is considered a positive economic statement because it does not contain value judgments and its accuracy can be tested.

Positive economy เป็นเศรษฐกิจเชิงบวก ที่ stakeholders ทุกคนสัมพันธ์กัน คล้ายกับหลักทฤษฏี win win  ที่ทุกคนได้  หากรัฐบาลนำแนวคิดนี้มาใช้ ประชาชนคนไทยจะต้องร้องไชโย โห่ฮิ้ว.....

         

2. ในการดำเนินนโยบายต่างๆของรัฐบาล ถ้าเราตั้งหลักเกณฑ์ cost benefit จะช่วยให้ประเทศอยู่รอดได้อย่างไร? การทำงาน (function) ของตลาดอย่างไร? ใครเป็นคนอธิบายว่าการจัดสรรทรัพยากรต้องทำอย่างไร? นักการเมืองต้องทำอย่างไรในระยะยาว เราต้อง communicate อย่างไร?

การดำเนินการภาครัฐ จะต้องมีการมองภาพใหญ่ก่อน เอาประเทศไทยเป็นตัวตั้ง แล้วกระจายเป็นแผน และนโยบายย่อย ๆ ในระดับต่าง ๆให้สอดคล้องกันในทุกระดับ

แผนทุกแผนจะต้องมี Cost Benefit เพื่อให้วิเคราะห์ต้นทุนค่าใช้จ่าย  และผลประโยชน์ที่ได้รับในเรื่องหลัก ๆ  เพื่อหามุมมองให้ครบถ้วน

หรือให้มองประเทศไทยเหมือนว่าเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ที่จะต้องมีการบริหารจัดการในระดับองค์กร ระดับบริหาร ระดับพนักงาน แต่ทุกระดับจะต้องมุ่งไปสู่เป้าหมายใหญ่อันเดียวกัน เช่น

ประเทศไทยเป็นแหล่งการศึกษาชั้นนำระดับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก,  ประเทศไทยจะเป็นครัวโลกในปี 2020 เป็นต้น และ นำหลักการของ Cost Benefit มาใช้ เพื่อช่วยให้บริษัทอยู่รอด ประกอบการบริหารจัดการ และการตลาดที่ดีเท่านั้นที่จะทำให้บริษัทไปได้ตลอดรอดฝั่ง

เจ้าของบริษัท หัวหน้ารัฐบาล หัวหน้าโครงการ เป็นบุคคลสำคัญที่จะมีบทบาทอย่างมากในการมอบหมายงาน และจัดสรรทรัพยากรคน ให้เหมาะกับงาน กระตุ้นให้คนทำงานมีการเรียนรู้ และใฝ่รู้

ในระยะยาว นักการมือจะต้องมีกลยุทธ์ในการทำงาน และใช้สื่อรูปแบบต่าง ๆ มาช่วยในการกระจายข้อมูล และ ประชาสัมพันธ์งานต่าง ๆ ที่กำลังดำเนินการ จะดำเนินการในอนาคต แจ้งประโยชน์ที่ทุกคนจะได้รับ แต่ต้องไม่ลืมข้อเสีย หรือผลกระทบที่จะเกิดขึ้น และทุกอย่างต้อวงเป็นเรื่องจริง อย่างโกหก หากนักการเมืองคนไดทำได้อย่างนี้ รับรองเลือกตั้งกี่สมัยก็ไม่ตกเวทีอย่างแน่นอน

 3. ยกตัวอย่างการแทรกแซงของตลาด เช่น การกำหนดราคาลำไย ถ้ามีการแทรกแซงตลาด ผลเสียระยะยาวจะเป็นอย่างไร  แก้ไขอย่างไร? โดยการใช้สื่อมวลชน

การแทรกแซงตลาดของรัฐบาลเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร นั้น เป็นทางออกหนึ่งของรัฐบาลที่จะยื่นมือเข้าช่วยเหลือเกษตรกร ซึ่งไม่ว่ารัฐบาลไหนก็ทำต่อ ๆ กันมาเป็นกิจวัตร ในระยะยาวเสียมากว่าได้แน่นอน เช่น เกษตรกรปลูกมันสำปะหลัง ปลูกทุก ๆ ปี ตั้งแต่รุ่น ปู่ย่าตายาย ตกทอดมาถึงรุ่นปัจจุบันก็ยังปลูกมันสำปะหลัง ไม่มีความรู้ หรือความคิดใหม่ ๆ ที่จะเปลี่ยนแปลง และคิดทำเกษตรกรรมแบบใหม่ ๆ, ราคาสินค้าเกษตรตัวไหนราคาดี ๆ ก็จะแห่กันปลูกเป็นการใหญ่ พอปีต่อ ๆ มา ราคาก็ตกตาม Supply Demand โดยไม่มีใครไปให้ความรู้กับเกษตรกร หรือแนะนำให้ปลูกพืชเศรษฐกิจตัวไหนที่ตลาดต้องการ และได้ราคาดี เป็นต้น

ทำไมผู้เกี่ยวข้องไม่คิดหานวัตกรรมใหม่ ๆ มาให้ความรู้แก่เกษตรกร ให้เขามีองค์ความรู้ สามารถคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ได้ ปรับใช้แทนการแทรกแซงราคาตลาด เช่น

-      สร้างความรู้ความเข้าใจกับเกษตรกร
-      กระตุ้นให้เขามีความคิดใหม่ ๆ มีการเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา ไม่หยุดนิ่ง
-      ให้แนวคิด และความรู้ใหม่ ๆ

ทางออกที่น่าจะเป็นไปได้

-      มีหน่วยงานพิเศษ ที่รับผิดชอบในการสร้างความเข้าใจ และให้ความรู้กับเกษตรกรในแต่ละภูมิภาค
-      มีหน่วยงาน R&D ในการนำผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรมีทำหารวิจัยเพื่อให้มีมูลค่าเพิ่มกับสินค้าเกษตรกรรม ไม่ว่าจะเป็นเครื่องสำอาง ยาสมุนไพรรักษาโรค อาหารแปรรูปประเภทใหม่ ๆ เป็นต้น
-      สร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ประจำหมู่บ้าน เพื่อแลกเปลี่ยนให้ความรู้แก่กันภายในชุมชน และระหว่างชุมชน
-      รัฐบาลมีแผนงานรองรับตั้งแต่เริ่มต้นผลิต ปลูกสินค้าเกษตรกรรม มีการตรวจสอบคุณภาพให้ได้มาตรฐาน หาตลาดรองรับทั้งใน และต่างประเทศ คาดการณ์และรู้ Demand & Supply ล่วงหน้า เพื่อวางแผนการผลิตของภาคเกษตรกรรม

การใช้สื่อมวลชนทำอะไรได้บ้าง...

-      รัฐบาลมีสื่อเป็นเครื่องมืออยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นวิทยุ โทรทัศน์ สิ่งนี้เป็นเครื่องมือที่ดีเยี่ยมที่สามารถกระจายไปได้อย่างทั่วถึงทุกหมู่บ้าน ทุกชุมชน เพียงแต่รัฐบาลจะต้องมีแผนประชาสัมพันธ์ในระดับต่าง ๆ รวมถึงการให้ความรู้ในรูปแบบต่าง ๆ เป็นต้น
-      รณรงค์ให้หน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน หันมาสนใจ และช่วยเหลือเกษตรกรไทยผ่านสื่อต่าง ๆ  เช่น ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรในเมืองไทย,  นิยมไทย-กินผลไม้ไทย-ใช้ของพื้นบ้าน เป็นต้น
-      หาพันธมิตรเพื่อร่วมมือกันช่วยชาติในเรื่องต่าง ๆ เช่น ใช้ของไทย เงินทองไม่เหือดหาย, เงินทองอย่าให้รั่วไหล ใช้ของไทยสบายใจดีจริง

4. ประชาวิวัฒน์ กับ micro economic มีความเชื่อมโยง และ ขัดแย้งกันอย่างไร? ประชาวิวัฒน์มีประโยชน์อย่างไร? ในระยะสั้น หากในระยะยาวเกิด habit ที่ไม่ดีด้านประชาชนนั่งงอมืองอเท้าขอเงิน จะแก้ไขอย่างไร? (ยืมเงินอนาคต, บิดเบือนคุณภาพทรัพยากร)

รัฐบาลนกยกอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ประกาศใช้นโยบายปฏิบัติการประชาวิวัฒน์ "คิดนอกกฎ บริการนอกกรอบ" เพื่อเป็นของขวัญแก่ประชาชน 9 ข้อ (การเข้าถึงระบบประกันสังคม, การเข้าถึงสินเชื่อในอัตราที่เป็นธรรม, การขึ้นทะเบียนและจัดระบบ มอเตอร์ไซค์รับจ้าง, เพิ่มจุดผ่อนผัน ให้ผู้ค้าจำนวน 2 หมื่นราย, กองทุนน้ำมัน โดยจะมีการยกเลิกการตรึงราคา LPG ในภาคอุตสาหกรรม, การใช้ไฟฟ้าฟรีสำหรับคนที่ใช้ต่ำกว่า 90 หน่วย อย่างถาวร, ดูแลให้ทั้งเกษตร ผู้ประกอบการรายย่อยให้มีรายได้เพิ่มขึ้น, เพิ่มบุคคลากรในการตรวจตราเพื่อให้สอดคล้องกับการปฏิรูปตำรวจ)

ประชาวิวัฒน์ กับ micro economic มีความเชื่อมโยงกันอย่างชัดเจน ที่ช่วยเหลือคนระดับล่างให้มีรายได้สูงขึ้น ความเป็นอยู่ สวัสดิการ และค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้น เศรษฐกิจระดับรากหญ้ามีการฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว ซึ่งหมายถึง micro economic นั่นเอง แต่ก็มีผลเสียในแง่ที่ว่า คือเปิดโอกาสให้คนจนมีช่องทางการได้เงินที่ง่ายขึ้น ฉะนั้นต้องระวังตรงจุดนี้ให้ดี

โครงการทั้งหมดนี้ถือเป็น  Idea ที่ดีและสร้างสรรค์พอสมควร แต่ไม่ควรทำในระยะยาว เพราะว่าจะก่อให้เกิดผลเสียมากว่าผลได้

-      ประชาชนจะเคยชินกับการใช้น้ำ ไฟฟรี 
-      ใช้จ่ายเงินไม่ประหยัด ไม่อดออม  และนำเงินในอนาคตใช้จ่าย
-      สร้างหนี้สิน แต่ไม่ได้เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ และปลูกฝังให้ประชาชนใช้จ่ายประหยัด มัธยัสถ์
-      กองทุนน้ำมัน
นอกจากนั้น รัฐบาลควรจะหันมาให้ความสนใจ และต่อยอดโครงการประชาวิวัฒน์ดังกล่าวอย่างเป็นรูปธรรม เช่น

- นโยบายการผลิตและการจำหน่ายสินค้าเกษตรหลัก ข้าว, มันสำปะหลัง, อ้อย, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน และข้าวโพด
- นโยบายพืชพลังงาน ปาล์มน้ำมันที่กำลังขาดตลาดอย่างหนัก, อ้อย และ มันสำปะหลัง
- นโยบายการผลิต และการทำการตลาดผลไม้ไทยในประเทศ และต่างประเทศ
(ลำไย, ลองกอง, ทุเรียน, เงาะ, มังคุด ฯลฯ)
- ภาคการท่องเที่ยว (เรื่องนี้คุยกันยาว) หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ต้องมาจับเข่าคุยกัน จัดทำแผนรองรับในระยะสั้น กลาง ยาว สร้างความรู้ความเข้าใจกับคนชุมชุน รักษาวัฒนธรรมดั่งเดิมที่ดีงาม พร้อมทั้งการดูแลรักษาแหล่งท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน หาแหล่งท่องเที่ยวใหม่ ๆ และจุดขายสถานที่สำคัญ ๆ ในตลาดโลด ฯลฯ
- ภาคการผลิตและการตลาด SME, หัตถอุตสาหกรรม และ OTOP ปล่อยทิ้งไปเลย ชิมิ
- อีกหลายๆ อย่างที่รัฐบาลนี้ไม่เคยใส่ใจ

5. ทฤษฎี social cost (ต้นทุนเงิน, ค่าเสียโอกาส) ศึกษาว่าถ้ามี social cost เพิ่มขึ้น จะช่วยแก้ปัญหาภาวะโลกร้อนใด้อย่างไร? ต้องจัดสรรทรัพยากร คนเสียและคนได้ ให้เท่ากัน

Social Cost เป็นเรื่องที่ทุกคนมองข้าม และปล่อยให้เกิดขึ้น และก็จางหายไป สุดท้ายก็ตกอยู่กับสังคมที่เราอาศัยอยู่นั่นเอง ได้แก่ ทุนทางวัฒนธรรม ทุนค่านิยม ที่ปรับเปลี่ยนไปเอาแบบอย่างตะวันตก หรือ เกาหลี ญี่ปุ่น จนวัฒนธรรม และค่านิยมแบบไทย ๆ เริ่มจางหายไป ซึ่งสิ่งนี้แหล่ะ เป็น Social Cost ที่บรรพบุรุษของเราได้สร้างสมกันมาเนิ่นนาน และประเมินค่าเป็นราคามิได้เลย......

สังคมเราทุกวันนี้ มี Social Cost เพิ่มขึ้น ๆ เพียงเพราะว่าแก่งแย่งชิงดีชิงเด่นกันตลอด
ใครมือยาวกว่าก็ได้โอกาสไป แต่ไม่ได้คำนึ่งถึงสิ่งรอบข้าง ไม่ว่าจะเป็นสังคม สิ่งแวดล้อม ซึ่งบางอย่างเป็นสิ่งที่ไม่สามารถเอากลับคืนมาได้ เช่น พวกนายทุน ก็ใช้เงินซื้อแรงงานในการลอบตัดไม้ทำลายป่า ทำลายต้นน้ำ ทำลายสิ่งแวดล้อม โดยผลที่เกิดขึ้น คือสิ่งแวดล้อมถูกทำลายไปอย่างถาวร

หากเรามีการคำนวณให้ทุกคนจ่ายค่า Social Cost คืนให้กับสังคม และให้ทุกคนตระหนักถึงความสำคัญของ Social Cost พร้อมกับช่วยกันดูแลสังคม สิ่งแวดล้อม และธรรมชาติ ไม่ให้ใครได้เปรียบ เสียเปรียบ รับรองว่า สังคมจะถูกยกระดับขึ้น

ใครได้จากสังคมไปมาก ก็เสีย Social Cost มากตามสัดส่วน (คืนสู่สู่สังคม และสิ่งแวดล้อมรอบข้างให้มากมที่สุด)

 6. การยกหนี้ให้ชาวนา (น้ำฟรี, รถไฟฟรี) มีโทษแก่สังคมอย่างไร? การยกหนี้ให้ชาวนา (น้ำฟรี, รถไฟฟรี) มีโทษแก่สังคมอย่างไร?

ทำแบบขอไปที – ผักชีโรยหน้า-คราวหน้าว่ากันใหม่-แก้ที่ปลายเหตุ-ไม่สนใจต้นเหตุของปัญหา

ดิฉันค่อนข้างไม่เห็นด้วยกับนโยบายน้ำไฟฟรีของรัฐบาลเลย เพราะว่าการทำแบบนี้ไม่ได้ช่วยให้คนไทยบริโภคน้ำ ไฟน้อยลงแต่อย่างใด ตัวเลขที่อกมา การใช้พลังงานต่าง ๆ ก็มีแต่จะเพิ่มขึ้น

ซึ่งรัฐบาลต้องแบบภาระค่าใช้จ่ายดังกล่าว ซึ่งเป็นจำนวนเงินไม่ใช่น้อย
โดยรัฐบาลเองมีค่าใช้จ่ายในเรื่องต่าง ๆ มากมาย แทบจะไม่เพียงพออยู่แล้ว

ทำไมรัฐบาล จึงไม่รณรงค์ให้คนไทยประหยัดพลังงานในกิจกรรมทุก ๆ อย่าง และช่วยกันประหยัด ทำกันจนเป็นนิสัยติดตัวไป รณรงค์ และมีแคมเปญอย่างต่อเนื่อง หากิกรรมต่าง ๆ ให้ประชาชนเข้าร่วม และปลูกฝังทุนคน โดยเฉพาะเด็กเล็ก ๆ ที่จะโตเป็นผู้ใหญ่ในวันข้างหน้า

ในอนาคต พลังงานทุกอย่างมีแต่จะขาดแคลน ๆ ในทุก ๆ ปี ด้วยสาเหตุที่ประชากรโลกเพิ่มขึ้น ทรัพยากรต่างๆ ลดลงเรื่อย ๆ  ซึ้งไม่สมดุลกันเลย สิ่งนี้แหล่ะ จะเป็นปัญหาของทุกประเทศ ทั่วโลกในอีกไม่ช้า

กรณียกหนี้ให้ชาวนานั้น ก็เข้าทำนองเดียวกัน ที่ประชาชนทุกคนที่เสียภาษีให้กับรัฐบาลเป็นผู้แบกภาระของชาวนา  ซึ่งรัฐบาลควรมีโครงการ แผนงานรองรับ ในการให้ความรู้ สร้างความเข้าใจ หาหนทางให้ชาวนาและเกษตรกรสามารถทำมาหากินได้ด้วยภูมิปัญญาของตนเอง  หรือไม่ใช่รอเพียงเงินของทางการที่จะเอาไปให้ในโอกาสต่าง ๆ  เช่น  1 โครงการ 1 ตำบล, 1 หมู่บ้าน 1 ผลิตภัณฑ์ แม้กระทั่งรอการเลือกตั้งใหม่ที่ หัวคะแนนต่างพากันโปรยเงินให้กับชาวนาที่หลงเงิน และยอมทำตามทุกอย่างเพื่อเงิน

Tukta

มาส่งการบ้านเร็วหน่อยครับ เพราะกำลังจะต้องเดินทางไปต่างประเทศครับ

(การบ้าน "บทความทางเศรษฐศาสตร์)

***********************************************************

 

เพียงพอ พอเพียง  

ใช้ชีวิตอย่าง "เพียงพอ" เพื่อความสุขที่ "พอเพียง"

แก่นแท้ของชีวิตที่พอเพียงหาใช่การถอยหลังเข้าคลอง หาใช่นิยามความเชย ที่คนรักวัตถุนิยมแอบคิดอยู่ในใจ หากแต่คือการใช้ชีวิตอย่างมีเหตุผล และพอประมาณเพียงความสุขขั้นพื้นฐาน  บางครั้งคนที่ได้ครอบครองกระเป๋าใบละ 5 หมื่น  ก็ไม่ได้บ่งบอกอะไรนอกจากรสนิยมของเจ้าของ (ที่ดีหรือเปล่า? คงเป็นอีกเรื่องหนึ่ง) ผู้คนเดินขวักไขว่สวนกันไปมาอย่างรีบเร่งจนลืมมองท้องฟ้า ลืมมองคนที่เดินผ่าน มองเข้าไปลึก ๆ แล้ว คนเราก็เพียงแค่วิ่งตามความสุขที่อยู่บั้นปลายชีวิตเท่านั้น ด้วยความเชื่อที่ถูกฝังแน่นอยู่ในหัวว่า ชีวิตที่ต้องทำงานและดิ้นรนแก่งแย่งเท่านั้นจึงจะอยู่รอดปลอดภัยในภายภาคหน้า บางคราวัตถุที่เป็นเพียงสัญลักษณ์แห่งความสุขที่มนุษย์อุปโลกน์ขึ้นมา ก็เป็นเพียงแค่ความฉาบฉวยครั้งคราว ลมพัดก็ปลิวไปตามลม นอกจากจะไม่ยั่งยืนอยู่ทนยังมาเอาจิตวิญญาณเราไปด้วย ความสุขที่ยั่งยืนไม่ได้อยู่ไกลจนถึงขนาดต้องวิ่งตาม ทุกอย่างอยู่ที่ใจ เพียงแค่เก็บเกี่ยวและเดินช้า ๆ  เพื่อลองฟังเสียงหัวใจเต้นดูบ้าง ชีวิตที่  ฟูฟ่าที่ว่าดีนักหนานั้น ไม่ใช่วิถีดีที่เหมาะสมอย่างยั่งยืนแต่อย่างใด สุขแบบตูมตามครั้งเดียว แล้วหาไม่ได้อีกเลยตลอดชีวิต หรือจะสู้สุขทีละนิด แต่สุขนาน ๆ ได้  ปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตที่เคยหรูหรา มาสู่วิถีสามัญที่ยั่งยืนดีกว่า....

 

โดยสารอย่างหรูหรา หรือแค่ถึงที่หมาย

หลายคนมีรถยนต์ไว้ใช้งานจริง  ๆ แต่ก็มีอีกหลายคนมีรถยนต์เป็นเพียงเฟอร์นิเจอร์ประดับบารมี  ประโยชน์ของมันที่แท้แค่เพียงส่งเราถึงที่หมายในแต่ละวัน แต่สิ่งที่ต้องแลกคือน้ำมันอันแพงประหนึ่งทองกับมลพิษที่ต้องพ่นระบายออกไปในอากาศ หากมองถึงเพียงประโยชน์และหน้าที่ของรถยนต์  นั่งรถโดยสารประจำทางก็เหมือนกัน ถึงที่หมายได้เหมือนรถยนต์  แม้จะต้องแลกด้วยเหงื่อเพียงเล็กน้อย  และอาจต้องตื่นเช้ามากกว่าเดิม ได้เดินมากขึ้น  แต่สิ่งที่ได้คือ แข็งแรงขึ้น เห็นโลกมากขึ้น เพราะบนรถเมล์มีผู้คนทุกระดับประทับใจ ประหยัดขึ้น ทำให้การจราจรในเมืองหลวงแออัดน้อยลง มลพิษน้อยลง  ขึ้นรถเมล์ รถไฟฟ้าไม่ได้ลำบากยากเข็ญเกินกว่าแรงเราจะรับไหว เป็นเพียงหนึ่งในกิจวัตรประจำวันที่ต้องพบเจอทุกวันเป็นเรื่องธรรมดา

 

กินแค่อยู่ หรือมีชีวิตอยู่เพื่อเอาแต่กิน 

บางคนมีความสุขกับการได้กินของแพง  กินของนอก ทั้งที่รสชาติและคุณค่าไม่ได้แตกต่างกัน ปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตกินเพียงอิ่ม แต่ครบถ้วนไปด้วยคุณค่าสารอาหารที่จำเป็นในชีวิต บริโภคอย่างพอเพียง เพื่อให้ชีวิตอยู่ได้อย่างเพียงพอ ของแพงไม่ได้แปลว่าอร่อย ภัตตาคารหรูไม่ได้แปลว่าสะอาดกว่าฝีมือของแม่ ลองปลูกพืชผักสวนครัวกินเองดูบ้าง คุณอาจพบว่า เวลากินผลผลิตจากมือตัวเอง ความภาคภูมิใจนั้น เป็นอาหารที่อร่อยที่สุดที่หากินที่ไหนไม่ได้ในโลก

 

ช้อปปิ้งคือชีวิต คิดผิดมหันต์ 

แต่ละเดือน ๆ ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มเติมมาในบัตรเครดิต คือการรูดซื้อเสื้อผ้า ของประดับที่ไม่จำเป็นเลย    ในชีวิต ลองพินิจดู  รางวัลชีวิตที่แท้จริงที่คุณควรปรนเปรอตัวเอง ไม่ได้มีอยู่แค่ในห้างสรรพสินค้า ตัดค่าใช้จ่ายในชีวิตที่ไม่จำเป็น ที่รังแต่จะทำให้ชีวิตคุณรกรุงรัง ซื้อของเท่าที่    จำเป็น ไม่ใช่เพียงในยุคน้ำมันแพง แต่ทุกยุคทุกสมัย เรื่องประหยัดเป็นเรื่องฉลาดที่คนเราควรหัดไว้ให้เป็นนิสัย ใช้เงินประหยัด ไม่ได้หมายความว่าไม่มีใช้ แต่หมายถึงใช้เงินให้คุ้มค่า และมีประโยชน์สูงสุด

 

กลับสู่ธรรมชาติ
ชีวิตฟู่ฟ่าในสังคมเมือง เป็นความโหวกเหวกท่ามกลางความโดดเดี่ยว ต่างคนต่างทำหน้าที่ ขวนขวายแก่งแย่งได้มาแทบบ้าตาย หลายครั้งหลายคนอาจฉุกคิดได้ว่า ตัวตนของคุณไม่ใช่แบบนี้ มองซ้ายเป็นตึก มองขวาเป็นถนนที่เต็มไปด้วยควัน กลับคืนสู่ถิ่นฐานบ้านเกิด หรือลองศึกษาธรรมชาติดูบ้าง แรงบันดาลใจดี ๆ ในการใช้ชีวิตอาจมีมากขึ้น มีคนเคยกล่าวไว้  มนุษย์เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ กลับคืนเมื่อไหร่ก็ไม่มีวันขวยเขิน

 

ใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์
มีความคิดสร้างสรรค์เป็นอาวุธทางปัญญา เทรนด์การตลาดที่ร้อนแรง ก็ไม่อาจพรากเอาตัวตนของคุณกลมกลืนไปเป็นส่วนหนึ่งของการตลาดได้ มีวิจารณญาณในการบริโภค พูดง่าย ๆ คือ เลือกในสิ่งที่ชีวิตคุณต้องการ ไม่ใช่มีคนบอกว่า ชีวิตคุณต้องมีแบบนั้น ต้องการแบบนี้

‘พอใจ’ แล้ว ใจจะพอเพียง

 ภาคภูมิใจในสิ่งที่ตัวเองมีอยู่ คนไทยมีอะไรหลายอย่างที่ต่างชาติไม่มี แม้ในทางกลับกัน เราก็อาจจะไม่มีในสิ่งที่เขาครบครัน ความไม่มีไม่ได้หมายความว่าขาด  บางคราก็อาจจะไม่เหมาะกับวิถีของเรา ระเบิดจากภายใน มองเรื่องเล็ก ๆ ใกล้ตัว แล้วขยายวงสู่เรื่องใหญ่ ๆ ระดับชาติ ชีวิตก็ดำรงอยู่ได้อย่างที่ควรจะเป็น ไม่แก่งแย่ง ไม่แข่งขัน เพียงช่วยเหลือเกื้อกูลกัน บ้านเราทำน้ำพริกอร่อย ก็แบ่งปันให้ข้างบ้าน ขณะที่ป้าข้างบ้าน แกงรสชาติดี ก็แบ่งให้บ้านเราช่วยชิมบ้าง หรือบางทีที่ไม่มีรถยนต์ขับ อาจเป็นเพราะคุณไม่เหมาะกับการขับรถด้วยตัวเอง สินค้าแบรนด์เนมก็อาจไม่เหมาะกับบุคลิกของคุณก็เป็นได้

แก่นแท้ของความสุข ไม่มีขายที่ห้างสรรพสินค้า สั่งซื้อทางอินเทอร์เน็ตก็ไม่ขาย หัวใจที่เหนื่อยล้า เพราะมัวแต่วิ่งตามหาวัตถุ ก็ไม่มีบริการสปาไว้บำบัด  หากแต่ต้องปลูกรดน้ำพรวนดินใส่ปุ๋ย แล้วความสุขที่แท้และยั่งยืนจะงอกงามตามวิถีธรรมชาติในหัวใจของคุณเอง

เขียนโดย thanapon/tahh

วันพฤหัสบดีที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2551

http://thanapontah.blogspot.com/2008/06/blog-post_19.html

 

บทความนี้เป็นหนึ่งในบทความที่ผมชอบมากๆครับ

เป็นบทความที่ใช้ภาษาเขียนง่ายๆ ซึ่งนับว่าเป็นเสน่ห์ในการสื่อสารอย่างหนึ่ง ผู้เขียนได้ยกตัวอย่าง เปรียบเปรยให้เห็นภาพ เห็นความเป็นจริง เพราะเศรษฐศาสตร์ ก็คือ ศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับทางเลือก หนทางในการใช้ทรัพยากรการผลิตอันมีอยู่จำกัด สำหรับการผลิตสินค้าและบริการเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเศรษฐกิจพอเพียง หมายถึง เศรษฐกิจที่สามารถอุ้มชูตัวเองได้ ให้มีความพอเพียงกับตัวเองอยู่ได้โดยไม่สร้างความเดือดร้อนให้ตนเอง และผู้อื่น ซึ่งต้องสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจของตนเองให้ดีเสียก่อนมีความพอกินพอใช้สามารถพึ่งพาตนเองได้ ย่อมสามารถ สร้างความเจริญก้าวหน้าและฐานะทางเศรษฐกิจของประเทศได้ หลักเศรษฐศาสตร์ที่ดีจึงควรเป็นการ “ใช้” เพื่อประโยชน์สูงสุด ไม่ใช่ “ใช้” อย่างสุรุ่ยสุร่าย

 

เศรษฐกิจพอเพียง เป็นหลักเศรษฐกิจที่ตรงกันกับหลักธรรมในพระพุทธศาสนา ก็คือหลักเศรษฐศาสตร์สายกลางตามแนวพุทธ ที่มุ่งให้มนุษย์จำกัด “ความอยาก” หรือ “ความต้องการ” ของตนเอง แทนการกระตุ้นตันหาหรือความอยาก เพื่อให้เกิดการบริโภคมากขึ้น ซึ่งตามหลักของพระพุทธศาสนาก็จะเห็นว่าความต้องการของมนุษย์นั้นไม่มีขีดจำกัด แต่ขณะเดียวกันทรัพยากรมีขีดจำกัด เมื่อไม่ประหยัด สิ่งเหล่านั้นก็จะหมดสิ้นไปในที่สุด การปฏิบัติตนตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงจึงต้องหันมาแก้ไขที่ตนเองก่อน จำกัดความอยาก ความต้องการ ให้รู้จักพอดี ไม่บริโภคเกินความพอดี หรือตกเป็นทาสของวัตถุ ถ้าเราทำได้ ก็จะพบความสุขใจได้ และยังเป็นการลดการแก่งแย่งแข่งขัน ชิงได้ใคร่ดี การเอารัดเอาเปรียบซึ่งกันและกัน เบียดเบียดเบียนเพื่อนมนุษย์และสัตว์อื่น ตลอดถึงการเบียดเบียนธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดภัยธรรมชาติตามมา โลกถึงได้วิบัติวิปริตขนาด

 

และนี่ก็เป็นเวลาเกือบ 40 ปีแล้ว ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงแก่คนไทย ซึ่งแนวคิดนี้ ก็ได้เคยช่วยคนไทยมาแล้ว เมื่อคราววิกฤตเศรษฐกิจ ปี 40 ในสภาพสังคมปัจจุบันนั้น คนไทยเราเข้าถึงปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเท่าไหร่กันเชียว หลายคนก็ยังเข้าใจผิดๆ ว่าการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ตามทฤษฎีใหม่ นำมาใช้กันได้แค่เกษตรกรและชนทบ แต่ความเป็นจริง หากศึกษาปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงให้ดี จะพบว่าปรัชญานี้มีความสำคัญกับคนในเมืองไม่แพ้กัน ด้วยแนวคิดของปรัชญาให้เข้าถึงทางสายกลางของชีวิต หากคนเรารู้จักพอเราจึงจะพบกับความสุข ในสภาพสังคมระบบกึ่งทุนนิยมที่คนไทยกำลังเผชิญอยู่ หากคนไทยทุกคนตระหนักถึงความสำคัญของพระราชดำรัสข้อนี้ และนำไปปรับใช้กับชีวิตของตัวเองได้ และหากคนไทยรู้จักเรียนรู้คำว่า “พอ” ในตัวเองก่อนเรียกร้องจากคนอื่น เหตุการณ์ความวุ่นวายต่างๆ ก็อาจจะไม่เกิดขึ้น

 

ยิ่งในสภาวการณ์ปัจจุบัน ซึ่งเกิดความถดถอยทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรงขึ้นจึงทำให้เกิดความเข้าใจในแนวพระราชดำริของ  "เศรษฐกิจพอเพียง"  ซึ่งได้ทรงคิดและตระหนักมาช้านาน  เพราะหากเราไม่ไปพี่งพา ยึดติดอยู่กับกระแสจากภายนอกมากเกินไป  จนได้ครอบงำความคิดในลักษณะดั้งเดิมแบบไทยๆไปหมด มีแต่ความทะเยอทะยานบนรากฐานที่ไม่มั่นคงเหมือนลักษณะฟองสบู่  วิกฤตเศรษฐกิจเช่นนี้อาจไม่เกิดขึ้น หรือไม่หนักหนาสาหัสจนเกิดความเดือดร้อนกว่าคราวก่อน

 

ในระบบเศรษฐกิจพอเพียงจะจัดลำดับความสำคัญของ “คุณค่า” มากกว่า “มูลค่า” มูลค่านั้นขาดจิตวิญญาณ เพราะเป็นเศรษฐกิจภาคการเงิน ที่เน้นที่จะตอบสนองต่อความต้องการที่ไม่จำกัดซึ่งไร้ขอบเขต ถ้าไม่สามารถควบคุมได้การใช้ทรัพยากรอย่างทำลายล้างจะรวดเร็วขึ้นและปัญหาจะตามมา จนเกิดหารล้มสลายของระบบเศรษฐศาสตร์โดยรวมของชาติ ในระบบเศรษฐศาสตร์มหภาคในที่สุดครับ

HAPPY V'DAY คร๊าบอาจารย์และเพื่อนๆทุกท่านครับ

 

ขอมาใช้พื้นที่มาบอกว่า...

รัก อาจารย์จีระ

รัก ที่อาจารย์ให้ความรู้

รัก ที่อาจารย์ทำให้สมองโดนกระตุ้นทุกครั้ง

 

ขอบพระคุณที่สุดครับ

          การท่องเที่ยวเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของเศรษฐกิจท้องถิ่น ถ้าท้องถิ่นใดมีทรัพยากรธรรมชาติเป็นเสมือนสินทรัพย์ทางการท่องเที่ยวแล้ว รายได้จากการท่องเที่ยวจะเป็นตัววัดมูลค่าทางเศรษฐกิจในพื้นอนุรักษ์ทางธรรมชาติเหล่านั้น หากเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติในพื้นที่อนุรักษ์ย่อมส่งผลกระทบต่อมูลค่าเศรษฐกิจของท้องถิ่นด้วย นอกจากนี้ยังมีรายได้ที่ได้รับจากการท่องเที่ยวด้านอื่นอีก แต่เป็นรายได้ที่ไม่เป็นทางการยากต่อการประเมินมูลค่า เช่น เม็ดเงินที่ได้จากหาบเร่แพงลอย และ คนถีบระสามล้อ เป็นต้น แม้เป็นรายได้ที่มองไม่เห็น และไม่มีตัวเลขที่แน่นอน แต่ข้อดีของรายได้ประเภทนี้ คือ ถูกนำกลับคืนสู่เศรษฐกิจของท้องถิ่นโดยตรง และ สร้างการกระจายรายได้แบบทวีคูณมากกว่า ส่งผลให้เกิดการใช้จ่ายซ้ำๆในท้องถิ่น

ในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ของธุรกิจหรือหน่วยงานใด ๆ ก็ตามจะต้องอาศัยการติดต่อสื่อสารระหว่างกัน  โดยมีจุดประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนข่าวสาร ข้อมูล ความรู้ ความคิด อันก่อให้เกิดความเข้าใจอันดีระหว่างกัน

         งานด้านการติดต่อสื่อสารจึงเป็นหัวใจสำคัญของงานเลขานุการ ที่จำเป็นจะต้องมีความสามารถในการสื่อสารกับผู้อื่นได้อย่างดี ไม่ว่าจะเป็นการพูด การฟัง การเขียน การอ่าน ตลอดจนมีความสามารถในการใช้เครื่องมือสื่อสารชนิดต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้อง

          การขยายตัวทางการค้าระหว่างกลุ่มธุรกิจภายในประเทศ ส่งผลต่อการขยายตัวของระบบเศรษฐกิจของไทยเป็นส่วนรวม การค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้าภายในประเทศก็ขยายตัวกว้างขวางขึ้น กลุ่มธุรกิจที่สามารถทำกำไรจากการค้าขายของตนก็สามารถทำกำไรและสะสมทุนได้มากขึ้น ทุนหรือกำไรดังกล่าวจะช่วยให้ธุรกิจสามารถปรับปรุงและพัฒนาต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะนำไปสู่ความเติบโตของธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีอำนาจผูกขาดทางเศรษฐกิจมากขึ้น ขณะเดียวกันก็จะทำให้ธุรกิจขนาดใหญ่นั้นมีอิทธิพลทางการเมืองควบคู่ไปด้วย นโยบายเศรษฐกิจของประเทศเป็นปัจจัยสำคัญที่กำหนดบทบาทและอิทธิพลของธุรกิจเอกชน ในกรณีของประเทศไทยแนวนโยบายเศรษฐกิจของประเทศได้เอื้ออำนวยต่อการขยายตัวและการเติบใหญ่ของธุรกิจเอกชน ซึ่งรัฐบาลเองก็จะต้องใช้ดุลพินิจอย่างรอบด้าน

          ประเทศไทยเป็นประเทศที่ใช้ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม ที่สนับสนุนการประกอบธุรกิจของเอกชนมาโดยตลอด รัฐบาลได้หันมาเน้นบทบาทเศรษฐกิจของเอกชนมากขึ้น พร้อมกับให้ความช่วยเหลือการประกอบธุรกิจของเอกชนในด้านต่างๆ  อาทิเช่น การประกาศใช้กฎหมายการส่งเสริมการลงทุน โดยให้สิทธิพิเศษแก่ผู้ที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนของรัฐบาล ในขณะเดียวกันนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศที่ได้กำหนดไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ก็ได้จำกัดบทบาทการของธุรกิจของรัฐวิสาหกิจมิให้แข่งขันกับเอกชน

          ประเทศไทยได้ใช้ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม และยังเป็นประเทศที่เปิดกว้างในทางเศรษฐกิจทำการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศอย่างเสรี เปิดโอกาสและชักชวนให้ต่างประเทศเข้ามาลงทุนและประกอบการค้าในประเทศไทย การใช้นโยบายเศรษฐกิจแบบเปิดกว้างทำให้ระบบเศรษฐกิจไทยผูกพันกับระบบเศรษฐกิจโลกอย่างลึกซึ้ง ทั้งทางสังคมเศรษฐกิจและการเมือง ในปัจจุบันมูลค่าการค้าต่างประเทศเทียบกับรายได้ประชาชาติแล้วตกประมาณร้อยละ 50 ซึ่งหมายความว่าประมาณครึ่งหนึ่งของการประกอบการทางเศรษฐกิจภายในประเทศจะเกี่ยวพันกับเศรษฐกิจต่างประเทศโดยตรง ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจของโลกจึงส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจในประเทศไทยได้โดยง่าย
          การใช้นโยบายเศรษฐกิจแบบเปิดกว้าง นอกจากจะส่งผลให้เศรษฐกิจของประเทศเติบโตได้เร็วแล้ว ยังทำให้กลุ่มธุรกิจต่างๆ ขยายตัวเติบใหญ่ และมีบทบาทอิทธิพลในทางเศรษฐกิจมากขึ้น ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญของการขยายตัวของกลุ่มธุรกิจผูกขาด
           เมื่อกลุ่มธุรกิจขยายใหญ่ และระบบเศรษฐกิจเจริญเติบโตมีความซับซ้อนมากขึ้น การกำกับและการควบคุมธุรกิจของรัฐบาลก็มีปัญหามากขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากระบบราชการมิได้รับการพัฒนาให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ ตามไม่ทันการพัฒนาการของธุรกิจเอกชน จึงทำให้การควบคุมหรือการกำกับการทางเศรษฐกิจของรัฐบาลไม่ได้ผล และเป็นอุปสรรคต่อการประกอบธุรกิจของเอกชน ปัญหาดังกล่าวได้ทำให้รัฐบาลหันมาแก้ปัญหาด้วยการควบคุมธุรกิจเอกชนน้อยลง และหันมาแสวงหาความร่วมมือจากกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่มากขึ้น อาทิเช่น ได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการร่วมภาครัฐบาลและภาคเอกชนเพื่อแก้ปัญหาเศรษฐกิจของประเทศที่มีชื่อย่อว่า กรอ. ทั้งในประเทศและระดับภูมิภาค นโยบายการแก้ปัญหาเศรษฐกิจดังกล่าวแม้จะมีผลดีที่ช่วยให้แก้ปัญหาอุปสรรคของการพัฒนาเศรษฐกิจได้บ้างก็ตาม แต่ก็เป็นนโยบายที่ลดบทบาทของระบบราชการและเพิ่มบทบาทอิทธิพลของกลุ่มธุรกิจในระดับต่างๆ มากขึ้น ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการขยายอิทธิพลของกลุ่มผูกขาดในทางเศรษฐกิจ
            

 





 

(การบ้าน "บทความทางเศรษฐศาสตร์)

เศรษฐศาสตร์จานร้อน : มองปัจจัยพื้นฐานและความหมายท้าทายทางเศรษฐกิจในอนาคต โดย ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ

ในช่วงปลายปีเก่าถึงต้นปีใหม่ก็จะมีการเขียนถึงแนวโน้มเศรษฐกิจในปีใหม่ แต่ผมขอนำเสนอทางเลือกใหม่ในการมองอนาคตโดยพูดถึงปัจจัยพื้นฐานและแก่นสารของความท้าทายทางเศรษฐกิจของประเทศสำคัญๆ รวมทั้งไทยที่สรุปได้ดังนี้

1. สหรัฐอเมริกา

ประธานาธิบดีโอบามาได้ลงนามผ่านกฎหมายลดภาษี 858,000 ล้านดอลลาร์ ทำให้นักวิเคราะห์ต่างปรับการคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐในปี 2011 ขึ้นไปที่ 3% แต่ความสำคัญอยู่ที่การเดิมพันว่ามาตรการดังกล่าวจะทำให้เศรษฐกิจสหรัฐขยายตัวได้ดีและฟื้นตัวอย่างสมบูรณ์ในปี 2013 หรือไม่ หากในช่วงนั้นพบว่าเศรษฐกิจสหรัฐขยายตัว 4-5% ต่อปีก็น่าจะทำให้ประธานาธิบดีโอบามาชนะการเลือกตั้งทั่วไปได้เป็นประธานาธิบดีอีกหนึ่งสมัย (4 ปี) และกล้าที่จะปรับขึ้นภาษีคนรวย พร้อมกับปรับลดรายจ่ายและเพิ่มรายรับด้านอื่นๆ ช่วยให้การขาดดุลงบประมาณของสหรัฐปรับลดลงต่อเนื่อง และเกิดความมั่นใจว่าสหรัฐมีวินัยทางการคลัง ดังนั้นแม้ว่านายเบอร์นันเก้จะต้องปรับดอกเบี้ยระยะสั้นขึ้นตามความรุ่งเรืองของเศรษฐกิจและเพื่อควบคุมเงินเฟ้อ แต่ดอกเบี้ยระยะยาว (ซึ่งขึ้นอยู่กับวินัยทางการคลังด้วย) ก็จะไม่สูงมาก ตอกย้ำว่าเศรษฐกิจสหรัฐมีเสถียรภาพและความมั่นคงตามไปด้วย

แต่หากการลดภาษีครั้งนี้เป็นการเดิมพันที่ผิดพลาด สิ่งที่จะเกิดขึ้นคือในปีหน้าการขาดดุลงบประมาณของสหรัฐจะสูงถึง 10% ของจีดีพีติดต่อกันเป็นปีที่ 3 (ปี 2009 และ 2010 ก็ขาดดุลงบประมาณปีละ 10% ของจีดีพี) ดังนั้นหากเศรษฐกิจยังไม่ฟื้นตัวในปี 2012 กล่าวคือนักเศรษฐศาสตร์มองว่าเศรษฐกิจสหรัฐขยายตัวเพียง 2-3% ในปี 2012 และปีต่อๆ ไป เนื่องจากมาตรการลดภาษี 858,000 ล้านดอลลาร์นั้นส่วนใหญ่เป็นการกระตุ้นการบริโภคในปัจจุบัน แต่มิได้กระตุ้นการลงทุนการจ้างงานและการสร้างความสามารถในการแข่งขันในอนาคต สิ่งที่จะตามมาคือการขาดดุลงบประมาณสูงมากต่อไปอีกเรื่อยๆ ในปี 2013 และปีต่อๆ ไปเพราะเป็นช่วงที่ค่าใช้จ่ายจากนโยบายประชานิยมต่างๆ (โดยเฉพาะการประกันสังคมและด้านสาธารณสุข) จะพอกพูนขึ้นอย่างมากจากข้อผูกพันเดิมตลอดจนการเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้สูงอายุ ในขณะที่ผู้สูงอายุโดยรวมก็มีอายุยืนยาวขึ้น ในสภาวการณ์ดังกล่าว หากนักลงทุนมองว่ารัฐบาลสหรัฐจะต้องขาดดุลงบประมาณที่ 7-8% ต่อจีดีพีในอนาคตก็จะเกิดความระส่ำระสายอย่างมาก เพราะการขาดดุลในระดับสูง (หลังจากที่หนี้สาธารณะสูงเกิน 100% ของจีดีพีแล้ว) จะทำให้เกิดภาวะหนี้สินล้นพ้นตัวอย่างรวดเร็ว ทำให้สถานการณ์ที่เกิดขึ้นกับกรีกในปี 2010 จึงอาจเกิดขึ้นกับสหรัฐในปี 2013 ก็ได้

2. สหภาพยุโรป

แก่นสารของปัญหาของยุโรปคือ การเมืองในประเทศ (โดยเฉพาะประเทศเยอรมนี) จะยอมให้นำภาษีประชาชนในประเทศของตนไปกอบกู้เศรษฐกิจของประเทศยุโรปอื่นที่มีปัญหา เพียงพอที่จะรักษาความเป็นปึกแผ่นของยุโรปและโดยเฉพาะอย่างยิ่งการพิทักษ์รักษาเงินยูโรหรือไม่ เท่าที่เห็นในปัจจุบันก็ต้องบอกว่าตลาดยังขาดความมั่นใจอย่างมาก เพราะการตั้งกลไกเพื่อกอบกู้ประเทศที่มีปัญหาเพื่อพิทักษ์รักษาเงินยูโรนั้นทำอย่างครึ่งๆ กลางๆ และผู้นำหลักของยุโรปยังขัดแย้งกันอย่างเห็นได้ชัด เช่น เห็นชอบการจัดตั้งกลไกถาวรเพื่อจัดการกับวิกฤติในอนาคตที่จะต้องมาถึงแน่ๆ เพราะการยืดหนี้กรีกและไอร์แลนด์ถึงปี 2013 นั้นเป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า แต่กลไกถาวร (เรียกว่า European Stability Mechanism) นั้นมีแต่หลักการยังไม่มีรายละเอียด นอกจากนั้นข้อเสนอเพื่อแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าเช่นการเพิ่มเงินในกองทุนฉุกเฉิน การให้ใช้เงินฉุกเฉินอย่างยืดหยุ่นและทันท่วงที และการให้ออกพันธบัตรสหภาพยุโรปมาทดแทนพันธบัตรรายประเทศ ก็ถูกคัดค้านจนต้องพับแผนไปก่อนหน้า ทำให้นักวิเคราะห์มองว่าในช่วง 1-2 ปีข้างหน้าประเทศที่ได้รับการยืดหนี้ก็อาจมีปัญหาต้องพักชำระหนี้ไปก่อนที่ ESM จะออกมา ในขณะที่ปัญหาอาจจะลามไปสู่ประเทศโปรตุเกสและสเปน ทำให้เงินยูโรอาจอ่อนค่าลงอีกเมื่อเปรียบเทียบกับเงินดอลลาร์

3. ญี่ปุ่น

ญี่ปุ่นเปลี่ยนรัฐบาลบ่อยและความนิยมของรัฐบาลปัจจุบันก็เสื่อมถอยลงเรื่อยๆ ทำให้การขับเคลื่อนนโยบายเศรษฐกิจเพื่อแก้ปัญหาเงินฝืดทำได้ด้วยความยากลำบาก การเสนอให้ลดภาษีนิติบุคคลเป็นเรื่องที่น่าจะเป็นประโยชน์ แต่การเพิ่มหนี้สาธารณะจากการขาดดุลที่เพิ่มขึ้นทำให้ภาพรวมของเศรษฐกิจญี่ปุ่นไม่แจ่มใสเลย เพราะหนี้สาธารณะสูงถึง 200% ของจีดีพีแล้ว ในขณะที่ประชาชนก็แก่ตัวลงอย่างรวดเร็ว (เพราะญี่ปุ่นไม่ยอมให้ชาวต่างชาติที่มีอายุน้อยพร้อมทำงานและเสียภาษีเข้ามาตั้งรกรากในประเทศ เช่น สหรัฐที่เปิดรับแรงงานต่างชาติมาขับเคลื่อนเศรษฐกิจ) ทำให้เศรษฐกิจญี่ปุ่นนับวันจะมีบทบาทลดลง เว้นแต่บริษัทข้ามชาติของญี่ปุ่นที่จะต้องลงทุนนอกประเทศเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพราะปัจจัยพื้นฐานภายในประเทศไม่เอื้ออำนวย ดังนั้นสภาวะที่ เศรษฐกิจญี่ปุ่นขยายตัวเพียง 1-2% และภาวะเงินฝืดจึงอาจเป็นปัญหาเรื้อรังต่อไป

4. จีน

ประเทศจีนเผชิญปัญหาว่า จีดีพีขยายตัวดีน่าพอใจ (8-9% ต่อปี) แต่ยังคุมปัญหาเงินเฟ้อไม่ได้ ซึ่งคาดการณ์ว่าเงินเฟ้อน่าจะคุมอยู่ภายในกลางปีหน้า ทำให้เงินเฟ้อในเดือน พ.ย. ที่ 5% นั้นใกล้ถึงจุดสูงสุดแล้วและจะค่อยๆ ลดลงในครึ่งหลังของปีหน้า ทำให้เงินเฟ้อทั้งปี 2011 อยู่ที่ประมาณ 4.5% แต่หากไม่เป็นเช่นนั้น (และเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นจนคุมไม่อยู่) ก็คงเกิดจากการขยายตัวมากเกินไปของสินเชื่อ ทำให้ทางการต้องออกมาตรการที่เข้มข้นขึ้นไปอีกเพื่อจำกัดการขยายตัวของสินเชื่อ รวมทั้งการควบคุมราคาสินค้าจำเป็น ซึ่งจะกระทบต่อบรรยากาศการลงทุนอย่างมาก จึงเห็นภาพที่เศรษฐกิจจีนขยายตัวสูงที่สุดในโลกแต่ราคาหุ้นไม่สามารถปรับตัวขึ้นได้เลย

ในระยะสั้นนั้นรัฐบาลจีนให้ความสำคัญสูงสุดกับการควบคุมค่าครองชีพและราคาอสังหาริมทรัพย์เพื่อมิให้ประชาชนเดือดร้อน แต่ในระยะกลางและระยะยาว จีนเร่งการลงทุน สร้างโรงงาน พัฒนาเทคโนโลยี และแสวงหาทรัพยากร เพื่อเตรียมพร้อมกับสภาวะที่ประเทศจีนจะขาดแคลนแรงงานใน 10-20 ปีข้างหน้า กล่าวคือประชาชนจีนจะต้องมีผลิตภาพ (productivity) ต่อหัวสูงจากการลงทุนสร้างโรงงาน (ให้มีงานทำ) การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน การลงทุนในเทคโนโลยี การลงทุนในการศึกษา ฯลฯ เพื่อส่งต่อความมั่งคั่งจากปัจจุบันไปสู่ลูกหลานที่มีจำนวนลดลงในอนาคต

5. ประเทศไทย

การเข้าสู่การเลือกตั้งทำให้ต้องมุ่งเน้นการรักษาอำนาจทางการเมืองโดยการนำเสนอนโยบายเศรษฐกิจประชานิยม (จะเรียกอย่างอื่นก็ยังเป็นประชานิยมอยู่ดี) คือการกระจายผลประโยชน์เฉพาะหน้าให้กับคนส่วนใหญ่ที่เป็นผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง การตรึงราคาน้ำมันดีเซลนั้นเคยมีประสบการณ์ในอดีตมาแล้วว่าทำให้ภาครัฐใช้เงินหลายหมื่นล้านบาทหากราคาตลาดโลกสูงขึ้นอย่าต่อเนื่องก็จะทานเอาไว้ไม่อยู่เพียงแต่ช่วยให้ประชาชนใช้น้ำมันราคาถูกเกินจริงไปพักหนึ่ง แทนที่จะนำเงินดังกล่าวไปลงทุนให้เกิดผลประโยชน์ระยะยาว กล่าวคือมาตรการต่างๆ ที่ถูกนำเสนอ (ทั้งรัฐบาลและฝ่ายค้าน) จะทำให้เกิดความพอใจในชั่วขณะแต่จะไม่ทำให้เศรษฐกิจไทยในอนาคตขยายตัวเร็วขึ้นหรือมีความมั่นคงขึ้น ทำให้เงินที่ใช้จ่ายออกไปจะเป็นภาระในอนาคต เนื่องจากปัจจุบันรัฐบาลขาดดุลงบประมาณเท่ากับ 3-4% ของจีดีพีและพบว่าจะไม่สามารถลดการขาดดุลดังกล่าวได้หากไม่ปรับขึ้นภาษี (จึงมีการนำเสนอขอขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นระยะๆ)

นโยบายประชานิยมนั้นหากรัฐบาลใดจะนำเสนอเพิ่มควรทำเมื่องบประมาณเกินดุลได้เสียก่อนจึงจะถือได้ว่ามีเงินส่วนเกินมาใช้จ่าย สำหรับสิ่งที่ควรทำ (แม้จะเป็นเรื่องยาก) เพื่อผลประโยชน์ของส่วนรวมจริงๆ มีอยู่มาก เช่น 1. ก่อสร้างนิคมอุตสาหกรรมใหม่มาทดแทนมาบตาพุด ซึ่งขยายตัวเต็มที่แล้วแต่ความต้องการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศยังมีอยู่ 2. ผลิตแรงงานที่ตรงต่อความต้องการของตลาดไม่ใช่ตั้งเป้าว่าต้องมีหนึ่งมหาวิทยาลัยต่อหนึ่งจังหวัด 3. สร้างระบบรางเพื่อขนส่งสินค้าอันจะลดต้นทุนการขนส่งและการพึ่งพาพลังงานนำเข้า 4. ปฏิรูปภาคเกษตรกรรมโดยตั้งเป้าที่จะเพิ่มผลผลิตต่อไร่ ไม่ใช่พยุงราคาสินค้าเกษตร 5. (ซึ่งรัฐบาลมีดำริอยู่แล้ว) คือการแก้กฎหมายร่วมลงทุนภาครัฐและเอกชน เพราะกฎหมายปัจจุบันสร้างปัญหาอย่างมาก เนื่องจากถูกนำไปตีความในทิศทางที่สร้างความเสียหายอย่างยิ่งต่อการลงทุน มิได้ชักจูงการร่วมลงทุนแต่อย่างใดครับ

วิจารณ์บทความ

       หัวข้อของบทความจั่วหัวว่า เป็นการนำเสนอทางเลือกใหม่ในการมองอนาคตโดยพูดถึงปัจจัยพื้นฐานและแก่นสารของความท้าทายทางเศรษฐกิจ แต่การเขียนเน้นไปในการมองประเทศต่างๆ ในเชิงลบมากกว่าที่จะกล่าวถึงทางเลือก เมื่ออ่านตามบทความก็ทำให้รู้สึกว่าเป็นทางตัน มีแต่ปัญหา โดยไม่มีทางออกหรือข้อเสนอแนะให้เลย เช่น

มุมมองของนักลงทุนในสหรัฐอเมริกาที่เขียนว่า: หากนักลงทุนมองว่ารัฐบาลสหรัฐจะต้องขาดดุลงบประมาณที่ 7-8% ต่อจีดีพีในอนาคตก็จะเกิดความระส่ำระสายอย่างมาก เพราะการขาดดุลในระดับสูง (หลังจากที่หนี้สาธารณะสูงเกิน 100% ของจีดีพีแล้ว) จะทำให้เกิดภาวะหนี้สินล้นพ้นตัว อย่างรวดเร็ว ทำให้สถานการณ์ที่เกิดขึ้นกับกรีกในปี 2010 จึงอาจเกิดขึ้นกับสหรัฐในปี 2013 ก็ได้

สหภาพยุโรป : นักวิเคราะห์มองว่าในช่วง 1-2 ปีข้างหน้าประเทศที่ได้รับการยืดหนี้ก็อาจมีปัญหาต้องพักชำระหนี้ไปก่อนที่ ESM จะออกมา ในขณะที่ปัญหาอาจจะลามไปสู่ประเทศโปรตุเกสและสเปน ทำให้เงินยูโรอาจอ่อนค่าลงอีกเมื่อเปรียบเทียบกับเงินดอลลาร์

ญี่ปุ่น : ปัจจัยพื้นฐานภายในประเทศไม่เอื้ออำนวย ดังนั้นสภาวะที่ เศรษฐกิจญี่ปุ่นขยายตัวเพียง 1-2% และภาวะเงินฝืดจึงอาจเป็นปัญหาเรื้อรังต่อไป

จีน : ยังคุมปัญหาเงินเฟ้อไม่ได้

ประเทศไทย : กฎหมายปัจจุบันสร้างปัญหาอย่างมาก เนื่องจากถูกนำไปตีความในทิศทางที่สร้างความเสียหายอย่างยิ่งต่อการลงทุน มิได้ชักจูงการร่วมลงทุนแต่อย่างใดครับ

ควรจะมีแนวทางและข้อเสนอแนะอย่างที่เขียนไว้เพื่อที่ผู้ที่สนใจและคอยติดตามอ่านจะได้นำมาคิดตามได้บ้างเพื่อที่จะได้นำไปหาทางออกเหมือนดูตัวอย่างหนังที่โฆษณาโปรโมทให้คนหันมาสนใจแล้วเข้าไปนั่งดูปรากฎว่าไม่เป็นไปตามที่พูด

ขอยกตัวอย่างในเรื่องทางออกของเศรษฐกิจของไทยสักเรื่องคือ การจับมือกันระหว่าง 3 ประเทศคือ ไทย จีน และญี่ปุ่น ซึ่งแต่ละประเทศมีจุดเด่นที่เสริมกันได้เป็นอย่างดี โดยมีไทยเป็นฐานการผลิตเนื่องด้วยชัยภูมิที่ตั้งปลอดจากการคุกคามจากภัยธรรมชาติ ประเทศญี่ปุ่นมีความสามารถในการผลิตและมีเทคโนโลยี ประชาชนมีวินัย มีความมุ่งมั่น ประเทศจีนมีความขยัน อดทน ประชาชนมีความทะเยอทะยานสูง คนรุ่นใหม่กำลังศึกษาและเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ซึ่งแต่เดิมรัฐบาลไม่เปิดโอกาส หาก 3 ประเทศนี้รวมกันได้ ก็จะสามารถสร้างความเป็นมหาอำนาจทางธุรกิจ ซึ่งสหรัฐอเมริกา และยุโรป หรือประเทศในตะวันออกกลาง ก็ไม่สามารถที่จะสู่ทัดเทียมได้

Tukta

การบ้านเรื่อง หลักเศรษฐศาสตร์จุลภาคเบื้องต้น   ประจำวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2554

1. เศรษฐศาสตร์ระดับ Macro คือ ภาพใหญ่ระดับประเทศ และระดับ Micro คือ ตัวเราและบริษัท หากจะวิเคราะห์จากหลักเศรษฐศาสตร์

- ในแง่ของผู้บริโภค,ระยะยาว Cost กับ Benefit จะสามารถ Balance กันอย่างไร? 

- ในระดับ Micro ตัวละคร (Stakeholders) ผู้ให้และผู้รับ ควรเป็นใคร?  

- เครื่องมือในการสื่อสารต่างๆ เพื่อให้สังคมใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าควรเป็นอย่างไร? 

- Positive Economy กลไกการทำงานของตลาด(ปริมาณและความต้องการ) ที่ไม่มีการบิดเบือนหรือแทรกแซง, Stakeholders หรือ ตัวละครคือใคร?

= ในด้านหนึ่งของเศรษฐศาสตร์สวัสดิการเป็นการศึกษาตามสภาพที่เป็นจริง (positive welfare economics) โดยพยายามอธิบายว่านโยบาย กฎหมาย ระบบกำกับดูแล ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างไร ขณะที่อีกด้านหนึ่งเป็นการศึกษาตามสภาพที่ควรจะเป็น (normative welfare economics) โดยพยายามประเมินคุณค่าของนโยบายเหล่านั้นว่าเป็นนโยบายที่ควรส่งเสริมหรือคัดค้าน โดยพิจารณาจากเกณฑ์ด้านประสิทธิภาพและสวัสดิการ ทั้งนี้ข้อเสนอเชิงนโยบายคือควรส่งเสริมนโยบายที่มุ่งเสริมสร้างประสิทธิภาพ เพราะจะช่วยยกระดับสวัสดิการในสังคม

          "สวัสดิการ" ในทางเศรษฐศาสตร์คือผลประโยชน์สุทธิที่แต่ละคนได้รับจากปฏิสัมพันธ์ในตลาดนั่นเอง ไม่ว่าจะในฐานะผู้บริโภคหรือผู้ผลิต สำหรับผู้บริโภคสวัสดิการวัดจากความสุขหรืออรรถประโยชน์ (utility) ที่ได้รับจากการบริโภคสินค้าและบริการ สำหรับผู้ผลิตสวัสดิการวัดจากกำไร (profit) ที่ได้รับจากการขายสินค้าและบริการ ส่วนสวัสดิการของสังคม (social welfare) คือผลประโยชน์สุทธิที่สังคมส่วนรวมได้รับ ซึ่งมีที่มาจากการนำผลประโยชน์ของสมาชิกในสังคมทุกคน (ทั้งในฐานะผู้บริโภคและผู้ผลิต) มาบวกรวมกัน หักลบด้วยต้นทุนทั้งหมดที่สังคมเผชิญ

          ทั้งนี้กลไกราคาในระบบตลาดแข่งขันสมบูรณ์เป็นเครื่องมือในการจัดสรรทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด และนำพาสังคมไปสู่ระดับสวัสดิการสูงสุด

          ภายใต้กรอบแนวคิดดังกล่าว สวัสดิการของสังคมจะอยู่ในระดับที่สูงที่สุดภายใต้ระบบตลาดแข่งขันสมบูรณ์ ซึ่งปัจเจกบุคคลที่มีเหตุมีผลทางเศรษฐกิจตัดสินใจในทางที่ทำให้ตนได้รับประโยชน์สูงสุดภายใต้ข้อจำกัดที่เผชิญ โดยภาครัฐไม่ควรมีบทบาทเข้ามาแทรกแซงระบบเศรษฐกิจ เช่น การแทรกแซงกลไกราคาผ่านการกำหนดราคาขั้นสูงหรือราคาขั้นต่ำเพื่อบังคับการแลกเปลี่ยนในตลาด เพราะจะทำให้ระดับสวัสดิการของสังคมส่วนรวมลดลงเมื่อเทียบกับสภาพตลาดแข่งขันสมบูรณ์

          ในสายตาของนักเศรษฐศาสตร์ ระบบกฎหมายจึงควรส่งเสริมประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจแก่สังคม กฎกติกาต่าง ๆ ควรส่งเสริมการแข่งขันและแลกเปลี่ยนภายใต้ระบบตลาด เช่น กฎหมายต่อต้านการผูกขาด (antitrust law) กฎหมายสัญญา (contract law) ฯลฯ และแก้ไข จัดการ หรือกำกับปัญหาความล้มเหลวของระบบตลาด (market failure) เช่น ปัญหาผลกระทบภายนอก (externalities) ข้อมูลข่าวสารไม่สมบูรณ์ (imperfect information) ต้นทุนธุรกรรมสูงเกินไป (high transaction cost) ทั้งนี้ เพื่อทำให้ผลลัพธ์บั้นปลายของปฏิสัมพันธ์ในตลาดที่ล้มเหลวมีลักษณะเสมือนหรือใกล้เคียงผลลัพธ์ในกรณีตลาดแข่งขันสมบูรณ์

2. ในการดำเนินนโยบายต่างๆของรัฐบาล ถ้าเราตั้งหลักเกณฑ์ Cost - Benefit จะช่วยให้ประเทศอยู่รอดได้อย่างไร? การทำงาน (Function) ของตลาดควรเป็นอย่างไร? ใครควรเป็นผู้อธิบายว่าการจัดสรรทรัพยากรต้องทำอย่างไร? ในระยะยาว..นักการเมืองต้องทำอย่างไร? และ เราต้อง Communicate อย่างไร?

= Cost Benefit Analysis เป็นเทคนิคสำหรับการค้นหาต้นทุนและผลประโยชน์ทางสังคมที่คิดค่าออกมาเป็นตัวเงิน (Monetary social cost and benefit) ของโครงการลงทุนในช่วงเวลาในเวลาหนึ่งที่กำหนดให้ 

          หลักการของ Cost Benefit Analysis มีหลักเกณฑ์สำคัญ คือ 

  1. ใช้เป็นเครื่องมือในการประเมินโครงการในมุมมองทางเศรษฐศาสตร์หรือการประเมินในทางสังคมหรือเชิงสวัสดิการ  ซึ่งเป็นเทคนิคที่ยอมรับนำไปใช้กันในโครงการทางธุรกิจและโครงการใช้จ่ายภาครัฐ
  2. ใช้เป็นเครื่องมือในการนำเอาผลกระทบของโครงการต่อภายนอก (Externality) มาสู่การพิจารณาในการดำเนินโครงการ ได้แก่ ผลกระทบต่อประชาชนหรือสภาพแวดล้อมภายนอกโครงการ ควบคู่กับต้นทุนและผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่เกิดกับผู้ริเริ่มโครงการและนำทั้ง 2 ส่วนไปใช้ประกอบในการตัดสินใจเลือกดำเนินโครงการหรือไม่  ในแง่นี้และนำ 2 ส่วนไปใช้ประกอบในการตัดสินใจเลือกดำเนินโครงการหรือไม่  ในแง่นี้ Cost Benefit Analysis คือ การประมาณการผลกระทบต่อสวัสดิการทางสังคมของการลงทุนในรูปของโครงการ
  3. การนำเอาเรื่องของกรอบเวลามาพิจารณาในแง่มูลค่าทางเศรษฐกิจที่คิดลดตามระยะเวลาที่ได้รับประโยชน์ล่าช้าออกไปหรือนานมากขึ้นในอนาคต  หรือคิดลดต้นทุนลงไปตามระยะเวลาในอนาคต

          ในการนำเอาหลักการ Cost Benefit Analysis มาใช้ประโยชน์นั้น ตั้งแต่ช่วงแรกเริ่มของการพัฒนาแนวคิดนี้เป็นการประเมินโครงการลงทุนของภาคสาธารณะขนาดใหญ่ที่เป็นเมก้าโปรเจคอย่างเช่น โครงการลงทุนในการสร้างมอเตอร์เวย์ ทางต่างระดับ เขื่อน อุโมงค์ สะพาน การสร้างกำแพงกั้นน้ำท่วม หรือโรงงานผลิตพลังงานแห่งใหม่  ซึ่งเป็นมุมมองของการประเมินด้านต้นทุนและผลประโยชน์ทางสังคม 

          หลักการเบื้องต้นของ Cost Benefit Analysis ก็สามารถประยุกต์ใช้ในโครงการหรือโปรแกรมในลักษณะอื่นๆ ด้วย เช่น สุขภาพถ้วนหน้า หรือระบบรักษาความปลอดภัยของรถใหม่ โครงการด้านสุขภาพแวดล้อมที่ต้องการประเมินผลตอบแทนของการลงทุน 

          เหตุผลสำคัญที่มีการนำเอา Cost Benefit Analysis มาใช้อีกประการหนึ่งก็คงจะอยู่ที่ข้อจำกัดของวงเงินงบประมาณที่สามารถนำไปใช้ในการดำเนินโครงการ เพื่อใช้ผลการประเมินในกาจัดลำดับความสำคัญของโครงการที่ควรจะจัดสรรเงินงบประมาณให้ตามสัดส่วนก่อนหลัง

          การบริหารจัดการภาครัฐจะต้องทำการจัดลำดับความสำคัญของโครงการลงทุน ที่มีให้เลือกหลากหลายวิธิการ กระบวนการ ในขณะที่มีงบประมาณที่จะจัดสรรให้จำนวนจำกัด และต้องมีระดับความมั่นใจว่าโครงการลงทุนจะมีความคุ้มค่าตลบอดวัฏจักรของโครงการ  โดยการประเมินมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์และทางสังคมของทางเลือกในแต่ละโครงการให้ชัดเจน
ตัวชี้วัดในการประเมินความคุ้มค่า ประกอบด้วย

ก) ตัวชี้วัดหลัก : ทุกหน่วยงานแม้ภารกิจจะมีลักษณะแตกต่างกันแต่สามารถใช้ตัวชี้วัดในแต่ละมิติเช่นเดียวกันได้

 ข) ตัวชี้วัดเสริม : ในกรณีที่ภารกิจของหน่วยงานไม่สามารถประเมินผลประโยชน์เป็นตัวเลขได้  หรือภารกิจที่จัดทำเป็นโครงการหน่วยงานจะต้องใช้ตัวชี้วัดเพิ่มเติม

          ดังนั้น ในกระบวนการตัดสินใจอย่างมีเหตุมีผล การใช้เครื่องมือ Cost-Benefit Analysis จะช่วยได้ ด้วยการพิจารณา

  • การเรียงลำดับรายการ benefit และ cost ที่เกี่ยวข้องมากที่สุดตามลำดับ โดยเริ่มจาก benefit ก่อนเพื่อให้เห็นคุณค่าของโครงการ ขณะที่ต้นทุนเป็นสิ่งที่ผู้รับผิดชอบสามารถหาแนวทางการบริหารจัดการได้
  • ประเมินมูลค่าออกมาเป็นตัวเงินอย่างถูกต้องและใกล้เคียง  โดยมีเกณฑ์ที่สมเหตุสมผลทั้ง benefit และ cost
  • ประเด็นผลสุทธิเปรียบเทียบระหว่าง benefit และ cost โดย net benefit  จะต้องเป็นบวก
 

 

การประเมินมูลค่าที่คาดว่าจะเป็น (Expected value) ของงานโครงการ อาจจะนำมาใช้เป็นเครื่องมือได้ในกรณีที่ผู้รับผิดชอบโครงการอาจจะประสบกับปัญหาความไม่แน่นอน ไม่ชัดเจน ในการกำหนดมูลค่า หรือการตีค่าอย่างชัดเจน โดยการดูมูลค่าของความน่าจะเป็น (Probability)

3. ยกตัวอย่างการแทรกแซงของตลาด เช่น การกำหนดราคาลำไย ถ้ามีการแทรกแซงตลาด ผลเสียระยะยาวจะเป็นอย่างไร จะแก้ไขอย่างไร? (โดยการใช้สื่อมวลชน)

= การตลาดสินค้าเกษตรในประเทศไทยจะดำเนินการโดยธุรกิจเอกชน รัฐบาลมีบทบาทน้อยมาก จะมีก็แต่เฉพาะให้บริการด้านปัจจัยพื้นฐาน เช่น ให้บริการข่าวสารการตลาดและราคาสร้างถนนหนทางและท่าเรือ และอื่นๆ แต่ก็มีเหมือนกันที่รัฐบาลออกแทรกแซงการตลาด คือแทนที่จะปล่อยให้ตลาดดำเนินการไปเอง รัฐบาลจะออกไปรับซื้อ ซึ่งมีไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับความเดือดร้อนของเกษตรกร บางปีอาจจะให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรออกรับจำนำข้าวเปลือก ปริมาณที่ออกรับซื้อมีน้อยไม่ถึงกับทำให้ระบบการตลาดเปลี่ยนแปลงไป แต่ก็มีส่วนให้ระบบการตลาดในปีนั้นเปลี่ยนไปจากที่ควรจะเป็น

          สินค้าเกษตรแต่ละชนิดปกติจะดำเนินการไปโดยกลไกการตลาด แต่ก็มีสินค้าหลายชนิดไม่ได้ดำเนินการไปเอง แต่ถูกแทรกแซงโดยรัฐบาลอาจจะกำหนดกฎเกณฑ์การซื้อขาย หรือรัฐบาลต้องจัดระเบียบการตลาด สิ่งต่างๆ เหล่านี้ทำให้ระบบตลาดเปลี่ยนไปจากที่ควรจะเป็น เช่น การที่รัฐบาลไทยมีข้อตกลงกับตลาดประชาคมยุโรป (ซึ่งเป็นตลาดรับซื้อสินค้ามันเส้นจากประเทศไทยเกือบทั้งหมด) ตั้งแต่ พ.ศ. 2525 เป็นต้นมาให้ประเทศไทยส่งมันสำปะหลังไปจำหน่ายได้ไม่เกินปีละประมาณ 5.25 ล้านตัน ทำให้รัฐบาลต้องจัดสรรว่าจากจำนวนดังกล่าว ผู้ส่งออกรายใดจะส่งออกได้มากน้อยแค่ไหน  ประกอบกับไม่มีการใช้มันเส้นเป็นอาหารสัตว์ในประเทศ ทำให้ระบบตลาดมันสำปะหลังมีลักษณะพิเศษ เมื่อเกษตรกรขายเป็นหัวมัน  โรงงานมันเส้นก็จะแปรรูปหัวมันเป็นมันเส้น  แล้วโรงงานมันอัดเม็ดจะผลิตมันอัดเม็ดเกือบตลอดปี ขณะที่เกษตรกรจะขุดหัวมันขายเป็นช่วงๆ เหมือนสินค้าเกษตรอื่นๆ อีกตัวอย่างหนึ่งคือ กรณีตลาดน้ำตาลทราย ซึ่งจัดระบบตลาดแบบแบ่งผลประโยชน์ระหว่างชาวไร่และแรงงานในสัดส่วน70 :30 ระบบตลาดภายในและตลาดส่งออกจึงถูกกำหนดว่าจะขายตลาดภายในประเทศจำนวนเท่าใด ราคากิโลกรัมละเท่าใด และการส่งออกจะแบ่งกันอย่างไรระหว่างกลุ่มโรงงานต่างๆ ดังนั้นระบบตลาดน้ำตาลจึงต่างกับสินค้าอื่นๆ
          ตัวอย่างระบบตลาดข้าวเปลือก  เมื่อเกษตรกรเกี่ยวข้าวและนวดเสร็จแล้ว ก็จะขายให้กับพ่อค้าในพื้นที่ แล้วนำไปขายให้กับโรงสี โรงสีนำไปตากแล้วเก็บ เมื่อได้ปริมาณพอและตลาดมีความต้องการก็จะสีเป็นข้าวสาร แล้วขายต่อให้กับพ่อค้าขายส่งหรือนายหน้าที่ซื้อข้าวสารสำหรับผู้ส่งออก ผู้ขายส่งภายในก็ส่งต่อให้กับพ่อค้าปลีกแล้วจำหน่ายให้กับผู้บริโภค
          เมื่อเปรียบเทียบกับน้ำนมสดจะต่างกันเพราะเมื่อเกษตรกรรีดนม ซึ่งปกติรีดวันละ 2 เวลา คือตอนเช้าและตอนเย็น เมื่อรีดเสร็จก็นำน้ำนมส่งให้กับสหกรณ์หรือศูนย์รวมนมในพื้นที่ทันทีซึ่งศูนย์รวมนี้จะมีอุปกรณ์ห้องเย็นเก็บรักษาน้ำนมที่อุณหภูมิต่ำ เมื่อได้มากพอแล้วจึงส่งให้โรงงานแปรรูป เพื่อแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์นมพร้อมดื่มต่อไป ผู้ที่ทำหน้าที่ในการตลาดน้ำนมสดจึงมีน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับข้าวเปลือก ต้องขนส่งน้ำนมทันทีเพราะจะเน่าเสีย ขณะที่ข้าวเปลือกเก็บรักษาไว้ได้เป็นปี

4. ประชาวิวัฒน์ กับ Micro Economic มีความเชื่อมโยงและขัดแย้งกันอย่างไร? ประชาวิวัฒน์มีประโยชน์ในระยะสั้นอย่างไร? หากในระยะยาวเกิด habit ที่ไม่ดี คือ ประชาชนนั่งงอมืองอเท้าขอเงินจากรัฐบาลจะแก้ไขอย่างไร? (ยืมเงินอนาคต, บิดเบือนคุณภาพทรัพยากร)

= ประชาวิวัฒน์ คือ กระบวนการตอบโจทย์ความต้องการของประชาชน ที่ผ่านการกลั่นกรองโดยระบบราชการ เพื่อยืนยันว่า เป็นนโยบายที่ "ยั่งยืน" และ "สมเหตุสมผล" ต่างกับ 'ประชานิยม' ที่เป็นนโยบายที่กำหนดโดยนักการเมืองเพื่อเอาใจประชาชน มุ่งเน้นไปที่จุดประสงค์ในการหาเสียง โดยไม่ผ่านขั้นตอนในการที่จะทดสอบความยั่งยืน 

รัฐบาลได้สำรวจปัญหาของประชาชนผ่านหลากหลายช่องทาง และได้สรุปในกระบวนการ 'ปฏิรูปประเทศไทย' ว่ามีอยู่ 5 หมวดเร่งด่วนที่ต้องรีบดำเนินการคือ

1. ปัญหาค่าครองชีพ

2. ปัญหาคุณภาพชีวิตของผู้ใช้แรงงานนอกระบบ

3. ปัญหาความปลอดภัยของชีวิตและทรัพย์สิน

4. ปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่น

5. ปัญหาเรื่องที่ดินทำมาหากิน

          "ประชาวิวัฒน์" จะนำมาใช้หาคำตอบที่จะนำไปสู่การแก้ปัญหาให้กับสังคมของเราได้อีกหลายเรื่อง โดยเฉพาะภาคเอกชนที่รอจะเข้าร่วมกระบวนการกับรัฐบาล และรอฟังการตอบโจทย์เรื่องแนวทางยุทธศาสตร์เศรษฐกิจของประเทศไทย 

5. ทฤษฎี Social Cost (ต้นทุนเงิน, ค่าเสียโอกาส) ศึกษาว่าถ้ามี Social Cost เพิ่มขึ้น เราจะช่วยแก้ปัญหาภาวะโลกร้อนได้อย่างไร? ต้องจัดสรรทรัพยากร คนเสียและคนได้ ให้เท่ากัน

= ต้นทุนสังคม (Social Cost) หมายถึง ต้นทุนทั้งหมดที่สังคมต้องรับไว้สำหรับดำเนินการผลิตสินค้าและบริการ หรือ ต้นทุนทางสังคม คือ ต้นทุนภายในรวมกับต้นทุนภายนอก และสำหรับต้นทุนภายนอก กรณีผลกระทบที่เกิดขึ้นเป็นบวก หรือให้ประโยชน์กับคนในสังคม จะทำให้ต้นทุนทางสังคมลดลง
ต้นทุนทางสังคมหมายถึงความสูญเสียที่คิดเป็นตัวเงินหรือค่าใช้จ่ายที่แสดง
ออกให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงสิ่งหนึ่งเข้ามาก็ย่อมมีสิ่งสูญเสีย
1.ความสูญเสียจากการเปลี่ยนอาชีพเกษตรกรรมเป็นแรงงานสถานที่ท่องเที่ยวหรือค้าขาย
2.ความสูญเสียภาพสวนมะพร้าวแนวยาวธรรมชาติกับการก่อสร้างโรงแรม,รีสอร์ทเข้ามาทดแทน
3.ความสูญเสียจากประชาชนเดินทางมามากขึ้นทำให้เกิดpollutionในทั้งการใช้น้ำขับของเสีย
ขยะที่ต้องกำจัด,เสียงที่อึกทึกอาจทำให้มีผลกระทบต่อสัตว์น้ำได้
4.ความสูญเสียความมีน้ำใจเป็นการแข่งขันแก่งแย่งหาประโยชน์
ล้วนแต่ทำให้สังคมเปลี่ยนพฤติกรรม,ค่านิยม,ทัศนคติและวัฒนธรรม

6. การยกหนี้ให้ชาวนา (น้ำฟรี, รถไฟฟรี) มีโทษแก่สังคมอย่างไร?

= การแก้ปัญหาหนี้ที่ได้ผลและยั่งยืนจึงใช้วิธีการแบบเหมารวมไม่ได้ ต้องแยกแยะให้ออกระหว่างหนี้แต่ละแบบซึ่งแตกต่างกันไปตามสถานการณ์เฉพาะตัวของลูกหนี้แต่ละคน หลักการสำคัญของการแก้ปัญหาหนี้อยู่ที่การหา “ทางสายกลาง” ให้พบ ระหว่างการยกหนี้ให้เฉยๆ ทั้งจำนวน (ซึ่งอาจก่อให้เกิดปัญหา “จริยวิบัติ” (moral hazard) คือลูกหนี้จงใจก่อหนี้เกินตัวในอนาคตเพราะเชื่อว่าเดี๋ยวรัฐบาลก็มายกหนี้ให้ บั่นทอนวินัยทางการเงินและทำให้สิ้นเปลืองเงินงบประมาณไปเปล่าๆ) กับการบังคับให้ลูกหนี้จ่ายหนี้ตรงตามเงื่อนไข (ซึ่งอาจทำให้ลูกหนี้ถึงขั้นสิ้นเนื้อประดาตัวหรือเครียดจนฆ่าตัวตาย ดังที่ปรากฏเป็นข่าวอยู่เนืองๆ)

          ทางสายกลางที่นิยมใช้ นั่นคือ การเจรจาประนอมหนี้และปรับโครงสร้างหนี้ในทางที่จะช่วยแบ่งเบาภาระของลูกหนี้ แต่ในขณะเดียวกันก็ไม่ก่อปัญหาจริยวิบัติ หรือบั่นทอนวินัยทางการเงินจนเกิดปัญหาจ่ายหนี้อีกในอนาคต จึงเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ ถึงที่สุดแล้ว ปัญหาหนี้ที่แท้จริง (ไม่มีเงินพอจ่าย) นั้นเป็นเพียงอาการของโรค ไม่ใช่รากสาเหตุของโรค การรักษาอาการนั้นช่วยบรรเทาความเดือดร้อนก็จริง แต่ก็บรรเทาได้เพียงแค่ชั่วคราวเท่านั้น ตราบใดที่ไม่แก้ปัญหาที่รากสาเหตุ ไม่ช้าก็เร็วคนจะกลับมามีปัญหาหนี้รอบใหม่

          การแก้ปัญหาหนี้อย่างยั่งยืนหนีไม่พ้นการแก้ปัญหาระดับโครงสร้างอย่างจริงจัง ไม่ว่าจะเป็นการหาทางเพิ่มรายได้ ทลายอำนาจผูกขาดของพ่อค้าคนกลางถ้ามีการผูกขาดจริง ปรับปรุงผลิตภาพต่อไร่ สร้างกลไกลดความเสี่ยงสำหรับเกษตรกร เช่น ส่งเสริมประกันพืชผลบนดัชนีภูมิอากาศ (weather index insurance) และยกหนี้ทั้งจำนวนในกรณีที่ชัดเจนว่าหนี้นั้นเกิดจากความผิดพลาดหรือคอร์รัปชั่นเชิงนโยบาย เพราะเป็นหนี้ที่ไม่เป็นธรรม

 

 

 

วิจารณ์บทความทางเศรษฐศาสตร์ เรื่อง บทเรียน iPod

กระทรวงการคลังจะปรับลดภาษีศุลกากรสินค้า 150 รายการ โดยเฉพาะวัตถุดิบนำเข้าเพื่อช่วยลดต้นทุนการผลิต และช่วยให้สามารถขายสินค้าได้ในราคาที่แข่งขันได้ ผู้ประกาศข่าวรายหนึ่งเสนอแนะว่า ควรจะเก็บภาษีสินค้า สำเร็จรูปสูงๆ และเก็บภาษีวัตถุดิบน้อยๆ จะได้ช่วยให้คนไทยแข่งขันได้ ซึ่งรัฐบาลไทย ก็มีแนวนโยบายเช่นนั้นอยู่แล้ว เพราะเก็บภาษีวัตถุดิบ 0-5% สินค้ากึ่งสำเร็จรูป 5-10% และสินค้าสำเร็จรูปถึง 20%

แนวคิดดังกล่าวไม่น่า จะเป็นประโยชน์กับประเทศไทยมากนักในระยะยาว เพราะจะมีผลให้เกิดการตั้งกำแพงภาษี ที่ค่อนข้างจะสูง เมื่อเปรียบเทียบกับมูลค่าเพิ่ม จากการนำเอาชิ้นส่วนต่างๆ มาประกอบ เช่นสมมติว่าสินค้าราคา 4 เหรียญ (140 บาท) และเราเก็บภาษีศุลกากร 20% เป็นราคา 168 บาท แต่ต้นทุนวัตถุดิบทั้งสิ้น 3.70 เหรียญ (130 บาท) แปลว่า ในต่างประเทศนั้น มูลค่าเพิ่มจากการประกอบจากวัตถุดิบขึ้นมาเป็นสินค้านั้น เพียง 10 บาท หรือ 7.7%

สมมติว่าเราเก็บภาษีวัตถุดิบ 5% ต้นทุนของ ผู้ประกอบในประเทศไทย คือ 137 บาท แต่ราคาสินค้าดังกล่าวในประเทศไทยราคา 170 ดังนั้น ผู้ประกอบสินค้าในประเทศไทยสามารถมีต้นทุนการประกอบได้สูงถึง 33 บาท เมื่อเทียบกับ ต่างประเทศที่มีต้นทุนเพียง 10 บาท แปลว่า ผู้ประกอบไทยได้รับการคุ้มครองสูงถึง 170% (33/10=330%) หากเป็นเช่นนี้ก็คงจะเน้นการประกอบมากกว่าการผลิตชิ้นส่วนที่แท้จริงให้มูลค่าเพิ่มมากกว่า แต่จะไม่อยากทำเช่นนั้น เพราะได้รับการคุ้มครองมาก สำหรับกิจกรรมที่แท้จริงแล้ว มีมูลค่าเพิ่มต่ำ

ในโลกของความเป็นจริงนั้น มูลค่าเพิ่มที่ "คุ้มค่า" ดูตัวอย่างได้จากสินค้าที่เรารู้จักกันดี คือ ipod ซึ่งบทวิเคราะห์ โดยมหาวิทยาลัย California ที่ Irvine พบว่า ต้นทุนการผลิตทั้งหมดนั้น เพียง 144 เหรียญ ในขณะที่ราคาขายนั้น บริษัทแอปเปิล ตั้งเอาไว้ที่ 299 เหรียญ สำหรับต้นทุนการผลิตนั้น เมื่อพิจารณาในรายละเอียดจะพบว่า มีชิ้นส่วนที่ผลิตในสหรัฐเพียง 8 เหรียญ แต่ส่วนต่างระหว่างราคาผลิตกับ ราคาขายที่สูงถึง 155 นั้น เป็นต้นทุนในการขนส่ง และการค้าปลีกถึง 75 เหรียญ ในส่วนของ แอปเปิลนั้น ได้กำไรไปทั้งสิ้น 80 เหรียญต่อเครื่อง (หรือ 26.8%) นักวิเคราะห์สรุปว่า แอปเปิลนั้นมิได้เป็นผู้ผลิต หรือผู้ประกอบ iPod แต่อย่างใด ส่วนกำไรหรือมูลค่าเพิ่มของ แอปเปิลนั้น มาจากมูลค่าการออกแบบและ คิดค้นของแอปเปิลเป็นหลัก ซึ่งมิได้เป็นงานหนัก มิได้ต้องใช้ทรัพยากรมากนัก และมิได้ก่อให้ เกิดภาวะมลพิษหรือผลกระทบข้างเคียงในสหรัฐแต่อย่างใด

ipod นั้น ใช้ชิ้นส่วนทั้งสิ้นถึง 451 ชิ้น โดยชิ้นที่สำคัญที่สุด คือ แผ่นเก็บข้อมูล หรือ hard drive ที่ผลิตโดยบริษัท Toshiba ของญี่ปุ่น ซึ่งคิดเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 73 เหรียญ แต่ Toshiba เองก็ใช้ชิ้นส่วนและว่าจ้างแรงงาน คิดเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 54 เหรียญ ส่วนที่เหลืออีก 19 เหรียญ คือ มูลค่าเพิ่มหรือกำไรของ Toshiba คือประมาณ 26% ของราคาขาย ทั้งนี้ Toshiba มิได้ผลิต hard drive ดังกล่าวที่ญี่ปุ่น แต่ตั้งโรงงานผลิตที่จีน

ชิ้นส่วนที่สำคัญอีกชิ้นหนึ่ง คือ จอแสดงภาพ ซึ่งมีมูลค่า 20.4 เหรียญ ผลิตโดย Toshiba -Mitsushita ที่ญี่ปุ่น ซึ่งบริษัทได้รับมูลค่าเพิ่มประมาณ 6.0 เหรียญ ซึ่งผมจะไม่ต้องเล่าถึง ที่มาที่ไปของทุกชิ้นส่วนของ ipod เพราะต้องการเพียงให้เข้าใจถึงวิธีคิดเกี่ยวกับการผลิตและการจำหน่ายสินค้า ทั้งนี้ สรุปได้ว่า ชิ้นส่วนของ ipod นั้น ผลิตที่จีน ญี่ปุ่น ไต้หวัน สิงคโปร์ สหรัฐและเกาหลีใต้ โดยบริษัทสหรัฐ ญี่ปุ่น เกาหลี และไต้หวัน แต่ประเทศที่ทำมูลค่าเพิ่มให้กับ ipod นั้น พอจะลำดับได้ ดังนี้ (ดูตารางประกอบ)

หากมองอีกด้านหนึ่งจะเห็นว่า ภาคชิ้นส่วนและค่าประกอบ ipod นั้น มูลค่ารวมทั้งสิ้น 144 เหรียญ และผู้ผลิต/ประกอบมีมูลค่าเพิ่มประมาณ 38 เหรียญ (ที่เหลือคือค่าแรงงาน, วัตถุดิบ ฯลฯ) แปลว่า ผู้ผลิต/ประกอบนั้น มีสัดส่วนกำไร 26.4% ของราคาชิ้นส่วนและ ค่าประกอบทั้งหมด แค่มูลค่าเพิ่มของแอปเปิลคือ 80 เหรียญแล้ว คิดเป็นสัดส่วนสูงถึง 56% ของต้นทุนผลิต ipod สำหรับค่าขนส่งและค้าปลีกอีก 75 เหรียญนั้นเป็นที่เข้าใจว่า แอปเปิลจะได้รับส่วนแบ่งตรงนี้อีก เพราะแอปเปิลก็มีร้านจำหน่ายของสินค้าของตนเองอีกครับ

ประเทศจีนที่เราพูดกันเสมอว่าได้เปรียบ ประเทศอื่นๆ เพราะต้นทุนแรงงานถูกที่สุดนั้น ปรากฏว่าเป็นเพียงผู้นำเข้าชิ้นส่วนต่างๆ มาประกอบและทดสอบเครื่องเป็นหลัก โดยในส่วนนี้นักวิเคราะห์คำนวณว่ามีมูลค่าเพิ่มของเจ้าของโรงงาน (หลังหักค่าแรงงานและต้นทุนอื่นๆ แล้ว) จะมีเหลืออยู่เพียง 0.11เหรียญต่อ ipod หนึ่งเครื่องที่ขายในสหรัฐที่ราคา 299 เหรียญ

จึงมาถึงข้อสรุปที่สำคัญอีกข้อหนึ่งของนักวิเคราะห์ คือ การที่ ipod ถูกนำไปประกอบ ในประเทศจีนนั้น ทำให้ตัวเลขกรมศุลกากร บันทึกว่าจีนส่งออก ipod ไปที่สหรัฐมูลค่าทั้งสิ้น 144 เหรียญ ดังนั้นยิ่ง ipod ขายดีมากๆ ก็จะยิ่งดูเหมือนว่า การส่งออกจากจีนไปสหรัฐ เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด แต่ในข้อเท็จจริงนั้น ตัวเลขการส่งออกไปสหรัฐที่เพิ่มขึ้น 144 เหรียญ มีชิ้นส่วนแรงงานและมูลค่าเพิ่มจากบริษัทจีน เพียง 4 เหรียญ จึงเป็นเรื่องเศร้าที่จีนกำลัง ถูกรัฐสภาสหรัฐตำหนิ และข่มขู่เนื่องจาก ถูกมองว่าเป็นประเทศคู่ค้าที่เอาเปรียบสหรัฐ และเกินดุลการค้ากับสหรัฐปีละหลายแสนเหรียญ ทั้งๆ ที่ในหลายกรณีนั้น ประเทศจีน และคนจีน คงจะได้รับส่วนแบ่งในเงินกำไรไม่มากนัก ซึ่งจะเห็นได้จากกรณี ipod ว่าได้มีการนำเข้าชิ้นส่วนต่างๆ มาจากญี่ปุ่น ไต้หวัน เกาหลี และสิงคโปร์ มาประกอบในประเทศจีน ทำให้ตัวเลขการ นำเข้าจากสหรัฐมีน้อย แต่ตัวเลขการส่งออกไปสหรัฐมีมาก

บทเรียนคือ จะต้องพิจารณาตัวเลขการส่งออกและนำเข้าให้ละเอียดถี่ถ้วน และจะต้อง ไม่กำหนดโครงสร้างภาษีศุลกากร เพื่อให้ความคุ้มครองที่สูงเกินไปสำหรับขั้นตอนการผลิต หรือการประกอบที่มีมูลค่าต่ำเพราะนอกจาก จะไม่เป็นประโยชน์กับประเทศโดยรวมแล้ว ก็อาจจะเกิดการบิดเบือนตัวเลขการส่งออก ที่ทำให้เกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน อีกด้วย

นางสาวฟ้าประธาน รัตนธาดา รหัส 5213305

การบ้าน วิจารณ์บทความ “ภาษาอังกฤษกับความสามารถในการแข่งขันของประเทศ” โดย ยุทธศักดิ์ คณาสวัสดิ์ แหล่งข้อมูลจาก www.boi.go.th/thai/services/economy_extra.asp

ภาษาอังกฤษนับว่าสำคัญมากสำหรับโลกในยุคปัจจุบัน เนื่องจากปัจจุบันมีประชาชนทั่วโลกพูดภาษาอังกฤษมากกว่า 500ล้านคน และภายใน 10 ปีข้างหน้า จะมีประชาชนที่พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่ 2 เป็นจำนวนมากถึง 2,000 ล้านคน ทำให้กลายเป็นภาษาที่มีคนพูดมากที่สุดในโลก มากกว่าภาษาจีนกลางที่พูดกัน 1,100 ล้านคน

จากความสำคัญของภาษาอังกฤษ ทำให้รัฐบาลประเทศต่างๆ มุ่งเน้นส่งเสริมให้ประชาชนของตนเองศึกษาภาษาอังกฤษให้แตกฉาน เพื่อเป็นพื้นฐานในการสน้างทรัพยากรบุคคลให้มีคุณภาพทัดเทียมกับนานาชาติ เป็นต้นว่า มาเลเซียได้กำหนดว่านับตั้งแต่เดือนมกราคม 2546 เป็นต้นไป การศึกษาในวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ จะต้องบรรยายเป็นภาษาอังกฤษ นอกจากนี้ ยังได้จัดสรรงบประมาณนับพันล้านบาท เพื่ออบรมภาษาอังกฤษแก่บัณฑิตในช่วงที่ตกงานและอยู่ระหว่างหางานทำ โดยมีบัณฑิตเข้ารับการฝึกอบรมหลายหมื่นคน

สำหรับสิงคโปร์นับว่าประสบผลสำเร็จอย่างมากในด้านภาษาอังกฤษเนื่องจากใช้เป็นภาษาราชการทำให้มีการใช้กันอย่างแพร่หลายในประเทศ โดยจากสถิติการสอบ TOEFL เมื่อปี 2547 พบว่าสิงคโปร์ได้คะแนนสูงสุดในทวีปเอเชีย โดยมีคะแนนเฉลี่ย 252 เหนือกว่าประเทศคู่แข่งสำคัญ คือ ฮ่องกง 216 เกาหลีใต้ 213 จีน 213 ไต้หวัน 203 อย่างไรก็ตาม รัฐบาลสิงคโปร์ได้พิจารณาเห็นว่าปัจจุบันประชาชนสิงคโปร์แม้จะเก่งในการอ่านและเขียนภาษาอังกฤษ แต่กลับพูดภาษาอังกฤษไม่ชัด โดยเป็นภาษาอังกฤษสำเนียงจีนพร้อมกับมีคำศัพท์ในภาษาจีนและมาเลย์เข้ามาผสมปนเปกับภาษาอังกฤษอีกด้วย จึงถูกเยาะเย้ยว่าพูดภาษา Singlish ซึ่งเป็นคำประสมระหว่าง Singapore และ English

เพื่อแก้ไขปัญหาข้างต้น สิงคโปร์จึงเริ่มดำเนินโครงการ Speak Good English Movement ขึ้นเมื่อปี 2543 เพื่อส่งเสริมให้ชาวสิงคโปร์พูดภาษาอังกฤษแบบมาตรฐาน เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขัน หากประชาชนสามารถพูดภาษาอังกฤษได้ในสำเนียงที่ถูกต้อง จะมีส่วนช่วยเกื้อหนุนอย่างมากในการติดต่อธุรกิจ สร้างความประทับใจแก่ชาวต่างประเทศที่มาใช้บริการต่างๆ ในสิงคโปร์ เช่น การรักษาพยาบาล การศึกษา ท่องเที่ยว ฯลฯ

กรณีของเกาหลีใต้ คณะทำงานของประธานาธิบดีคนใหม่ ได้ประกาศเมื่อเดือนมกราคม 2551 เกี่ยวกับแนวทางการปรับปรุงการศึกษาภาษาอังกฤษใหม่ โดยกำหนดมาตรการหลายประการ เป็นต้นว่า ครูสอนภาษาอังกฤษต้องสอบความรู้ภาษาอังกฤษเป็นระยะๆ โดยต้องสอบผ่านได้คะแนนสูงกว่าระดับหนึ่ง มิฉะนั้น จะไม่อนุญาตให้ทำการสอนภาษาอังกฤษ รวมถึงเพิ่มชั่วโมงภาษาอังกฤษ เป็นต้นว่า กรณีชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ 2 จะเพิ่มจาก 3 – 5 เป็น 6 – 10 ชั่วโมง / สัปดาห์

นอกจากนี้ ในระยะที่ผ่านมารัฐบาลเกาหลีใต้ได้มีแนวคิดที่จะกำหนดให้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการสำหรับใช้ในเขตปลอดอากรที่รัฐบาลจัดตั้งขึ้น โดยเอกสารราชการทุกชิ้นจะต้องมีทั้งภาษาเกาหลีและภาษาอังกฤษ ส่วนกระทรวงศึกษาธิการของเกาหลีใต้ได้ทดลองกำหนดให้โรงเรียนบางส่วนทำการสอนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ในชั้นประถมศึกษาโดยใช้ภาษาอังกฤษนับตั้งแต่ปี 2549

ขณะที่ญี่ปุ่นก็มีทักษะภาษาอังกฤษแย่มาก โดยเป็นรองไม่เพียงแค่ฮ่องกงและสิงคโปร์เท่านั้น เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา ได้ถูกเกาหลีเหนือและอัฟกานิสถานแซงหน้าอีกด้วย รัฐบาลญี่ปุ่นจึงได้ทำการศึกษาและจัดทำรายงาน “English Strategy Initiative” เมื่อปี 2545 เสนอแนะให้ผู้จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายต้องมีการสนทนาในภาษาอังกฤษเป็นประจำทุกวัน สำหรับผู้สำเร็จการศึกษามหาวิทยาลัย จะต้องสามารถใช้ภาษาอังกฤษในการทำงานและในการวิจัยได้

รายงานฉบับนี้ยังได้เสนอแนะว่าอาจารย์ภาษาอังกฤษที่สอนในระดับมัธยมศึกษาจะต้องสอบ TOEFL ได้คะแนนอย่างต่ำ 550 และสอบ Test of English for International Communication (TOEIC) ได้คะแนนอย่างต่ำ 730 อย่างไรก็ตาม นโยบายของรัฐบาลญี่ปุ่นไม่บรรลุตัวชี้วัดที่กำหนดเท่าใดนัก โดยจากการสำรวจโรงเรียนรัฐบาล 10,200 แห่ง และโรงเรียนเอกชน 3,800 แห่ง เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2548 พบว่ามีเพียง 8.3% ของอาจารย์สอนภาษาอังกฤษในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ที่มีคะแนน TOEIC อย่างต่ำ 730 ที่กำหนดเอาไว้ สำหรับอาจารย์ภาษาอังกฤษในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายก็ประสบปัญหาเช่นเดียวกัน มีไม่ถึง 16.3% ที่มีคะแนนอย่างต่ำ 730

ส่วนประเทศจีนให้ความสำคัญกับการเรียนภาษาอังกฤษมาก รัฐบาลจีนได้เร่งส่งเสริมการศึกษาภาษาอังกฤษเป็นการใหญ่ โดยมีเหตุผลสำคัญประการหนึ่ง คือ เพื่อเตรียมบุคลากรในการเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกปี 2551 สำหรับมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงมากของจีน คือ มหาวิทยาลัย Qinghua และ มหาวิทยาลัยปักกิ่ง ได้เริ่มใช้ตำราที่เขียนเป็นภาษาอังกฤษ และในอนาคตมีแผนที่จะบรรยายในชั้นเรียนโดยใช้ภาษาอังกฤษในวิชาต่างๆ เช่น การบริหารการเงิน ชีววิทยา เทคโนโลยีสารสนเทศ ฯลฯ

ขณะที่ฮ่องกงซึ่งเป็นอาณานิคมของอังกฤษยาวนานถึง 155 ปี (ตั้งแต่ปี 2385 – 2540) ทำให้ในช่วงที่ผ่านมาประชาชนมีทักษะในภาษาอังกฤษค่อนข้างดี แต่ภายหลังอังกฤษมอบฮ่องกงคืนแก่จีนเมื่อปี 2540 ปรากฎว่าทักษะภาษาอังกฤษของนักเรียนฮ่องกงมีแนวโน้มลดลงตามลำดับ โดยจากการสำรวจความเห็นของภาคธุรกิจของฮ่องกงเมื่อเดือนตุลาคม 2549 พบว่ามีสัดส่วน 60% ที่ไม่พอใจเกี่ยวกับมาตรฐานภาษาอังกฤษของบุคลากร

ยิ่งไปกว่านั้น รัฐบาลฮ่องกงได้ทดสอบความรู้ภาษาอังกฤษแก่บรรดาครูอาจารย์ที่สอนวิชาภาษาอังกฤษเมื่อปี 2547 พบว่าบรรดาครูอาจารย์มากกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนที่เข้าทดสอบทั้งหมด 3,307 คน มีระดับต่ำกว่ามาตรฐานที่กำหนด นับว่าต่ำมากเป็นประวัติการณ์นับตั้งแต่จัดการทดสอบความรู้ภาษาอังกฤษเป็นต้นมา

แม้มีจำนวนครูอาจารย์ภาษาอังกฤษเป็นจำนวนค่อนข้างสูง คือ 63% ที่สามารถสอบผ่านการทดสอบเกี่ยวกับการอ่านภาษาอังกฤษ แต่มีจำนวนเพียง 45% ผ่านการทดสอบการพูดภาษาอังกฤษ ยิ่งไปกว่านั้น มีครูอาจารย์เพียงแค่ 37% ผ่านการทดสอบการเขียนและการฟังภาษาอังกฤษ

ปัญหาข้างต้นทำให้รัฐบาลฮ่องกงกังวลมาก เนื่องจากกระทบต่อภาพลักษณ์การลงทุนของฮ่องกงที่ปัจจุบันกำลังแย่งชิงกับสิงคโปร์ในการเป็นศูนย์กลางทางการเงินของทวีปเอเชีย รวมถึงกระทบต่อการท่องเที่ยวอีกด้วย ดังนั้น รัฐบาลจึงได้ว่าจ้างครูจากประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษ เช่น อังกฤษ ออสเตรเลีย ฯลฯ จำนวนมาก เพื่อมาสอนนักเรียนในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา

กระทรวงศึกษาธิการของฮ่องกงยังได้กำหนดให้ครูอาจารย์ภาษาอังกฤษจำนวน 163 คน ที่สอบตกวิชาภาษาอังกฤษหลายครั้ง หยุดการสอนนับตั้งแต่ปีการศึกษา 2548 เป็นต้นไป โดยเท่าที่ผ่านมาครูอาจารย์ที่ถูกห้ามสอนนี้ บางส่วนได้ลาออกจากราชการ และอีกส่วนหนึ่งต้องไปอบรมเพิ่มเติมเพื่อเปลี่ยนไปสอนวิชาอื่นแทน

สำหรับฟิลิปปินส์นับเป็นประเทศที่ประชาชนมีทักษะภาษาอังกฤษเป็นอย่างดี โดยประชาชนสัดส่วนมากถึง 95% สามารถพูดหรือฟังภาษาอังกฤษอย่างเข่าใจ แต่ต้องเผชิญกับกระแสชาตินิยมภายหลังการโค่นล้มรัฐบาลของประธานาธิบดีมาร์กอส ส่งผลทำให้กระทรวงศึกษาธิการซึ่งเดิมใช้ภาษาอังกฤษในการเรียนการสอน ต้องเปลี่ยนมาสอนโดยใช้ 2 ภาษา คือ ภาษาอังกฤษและภาษาตากาล๊อก นับตั้งแต่ปี 2530 เป็นต้นมา ยิ่งไปกว่านั้น การเรียนการสอนในระยะหลังได้เปลี่ยนมาใช้ภาษาตากาล๊อกเป็นสัดส่วนมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้มีการสอนโดยใช้ภาษาอังกฤษลดลง

นโยบายข้างต้นได้ส่งผลกระทบอย่างมาก ทำให้ประชากรมีความสามารถด้านภาษาอังกฤษลดลงอย่างรวดเร็ว กระทบต่อจุดขายสำคัญของประเทศที่ภาษาอังกฤษนับเป็นปัจจัยสำคัญในการชักจูงการลงทุน โดยจากการศึกษาของหอการค้าฟิลิปปินส์เมื่อปี 2549 พบว่าในจำนวนผู้สำเร็จปริญญาตรีจำนวน 400,000 คน มีสัดส่วนเพียง 25% ของทั้งหมด ที่ภาษาอังกฤษอยู่ในขั้นใช้ได้ ขณะที่รัฐบาลได้ทำการสำรวจผู้สำเร็จการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย พบว่ามีสัดส่วนเพียง 7% ที่ภาษาอังกฤษอยู่ในขั้นใช้ได้

ปัญหาข้างต้นส่งผลกระทบอย่างมากต่อความพยายามของฟิลิปปินส์ที่จะเป็นศูนย์ธุรกิจ Shared Services and Outsourcing (SSO) ซึ่งเป็นบริการร่วมทั้งเพื่อให้บริการตนเองและรับจ้างให้บริการแก่บริษัทอื่น โดยเฉพาะการให้บริการผ่านเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ไปยังต่างประเทศ นับว่าน่าสนใจมาก เนื่องจากเป็นธุรกิจที่มีมูลค่าเพิ่มสูง ไม่ก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม ขณะเดียวกันสภาพการทำงานดี ทำงานในห้องแอร์ ไม่ต้องแบกหามใช้แรงงานมาก

นาย Edgardo J. Angara สมาชิกวุฒิสภา ได้ให้ทัศนะว่าปัญหาข้างต้นนับเป็นระเบิดเวลาที่ส่งผลกระทบต่อความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ต้องรีบเร่งแก้ไข โดยล่าสุดรัฐสภาของฟิลิปปินส์ได้ออกกฎหมายเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2549 กำหนดให้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลักในการเรียนการสอนนับตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายเป็นต้นไป

สำหรับกรณีของประเทศไทย จากข้อมูลเมื่อปี 2548 ของศูนย์พัฒนาความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา พบว่าคนไทยทำคะแนนสอบภาษาอังกฤษค่อนข้างต่ำ โดยค่าเฉลี่ยคะแนนภาษาอังกฤษจากการสอบเอนทรานซ์ตั้งแต่การสอบในเดือนมีนาคม 2545 – มีนาคม 2548 พบว่าไม่มีปีใดเลยที่ผู้เข้าสอบทำคะแนนเฉลี่ยได้เกิน 50%

ขณะเดียวกันเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ ในอาเซียน พบว่าไทยมีทักษะภาษาอังกฤษค่อนข้างอ่อน แม้การสอบ TOEIC ที่เป็นการสอบภาษาอังกฤษเพื่อนำคะแนนไปใช้ในการสมัครงานในต่างประเทศ ไทยจะมีคะแนนเฉลี่ยค่อนข้างสูง โดยในช่วงปี 2547- 2548 ไทยอยู่ในลำดับที่ 4 ของอาเซียน แต่การสอบ TOEFL ในช่วงเดือนกรกฎาคม 2547 – มิถุนายน 2548 กลับพบว่าไทยได้คะแนนเฉลี่ยเพียง 201 นับว่าเป็นอันดับที่ 8 ของอาเซียนที่มีทั้งหมด 10 ประเทศ ซึ่งหากประเทศไทยต้องการเป็นศูนย์กลางทางธุรกิจในภูมิภาคแล้ว จะต้องรีบเร่งแก้ไขปัญหานี้โดยด่วนที่สุด

วิจารณ์บทความ    ตามความเห็นของดิฉัน ภาษาอังกฤษถือเป็นภาษาหลักในปัจจุบันที่ประชาชนในประเทศสมควรเรียนรู้อย่างจริงจัง เนื่องจากปัจจุบันการติดต่อสื่อสารต่างๆ ภาษาอังกฤษนั้นเป็นภาษาหลักที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย หากประชาชนในประเทศใดๆ มีทักษะและความสามารถในด้านภาษาอังกฤษได้ดีย่อมมีความได้เปรียบในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ แต่ในอีกแง่หนึ่งที่เป็นห่วงคือ ปัจจุบันภาษาไทยของเราที่มีทั้งความสวยงามและความไพเราะและถือได้ว่าเป็นเอกลักษณ์และเป็นตัวตนของคนไทย ทุกวันนี้มีเยาวชนมากมายที่มองไม่เห็นความสำคัญและขาดความรักหวงแหนกับภาษาแม่ของเรา เยาวชนมองภาษาไทยเป็นภาษาที่จะคิด พูดหรือเขียนเล่นกันอย่างไรก็ได้ ไม่เป็นไปตามหลักและไม่สนใจความหมายที่ถูกต้อง อีกทั้งการพูดก็เป็นการพูดแบบวัยรุ่นที่ขาดความระมัดระวังในการใช้ภาษาพูดที่ชัดเจน ถูกต้องตามกาลเทศะ สถานที่และเวลา ทำให้ภาษาไทย ภาษาแม่ของเราในปัจจุบันเสียหายอย่างร้ายแรง เรื่องดังกล่าวนั้น ถือได้ว่าเป็นการขาดความรับผิดชอบและเคารพรักในภาษาแม่ของตน ถึงแม้ว่าจะมีโครงการต่างๆ มากมายมาช่วยกันกระตุ้นให้เยาวชนใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้องและพูดอย่างชัดถ้อยชัดคำ แต่ดูเหมือนว่าความสำเร็จนั้นจะน้อยมากทีเดียว นอกจากนั้นการที่ประเทศไทยส่งเสริมให้เยาวชนเห็นความสำคัญของภาษาที่ 2 คือ ภาษาอังกฤษก็เป็นเรื่องที่ดีมาก ดังจะเห็นได้จากบรรดาโรงเรียนนานาชาติที่ผุดขึ้นมาอย่างกับดอกเห็ด มีโรงเรียนสอน 2 ภาษา 3 ภาษา เกิดขึ้นมากมาย แต่เราจะทำอย่างไรให้เยาวชนของเราเห็นความสำคัญของภาษาแม่เป็นหลักก่อน คงเป็นเรื่องที่น่าอายมากที่เป็นคนไทยแต่พูดภาษาไทยไม่ชัด เขียนภาษาไทยผิดๆ ถูกๆ และยังไม่สามารถเข้าใจความหมายอันไพเราะของภาษาไทยได้อย่างชัดเจนและถูกต้อง เป็นเรื่องที่น่าหนักใจมากที่ภาครัฐควรจะต้องมองเป็นเรื่องสำคัญระดับชาติ ว่าจะทำอย่างไรกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ก่อนที่จะสายเกินไป

ขอบคุณค่ะ

นางสาวฟ้าประธาน  รัตนธาดา รหัส 5213305

การบ้านด้านการท่องเที่ยว 

อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวถือเป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาประเทศ และมีบทบาทสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศไทย เป็นอุตสาหกรรมที่สามารถสร้างรายได้ได้มากมาย เพราะประเทศไทยถือเป็นประเทศที่มีจุดเด่นด้านการท่องเที่ยวที่เรียกว่าครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็นด้านธรรมชาติที่มีทั้ง น้ำตก ภูเขา อุทยาน ป่าไม้ และชายทะเล หรือการมีเมืองเก่าที่สวยงามอย่างอยุธยา เมืองมรดกโลก รวมทั้งมีศิลปวัฒนธรรมประเพณีที่หลากหลาย    อีกสิ่งหนึ่งที่เป็นเสน่ห์อย่างมากคือ ความเป็น Land of Smile ของคนไทยที่มีจิตใจโอบอ้อมอารี มีความเป็นกันเอง ยิ้มแย้มแจ่มใสพร้อมให้การต้อนรับนักท่องเที่ยวเสมอมา ที่สำคัญเรายังมีอาหารและผลไม้ที่อร่อยเป็นที่ถูกอกถูกใจบรรดานักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเป็นอย่างมาก ด้วยเหตุนี้เองทำให้ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่อยู่ในใจนักท่องเที่ยวเสมอมา แต่เมื่อการพัฒนาด้านการท่องเที่ยวในปัจจุบันถึงแม้จะมีการสร้างรายได้ได้อย่างมากมายแต่กลับส่งผลกระทบในทางลบเพิ่มมากขึ้นจากการบริหารจัดการด้านการท่องเที่ยวที่ไม่ดีพอ ส่งผลกระทบในทางลบมากมายจากความไม่พร้อม ไม่ว่าจะเป็นการบริหารพื้นที่ การบริหารจัดการด้านสาธารณูปโภค สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ การจัดการด้านสิ่งแวดล้อม ความสะอาด การจัดการด้านความปลอดภัยและอีกมากมาย ส่งผลให้พื้นที่ที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ ของไทยนั้น เกิดสภาพเสื่อมโทรม ขาดความสวยงามดังเช่นสมัยก่อนที่เคยเป็น อีกทั้งในบางพื้นที่ท่องเที่ยวยังไม่สามารถรองรับนักท่องเที่ยวได้มากพอกับความต้องการ เราจึงต้องหันกลับมามองถึงการบริหารจัดการเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนกันอย่างจริงจังเสียที โดยเฉพาะภาครัฐนั้นคงต้องให้ความสำคัญต่อการแก้ไขปัญหานี้อย่างเร่งด่วน ภาครัฐต้องเร่งสร้างความเข้าใจอย่างแท้จริงถึงความสำคัญของการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนว่าควรทำอย่างไร ต้องสร้างความรู้ความเข้าใจต่อทุกภาคส่วนไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการ ประชาชนในพื้นที่ ประชาชนทั่วไป ภาคเอกชน ภาคสื่อมวลชน เรียกได้ว่าทุกภาคส่วนต้องรับรู้และเข้าใจในสถานการณ์ที่จำเป็นต้องแก้ไขอย่างเร่งด่วนนี้ ภาครัฐคงต้องเร่งดำเนินการอย่างจริงจังเพื่อไม่ให้สายเกินไป และหากแบ่งตามระยะเวลาการแก้ไขปัญหานี้แล้ว ในความเห็นของดิฉัน การแก้ปัญหาในระยะเริ่มแรก คือ การเร่งสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับทุกภาคส่วนเพื่อสร้างความรู้สึกตระหนักและหวงแหนในทรัพยากรด้านการท่องเที่ยวของเรา เมื่อทุกภาคส่วนเข้าใจและเห็นความสำคัญอีกทั้งมองเห็นถึงความจำเป็นในการเปลี่ยนแปลงเพื่อรักษาทรัพย์สมบัติด้านการท่องเที่ยวของเราไว้ ก็จะเป็นด่านแรกที่จะสามารถคลี่คลายปัญหาได้ สำหรับการแก้ไขปัญหาในระยะกลาง คือ การสร้างความรู้และความเข้าใจในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้านการท่องเที่ยวต่างๆ ให้มีเพียงพอและเหมาะสมกับความต้องการของกลุ่มลูกค้าต่างๆ ภาครัฐต้องเร่งดำเนินการสร้างความเข้าใจในการนำเศรษฐกิจสร้างสรรค์มาพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้านการท่องเที่ยวกับประชาชนทุกภาคส่วน โดยเฉพาะผู้ประกอบการและผู้ค้าภายในชุมชนนั้นๆ ควรจะต้องหาจุดเด่นอย่างไรในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของตนเพื่อให้เป็นที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวอีกทั้งตรงกับความต้องการของนักท่องเที่ยว และที่สำคัญการพัฒนาด้านการบริการก็เป็นปัจจัยที่สำคัญยิ่งเพื่อให้เกิดการซื้อซ้ำ สุดท้ายสำหรับการแก้ไขปัญหาในระยะยาว คือ ภาครัฐต้องเห็นความสำคัญและความจำเป็นในการแก้ไขปัญหาโดยวางให้เป็นวาระแห่งชาติ ต้องมีการวางแผนเพื่อพัฒนาในทุกๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านการบริหารจัดการเพื่อรองรับความต้องการต่างๆ การกำหนดผู้มีอำนาจในการกำกับดูแลผลิตภัณฑ์ด้านการท่องเที่ยวเพียงหนึ่งเดียว และมีการประสานงานกันระหว่างองค์กรต่างๆ มีการทำงานอย่างเป็นเอกภาพ เมื่อเน้นเรื่องการบริหารจัดการ จากนั้นสิ่งที่จำเป็นคือการเร่งสร้างความแตกต่างให้กับผลิตภัณฑ์ด้านการท่องเที่ยวโดยการสร้าง Story ให้กับผลิตภัณฑ์ต่างๆ เหล่านั้น เพื่อสร้างจุดขายและสร้างแม่เหล็กดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เกิดความสนใจที่จะเข้ามาเที่ยวที่เมืองไทย เกิดความประทับใจและอยากกลับมาเที่ยวซ้ำเพราะรู้สึกว่ายังมีเรื่องราวอีกมากมายที่จะได้สัมผัสเมื่อมาเที่ยวประเทศไทย การใช้กลยุทธ์ด้านการประชาสัมพันธ์ก็เป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องมีการประชาสัมพันธ์บนพื้นฐานของความจริงและต้องต่อเนื่องเพื่อให้เกิดผล สำหรับการที่จะรับทราบความต้องการที่แท้จริงของกลุ่มลูกค้าในแต่ละกลุ่มได้นั้น สิ่งที่ต้องทำคือ R&D อย่างจริงจัง เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้านการท่องเที่ยวของประเทศไทยให้ยั่งยืนอย่างแท้จริง สิ่งต่างๆ ที่กล่าวมาจะไม่สามารถประสบความสำเร็จได้เลยหากทุกภาคส่วนไม่มีความเข้าใจ ไม่เห็นความสำคัญและมองว่าไม่ใช่เรื่องของเรา ดังนั้นเราต้องกลับมาใส่ใจกันอย่างจริงจังเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวของประเทศไทยให้ยั่งยืนอย่างยาวนาน

ขอบคุณค่ะ

นางสาวฟ้าประธาน รัตนธาดา รหัส 5213305

                การบ้านด้านเศรษฐศาสตร์

                เศรษฐศาสตร์มหภาค เป็นกิจกรรมทางเศรษฐกิจของทั้งระบบโดยรวม เป็นภาพใหญ่ระดับประเทศ ได้แก่ รายได้ประชาชาติ ปริมาณเงิน ระดับราคาสินค้าและบริการโดยทั่วไป ความสัมพันธ์ระหว่างรายได้ การบริโภค การออมและการลงทุน การจ้างงานโดยรวม การค้าระหว่างประเทศ การหารายได้ และการใช้จ่ายของรัฐบาล การพัฒนาเศรษฐกิจ เป็นต้น ดังนั้น ในเศรษฐศาสตร์มหภาคจึงไม่ได้มุ่งที่ผู้บริโภคหรือผู้ผลิตคนใดคนหนึ่งหรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง แต่เป็นการพิจารณาในภาพรวม โดยเป้าหมายที่สำคัญของเศรษฐศาสตร์มหภาคอยู่ที่เรื่อง การจ้างงาน การรักษาเสถียรภาพทางด้านราคาและการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ

          เศรษฐศาสตร์จุลภาค เป็นกิจกรรมทางเศรษฐกิจของหน่วยเศรษฐกิจย่อยๆภายใต้ขอบเขตของทรัพยากรที่มีอยู่ โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ได้ผลประโยชน์สูงสุด เช่น พฤติกรรมการตัดสินใจของผู้ผลิตว่าจะผลิตสินค้าและบริการอะไร ปริมาณเท่าใด ควรกำหนดราคาเท่าใด และจะจำหน่ายจ่ายแจกอย่างไร  เป็นต้น รวมถึงพฤติกรรมการบริโภคของบุคคล ครัวเรือนและหน่วยธุรกิจอุปสงค์ของผู้บริโภค กลไกของราคา  การกำหนดราคาของปัจจัยการผลิต เช่น ค่าแรงของคนงาน ค่าเช่าที่ดิน กำไรของผู้ประกอบการ เป็นต้น การศึกษาดังกล่าวเป็นการศึกษาเกี่ยวกับเรื่อง "ราคา" ของสินค้าชนิดใดชนิดหนึ่งหรือของปัจจัยการผลิตอย่างใดอย่างหนึ่ง

                ปัจจุบัน Demand  กับ  Supply  ในตลาดไม่สัมพันธ์กัน   คือ  ความต้องการในการบริโภคของสินค้ามีมากกว่ากับกำลังการผลิตหรือปริมาณการผลิตของตลาด   สิ่งนี้มักเกิดขึ้นเป็นช่วง ๆ   เป็นวัฎจักร   นั่นก็คือ  ก่อนจะเกิดความขาดแคลนสินค้านั้นหลายปี    ราคาของสินค้ามักจะตกต่ำมากเพราะกำลังการผลิตมีมากเกินไป   ดังนั้นผู้ผลิตจะหยุดขยายกำลังการผลิต  อย่างไรก็ตาม    ความต้องการสินค้าก็ยังเพิ่มไปเรื่อย ๆ  จนมาถึงจุดหนึ่งที่ความต้องการเริ่มจะมากกว่ากำลังการผลิต   ราคาสินค้าก็จะปรับตัวขึ้น  สิ่งที่จำเป็นคือการหาความสมดุลระหว่าง Demand กับ Supply ให้ได้  จากสภาพปัญหาในภาคการเกษตรของไทย ซึ่งเป็นแหล่งผลิตสินค้าเกษตรที่สำคัญของประเทศ โดยเฉพาะทุเรียน เงาะ มังคุด และกุ้งกุลาดำ ประสบปัญหาผลผลิตมีราคาตกต่ำเป็นประจำทุกช่วงฤดูกาลที่ผลผลิตออกสู่ตลาดมาก เนื่องจากไม่มีสถานที่พบปะซื้อขายระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย สถานที่ขนถ่ายสินค้าที่มีอุปกรณ์และสิ่งอำนวยความสะดวกเพียงพอเพื่อให้เกิดความรวดเร็ว ขาดห้องเย็นสำหรับเก็บรักษาผลผลิต ขาดเทคโนโลยีในการบรรจุและจัดเก็บในการรักษาคุณภาพและยืดอายุสินค้า ขาดข้อมูลข่าวสารทางการตลาดเพื่อใช้วางแผนความต้องการและปริมาณการผลิต ทำให้การบริหารจัดการไม่มีประสิทธิภาพมีต้นทุนการตลาดสูง ไม่สามารถกระจายสินค้าได้ตรงความต้องการของตลาดภายในเวลาที่กำหนด ทำให้ผลผลิตเสียหาย เกษตรกรต้องรีบขายผลผลิตภายในเวลาที่จำกัด ส่งผลให้เกษตรกรไม่มีอำนาจต่อรองในเรื่องราคาได้ทำให้ผลตอบแทนที่ได้รับไม่เป็นธรรม สิ่งสำคัญคือ การบริหารจัดการเพื่อสร้างความสมดุลระหว่าง Cost และ Benefit  ตัวอย่างที่ดีเช่น จังหวัดจันทบุรีในฐานะเจ้าภาพยุทธศาสตร์ด้านเกษตรกรรมของกลุ่มภาคตะวันออก ได้เสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาในระยะยาว โดยขอให้จัดตั้งตลาดกลางสินค้าเกษตรภาคตะวันออกเพื่อเป็นกลไกหนึ่งที่จะช่วยเหลือและเพิ่มช่องทางเลือกให้แก่เกษตรกร ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางการรวบรวมและกระจายสินค้าเกษตรภาคตะวันออกไปยังตลาดภายในประเทศทั่วทุกภูมิภาคและประเทศเพื่อนบ้าน ช่วยลดต้นทุนทางการตลาดและระบบ Logistic นอกจากนี้ยังเป็นเครื่องมือในการรักษาเสถียรภาพราคาผลผลิตทางการเกษตร โดยใช้การบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้เกิดความสมดุลระหว่าง Demand กับ Supply ภายใต้กลไกตลาด เป็นการพัฒนาระบบตลาดสินค้าเกษตรให้เกิดประโยชน์ต่อทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจังหวัดจันทบุรีได้บรรจุไว้ในแผนยุทธศาสตร์พัฒนาจังหวัด/กลุ่มจังหวัด และได้ให้มูลนิธิสถาบันคีนันแห่งเอเซียทำการศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้งตลาดกลางสินค้าเกษตร ผลจากการวิเคราะห์ความคุ้มค่าของโครงการแล้วพบว่า การจัดตั้งตลาดกลางจะก่อให้เกิดประโยชน์ในหลาย ๆ ด้านทั้งในด้านการเพิ่มขึ้นของรายได้ของเกษตรกรและคนในท้องถิ่น การเพิ่มขึ้นของมูลค่าการส่งออก การลดลงของอัตราการสูญเสียของผลผลิต การลดลงของต้นทุนในการดำเนินการจำหน่ายและขนส่งผลผลิต รวมทั้งยังมีมูลค่าเพิ่มจากภาคการท่องเที่ยวเกิดขึ้นทั้งในจังหวัดและจังหวัดใกล้เคียง การบริหารจัดการ Cost และ Benefit อย่างมีคุณภาพย่อมดีกว่าการที่ภาครัฐเข้ามาแทรกแซงราคาสินค้าในตลาด

                  ผลกระทบของ Social Cost คือ เกิดต้นทุนทางสังคมมากกว่าต้นทุนทางธุรกิจ คือ ส่วนรวมเสียประโยชน์ เช่น กรณีที่โรงงานผลิตสินค้าต่างๆ ปล่อยน้ำเสียลงสู่แม่น้ำของชุมชน, การที่โรงงานต่างๆ ปล่อยมลภาวะสู่ชั้นบรรยากาศ หรือการที่ได้รับผลเสียจากการปล่อยก๊าซเสียจากรถยนต์ส่วนบุคคล สิ่งที่เราต้องหันมามองกันอย่างจริงจังคือ ทำอย่างไรให้ทุกคนเห็นความสำคัญของการรักษาสมดุลของธรรมชาติและสภาพแวดล้อมให้มากขึ้น รวมทั้งให้มนุษย์สามารถใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างสร้างสรรค์และมีจิตสำนึกเพื่อความยั่งยืนของทรัพยากรของเรา

ขอบคุณค่ะ

สรุปการบรรยายโดย ศาสตราภิชานไกรฤทธิ์ บุญยเกียรติ (13 ก.พ. 54)

กรณีศึกษา การตลาดกับนวัตกรรมการสื่อสารเพื่อการพัฒนา

การตลาด มีหลายความหมาย

  1. ทฤษฎี MBA : Mass Communication คือสื่อสารให้คนจำนวนมากทราบกติกา ใส่สีสรรค์ เช่น mass media ต่าง ๆ เช่น วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ Social Media (คำสัญญา = โฆษณา)
  2. SCM : Supply Chain Management ( Value Chain + Logistic) คือ จัดหา จัดส่งให้ถึงที่ จุดนัดพบ
    จากวัตถุดิบ (Raw material-RM) ไปสู่ สินค้าสำเร็จรูป (Finished Goods-FG)
  3. POP (Point of Purchase) จุดขาย จะต้องมีความสมดุลกันระหว่าง ตัวสินค้า (display) และการตลาด (supply)

นวัตกรรม (Innovation) มี 3 ระดับ

  1. ใหม่จากปกติ (New) ไม่ธรรมดา เช่น เอา Carrot มาทำส้มตำ
  2. ใหม่ในประเทศ (New Imported / Innovation) เช่ น รถ Hybrid
  3. ใหม่ในโลก (New to the World/Novell) New to Thailand เช่น iPad, iPhone

ตัวอย่าง เช่น  1. เปลี่ยนการแต่งตัวใหม่ 2.  ไป Fitness ลดพุง ลดน้ำหนัก 3. เปลี่ยนแฟนใหม่

การสื่อสาร (Communication) มี 5 องค์ประกอบ

  1. Message
  2. Modula
  3. Media
  4. De-mod
  5. Receiver

ทุกวันนี้สังคมมีปัญหาต่าง ๆ มากมาย เกิดจาการส่งเสริมผิดที่ ไม่เท่าเทียมกัน ไม่ยุติธรรม เช่น การอุดหนุนราคาน้ำมัน, อุดหนุนค่าน้ำ-ค่าไฟ ค่ารถเมล์ ซึ่งรัฐบาลทำเหมือนประชาชนเป็นลูก ที่ดูแลไม่เหมือนกัน ทำให้เกิดปัญหาต่าง ๆ มากมาย สังคมจึงต้องมีการสื่อสาร โดยนำ KPI มาวัดผลอย่างเป็นรูปธรรม

และต้องคำนึงถึง Output / Outcome / Impact   เช่น

การเลิกบุหรี่ - Output / สุขภาพดีขึ้น - Outcome / สังคมได้ประโยชน์ – Impact

อ.ไกรฤทธิ์ บุญยเกียรติ ได้อธิบายสิ่งที่เข้าใจยากให้ฟังดูง่าย ๆ  Simple และเห็นภาพ

ขอบคุณมากคะ

Tukta

สรุปการไปทัศนศึกษาสัญญจรที่ Stamford University ที่หัวหิน (27 ก.พ. 54)

ขอขอบคุณ อ.จีระ และ คณะฯ  รวมไปถึงคณาจารย์ นักศึกษาปริญญาโท และผู้เกี่ยวข้องของมหาวิทยาลัย Stamford เป็นอย่างยิ่ง ที่พาพวกเรา ป.เอก ม.เกริก ได้ไปแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกันในห้องเรียน

สิ่งที่ได้รับมากกว่าที่คาดคิดไว้  ดังนี้

  1. เปิดหู เปิดตากับมหาวิยาลัยชื่อดัง Stamford University ที่มีสถานที่ และบรรยากาศเป็นเลิศ หาได้ยากในเมืองไทย หลังพิงเขา หน้าเป็นทะเล แวดล้อมด้วยสนามกอล์ฟ (Green Environment)
  2. นักศึกษาที่นี่เป็นคนรุ่นใหม่ที่มีมุมมองกว้างไกล มีวิสัยทัศน์ ที่ไม่ยอมให้อะไรมาปิดกั้นจินตนาการของตนเอง ใฝ่รู้ เรียนรู้ตลอดเวลา  และที่สำคัญคือมีศักยภาพ
  3. แลกเปลี่ยนประสบการณ์กับน้อง ๆ  ป.โท และคณาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิ
    (อ. สุทธิเดช, อ.ศรีวรรณ และ อ.ถนอมพงษ์) มีมุมมองที่ร่าสนใจ
  4. อนาคตนักศึกษา ป.เอก เกิดขึ้นอย่างแน่นอนที่ ม.Stamford แห่งนี้

สิ่งที่ อ.จีระ ฝากให้นักศึกษาทุกคนต้องเรียนรู้ อย่าละเลย.... Human Capital ที่เราต้องสะสม และสร้างมันขึ้นมา คือ ภาษาอังกฤษ และโลกาภิวัฒน์ ที่เราจะต้องตามให้ทัน เพราะว่าโลกเราเปลี่ยนเร็วมาก เราต้องมีเครื่องมือ วิธีการที่ดี เปรียบได้กับเราเบ็ดตกปลาอยู่ในมือ รอโอกาสที่ดีมาถึง เพื่อไปสู่ Long Life Learning

นอกจากนี้ อย่าลืมที่จะ ต่อยอดความคิด นำความคิดนั้นมาวิเคราะห์ มองต่างมุม คิดนอกกรอบ และที่สำคัญคือมี Networking ที่ดี และเอาความรู้ต่าง ๆ ไปสร้างมูลค่าเพิ่มให้ได้

โดยอาศัยวิธีการเรียนรู้แบบ 4 L’s (Methodology, Environment, Opportunity and Communities) และ 2 R’s (Reality + Relevance)

-  มีการเรียนรู้ตลอดเวลา ทุกที่ ทุกเวลา (อย่าหยุดการเรียนรู้)

-  ใฝ่รู้ รู้อะไรให้รู้จริง รู้ลึก

-  สร้างแรงบันดาลใจให้กับตนเอง และมุ่งมั่นที่จะก้าวไปสู่สิ่งที่เราฝันไว้ให้ได้ (Inspiration & Imagination)

-  สร้าง Networking / ปะทะกับคนข้างนอก / ออกไปนอกห้องให้มากขึ้น เพื่อเปิดโลกทัศน์ และมุมมองใหม่ ๆ เช่น อบต., ชุมชุนรอบข้าง, หน่วยงานอื่น ๆ 

-  คิด & ลองทำ สิ่งใหม่ ๆ ที่สร้างสรรค์ (Innovative & Creative)

-  ทำเพื่อสังคมรอบข้าง อย่าละเลย CSR

-  ทำงานเป็นทีม / มี Teamwork ที่ดี

-  เป็นคนที่คิดดี ทำดี มีวินัย
เป็นต้น

 “ Do Local & Think Global  " 

 

สรุปการไปทัศนศึกษาสัญญจรที่วิกหัวหิน ของ ครูเล็ก- ภัทราวดี (27 ก.พ. 54)

ครูเล็ก (ภัทราวดี) ถือได้ว่าเป็นปูชนียบุคคลคนหนึ่งที่ควรได้รับการยกย่อง และชื่นชม ที่ทำตามความฝันของตนเองมาโดยตลอด ไม่หวั่นแม้เจออุปสรรครอบด้าน ไม่ยอมแพ้ จับแล้วไม่ปล่อย ทำทุกอย่างด้วยความดี และความงามในจิตใจ ซึ่งหาได้ยากในสังคมไทยทกุวันนี้  เป็นศิลปินเอกทั้งกาย และใจ

ครูเล็กได้สร้าง Product ที่ดี มีคุณภาพ ทำให้ผู้คน Respect ผ่านการบอกต่อ และกล่าวขานถึงเสมอมา...
จนโด่งดังไปในต่างประเทศ จนกล่าวกันว่า
มาประเทศไทย ไม่มา วิกหัวหิน ก็มาไม่ถึงเมืองไทย

คติในการทำงาน ตั้งใจ จริงใจ ทำจริง ไม่เลิก ไม่ท้อแท้ และต้องมีฝีมือ และมีจุดยืนของตนเอง (ศักดิ์ศรี)

และที่สำคัญที่มีอยู่ในใจของครูเล็กเสอมา คือ ทำงานให้กับแผ่นดิน รับใช้แผ่นดินเกิด โดยการพัฒนาคน สร้างคน ให้โอกาสกับทุกคนที่สนใจ เป็นผู้ให้ โดยไม่หวังสิ่งตอบแทน สิ่งที่ได้รับกลับคืนมาคือ ความสุขที่เห็นลูกศิษย์ไปเติบโตได้ดี มีชื่อเสียง ถึงแม้จะไม่ได้อยู่ในประเทศไทยก็ตาม

 ครูเล็กเป็นอัจฉริยะด้านศิลปศาสตร์ผู้หนึ่งที่หาตัวจับได้ยาก ที่พยายามศึกษาหาความรู้ใหม่ ๆ ตลอดเวลา เพื่อมาปรับใช้ ปรับปรุงงานของตนเองให้มีคุณภาพ มีความโดดเด่น มีเอกลักษณ์ ที่สำคัญคือ อนุรักษ์วัฒนธรรมไทยให้คงอยู่ชั่วลูกชั่วหลาน

ครูเล็กได้คนพบแก่นแท้ของชีวิตว่าสิ่งที่ต้องการคืออะไร เพียรพยายามทำให้เกิดฝันที่เป็นจริง และพวกเรา นักศึกษา ป.เอก ก็ได้ไปเห็นมากับตา ขอชื่นชม ชื่นชม และชื่นชม.......

วัฒนธรรมของประเทศไทยจะไม่สูญหาย เลือนหาย ตราบใดที่ประเทศไทยยังมีครูเล็กที่เต็มเปี่ยมไปด้วยความมุ่งมั่น และแรงบันดาลใจ 

ครูเล็ก และ อ.จีระ มีสิ่งในตัวที่เหมือนกันมาก ๆ คือ ความเป็นอัจฉริยะ ซึ่งต่างกันเพียงความถนัดในแต่ละด้านเท่านั้นเอง คือ มุ่งมัน ตั้งใจ ไม่ย้อท้อ ฟันฝ่าอุปสรรคทุกรูปแบบ คิดบวก คิดดี เป็นผู้ให้ (โดยไม่หวังสิ่งตอบแทน) เพื่อสามารถเดินไปสู้เป้าหมายของชีวิตที่ตนเองวางไว้

พวกเรา ป.เอก นี้ช่างโชคดีจริง ๆ ที่มีโอกาส ได้รู้จัก พูดคุย แลกเปลี่ยนความคิดกับครูเล็กในครั้งนี้

อย่าเสียโอกาสที่พูดคุย เมื่อคุณได้พบกับคนเก่ง และอัจฉริยะ อย่างครูเล็ก และ อ.จีระ

ขอบคุณจริง ๆ คะ

Tukta

สรุปการไปทัศนศึกษาสัญญจรที่ Stamford University ที่หัวหิน (27 ก.พ. 54)

ขอขอบคุณ อ.จีระ และ คณะฯ  รวมไปถึงคณาจารย์ นักศึกษาปริญญาโท และผู้เกี่ยวข้องของมหาวิทยาลัย Stamford เป็นอย่างยิ่ง ที่พาพวกเรา ป.เอก ม.เกริก ได้ไปแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกันในห้องเรียน

สิ่งที่ได้รับมากกว่าที่คาดคิดไว้  ดังนี้

  1. เปิดหู เปิดตากับมหาวิยาลัยชื่อดัง Stamford University ที่มีสถานที่ และบรรยากาศเป็นเลิศ หาได้ยากในเมืองไทย หลังพิงเขา หน้าเป็นทะเล แวดล้อมด้วยสนามกอล์ฟ (Green Environment)
  2. นักศึกษาที่นี่เป็นคนรุ่นใหม่ที่มีมุมมองกว้างไกล มีวิสัยทัศน์ ที่ไม่ยอมให้อะไรมาปิดกั้นจินตนาการของตนเอง ใฝ่รู้ เรียนรู้ตลอดเวลา  และที่สำคัญคือมีศักยภาพ
  3. แลกเปลี่ยนประสบการณ์กับน้อง ๆ  ป.โท และคณาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิ
    (อ. สุทธิเดช, อ.ศรีวรรณ และ อ.ถนอมพงษ์) มีมุมมองที่ร่าสนใจ
  4. อนาคตนักศึกษา ป.เอก เกิดขึ้นอย่างแน่นอนที่ ม.Stamford แห่งนี้

สิ่งที่ อ.จีระ ฝากให้นักศึกษาทุกคนต้องเรียนรู้ อย่าละเลย.... Human Capital ที่เราต้องสะสม และสร้างมันขึ้นมา คือ ภาษาอังกฤษ และโลกาภิวัฒน์ ที่เราจะต้องตามให้ทัน เพราะว่าโลกเราเปลี่ยนเร็วมาก เราต้องมีเครื่องมือ วิธีการที่ดี เปรียบได้กับเราเบ็ดตกปลาอยู่ในมือ รอโอกาสที่ดีมาถึง เพื่อไปสู่ Long Life Learning

นอกจากนี้ อย่าลืมที่จะ ต่อยอดความคิด นำความคิดนั้นมาวิเคราะห์ มองต่างมุม คิดนอกกรอบ และที่สำคัญคือมี Networking ที่ดี และเอาความรู้ต่าง ๆ ไปสร้างมูลค่าเพิ่มให้ได้

โดยอาศัยวิธีการเรียนรู้แบบ 4 L’s (Methodology, Environment, Opportunity and Communities) และ 2 R’s (Reality + Relevance)

-  มีการเรียนรู้ตลอดเวลา ทุกที่ ทุกเวลา (อย่าหยุดการเรียนรู้)

-  ใฝ่รู้ รู้อะไรให้รู้จริง รู้ลึก

-  สร้างแรงบันดาลใจให้กับตนเอง และมุ่งมั่นที่จะก้าวไปสู่สิ่งที่เราฝันไว้ให้ได้ (Inspiration & Imagination)

-  สร้าง Networking / ปะทะกับคนข้างนอก / ออกไปนอกห้องให้มากขึ้น เพื่อเปิดโลกทัศน์ และมุมมองใหม่ ๆ เช่น อบต., ชุมชุนรอบข้าง, หน่วยงานอื่น ๆ 

-  คิด & ลองทำ สิ่งใหม่ ๆ ที่สร้างสรรค์ (Innovative & Creative)

-  ทำเพื่อสังคมรอบข้าง อย่าละเลย CSR

-  ทำงานเป็นทีม / มี Teamwork ที่ดี

-  เป็นคนที่คิดดี ทำดี มีวินัย
เป็นต้น

 “ Do Local & Think Global  " 

 

สรุปการไปทัศนศึกษาสัญญจรที่วิกหัวหิน ของ ครูเล็ก- ภัทราวดี (27 ก.พ. 54)

ครูเล็ก (ภัทราวดี) ถือได้ว่าเป็นปูชนียบุคคลคนหนึ่งที่ควรได้รับการยกย่อง และชื่นชม ที่ทำตามความฝันของตนเองมาโดยตลอด ไม่หวั่นแม้เจออุปสรรครอบด้าน ไม่ยอมแพ้ จับแล้วไม่ปล่อย ทำทุกอย่างด้วยความดี และความงามในจิตใจ ซึ่งหาได้ยากในสังคมไทยทกุวันนี้  “เป็นศิลปินเอกทั้งกาย และใจ”

ครูเล็กได้สร้าง Product ที่ดี มีคุณภาพ ทำให้ผู้คน Respect ผ่านการบอกต่อ และกล่าวขานถึงเสมอมา...
จนโด่งดังไปในต่างประเทศ จนกล่าวกันว่า “มาประเทศไทย ไม่มา วิกหัวหิน ก็มาไม่ถึงเมืองไทย”

คติในการทำงาน ตั้งใจ จริงใจ ทำจริง ไม่เลิก ไม่ท้อแท้ และต้องมีฝีมือ และมีจุดยืนของตนเอง (ศักดิ์ศรี)

และที่สำคัญที่มีอยู่ในใจของครูเล็กเสอมา คือ ทำงานให้กับแผ่นดิน รับใช้แผ่นดินเกิด โดยการพัฒนาคน สร้างคน ให้โอกาสกับทุกคนที่สนใจ เป็นผู้ให้ โดยไม่หวังสิ่งตอบแทน สิ่งที่ได้รับกลับคืนมาคือ ความสุขที่เห็นลูกศิษย์ไปเติบโตได้ดี มีชื่อเสียง ถึงแม้จะไม่ได้อยู่ในประเทศไทยก็ตาม

 ครูเล็กเป็นอัจฉริยะด้านศิลปศาสตร์ผู้หนึ่งที่หาตัวจับได้ยาก ที่พยายามศึกษาหาความรู้ใหม่ ๆ ตลอดเวลา เพื่อมาปรับใช้ ปรับปรุงงานของตนเองให้มีคุณภาพ มีความโดดเด่น มีเอกลักษณ์ ที่สำคัญคือ อนุรักษ์วัฒนธรรมไทยให้คงอยู่ชั่วลูกชั่วหลาน

ครูเล็กได้คนพบแก่นแท้ของชีวิตว่าสิ่งที่ต้องการคืออะไร เพียรพยายามทำให้เกิดฝันที่เป็นจริง และพวกเรา นักศึกษา ป.เอก ก็ได้ไปเห็นมากับตา ขอชื่นชม ชื่นชม และชื่นชม.......

วัฒนธรรมของประเทศไทยจะไม่สูญหาย เลือนหาย ตราบใดที่ประเทศไทยยังมีครูเล็กที่เต็มเปี่ยมไปด้วยความมุ่งมั่น และแรงบันดาลใจ 

ครูเล็ก และ อ.จีระ มีสิ่งในตัวที่เหมือนกันมาก ๆ คือ ความเป็นอัจฉริยะ ซึ่งต่างกันเพียงความถนัดในแต่ละด้านเท่านั้นเอง คือ มุ่งมัน ตั้งใจ ไม่ย้อท้อ ฟันฝ่าอุปสรรคทุกรูปแบบ คิดบวก คิดดี เป็นผู้ให้ (โดยไม่หวังสิ่งตอบแทน) เพื่อสามารถเดินไปสู้เป้าหมายของชีวิตที่ตนเองวางไว้

พวกเรา ป.เอก นี้ช่างโชคดีจริง ๆ ที่มีโอกาส ได้รู้จัก พูดคุย แลกเปลี่ยนความคิดกับครูเล็กในครั้งนี้

อย่าเสียโอกาสที่พูดคุย เมื่อคุณได้พบกับคนเก่ง และอัจฉริยะ อย่างครูเล็ก และ อ.จีระ

ขอบคุณจริง ๆ คะ

Tukta

    

     วันที่ 6 มีนาคม 54 ผมได้ไปสอนนักศึกษาปริญญาเอก ม.เกริก หลังจากนักศึกษาปริญญาเอกสอบวิชาของผมเสร็จช่วงเช้าก็เรียนช่วงบ่ายในระหว่างการเรียนการสอนอยู่นั้นนักศึกษาปริญญาเอกได้ชวนไปรับประทานกุ้งแม่น้ำที่ร้านอร่อยของบางปะอิน หลังจากผมสอนเสร็จแล้วเราได้เดินทางไปที่ร้านเรือนไทยกุ้งเผาซึ่งอยู่ในวัดเชิงเลนทางไปศูนย์ศิลปชีพบางไทรเขตบางปะอิน ผมได้นำภาพบรรยากาศการเรียนและที่ร้านเรือนไทยกุ้งเผามาให้ดูกันด้วยครับ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท