'ปรีดิยาธร' ติงแบงก์ชาติขึ้นดอกเบี้ยแรงฉุดจีดีพี


ปรีดิยาธร ติงแบงก์ชาติขึ้นดอกเบี้ยแรง ฉุดเศรษฐกิจหดตัวทั้งที่เศรษฐกิจยังโตอยู่ ชี้ไม่ควรห่วงเงินเฟ้อมากเกินไป แนะปรับกรอบใหม่เป็น 2-4.5% ให้เหมาะสมกับภาวะเศรษฐกิจ

ปรีดิยาธร ติงแบงก์ชาติขึ้นดอกเบี้ยแรง ฉุดเศรษฐกิจหดตัวทั้งที่เศรษฐกิจยังโตอยู่ ชี้ไม่ควรห่วงเงินเฟ้อมากเกินไป แนะปรับกรอบใหม่เป็น 2-4.5% ให้เหมาะสมกับภาวะเศรษฐกิจม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และอดีตรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวในงานปาฐกถาหัวข้อ “เสถียรภาพเศรษฐกิจไทยในปี 2001” ว่า แนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2554 คาดว่าอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) จะขยายกว่า 4% จากแรงขับเคลื่อนในประเทศเป็นหลัก โดยเฉพาะผลผลิต ราคาสินค้า และรายได้ภาคเกษตรที่สูงกระตุ้นการใช้จ่ายภายในประเทศให้เพิ่มมากขึ้น ส่วนกรณีที่หลายฝ่ายกังวลว่าอัตราเงินเฟ้อจะเร่งตัวสูง จนทำให้คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ขึ้นดอกเบี้ย เพื่อสกัดเงินเฟ้อนั้น มองว่า ไม่ใช่แนวทางที่ถูกต้อง เพราะการขึ้นดอกเบี้ยอาจส่งผลให้เศรษฐกิจฟื้นตัวไม่เต็มที่ จึงมองว่าหากจะดูแลเงินเฟ้อ ก็ควรเปลี่ยนกรอบเงินเฟ้อใหม่มาอยู่ที่ 2-4.5%  ทั้งนี้เงินเฟ้อที่ระดับ 3% ถือว่าไม่น่าเป็นห่วง โดยเป็นผลจากการปรับเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมัน ส่วนราคาพืชผลเกษตรหากจะปรับเพิ่มขึ้นก็ถือเป็นเรื่องดีที่จะทำให้ภาคเกษตรเติบโตไล่ทัน ภาคอุตสาหกรรม และการค้า ทั้งยังเป็นช่องทางทำให้เศรษฐกิจไทยเติบโตได้ดี และเพิ่งพาการบริโภคภายในมากขึ้น รวมถึงส่งผลดีต่อการกระจายรายได้ด้วย

       อย่างไรก็ตาม สิ่งที่น่าเป็นห่วงในเรื่องของราคา คือ การเพิ่มขึ้นของราคาอสังหาริมทรัพย์ แต่การแก้ปัญหาไม่ควรใช้มาตรการดอกเบี้ยเป็นตัวหยุดเพราะจะเกิดความเสี่ยงกับระบบการเงิน หากภาคอสังหาฯ เกิดความเสียหายตามมา ซึ่งมาตรการที่ผ่านมาถือว่าผู้ว่าการ ธปท.ออกมาตรการที่เหมาะสมแล้ว "ในเมื่อตอนนี้เศรษฐกิจมันยังไม่ได้ขยายตัวอย่างเต็มที่ และปีนี้ก็น่าจะโตในอัตราที่ชะลอลง รวมทั้งเศรษฐกิจสหรัฐและยุโรปก็ยังไม่มีความแน่นอน จึงมองว่าทำไมต้องห่วงต้องห่วงเงินเฟ้อมากกว่าการเติบโตของเศรษฐกิจ และผมมองว่าการที่เราใช้นโยบายดอกเบี้ยสกัดเงินเฟ้อนั้นคงไม่ใช่แนวทางที่ถูกต้อง เพราะการใช้นโยบายดอกเบี้ยเป็นการดึงทุกอย่างให้ชะลอการโต ดังนั้นหากจะทำจริงๆ น่าจะเปลี่ยนกรอบเงินเฟ้อจะดีที่สุด จากกรอบที่อยู่ 0.5-3% ก็เปลี่ยนเป็น 2-4.5% ปัญหานี้มันก็จะหมดไป การเปลี่ยนเป้าหมายเงินเฟ้อไม่ใช่เรื่องเสียหาย
ถ้าเป็นเป้าหมายที่เหมาะกับภาวะการณ์"

       ม.ร.ว.ปรีดิยาธร กล่าวว่า สำหรับเสถียรภาพเศรษฐกิจไทยปีนี้ มองว่า ไม่น่าเป็นห่วง นักลงทุนต่างประเทศมีความเชื่อมั่นมากขึ้น เห็นได้จากทุนสำรองระหว่างประเทศปัจจุบันเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 172,000 ล้านดอลลาร์ ขณะที่สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อจีดีพีอยู่ที่ 42% ถือว่าต่ำกว่าสหรัฐที่หนี้สาธารณะอยู่ที่ 80% และมีโอกาสขยับเพิ่มเป็น 100% ในอนาคต ส่วนหนี้สาธารณะของญี่ปุ่นอยู่ที่ 200%

       ด้านนายสมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ นักวิชาการและอาจารย์ด้านเศรษฐศาสตร์ และรองประธานคณะกรรมการบริหารนโยบายปัญญาสมาพันธ์เพื่อการวิจัยความเห็นสาธารณะแห่งประเทศไทย กล่าวว่า เศรษฐกิจไทยปีนี้น่าจะขยายตัวได้ 4-5% โดยจะมาจากการลงทุนภาครัฐ การจับจ่ายใช้สอยภายในประเทศ รวมทั้งเงินทุนไหลเข้าจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของสหรัฐ ที่จะเข้ามาในตลาดหลักทรัพย์ไทย ส่งผลให้ปีนี้ตลาดหุ้นไทยมีแนวโน้มขยายตัวได้ถึง 15% ด้านภาคการส่งออกคาดว่าจะขยายตัวได้ไม่น้อยกว่า 12-15%

       ขณะที่ นายสมภพ มานะรังสรรค์ อธิการบดี สถาบันปัญญาภิวัฒน์ กล่าวว่า จีนจะเข้ามามีบทบาทขับเคลื่อนเศรษฐกิจมากขึ้น และมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยด้วย เห็นจากการรวมกลุ่มของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือเออีซี ในปี 2558 และการไหลออกของเงินทุนจีนเพื่อเข้าไปลงทุนในภูมิภาคนั้น จะเป็นตัวกระตุ้นหลักที่ส่งผลให้ภาคธุรกิจค้าปลีกและส่งต้องเร่งปรับตัว เนื่องจากขณะนี้จีนเริ่มเข้ามาลงทุนธุรกิจค้าปลีกและเทรดดิ้งในประเทศไทย และคาดว่าจะเห็นภาพชัดเจนใน 4-5 ปีนี้

กรุงเทพธุรกิจ  ไทยโพสต์  เดลินิวส์  มติชน  ข่าวสด

ประจำวันที่ 21 มกราคม 2554

 

หมายเลขบันทึก: 421671เขียนเมื่อ 21 มกราคม 2011 10:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 18:08 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท