แบบทดสอบ (10 ข้อ)


วิชา นโยบายและการวางแผนการศึกษาท้องถิ่น

แบบทดสอบ  (10 ข้อ)

วิชา  นโยบายและการวางแผนการศึกษาท้องถิ่น

 

เสนอ  

ดร.ดิศกุล   เกษมสวัสดิ์

 

จัดทำโดย  

นายสกุลเดช   ศรีโทโคตร

 

นักศึกษาหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต

สาขาบริหารการศึกษา  

มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี       ศูนย์พยัคฆภูมิพิสัย

 

1.  จากคำกล่าวที่ว่านโยบายอยู่เหนือเหตุผลท่านจะอธิบายตามหลักนโยบายศาสตร์อย่างไร

                เหตุที่นโยบายอยู่เหนือเหตุผล  เพราะ นโยบายต่าง ๆ มีหลักการเป้าหมาย วัตถุประสงค์ที่ชัดเจน   นโยบาย  ต้องผ่านการคัดเลือกแล้วกลั่นกรอง  ลงมติ  และอนุมัติ อย่างเป็นระบบ แต่เหตุผลอาจเป็นความคิดหรือความรู้สึกของใครคนใดคนหนึ่ง  

 

2.  นโยบายมาจากแหล่งใด

            ความหมาย 

                คำว่า “นโยบาย” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน   พ.ศ. 2525 ให้ความหมายว่า หมายถึง หลักการและวิธีปฏิบัติซึ่งถือเป็นแนวดำเนินการ

            แหล่งที่มาของนโยบาย

                นโยบายเกิดจากปัญหาและความต้องการของสังคมในประเทศนั้น โดยปัญหาอาจจะเกิดขึ้นจากบุคคล กลุ่มบุคคลไปกระทำหรือไม่กระทำ หรือไม่ปฏิบัติตามบางอย่าง หรือปัญหาจากเหตุการณ์ทางธรรมชาติ

                ความต้องการอาจเป็นของบุคคลหรือกลุ่มชน ซึ่งเสนอต่อรัฐว่าต้องการอะไร ต้องการเรื่องใด ความต้องการเหล่านั้นและความจำเป็นที่จะต้องแก้ปัญหาเหล่านั้น จะถูกผลักดันให้เป็นนโยบายของรัฐ โดยรัฐจะหาวิธีการแก้ไขปัญหาและสนองตอบความต้องการของสังคม

 

 3.  จงเขียนวงจรนโยบายสาธารณะเริ่มจากใดและสิ้นสุดลงอย่างไร

 

            วงจรนโยบายสาธารณะ (Public Policy Cycle)   เขียนเป็นแผนภาพได้ดังนี้ 

 

      หรืออาจสรุปเป็นรูปที่ง่ายกว่าโดยรวมเอา   ขั้นตอนแรกเข้าด้วยกันเป็นการกำหนดนโยบาย    จากนั้นก็นำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ   การประเมินผลนโยบาย   และการวิเคราะห์  ข้อมูลป้อนกลับเพื่อการปรับปรุงแก้ไข

                องค์ประกอบของวงจรนโยบายสาธารณะ
                                1.การก่อตัวนโยบาย (Policy formation) เกิดอะไรขึ้นบ้าง
                                2. การกำหนดนโยบาย (Policy formulation) มีแนวทางอย่างไรบ้าง
                                3. การตัดสินนโยบาย (Policy decision) จะเลือกแนวทางใดดี
                                4. การนำนโยบายไปปฏิบัติ (Policy implementation) จะนำแนวทางที่ได้ไปดำเนินการอย่างไร
                                5. การประเมินผลนโยบาย (Policy evaluation) การดำเนินการตามแนวทางได้ผลหรือไม่


4.  จงวิเคราะห์นโยบายเรียนฟรี 15 ปี  ตามองค์ประกอบของนโยบายดังกล่าวได้ดำเนินการตามหลักวิชาว่าด้วยองค์ประกอบของนโยบายหรือไม่อย่างไร

                  นโยบายเรียนฟรี 15  ปี ได้ดำเนินการตามหลักวิชาการว่าด้วยองค์ประกอบของนโยบาย  กล่าวคือ มีการกำหนดวัตถุประสงค์ มีลำดับขั้นตอนการดำเนินงาน  การบริหารงบประมาณ  การติดตามควบคุม กำกับอย่างมีคุณภาพ

 

5.  นโยบายการกระจายอำนาจการจัดการศึกษาให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ท่านคิดว่าเกิดจากตัวแบบนโยบายสาธารณะตัวแบบใด  จงอธิบายและให้เหตุผลประกอบ

                นโยบายการกระจายอำนาจการจัดการศึกษาให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเกิดจากตัวแบบนโยบายสาธารณะตัวแบบกระบวนการ

                ลักษณะสำคัญ  นโยบายเป็นกิจกรรมทางการเมือง  เน้นขั้นตอนและพฤติกรรมที่สำคัญในการกำหนดนโยบายว่ามีอะไรบ้าง

                จุดเด่น เน้นเรื่องขั้นตอนและพฤติกรรมแทนการเน้นเรื่องโครงสร้าง

                จุดด้อย อาจละเลยเนื้อหาหรือสาระของนโยบายซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการศึกษานโยบาย

  

6.  นโยบายการประกันคุณภาพการศึกษาท่านคิดว่าเกิดจากตัวแบบนโยบายสาธารณะตัวแบบใด  จงอธิบายและให้เหตุผลประกอบ

                การประกันคุณภาพ เกิดจากตัวแบบนโยบายสาธารณะตัวแบบกระแส-หน้าต่างนโยบาย  คือ นโยบายสาธารณะเกิดขึ้นจากกระแสความต้องการที่สอดคล้องกัน

                การประกันคุณภาพ (quality    assurance)   เป็นศัพท์ทางวิชาการที่วงการศึกษายืมจากวงการธุรกิจและอุตสาหกรรมและนำเข้ามาใช้    เพื่อการบริหารและจัดการเชิงคุณภาพขององค์กรทางการศึกษา54   ได้อธิบายถึงวิวัฒนาการของการบริหาร   และการจัดการเชิงคุณภาพในทางอุตสาหกรรม    โดยแบ่งออกเป็น   2 ประเภทใหญ่   ๆ  คือ   แบบที่เน้นการตรวจจับ  (detection)   อันได้แก่การตรวจจับคุณภาพ (quality  inspection)    และการควบคุมคุณภาพ  (quality   control)  ทั้งสองกิจกรรมนี้   เน้นความแม่นยำของเครื่องมือและประสิทธิภาพของเทคนิค    ที่ใช้ในการตรวจจับความผิดที่เกิดขึ้น   จุดอ่อนของการบริหารและการจัดการเชิงคุณภาพแบบนี้คือ   เป็นการลงมือกระทำหลังจากข้อผิดพลาดหรือปัญหาได้เกิดขึ้นแล้ว   (retrospective  หรือ  reactive)    การบริหารและการจัดการเชิงคุณภาพแบบที่สอง   เป็นสิ่งที่เพิ่งจะเกิดขึ้นในสองทศวรรษหลังนี้    มีลักษณะเป็นที่เน้นการป้องกันก่อนที่ความผิดจะเกิดขึ้น  (Preventive  หรือ  proactive)   แบ่งออกเป็น  2  ประเภท  คือ

                1.   การประกันคุณภาพ  หมายถึง   กิจกรรมหรือปฏิบัติการทั้งมวลที่เป็นระบบและมีการวางแผนไว้ล่วงหน้า   อันเป็นสิ่งจำเป็นที่จะสร้างความมั่นใจในระดับหนึ่งได้ว่าสินค้าหรือบริหารหนึ่ง ๆ   จะมีคุณภาพตามข้อกำหนดที่ได้วางไว้

                2.  การจัดการเชิงคุณภาพทั่วทั้งระบบ  (Total  Quality  management  หรือ  TQM) 55   เป็นปรัชญาการบริหารการจัดการที่ครอบคลุมกิจกรรมทั้งปวงที่จะตอบสนองความคาดหวังและความต้องการต่าง ๆ  ของลูกค้าและชุมชนและเป้าหมายขององค์กรได้อย่างประสิทธิภาพและคุ้มค่าที่สุด   โดยการพัฒนาและใช้ประโยชน์สูงสุดจากศักยภาพของพนักงานทุก  ๆ คน   ในอันที่จะมุ่งมั่นไปสู่การปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่อง

                การศึกษาเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์   ให้มีความสมบูรณ์ทั้งทางร่างกาย  จิตใจ  สติปัญญา  และสังคม   เพื่อให้มีความสามารถปรับตนในการดำรงชีวิตได้    อย่างสอดคล้องกับสภาวะความเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ  สังคม การเมืองและวัฒนธรรม  ดังนั้น  การที่จะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์   ให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์และพัฒนาตนเองไปพร้อม ๆ  กับคุณภาพเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้  ย่อมจำเป็นต้องอาศัยการจัดการการศึกษาที่มีคุณภาพเป็นสำคัญ คุณภาพการศึกษา ได้ถือได้ว่าเป็นหัวใจในการจัดการศึกษา   การพัฒนาคุณภาพการศึกษาจึงเป็นงานสำคัญที่ต้องดำเนินการอยู่เสมอ  ต้องดำเนินการอย่างเป็นระบบ  มีความต่อเนื่อง   และมีการตรวจวัดระดับคุณภาพทางการศึกษาอย่างเป็นระยะๆ ทั้งนี้เพื่อค้นหาปัญหาและกำหนดทิศทางการพัฒนาให้นำไปสู่ความก้าวหน้าทางการศึกษา การจัดการศึกษาให้มีคุณภาพบรรลุวัตถุประสงค์   ตามความคาดหวัง  กระทรวงศึกษาธิการ   ผู้รับผิดชอบในการจัดการศึกษา  ต้องกระจายอำนาจด้านวิชาการ  งบประมาณ   การบริหารงานบุคคล และการบริหารทั่วไป  (พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ  พ.ศ.  2542  มาตรา  39)    ลงสู่หน่วยงานผู้ปฏิบัติพร้อมทั้งให้ผู้ปกครอง   ผู้นำชุมชน   องค์กรปกครองท้องถิ่น มีส่วนร่วมรับผิดชอบในการจัดการเรียนการสอนโดยเน้นนักเรียนเป็นสำคัญที่สุดเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดี  คนเก่ง  มีความสุข

                การประกันคุณภาพการศึกษาภายในของสถานศึกษาก็คืองานที่สถานศึกษาปฏิบัติได้กันอยู่แล้ว นำมาจัดให้เป็นระบบที่ชัดเจนขึ้น เพื่อให้เกิดการปฏิบัติงานที่ได้มาตรฐานเชื่อถือได้สม่ำเสมอและต่อเนื่องสร้างความมั่นใจต่อสังคมได้ว่าสถานศึกษามีศักยภาพในการจัดการศึกษารายงานต่อสาธารณชนได้ว่า ผู้เรียนทุกคนของสถานศึกษาได้รับการเรียนรู้หรือไม่เพียงใด ใช้วิธีการใดในการพัฒนาผู้เรียน และทราบได้อย่างไรว่า ผู้เรียนทุกคนเกิดการเรียนรู้ ตลอดจนต้องมีการเปลี่ยนแปลงอะไรอีกบ้าง เพื่อให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ที่สูงขึ้น สามารถบรรลุผลตามมาตรฐานที่สถานศึกษากำหนดให้สูงขึ้นตามศักยภาพของผู้เรียน ฉะนั้นการประกันคุณภาพ ระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา จึงประกอบด้วยภาระงานสำคัญที่มิใช่สิ่งแปลกใหม่ แต่กลับเป็นการจัดการที่สร้างความเข้มแข็งให้สถานศึกษาประกอบด้วยการจัดระบบบริหารและสารสนเทศ มาตรฐานการศึกษาระดับสถานศึกษา แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา การดำเนินงานตามแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา การตรวจสอบและทบทวนคุณภาพของสถานศึกษา การประเมินคุณภาพการศึกษา การรายงานคุณภาพการศึกษาประจำปี และการผดุงระบบการประกันคุณภาพการศึกษา 

 

7.  นโยบายโรงเรียนดีประจำตำบลท่านคิดว่าเกิดจากตัวแบบนโยบายสาธารณะตัวแบบใด  จงอธิบายและให้เหตุผลประกอบ

                นโยบายโรงเรียนดีประจำตำบลเกิดจากตัวแบบนโยบายสาธารณะตัวแบบเชิงระบบ (System Model) คือ  นโยบายสาธารณะเกิดขึ้นจากการกลั่นกรองของระบบการเมือง

 ตัวแบบเชิงระบบ(System Model)

ลักษณะสำคัญ

                • นโยบายเป็นผลผลิตของระบบการเมือง

                • ความมีเหตุผลจะขึ้นอยู่กับขีดความสามารถของระบบเอง

จุดเด่น

                • การกำหนดนโยบายจะเป็นไปอย่างมีระบบ

                • นโยบายเกิดจากข้อเรียกร้องและการสนับสนุนจึงจะมีประโยชน์ต่อส่วนรวม

จุดด้อย

                • ปัจจัยในด้านสภาพแวดล้อมยังคลุมเครือไม่มีความชัดเจน

                • ระบบการเมืองที่มีความเหมาะสมยังคงมีลักษณะที่เป็นปริศนา

                • ปัจจัยนำเข้าอาจมีอิทธิพลต่อระบบการเมือง

                • ลักษณะของระบบการเมืองอาจส่งผลต่อสาระของนโยบาย

                • ปัจจัยแวดล้อมนำเข้าอาจส่งผลต่อเนื้อหาสาระของนโยบาย

                • ตัวนโยบายอาจส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมและระบบการเมืองไปพร้อมกัน

 

9.  จงอธิบาย   Blue  Ocean   Strategy  พร้อมยกตัวอย่างพอสังเขป

                Blue Ocean Strategy หรือ กลยุทธ์ทะเลสีน้ำเงิน  เป็นแนวคิดที่มาจากนักวิชาการสองคนชื่อ W. Chan Kim และ Renee Mauborgne ซึ่งทั้งคู่เป็นอาจารย์จาก INSEAD สถาบันทางด้านบริหารธุรกิจชื่อดังในฝรั่งเศส เช่นเดียวกับพัฒนาการของแนวคิดทางการจัดการอื่นๆ ที่โด่งดัง นักวิชาการทั้งสองท่านได้ร่วมกันเขียนบทความที่นำไปสู่เรื่องของ Blue Ocean ในวารสาร Harvard Business Review

                หลักการของ Blue Ocean นั้น จะไม่มุ่งเน้นที่จะตอบสนองต่ออุปสงค์ที่มีอยู่ แต่จะเน้นในการสร้างความต้องการหรืออุปสงค์ขึ้นมาใหม่ หรือที่เรียกว่า Demand Creation โดยไม่สนใจและให้ความสำคัญกับคู่แข่งเดิมๆ ที่อยู่ในอุตสาหกรรม เป็นการสร้างความต้องการของลูกค้า และอุตสาหกรรมใหม่ขึ้นมา ก่อให้เกิดประโยชน์หรือคุณค่าทั้งต่อองค์กรเองและลูกค้า โดยลูกค้าก็จะได้รับคุณค่าที่ก่อให้เกิดความแตกต่าง ในขณะที่องค์กรก็จะลดต้นทุนในส่วนที่ไม่จำเป็น และนำไปสู่การเติบโตขององค์กรอย่างยั่งยืน

                หลักการของ Blue Ocean Strategy นำเสนอว่า แทนที่จะมุ่งลอกเลียนแบบและเอาชนะคู่แข่งขัน จะต้องแสวงหาทะเลแห่งใหม่ แทนที่จะเป็นทะเลที่แดงด้วยเลือด(red ocean) แบบที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งเขาก็อุปมาเหมือนกับเป็น Blue Ocean Strategy โดยมีแนวทางในการวิเคราะห์อยู่ 4 ข้อได้แก่

                1.การยกเลิก (Eliminated) ของบางอย่างที่เราเคยคิดว่า ลูกค้าต้องการ แต่จริงๆ แล้ว ในปัจจุบันลูกค้า อาจจะไม่มีความต้องการเลยก็ได้

                2.การลด (Reduced) การนำเสนอคุณค่าบางอย่างให้ต่ำกว่าอุตสาหกรรม ซึ่งเราอาจจะเคยคิดว่าคุณค่านั้นๆ ลูกค้ามีความต้องการมาก แต่จริงๆ อาจจะไม่มากอย่างที่เราคิด

                3.การเพิ่ม (Raised) ปัจจัยบางอย่างให้สูงกว่าระดับอุตสาหกรรม

                4.การสร้าง (Created) คุณค่าบางประการที่ไม่เคยมีการนำเสนอ ในอุตสาหกรรมมาก่อน

                กลยุทธ์ทะเลสีคราม (Blue Ocean Strategy) เป็นการมองเรื่องการเติบโตด้วยแนวทางใหม่ เป็นการโต้แย้งหลังการกลยุทธ์ทะเลสีแดง (Red Ocean Strategy) ซึ่งการมุ่งเน้นเพื่อเอาชนะคู่แข่งและการแย่งส่วนแบ่งตลาดเพียงอย่างเดียวนั้น จะทำให้เกิดการแข่งขันในอุตสาหกรรมมากขึ้น จนกระทั่งสินค้าที่แข่งขันกันในตลาดมีมากจนไม่แตกต่างกัน จะทำให้องค์กรต้องแข่งขันด้านราคา ซึ่งทำให้เกิดการเจ็บตัวกันขึ้นทำให้เป็นที่มาของการแข่งขันกันแบบทะเลสีแดง ซึ่งกลยุทธ์ต่างๆ ที่สร้างขึ้นนั้นมีแนวคิดจากกลยุทธ์ทางการทหาร

                กลยุทธ์ทะเลสีคราม มุ่งหลีกเลี่ยงการแข่งขันแบบการกลยุทธ์ทะเลสีแดง โดยต้องพยายามพัฒนาสินค้าให้มีความแตกต่างหรือต้องสร้างความต้องการใหม่ๆ (New Demand) ขึ้นมาเสมอโดยใช้ นวตกรรมใหม่ๆ (Innovation) หรือเป็นทะเลใหม่ซึ่งเป็นทะเลสีครามนั่นเอง และที่กลยุทธ์ทะเลสีครามได้รับการตอบรับดีเนื่องมาจากมีเครื่องมือสนับสนุนครบ บริษัทต่างๆ ที่นำกลยุทย์นี้มาใช้ ได้แก่ สตาร์บัค ซีเอ็นเอ็น เป็นต้น และถ้าเราต้องการสร้างกลยุทธ์ขององค์กรให้เป็นแบบทะเลสีครามนั้น ต้องมาพิจารณาก่อนว่าลูกค้าในอุตสาหกรรมของเราในตอนนี้ซื้อสินค้าหรือบริการเราเนื่องจากราคาที่ต่ำหรือซื้อที่ความแตกต่าง แล้วจึงมาเริ่มมองว่าใครคือ Non-customer ซึ่ง Non-customer นี้ไม่ได้หมายถึงคนที่ไม่ได้เป็นลูกค้าของเรา แต่มองว่าเป็นคนที่ไม่ใช่ลูกค้าของดลาดในปัจจุบัน

 ตัวอย่าง Blue Ocean  strategy : ความสำเร็จของโรงแรม Formule 1 ฝรั่งเศส

                ความสำเร็จของโรงแรม Formule 1 ฝรั่งเศส ซึ่งอยู่ในเครือ Accor ที่ประสบความสำเร็จอย่างงดงาม แม้ว่าจะเกิดขึ้นในช่วงที่อุตสาหกรรมโรงแรมราคาในฝรั่งเศสในช่วงกลางทศวรรษ 1980 กำลังย่ำแย่ เพราะตลาดไม่เติบโต จำนวนห้องล้นเกินความต้องการ มีคู่แข่งมาก โลเคชั่นดี ๆ ถูกจับจองไปหมดแล้ว และกำไรต่ำ สิ่งที่ โรงแรม Formule 1 ทำก็คือ การหาทำเลที่ตั้งของโรงแรมใหม่ แทนที่จะต้องอยู่ในเมืองก็เลือกอยู่ใกล้กับมอเตอร์เวย์ ซึ่งทำให้คนเดินทางระหว่างไม่ต้องลำบากวนเข้าไปหาที่พักในเมือง นอกจากนี้ยังลดค่าใช้จ่าย ด้วยการรับจองทางโทรศัพท์ จ่ายค่าบริการผ่านบัตรเครดิตการ์ด และจะได้รับรหัสห้องพัก เพื่อลูกค้าจะได้เข้าไปใช้บริการได้เอง เพราะโรงแรมไม่มีเคาน์เตอร์เช็คอิน พูดง่าย ๆ ที่ Formule 1 ไม่มีพนักงานให้บริการของพวกนี้ ไม่เปลืองที่ และไม่ต้องจ่ายค่าจ้าง รวมถึงไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกอย่างห้องอาหาร เลาจ์น ห้องก็ขนาดเล็ก แต่สิ่งที่ Formule 1 นำเสนอให้ลูกค้าทดแทนก็คือเตียงนอนคุณภาพดี ห้องพักสะอาด และเงียบ เพราะมองว่าเป็นสิ่งที่ลูกค้าต้องการมากกว่า ส่งผลให้ Formule 1 เป็นโรงแรมราคาถูกที่ประสบความสำเร็จมาจนทุกวันนี้

  

10.  จงอธิบายการนำ  Seven  S-Framework  ของ  Mckinsey  ไปใช้ในการนำกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติ

                แนวคิดนี้ได้รับการเผยแพร่เป็นครั้งแรกในปี ค.ศ.1980 โดย Robert Waterman, Tom Peter and Julien Phillips แนวคิดนี้ต้องการนำเสนอว่าประสิทธิภาพขององค์กรธุรกิจเกิดจากความสัมพันธ์ของปัจจัยต่างๆ 7 ประการ ของธุกิจว่ามีลักษณะและมีสภาพอย่างไร
                                1. กลยุทธ์ (Strategy) หมายถึง การวางแผนเพื่อตอบสนองการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม การพิจารณา จุดแข็ง จุดอ่อน ของกิจการ
                                2. โครงสร้าง (Structure) เป็นโครงสร้างขององค์การที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ รวมถึงขนาดการควบคุม การรวมอำนาจ และการกระจายอำนาจ ของผู้บริหาร การแบ่งโครงสร้างงานตามหน้าที่ ตามผลิตภัณฑ์ ตามลูกค้า ตามภูมิภาค ได้อย่างเหมาะสม
                                3. ระบบ (System) หมายถึงกระบวนการและลำดับขั้นการปฎิบัติงานทุกอย่างที่เป็นระบบที่ต่อเนื่องสอดคล้องประสานกันทุกระดับ
                                4. รูปแบบ (Style) หมายถึง การจัดการที่มีรูปแบบวิธีที่เหมาะสมกับลักษณะองค์การ เช่น การสั่งการ การควบคุม การูงใจ สะท้อนถึงวัฒนธรรมองค์การ
                                5. การจัดการบุคคลเข้าทำงาน (Staff) หมายถึง การคัดเลือกบุคลากรที่มีความสามารถ การพัฒนาบุคคลกรอย่างต่อเนื่อง
                                6. ทักษะ (Skill) หมายถึง ความโดดเด่น ความเชี่ยวชาญในการผลิต การขาย การให้บริการ
                                7. ค่านิยมร่วม ( Shared value) หมายถึง ค่านิยมร่วมกันระหว่างคนในองค์การ ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
                Seven  S-Framework เป็นกรอบการพิจารณาและการวางแผนเพื่อการกำหนดกลยุทธ์ในองค์การโดยการประสานองค์ประกอบทั้ง 7 ตัวให้สอดคล้องประสานกัน ตัวแปรแต่ละตัวมีความสำคัญต่อการบริหารองค์การ เริ่มตั้งแต่การกำหนดกลยุทธ์องค์การเกี่ยวข้องกับการพิจารณาโครงสร้างองค์การ เป้าหมายขององค์การ ระบบการดำเนินงาน ทักษะที่ใช้ในการทำงาน บุคลากร รูปแบบพฤติกรรมของพนักงานและเป้าหมายที่ต้องการ

 12.  Pest Analysis  ใช้ทำอะไร ประกอบด้วยอะไรบ้าง

                 PEST Analysis  เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับวิเคราะห์สิ่งแวดล้อมภายนอกทางการตลาดระดับมหภาค (Macro Environment) โดยเฉพาะ   

                PEST Analysis  ประกอบไปด้วย     

                                Political Factors ปัจจัยทางด้านการเมือง เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อองค์กรเป็นอย่างมากทั้งในแง่กฎเกณฑ์สำหรับภาคธุรกิจ กำลังการซื้อของผู้บริโภค และอื่นๆ ซึ่งมีประเด็นที่จำเป็นต้องพิจารณา เช่น
                                - สิ่งแวดล้มทางการเมืองมีความมั่นคงเพียงใด                           

                                - นโยบายของรัฐบาลมีผลต่อกฎหมายที่เกี่ยวกับองค์กรอย่างการเก็บภาษีหรือไม่
                                Economic Factors ปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจ นักการตลาดจะต้องพิจารณาสถานการณ์เศรษฐกิจการค้าทั้งในระยะสั้นและระยะยาว โดยเฉพาะเมื่อต้องการทำการตลาดระหว่างประเทศ โดยต้องมีการพิจารณา
                                - อัตราดอกเบี้ย
                                - ระดับเงินเฟ้อ, อัตราการว่างงาน
                                Socio-cultural Factor ปัจจัยทางด้านสังคมและวัฒนธรรม ลักษณะทางสังคมและวัฒนธรรมมีอิทธิพลแตกต่างกันตามแต่ละประเทศ จำเป็นต้องมีการพิจารณา เช่น
                                - ศาสนาหลักของประชากรคือศาสนาอะไร
                                - ผู้คนมีทัศนคติต่อสินค้าหรือบริการจากต่างชาติอย่างไร
                                - ภาษามีผลต่อสินค้าในตลาดหรือไม่

                                Technological Factors ปัจจัยทางด้านเทคโนโลยี เป็นสิ่งสำคัญสำหรับการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน เป็นแรงผลักที่สำคัญของโลกภิวัฒน์ โดยให้พิจารณาประเด็นต่อไปนี้
                                - มีเทคโนโลยีอะไรช่วยให้ผลิตสินค้าหรือบริการได้ถูกลง และมีมาตรฐานดีขึ้นหรือไม่
                                - มีเทคโนโลยีที่ทำให้ลูกค้าหรือองค์กรเองมีนวัตกรรมใหม่ขึ้นหรือไม่ เช่น ธนาคารทางอินเตอร์เน็ต หรือโทรศัพท์รุ่นใหม่ เป็นต้น

 

หมายเลขบันทึก: 421667เขียนเมื่อ 21 มกราคม 2011 10:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 13:23 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท