พุทธเศรษฐศาสตร์


การกระทำใด ๆ ที่เกิดความจำเป็น เบียดเบียนตน ชุมชนและธรรมชาติแล้วถือว่าเป็นความโลภ เป็นกิเลสที่พึงหลีกหนี

ความจำเป็นในมุมมองของพุทธเศรษฐศาสตร์            

             ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในสังคมทุกวันนี้ มีสาเหตุมาจากการเอาเศรษฐศาสตร์มาตอบสนองความจำเป็นขั้นพื้นฐานและความโลภ  กิเลสของมนุษย์ หรือตอบสนองการกระทำที่เกินความจำเป็น   ทำให้มนุษย์ตกเป็นทาสความเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนแล้วแสวงหาสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่นอกเหนือความจำเป็น  เกิดการแก่งแย่งชิงดีชิงเด่น การอัดรัดเอาเปรียบ เบียดเบียนผู้อื่น ทำลายธรรมชาติ ทำลายภูมิรู้ภูมิธรรมที่มีอยู่ในท้องถิ่น ทำให้ผู้คนขาดรากเหง้าที่ดีงามของตนเอง               

                 พุทธเศรษฐศาสตร์ให้ความสำคัญกับความจำเป็นขั้นพื้นฐานด้านปัจจัยสี่  แต่เน้นเพื่อความอยู่รอด พอเหมาะพอดีต่อสุขภาพ ไม่มากไม่น้อยเกินไป                   ในขณะเดียวกันพุทธเศรษฐศาสตร์ยังให้ความสำคัญกับ ความปรารถนา ซึ่งหมายถึงความต้องการหรือการกระทำที่นอกเหนือจากปัจจัยสี่ โดยเน้นอยู่ที่หน้าที่และความจำเป็นของสิ่งนั้นหรือการกระทำนั้น ๆ  ว่ามีความเหมาะสมกับการใช้งานและการกระทำนั้นต้องไม่เบียดเบียนตนเองผู้อื่น ชุมชนและธรรมชาติ               

                  ดังนั้นในแง่ของพุทธเศรษฐศาสตร์แล้ว การกระทำใด ๆ ที่เกิดความจำเป็น เบียดเบียนตน ชุมชนและธรรมชาติแล้วถือว่าเป็นความโลภ  เป็นกิเลสที่พึงหลีกหนี                

                การนำพุทธเศรษฐศาสตร์มาใช้ในเศรษฐกิจพอเพียงจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งเพราะผู้ที่จะเข้าใจในหลักเศรษฐกิจพอเพียงและนำไปปฏิบัติให้เกิดผลนั้น จะต้องมีการกระทำเพื่อตอบสนองความจำเป็นขั้นพื้นฐานภายใต้ความเหมาะสมกับความจำเป็นในการใช้งานตามบริบทต่าง ๆ ของตนเอง และเป็นการกระทำที่ไม่เบียดเบียนตน  ชุมชนและธรรมชาติ

หมายเลขบันทึก: 42153เขียนเมื่อ 2 สิงหาคม 2006 12:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท