ผักบุ้งบำรุงสายตา ถอนพิษ ช่วยขับถ่าย


ผักบุ้ง : บำรุงสายตา ถอนพิษ ช่วยขับถ่าย ประโยชน์ของผักกำละ 5 บาท

10 มกราคม 2553 - 00:00

ใครอยากมีสายตาดี อยากถนอมสายตาไว้ใช้ชั่วชีวิต สิ่งสำคัญคือต้องบำรุงรักษา กินอาหารที่ช่วยในการบำรุงสายตาอย่างสม่ำเสมอ และหลีกเลี่ยงปัจจัยที่จะทำให้ดวงตาเสื่อมก่อนวัย เช่น แสงแดด ลม คอมพิวเตอร์ การดูทีวีนานๆ การใช้สายตาในช่วงที่แสงไม่เพียงพอ สิ่งเหล่านี้ล้วนเอื้อให้เกิดปัญหากับสายตาทั้ง

สำหรับอาหารสมุนไพรที่ขึ้นชื่อในการบำรุงสายตา คือ ผักบุ้ง เป็นผักที่มีวิตามินเอสูง ช่วย

ในการบำรุงสายตา แม้จะมีผักตัวอื่นๆ ที่มีวิตามินเอเช่นกัน แต่ก็ไม่ได้รับการระบุว่าเป็นผักบำรุงสายตาอย่างผักบุ้งเลย คนโบราณแนะลูกหลานกินผักบุ้งตาหวาน แม้ว่าจะไม่รู้ว่าผักบุ้งมีวิตามินเอที่มีประโยชน์ต่อสายตาก็ตามแต่ ผักบุ้งจึงได้ชื่อว่าเป็นผักที่เป็นมิตรกับสายตา สรรพคุณระบุว่า แก้ตาฟางหรือตาบอดกลางคืนได้ดี ช่วยให้หายแสบตาจากอาการตาแห้ง และลดอาการปวดกระบอกตาในกรณีที่ใช้สายตาเยอะๆ ถ้าช่วงนี้ใครที่รู้สึกว่าปวดตา ใช้สายตาเยอะ ตาแห้ง และค่อนข้างล้า ลองกินผักบุ้งเยอะๆ แล้วจะพบว่ามันช่วยได้จริงๆ

การกินผักบุ้งไม่ว่าจะผักบุ้งไทย ผักบุ้งจีน ล้วนแต่มีประโยชน์ต่อการบำรุงสายตาทั้งสิ้น ถ้าใครที่กินผักบุ้งมาตั้งแต่เด็กๆ จนอายุมากขึ้นก็จะยังคงมีสายตาดี ไม่มีปัญหาเรื่องสายตายาว และเชื่อว่ากินประจำยังช่วยป้องกันต้อกระจกได้ด้วย ดังนั้น ผู้ปกครอง คุณพ่อ คุณแม่ ควรให้ลูกได้กินผักบุ้งเยอะๆ หรืออย่างสม่ำเสมอ ให้ได้รับสารบำรุงสายตาตั้งแต่เด็กๆ เป็นการบำรุงอย่างสะสมทรัพย์ จะเป็นการช่วยให้ลูกหลานมีสายตาดีจนชั่วชีวิตของพวกเขา

ในทางโภชนาการผักบุ้งยังมีสารสำคัญอื่นๆ นอกเหนือจากวิตามินเอที่เป็นประโยชน์ต่อร่าง

กาย อาทิ แคลเซียม วิตามินซี เส้นใยอาหาร คาร์โบไฮเดรต เหล็ก ฟอสฟอรัส มากน้อยแตกต่างกันไป

ในทางการแพทย์แผนไทย ระบุว่า ผักบุ้งมีรสเย็น มีสรรพคุณถอนพิษสำแดงต่างๆ หรือช่วยในการขับสารพิษอออกจากร่างกายได้ หมอแผนไทยบางท่านแนะให้นำมาใช้ในการขับพิษสำหรับเกษตรกรที่ใช้สารเคมีทางการเกษตร ซึ่งจะได้รับสารพิษอันตราย หรือใช้ในการบำบัดรักษาผู้ป่วยติดยาเสพติด ในกรณีนี้อาจใช้กับตัวยาอื่นๆ ตามตำรับของหมอแต่ละคนเพื่อช่วยขับพิษและฤทธิ์ของยาเสพติด หรือในกรณีที่กินสารพิษ กินเห็ดพิษ ร่างกายได้รับสารตะกั่ว สารหนู โดยแนะให้เอาผักบุ้งแดงต้มเอาน้ำดื่มเป็นประจำ

สรรพคุณของผักบุ้งช่วยในการขับสารพิษออกจากร่างกาย โดยเฉพาะผักบุ้งแดง ที่คนส่วนใหญ่ไม่ค่อยกินกันเพราะมีรสเฝื่อน จึงนิยมนำไปกินกับส้มตำมะละกอ คนในเมืองที่ชีวิตต้องเผชิญกับมลพิษในอากาศ อาหาร ลองเอาผักบุ้งแดงมาทำเป็นชาไว้ดื่มเพื่อช่วยขับสารพิษจากร่างกายก็น่าจะเหมาะไม่น้อย หรือใช้ผักบุ้งต้มอาบ หรืออบร่วมกับสมุนไพรตัวๆ ก็จะช่วยขับพิษออกทางรูขุมขน

ส่วนกรณีที่ใครท้องผูกเป็นประจำขับถ่ายไม่ออก แนะให้กินผักบุ้งสดหรือผักบุ้งลวก จิ้มกับน้ำ

พริกในมื้อเย็น ส่วนน้ำต้มผักก็สามารถใช้ดื่มได้ ผักบุ้งจะช่วยให้อุจจาระนิ่ม และช่วยขับของเสียพร้อมดูดซับเอาของเสียนั้นออกมาพร้อมในกระบวนการขับถ่ายด้วย กินผักบุ้งเป็นประจำจะช่วยปัดกวาดทำความสะอาดเอาของเสียที่ตกค้างในลำไส้ออกมาด้วย ช่วยให้การดูดซึมอาหารดีขึ้น

สรรพคุณส่วนต่างๆ ของผักบุ้ง คือ ราก ใช้ถอนพิษ แก้ผิดสำแดง แก้โรคตา แก้ตกขาวใน

สตรี แก้ปวดฟันเนื่องจากฟันเป็นรู แก้ไอเรื้อรัง แก้เหงื่อออกมาก แก้บวม แก้พิษงูเห่า เถา ถอนพิษ แก้พาเบื่อเมา ถอนพิษยาทั้งปวง แก้ตาฟาง แก้โรคตา ยอดอ่อน ถอนพิษ รักษาริดสีดวงทวาร แก้เด็กเป็นหวัด ใบ แก้พิษขนของบุ้ง รักษาริดสีดวงทวาร ถอนพิษยาเบื่อเมา แก้ตาฟาง แก้พิษฝี ปวด อักเสบ ดอกตูม รักษากลากเกลื้อน ทั้งต้น รักษาตาแดง รักษาตาฟาง รักษาตามัว แก้เบาหวาน แก้ปวดศีรษะ แก้ผิวหนังผื่นคัน แก้กลากเกลื้อน เป็นยาระบาย แก้ไข้ แก้โรคนอนไม่หลับ ถอนพิษ แก้พิษเบื่อเมา

ตัวอย่างในการใช้ผักบุ้งรักษาโรคต่างๆ ได้แก่

- แก้เลือดกำเดาออกมากผิดปกติ ใช้ต้นสดตำผสมน้ำตาลทรายชงน้ำร้อนดื่ม

- แก้หนองใน ปัสสาวะเป็นเลือด ถ่ายเป็นเลือด ใช้ลำต้นตำคั้นนำน้ำมาผสมกับน้ำผึ้งดื่ม

- แก้ริดสีดวงทวาร ใช้ต้นสด 1 กิโลกรัม กับน้ำ 1 ลิตร ต้มให้เละ เอากากทิ้งใส่น้ำตาลทรายขาว 120 กรัม เคี่ยวให้ข้นเหนียว ทานครั้งละ 90 กรัม วันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น จนหาย

- แก้แผลมีหนองช้ำ ใช้ต้นสดต้มน้ำให้เดือดนานๆ ทิ้งไว้พออุ่นเอาน้ำล้างแผลวันละครั้ง

- แก้พิษตะขาบกัด ใช้ต้นสดเติมเกลือ ตำพอกแผล

- ฟันเป็นรูปวด ใช้รากสด 120 กรัม ผสมน้ำส้มสายชู คั้นนำน้ำอมบ้วนปาก

ผักบุ้งยังมีประโยชน์ต่อสุขภาพร่างกายอีกเยอะแยะมากมาย ราคาก็ถูก ตามตลาดส่วนใหญ่ขายกำละ 5 บาท หรือบางบ้านก็ปลูกไว้กินเอง บางแห่งขึ้นเกลื่อนตามห้วยหนองคลองบึงต่างๆ หรือที่ว่างเปล่า โดยเฉพาะหน้าหนาวผักบุ้งแดงตามทุ่งนาออกดอกสีม่วงสีขาวท้าลมหนาว อย่างไม่รู้หนาวเหน็บ ลองนำผักบุ้งมาทำเครื่องดื่ม โดยเอาผักบุ้งมาปั่นรวมกับผักอื่นๆ เช่น บัวบก ตำลึง ย่านาง หญ้าปักกิ่ง กรองเอาแต่น้ำ ปรุงแต่งรสด้วยน้ำมะพร้าวอ่อน หรือน้ำอ้อย รสชาติอร่อยและมีประโยชน์ต่อร่างกายอย่างยิ่ง อาหารมื้อต่อไปอย่าลืมให้โอกาสผักบุ้งได้ทำหน้าที่ของผักที่ดีต่อสุขภาพของท่านด้วย.

 

หมายเลขบันทึก: 421307เขียนเมื่อ 19 มกราคม 2011 14:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 18:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ประโยชน์ของผักบุ้งนี้มากมายเหลือเกินเนอะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท