ผักพื้นบ้านไทย


รูปผักพื้นบ้านไทยที่หาชมยาก


ชื่อ "ชะอม"
วงศ"LEGUMINOSAE"
ชื่อวิทยาศาสตร์ "AcaciaPennata(L.)Willd.Subsp.
InsuavisNielsen"
ชื่อพื้นเมือง "ผักหละ(เหนือ),ฝ่าเซ้งดู่,พูซูเด๊าะ
(กระเหรี่ยง,แม่ฮ่องสอน)โพซุยโดะ(กระเหรี่ยง,
กำแพงเพชร),อม(ใต้),ผ้กขา(อุดรธานี,อีสาน),
ผักหล๊ะ(ไทยยอง)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ชะอมเป็นไม้พุ่มขนาดย่อมแต่เคยมีพบชะอมในป่าลักษณะเป็นต้นไม้ใหญ่วัดเส้นรอบวงของลำต้นได้1.2เมตร
ไม้ชะอมที่ปลูกตามบ้านจะพบในลักษณะไม้พุ่มและเจ้าของมักตัแต่งกิ่งเพื่อให้ออกยอดไม่สู่เกินไปจะได้เก็บยอด
ได้สะดวกตามลำต้นและกิ่งก้านมีหนามแหลมใบเป็นใบประกอบขนาดเล็กมีก้านใบแยกเป็นใบอยู่2 ทางลักษณะ
คล้ายใบกระถินหรือใบส้มป่อยใบอ่อนมีกลิ่นฉุนคล้ายกลิ่นลูกสะตอใบเรียงแบบสลับใบย่อยออกตรงข้ามกัน
ไบย่อรูปรีมีประมาณ13-28คู่ขอบใบเรียบปลายใบแหลมดอกออกที่ซอกใบสีขาวหรือขาวนวลดอกขนาด
เล็กและเห็นชัดเฉพาะเกสรตัวผู้ที่เป็นฝอยๆ

การปลูก
ชะอมเป็นไม้ที่ปลูกง่ายปลูกโดยวิธีการปักชำการเพาะเมล็ดการตอนกิ่งและการโน้มกิ่งที่มีข้อปักดินเพื่อให้ได้
ต้นใหม่แต่วิธีที่นิยมและได้ผลดีคือการเพาะเมล็ดการปลูกชะอมมักปลูกในฤดูฝนเพราะไม่ต้องดูแลมากนักการ
เพาะเมล็ดทำได้โดยเอาเมล็ดใส่ถุงพลาสติกแล้วรดน้ำวันละ1ครั้งเมื่อเมล็ดงอกแล้วจึงย้าไปปลูกยังแปลว
ที่เตรียมไว้ควรปลูกห่างกันประมาณ5-5เมตรเนื้อที่1ไร่จะปลูกได้ประมาณ60ต้นปุ๋ยที่ใช้ดูแลรักษามักใชัปุ๋ย
สดหรือมูลสัตว์ถ้าต้องการให้ชะอมสมบูรณ์และแตกยอดเร็วต้องดูแลและควรรดน้ำให้สม่ำเสมอและเพียง
พอเมื่อเก็บยอดชะอมควรเหลือไว้ที่ยอด3-4ยอดเพื่อให้ชะอมได้ปรุงอาหารหายใจมิฉะนั้นชะอมจะตายชะอม
เป็นรายได้เสริมให้กับเกษตรกรได้ดีมีการบันทึกถึงรายได้จากการขายยอดชะอมของชาวบ้านที่จ.สุรินทร์
พบว่ามีรายได้2000-7000ต่อเดือนขึ้นกับฤดูกาลและขนาอของพื้นที่ที่ปลูกนอกจากนี้ยังเป็นไม้ที่ปลูกเพียงครั้งเดียและเจริญเติบ
โตให้ยอดอ่อนได้นานหลายปี

ประโยชน์ทางยา
รากของชะอมสรรพคุณแก้ท้องเฟ้อขับลมในลำไส้แก้อาการปวดเสียวในท้องได้ดี

ประโยชน์ทางอาหาร
ส่วนที่เป็นผัก/ฤดูกาล"ยอดอ่อนใบอ่อน"เป็นไม้ที่ออกยอดทั้งปีแต่จะออกมากในฤดูฝนชาวเหนือนิยมรับ
ประทานยอดชะอมหน้าแล้งเพราะผักชะอมหน้าฝนจะมีรสเปรี้ยวกลิ่นฉุนบ้างครั้งทำให้ปวดท้อง
การปรุงอาหารชะอมเป็นผักที่รับประทานได้ในทุกภาคของเมืองไทยวิธีการปรุงเป็นอาหารคือรบประทาน
เป็นผักจิ้มโดยการลวกหรือนึ่งให้สุกหรือใช้ยอดอ่อนใบอ่อนเด็ดเป็นชิ้นสั้นๆแล้วชุบกับไข่ทอดรับประทาน
ร่วมกับน้ำพริกกะปิชาวเหนือรับประทานร่วมกันส้มตำมะม่วงตำส้มโอนอกจากนี้ชาวเหนือและชาวอีสาน
ยังนิยมนำไปปรุงเป็นแกงเชนชาวอีสานมักนำไปแกงรวมกับปลาไก่เนื้อกบเขียดต้มเป็นอ่อมหรือแกงแกง
ลาวและแกงแคของชาวเหนือเป็นต้น

รสและประโยชน์ต่อสุขภาพ
ยอดชะอมใบอ่อนมีรสจืดกลิ่นฉุน(กลิ่นหอมสุขุม)ช่วยลดความร้อนของร่างกายยอดชะอม100กรัมให้พลัง
งานกับสุขภาพ57กิโลแคลอรี่ประกอบด้วยเส้นใย5.7กรัมแคลแซียม58มิลลิกรัมฟอสฟอรัส80มิลลิกรัม
เหล็ก4.1มิลลิกรัมวิตามินเอ10066IUวิตามินบีหนึ่ง0.05มิลลิกรัมวิตามินบีสอง0.25มิลลิกรัมในอาซิน
1.5มิลลิกรัมวิตามินซี58มิลลิกรัม

ขอขอบคุณที่มาจากhttp://www.fortunecity.com/campus/springbank/677/std1/P8.html


 

คำสำคัญ (Tags): #ชะอม
หมายเลขบันทึก: 421023เขียนเมื่อ 18 มกราคม 2011 09:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 พฤษภาคม 2012 14:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ทำใข่ทอดใส่ชะอม อร่อยบอกใคร

# ตอนนี้มีกลุ่มคนปลูกผักกินได้ครับ

# ลองแก้ไขคำสำคัญโดยเพิ่ม กลุ่มคนปลูกผักกินได้ นะครับ

#

#

   ผักชะอม ที่บ้านผักกาดหญ้า เรียกว่าผักขา นิยมทอดไข่ใส่ชะอมแล้วกินกับน้ำพริก อร่อยดี บางทีก็แกงใส่หน่อไม้ หรือไม่ก้ลวกน้ำร้อน กินกับน้ำพริก แต่ผักกาดหญ้า(ชะเลือด)กินยอดสดกับอาหารหลายอย่าง อร่อยดี

สวัสดีค่ะทุกคน

หนูขอบคุณที่เข้ามาแวะเยี่ยมค่ะ

มือใหม่ค่ะ เพราะเรียน ป.บัณฑิตค่ะ ก็เลยได้มีอะไรดี ๆ อย่างนี้ในการเรียนค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท