(PR) โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการสถานการณ์การย้ายถิ่นและผลกระทบจากการถูกละเมิดสิทธิและการค้ามนุษย์ในกลุ่มแรงงานข้ามชาติ


จากการทำงานมากว่า 5 ปี มูลนิธิเครือข่ายส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงงาน (LPN)
พบว่าแรงงานข้ามชาติส่วนใหญ่ประสบปัญหาจาก การกระทำของกระบวนการนายหน้า
ไม่ว่าจะเป็นการถูกบังคับใช้แรงงาน ตกเป็นเหยื่อกระบวนการค้ามนุษย์
เช่นที่โรงงานแกะกุ้งแห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรสาคร มีผู้เสียหายที่ตกเป็นเหยื่อถูกค้ามนุษย์
กว่า 70 ชีวิตที่เป็นทั้งผู้หญิงและเด็ก ถูกบังคับใช้แรงงานโดยได้รับค่าแรงที่ไม่เป็นธรรม
(กักขัง ทำร้ายร่างกาย ทำงานในระยะยาวนาน ไม่มีวันหยุด บังคับทำงาน หักค่าแรงไม่เป็นธรรม)
แม้ว่าแรงงานส่วนใหญ่จะเป็นแรงงานที่จดทะเบียนขอใบอนุญาตทำงานถูกต้องตามกฎหมาย
...

...
การแก้ไขปัญหาในเบื้องต้น มีความจำเป็นที่จะต้องศึกษาองค์ความรู้เกี่ยวกับ “กระบวนการ การเข้าสู่การค้ามนุษย์” ว่าเป็นอย่างไร
โดยศึกษาตั้งแต่สภาพการย้ายถิ่นฐาน ตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทางของการเคลื่อนย้ายแรงงาน
สภาพการณ์ที่ทำให้แรงงานตกเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์
รวมทั้งศึกษาถึงผลกระทบจากการถูกละเมิดสิทธิ เพื่อที่จะทำให้ข้อมูลที่ทราบเป็นปัจจุบัน
และเป็นข้อมูลที่จะทำให้หน่วยงานต่างๆ เท่าทันการเปลี่ยนแปลงและความซับซ้อนของปัญหา
เพื่อเป็นฐานในข้อมูลพัฒนาระบบการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ที่มีประสิทธิภาพสืบไป
...

...

มูลนิธิเครือข่ายส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงงาน (LPN) จึงได้ทำการศึกษาถึงสถานการณ์การย้ายถิ่น
และผลกระทบจากการถูกละเมิดสิทธิและการค้ามนุษย์ในกลุ่มแรงงานข้ามชาติจากพื้นที่ต้นทาง
คือพื้นที่แนวตะเข็บชายแดนที่แรงงานใช้เป็นเส้นทางอพยพเข้ามายังประเทศไทย
ซึ่งเป็นพื้นที่ปลายทางของปัญหา โดยในการศึกษาครั้งนี้มูลนิธิฯ ได้ไปเก็บข้อมูลจากทั้ง
หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน ที่มีการทำงานเกี่ยวข้องกับแรงงานข้ามชาติ
ในพื้นที่ชายแดนของ 6 จังหวัด คือ

พื้นที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก

อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี

อำเภอเมือง จังหวัดระนอง

อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด ซึ่งเป็นพื้นที่ชายแดนติดกับประเทศพม่า

อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว ติดกับชายแดนกัมพูชา

อำเภอสิรินธร อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งเป็นพื้นที่ชายแดนติดกับประเทศลาว
...

...

ผลการศึกษาพบว่าปัญหาที่ยังเป็นทั้งเงื่อนไข และอุปสรรคสำคัญในการทำงาน คือ
กลไกการทำงานของหน่วยงานภาครัฐไม่สามารถแก้ไขปัญหาค้ามนุษย์เชิงคุณภาพได้
ไม่ว่าจะเป็นกลไกทั้งในระดับชาติ และระดับปฏิบัติการ
นอกจากนั้น การทำงานของภาครัฐและภาคเอกชน ยังมีลักษณะต่างคนต่างทำ
จึงส่งผลให้ปัญหาการอพยพเคลื่อนย้ายแรงงาน และปัญหานายหน้าล่อลวงแรงงานเข้าสู่กระบวนการค้ามนุษย์
มีความรุนแรงอยู่อย่างต่อเนื่อง 

ดังนั้นทางมูลนิธิเครือข่ายส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงงาน (LPN)
จึงเห็นความสำคัญที่จะนำผลการศึกษาถึงสถานการณ์ในครั้งนี้นำเสนอเผยแพร่ต่อสาธารณชน

วันที่ 26 มกราคม 2554  เวลา  08.00 – 16.00 น.   ณ  ห้องประชุมศูนย์ศึกษาการพัฒนาสังคม 
คณะรัฐศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

กำหนดการ

08.00 - 09.00   ลงทะเบียน

09.00 – 09.10  กล่าวรายงานความเป็นมาในการจัดประชุม โดย รศ.สุริชัย  หวันแก้ว
                     ประธานมูลนิธิเครือข่ายส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงงาน

09.10 - 09.20  กล่าวเปิดการประชุม  โดย คณะบดีคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

09.20 – 09.30  แนะนำความเป็นมาของโครงการ “ศึกษาสถานการณ์การย้ายถิ่นและผลกระทบ
                     จากการถูกละเมิดสิทธิและการค้ามนุษย์ในกลุ่มแรงงานข้ามชาติ”  
                     โดย คุณสมพงศ์  สระแก้ว  ผู้อำนวยการมูลนิธิเครือข่ายส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงงาน

09.30 – 10.45  นำเสนอ ผลการศึกษา“สถานการณ์การย้ายถิ่นและผลกระทบจากการถูก
                     ละเมิดสิทธิและการค้ามนุษย์ในกลุ่มแรงงานข้ามชาติ”  
                     โดย คุณปฏิมา  ตั้งปรัชญากูล  ผู้จัดการมูลนิธิเครือข่ายส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงงาน

10.45 – 12.0   ให้ข้อเสนอแนะเชิงวิเคราะห์เพิ่มเติมต่อผลการศึกษาและสังเคราะห์
                     ให้เห็นประเด็นในภาพรวม
                     ตัวแทนจากหน่วยงานแต่ละจังหวัดตัวแทนนักวิชาการ
                     ดำเนินรายการโดย น.ส.ปารณัฐ  สุขสุทธิ์   สำนักวิจัยสังคมและสุขภาพ

12.00 – 13.00  รับประทานอาหารกลางวัน

13.00 – 14.00  แบ่งกลุ่มย่อยตามตามพื้นที่จังหวัด หารือ ในประเด็น “การพัฒนาความร่วมมือ
                     และการสร้างกลไกเชิงสหวิชาชีพในการทำงานเพื่อการแก้ไขและป้องกันปัญหาค้ามนุษย์”

14.00 – 15.30  นำเสนองานของแต่ละกลุ่มย่อยในเวทีใหญ่ พร้อมแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น

15.30 – 15.50  สรุปผลการประชุมเชิงปฏิบัติการ โดย ดร.มาลี  สิทธิเกรียงไกร 
                     คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

15.50 – 16.00  กล่าวปิดโดย  อ.สุริชัย  หวันแก้ว  ประธานมูลนิธิฯ

...

พบกันได้ ในวันและเวลาดังกล่าวครับ



ความเห็น (5)
  • น้องปืนครับ
  • น้องปืนไปงานนี้ด้วยใช่ไหมครับ

ไปครับ ผมเป็นหนึ่งในทีมที่ลงไปเก็บข้อมูลที่ อำเภอสิรินธร อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี

ถ้าอาจารย์ไป ก็เจอกันในงานเลยครับ

สวัสดีครับคุณปืน

ผมตามมาขอบคุณที่ได้เยี่ยมผมครับ

ผมตอบคำถามคุณไม่ได้เหมือนกันว่า ทำไม ?

คงต้องใช้เวลานะครับ แต่คำถามทุกคำถามมีส่วนผลักดันให้เกิดคำตอบ

ผมรอให้คุณแวะมาบันทึกของผมตลอดเวลาครับ

เพราะผมได้อ่านบันทึกหลายบันทึกของคุณ

ชอบมุมคิดที่ลึก-ล้ำเกินวัยครับ

ถือเป็นดาวรุ่งของโกทูโนก็ว่าได้

จะติดตามอ่านบันทึกต่อ ๆ ไปนะครับ

จะรอติดตามในบันทึกนะคะ

ขอบคุณคร้บทุกท่าน ยินดีมากคร้บ แล้วจะไปเยี่ยมบ่อยๆ ถ้าว่างมีโอกาสได้พบปะสนทนาคงดี

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท