คันไก่ไข่บ่กระต๊ากให่จับฆ่าถิ่ม


ไก่ไข่ต้องกระต๊ากๆๆ...คำๆนี้หลายท่านคงเคยได้ยินกันมา เป็นคำสอนหรือคำแนะนำของภูมิปัญญาชาวบ้าน ที่บอกว่า ไก่ตัวไหนเวลามันไข่แล้วมันไม่ส่งเสียงร้องกระต๊ากๆๆต้องจับมาฆ่าทิ้งเสียอย่าเลี้ยงไว้ ท่านทราบหรือไม่ว่าเพราะอะไร

ขึ้นหัวข้อที่อาจจะแปลกๆไปสักหน่อย สำหรับคนรุ่นใหม่ๆอย่างเราๆท่านๆ หรืออาจจะแปลกในความคิดของผมก็ไม่ทราบได้ แต่คำๆนี้ไม่ค่อยได้ยินกันบ่อยนัก เท่าที่ผมพอจะจำได้ผมได้ยินมาไม่น่าจะเกิน 2 - 3 ครั้งในชีวิตนี้ ครั้งแรกเมื่อตอนที่เป็นเด็กๆ ผมเห็นคุณพ่อจับแม่ไก่ที่กำลังไข่มาตัวหนึ่งแล้วจัดการแปลรูปเป็นอาหารในมื้อเย็นของวันนั้น ด้วยความอยากรู้และสงสัยในการกระทำของคุณพ่อ จึงถามพ่อว่า

 ทำไมจึงจับไก่ที่กำลังไข่มาฆ่า ทั้งๆที่มีไก่รุ่นกระทงที่เหมาะจะนำมาทำอาหารอยู่ตั้งหลายตัว

คำตอบที่ได้คือ พ่อบอกว่า

ไก่ตัวนี้มันกำลังไข่ก็จริง แต่เมื่อมันไข่แล้วมันไม่กระต๊ากไม่ควรเลี้ยงไว้มันบ่ค้ำบ่คูณ(บ๋ค้ำบ่คูณ คือไม่มีประโยชน์ต่อไป..ไม่ดี)

(กระต๊าก คือเสียงร้องของไก่หลังจากที่ไข่เสร็จแล้ว)ผมลืมบอกไปว่าไก่ที่ว่านี้คือไก่ที่เราเลี้ยงไว้กินเนื้อและบางส่วนก็มีไว้สำหรับขยายพันธ์ ซึ่งเป็นไก่พื้นบ้าน เลี้ยงตามไต้ถุนบ้าน พ่อก็ตอบเพียงแค่นี้ ไม่ได้อธิบายอธิบายอะไรเพิ่มเติม ผมก็เออออไปตามเรื่องประสาเด็ก ครั้งต่อมาเมื่อประมาณสัก  7 - 8 ปีที่แล้ว ผมจำไม่ได้ว่าเป็นท่านใดเป็นคนพูด รางๆว่าเป็นผู้บริหาร หรือวิทยากร อะไปนนี้ เป็นคนพูดคำนี้ขึ้นมา พร้อมอธิบายประกอบว่า การทำงานอะไรก็ตาม ให้ทำเหมือนไก่ กล่าวคือ ก่อนจะไข่ ไก่จะส่งเสียงร้อง ต็อกๆ อ๊อดๆ ไปเรื่อยๆ จนกว่าหาที่ไข่ได้แล้วจึงจะเงียบ และเมื่อไก่ได้ไข่เสร็จแล้ว ก็จะร้องกระต๊ากๆ ทันที นี่เป็นไก่ที่เป็นปกติของธรรมชาติของมัน ซึ่งพอสรุปความได้ว่า ก่อนที่ไก่จะไข่มันจะร้องบอกก่อนว่าจะหาที่ไข่ หรือจะไข่แล้วนะ มันจะร้องบอกใครหรืออะไรผมก็ไม่ทราบ ครั้นเมื่อมันไข่เสร็จแล้ว มันก็จะร้องบอกเสียงดังอีกเช่นกัน หมายความว่า คนเราก็เช่นกัน ถ้าจะทำงานอะไร ควรจะมีการประชาสัมพันธ์ให้คนอื่นรู้ แล้วครั้นทำงานชิ้นนั้นเสร็จสมบูรณ์แล้วก็ควรรายงานผลของการทำงานชิ้นนั้นให้ผู้เกี่ยวข้องหรือสาธารณชนทราบด้วย....นั่นคือการเผยแพร่ผลงานนั่นเอง

แต่มีคำอีกคำหนึ่ง ซึ่งผมมองว่า บางที่อาจจะเป็นจุดด้อยของนิสัยของคนไทยไปก็ได้ ก็คือ คำว่า ทำดีแล้วอย่าเด่นจะเป็นภัย เพราะไม่มีใครอยากเห็นเราเด่นเกิน คำๆนี้ มีผลให้เห็นในสังคมอยู่เป็นระยะๆ เพราะถ้าทำดี แล้วเด่น นั้นจะเป็นที่จับตามองของคนทั่วๆไป หลายคนอาจอิจฉา อาจคอยกลั่นแกล้ง ก็เป็นได้

แล้วเราจะทำอย่างไรกันดี กับคำสอนของบรรพบุรุษไทยเรา ที่อาจจะสวนทางกันสักหน่อย ผมมองว่า ทั้งสองคำมีประโยชน์ ขึ้นอยู่กับการเลือกใช้ว่า เราจะใช้คำใดในเวลาและสถานที่ใด

ท่านใดช่วยอธิบายทีครับ.....

หมายเลขบันทึก: 419424เขียนเมื่อ 10 มกราคม 2011 16:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 05:11 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

เพิ่งเคยได้ยินค่ะ บางทีก็อยากปิดทองหลังพระ

ประเภทพูดไปสองไพเบี้ยนิ่งเสียตำลึงทอง (เข้ากันรึเปล่าคะนี่)

ขอบคุณเรื่องแปลกๆ ค่ะ

Ico48 ขอบคุณครับคุณวิไล นี่แหละครับที่ผมกำลังมองดูสังคมไทยอยู่ ไม่ว่าจะเป็น พูดไปสองไพเบี้ย นิ่งเสียตำลึงทอง ทำดีแล้วอย่าเด่น...แต่ถ้าเราทำดีแล้วไม่บอกให้ทราบ มันจะดีต่อสังคมได้แค่ไหน อันนี้ผมหมายถึงทำงานนะครับ อย่างเช่นครูคิดค้นนวัตกรรมขึ้นมา ก็ต้องเผยแพร่ใช่ไหมครับ มันก็เหมือนกับไก่ที่ไข่แล้วต้องกระต๊ากไงครับ ...เขียนไปเขียนมาผมก็ยังงงอยู่ครับ

เห็นด้วยครับ ทำดีต้องมี PR

Ico48ขอบคุณครับ คุณ บีเวอร์ ยินดีที่ได้แลกเปลี่ยนกันครับ

ขอบคุณมาก ที่ทำให้คิดถึงเรื่องที่อยู่ใกล้ตัว เป็นข้อคิดที่ภูมิปัญญาจริงๆ หากคนเรานำเรื่องใกล้ตัวที่เรารับรู้และสัมผัสกับมันโดยตรง แล้วนำมาหาเหตุหาผล เปรียบเทียบ เป็นอุปมา อุปมัย ได้ทุกๆ เรื่องก็คงจะดี อัจฉริยะ

เข้าใจแล้วค่ะว่าทำไมคนโบราณถึงบอกว่า ไก่ไข่แล้วไม่ขันให้ฆ่าทิ้ง 1ก่อนไข่ต้องขันเพื่อหาที่ไข่ ถ้าไม่ขันเจ้าของไก่ก็จะไม่รู้ว่าไก่ของคุณกำลังจะไข่น่ะ 2ไข่เสร็จแล้วตองขัน เพื่อบอกให้เจ้าของไก่รู้ว่าไข่เสร็จแล้ว มาเก็บไข่ไปกิน ไปขายได้อย่างไงค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท