NGO กับ KM


การ "ถอดความรู้" ๒ แบบ
NGO กับการจัดการความรู้
 
  ในการประชุมปฏิบัติการ คุณอำนวยผู้มีประสบการณ์ ที่บ้านผู้หว่านเมื่อวันที่ ๓ มิ.ย. ๔๘     รศ. ดร. เนาวรัตน์ พลายน้อย แห่งคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  ได้เล่าว่า ตนมีประสบการณ์ได้เข้าไปช่วยหน่วยจัดการความรู้ภาคประชาสังคม คือ LDI    ทำให้ได้สังเกตการณ์ใกล้ชิด    และมองว่า การจัดการความรู้ เป็นวิธีคิด  ไม่ใช่เทคนิค  เป็น reconceptualization ของการทำงาน   NGO ทำ social movement มีความสำเร็จเล็กๆ เป็นจุดๆ แต่ขยายผลไม่ได้   ต้องการ social technique เพื่อเดิน social movement   ต้องมีการทำงานจริง  ให้มี การ เรียนรู้ จากการทำงาน   เรียนรู้ข้ามกลุ่ม  ข้ามประเด็น
   ต้องเลือก core groups ที่นำไปสู่ shortterm win ได้
   คิดว่าวิธีทำงานแบบเดิมๆ จะไม่ได้ผล   ต้องใช้เครื่องมือใหม่คือการจัดการความรู้
           ผมมีข้อสังเกตว่า NGO จำนวนหนึ่ง     ถือว่า KM คือการ “ถอดความรู้” ออกมาจากกิจกรรม หรือปฏิบัติการของชาวบ้าน ร่วมกับตน   การ “ถอดความรู้” ของ NGO มักหมายถึงการถอดบทเรียนออกมาเป็น ความรู้เชิงทฤษฎี (explicit knowledge)    มีการตีความ   สังเคราะห์   ใช้ภาษาวิชาการ      การ ถอดความรู้แบบนี้ มุ่งส่งรายงานให้แก่แหล่งทุน  หรือเผยแพร่แก่สาธารณะ  หรือผลิตผลงานวิชาการ     ความรู้แบบนี้ “คุณกิจ” อาจไม่เข้าใจ  อาจไม่สามารถเอากลับไปใช้ได้
           ผมมีความเห็นว่า การ ถอดความรู้ ยังมีอีกแบบหนึ่ง    คือถอดออกมาเป็นความรู้ฝังลึก (tacit knowledge)  เป็นความรู้เพื่อการปฏิบัติ  เป็นความรู้ชิ้นเล็กๆ  ไม่ผ่านการตีความ  ไม่สังเคราะห์  เป็นความรู้ที่สกัดออกมาจากการปฏิบัติโดยตรง  หรือจาก เรื่องเล่า ความสำเร็จในการปฏิบัติงาน  ใช้ภาษาของผู้ปฏิบัติงาน  หรือของผู้เล่า     การถอดความรู้แบบนี้น่าจะเป็นประโยชน์ต่อ “คุณกิจ” โดยตรง  
วิจารณ์ พานิช
๑๑ มิ.ย. ๔๘
หาดใหญ่
หมายเลขบันทึก: 419เขียนเมื่อ 23 มิถุนายน 2005 04:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 13:52 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท