ประกันคุณภาพการศึกษา


สิ่งที่เราจะหลงลืมไปไม่ได้ ก็คือ คุณธรรม จริยธรรม ของผู้ประเมิน ที่จะเป็นตัวแสดงความเป็นจริงของการประเมินคุณภาพการศึกษา

      คำว่า"ประกันคุณภาพการศึกษา" คำนี้ หลายท่านคงรู้จักและคุ้นเคยดี โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในวงการการศึกษา การไล่เรียงตั้งแต่ระดับโรงเรียน ก็คือประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ตามมาตรฐานที่กำหนด จนถึง คิวของมาตรฐาน สมศ. แล้วก็มีการรับรองว่าผ่านการรับรอง นี่คือขั้นตอนที่เกิดขึ้นตามระบบประกันคุณภาพการศึกษา

      แต่สิ่งที่อยู่ภายในกระบวนการเหล่านี้สิสำคัญ เพราะถือว่าหัวใจของการประกันคุณภาพการศึกษา ไม่ว่าจะเป็นมาตรฐานที่กำหนดขึ้นมา ตัวชี้วัดต่างๆ และผู้ประเมินซึ่งจะเป็นตัวแปรสำคัญในการที่จะให้โรงเรียนเหล่าน้ันผ่านหรือไม่ผ่าน แต่ยังไงก็ตามสิ่งที่ขาดไม่ได้ก็คือบริบทของแต่ละโรงเรียน ไม่ว่าจะเป็นโรงเรียนขนาดเล็ก ขนาดกลาง ขนาดใหญ่ และขนาดใหญ่พิเศษ ความพร้อมต่างๆของโรงเรียนในการจัดการ บริหาร ให้ได้ตามมาตรฐานที่กำหนด

      สิ่งที่เราจะหลงลืมไปไม่ได้ ก็คือ คุณธรรม จริยธรรม ของผู้ประเมิน ที่จะเป็นตัวแสดงความเป็นจริงของการประเมินคุณภาพการศึกษา ว่าจะออกมาเพื่อให้โรงเรียนนั้นพัฒนาหรือถดถอย เพราะโรงเรียนก็ต้องการผ่านการประเมิน บางครั้งการผ่านแบบมีเงื่อนไขก็เกิดขึ้นกับระบบของการประเมิน หรือไม่ผู้ประเมินก็เป็นผู้ยื่นเงื่อนไขให้กับโรงเรียนเอง สิ่งนี้เองที่จะเป็นตัวทำลายระบบที่บอกว่าได้รับการพัฒนามาเป็นอย่างดีแล้ว

      ถ้าเราต้องการพัฒนาระบบการศึกษาให้เจริญก้าวหน้าไปกว่านี้ ทั้งระบบ บางครั้งเราต้องยอมรับจุดด้อยที่เรามี เพื่อที่เราจะได้พัฒนาจุดด้อยนั้นให้เป็นจุดเด่นขึ้นมา ไม่ใช่กลบเกลื่อนจุดด้อยนั้นไว้ แล้วไม่ได้รับการพัฒนา แทนที่จะเจริญขึ้น กลับเจริญลง

      แล้วการพัฒนานั้นต้องมีความเป็นธรรมพอสมควร ไม้ใช่ดูแลเฉพาะพรรคพวกตนเอง โดยเฉพาะผู้ที่เป็นผู้บริหารที่มีหน้าที่ดูแลองค์กรการศึกษาต่างๆ จะต้องบริหารอย่างมีคุณธรรม จริยธรรม เพื่อไม่ให้เกิดความเลื่อมล้ำ ความลำเอียง ทุกส่วนต้องได้รับการพัฒนาอย่างเท่าเทียมกัน

      **ดังผลโพลระบุว่า การปฏิรูปการศึกษารอบแรก ประชาชนกลุ่มตัวอย่างให้คะแนนระดับ 4.83 จากเต็ม 10 โดยระบุว่าไม่มีส่วนร่วมกับการปฏิรูปฯ ครั้งที่ผ่านมา 60.71% และในการขับเคลื่อนการปฏิรูปฯรอบ 2 ในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา ก็ได้รับรู้ข่าวสารปานกลาง แต่เชื่อว่ากระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.) จะขับเคลื่อนให้ประสบความสำเร็จได้ ระดับ 5.61 จากเต็ม 10 อีกทั้งมองว่าการปฏิรูปฯ ควรเน้นการศึกษาในระดับมัธยมศึกษา 33.81% ยกเว้นกลุ่มตัวอย่างจากภาคใต้ ที่ระบุว่าควรเน้นระดับประถมศึกษา 43.54% โดยเน้นการเรียนการสอน 32.67% และหลักสูตร 17.94% นอกจากนี้ควรเน้นที่คุณภาพผู้เรียน 37.41% คุณภาพครู 33.78% และคุณภาพสถานศึกษา 10.91% ซึ่งเด็กผู้เรียนควรต้องได้รับการพัฒนาด้านความสามารถในการคิดวิเคราะห์ 32.21% การพัฒนาทักษะชีวิต 24.01% และความสามารถในการเรียนรู้ตลอดชีวิต 22.79%

      จะเห็นว่า ความสำเร็จในการปฏิรูปการศึกษาของเรายัง ถือว่าประสบความสำเร็จน้อยมาก เราจึงควรหันมาพูดความจริงกันดีกว่า อย่าใส่หน้ากากเข้าหากันเลย ความจริงใจในการที่จะทำให้การศึกษาของชาติเราเจริญรุ่งเรืองเทียบเท่านานาประเทศที่มีความเจริญทางด้านการศึกษา เพื่อเป็นการพัฒนาที่แท้จริง โดยเฉพาะการปฏิรูปมนุษย์ ให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ นี่แหละคือสิ่งที่ผมนำเสนอต่อไป

      ขอบคุณ คนไทยทุกคน ที่ต้องการเห็นชาติไทยเรา การศึกษาไทยเจริญก้าวไกล ยิ่งๆขึ้นไป

                                                                 สวัสดี

 

**"ครุศาสตร์โพล  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย"

หมายเลขบันทึก: 418470เขียนเมื่อ 6 มกราคม 2011 00:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 13:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท