กฎหมายอิสลาม ตอน 8


กฎหมายอิสลามลักษณะอาญา หมายถึง กฎหมายที่กำหนดลักษณะของการกระทำที่ถือว่าเป็นความผิดร้ายแรง และกำหนดบทลงโทษทางอาญาสำหรับความผิดนั้นๆเอาไว้ตามตัวบทของอัล-กุรฺอานและอัส-สุนนะฮฺ เรียกกฎหมายลักษณะอาญาในภาษาอาหรับว่า อัล-ฟิกฮุลญินาอียฺ

ลักษณะอาญาและบทลงโทษในกฎหมายอิสลาม

        กฎหมายอิสลามลักษณะอาญา  หมายถึง  กฎหมายที่กำหนดลักษณะของการกระทำที่ถือว่าเป็นความผิดร้ายแรง  และกำหนดบทลงโทษทางอาญาสำหรับความผิดนั้นๆเอาไว้ตามตัวบทของอัล-กุรฺอานและอัส-สุนนะฮฺ  เรียกกฎหมายลักษณะอาญาในภาษาอาหรับว่า  อัล-ฟิกฮุลญินาอียฺ

 (اَلْفِقْهُ الْجِنَاﺋﻲ)  ซึ่งในบทนี้จะกล่าวถึงลักษณะอาญาและบทลงโทษในคดีดังต่อไปนี้

1.         การฆาตกรรม  (ประทุษร้ายต่อร่างกายและชีวิต)

2.         การโจรกรรม  (การลักขโมย)

3.         การผิดประเวณี  (ล่วงละเมิดทางเพศ)

4.         การรักร่วมเพศ  (ลิวาฏ-เลสเบี้ยน)

5.         การดื่มสุรา-การพนัน

6.         ข้อห้ามเกี่ยวกับการใส่ร้าย

7.         การละทิ้งการละหมาด

 

1.       การฆาตกรรม  (قَتْلُ النَّفْسِ)

การฆาตกรรม  คือ  การประทุษร้ายต่อร่างกายหรืออวัยวะในร่างกายของบุคคลอันเป็นเหตุให้ถึงแก่ความตาย  หรือหมายถึงการฆ่าชีวิตมนุษย์นั่นเอง  ในหลักศาสนาอิสลามถือว่าการฆาตกรรมเป็นสิ่งต้องห้าม  และมีโทษร้ายแรงทั้งในโลกนี้และโลกหน้า  ทั้งนี้  เพราะการฆาตกรรมเป็นการละเมิดต่อชีวิตที่เป็นสิทธิของอัลลอฮฺ   และเป็นการคุกคามต่อความปลอดภัยของหมู่ชนตลอดจนวิถีชีวิตในสังคมมนุษย์  ดังปรากฏในอัล-กุรฺอานว่า

Ÿwur (#qè=çGø)s? š[øÿ¨Z9$# ÓÉL©9$# tP§ym ª!$# žwÎ) Èd,ysø9$$Î/ 4 ……. ÇÊÎÊÈ

 

        ความว่า  “และพวกสูเจ้าอย่าได้สังหารชีวิตซึ่งอัลลอฮฺทรงบัญญัติห้ามเอาไว้  นอกจากด้วยสิทธิอันชอบธรรมเท่านั้น”

                                               (สูเราะฮฺ  อัล-อันอาม  อายะฮฺที่  151)

การฆาตกรรมตามกฎหมายอิสลามมี  3  ชนิดคือ

1.  การฆาตกรรมโดยเจตนา หมายถึง การที่บุคคลมีเจตนาสังหารบุคคลด้วยสิ่งที่ทำให้เสียชีวิตโดยส่วนใหญ่  เช่น  ฟันด้วยคมดาบแล้วผู้นั้นเสียชีวิตเนื่องจากการฟันนั้น   หรือยิงปืนใส่ผู้นั้น กระสุนโดนผู้นั้นจนถึงแก่ความตาย   หรือทุบด้วยค้อนเหล็ก  หรือเผาไฟ  หรือทับด้วยรถยนต์  หรือฝังทั้งเป็น  หรือรัดคอจนขาดใจตาย  หรือวางยาพิษ  หรือกระทำคุณไสย  เป็นต้น 

2.  การฆาตกรรมโดยกึ่งเจตนา  หมายถึง  การที่บุคคลมีเจตนาประทุษร้ายโดยมิชอบต่อบุคคลด้วยการใช้สิ่งที่ไม่ทำให้เสียชีวิตโดยส่วนใหญ่  แต่บุคคลถึงแก่ความตายด้วยการกระทำดังกล่าวนั้น  เช่น  การใช้ไม้ขนาดเล็กตีเบาๆแล้วผู้ถูกตีก็ถึงแก่ความตายเนื่องจากการตีนั้น  หรือการจับโยนลงน้ำที่ทำให้ผู้นั้นจมน้ำแต่ผู้นั้นว่ายน้ำเป็น  ทว่าเกิดลมพายุหรือคลื่น  เป็นเหตุให้ผู้นั้นจมน้ำตาย  เป็นต้น  ส่วนกรณีที่ผู้นั้นว่ายน้ำไม่เป็นถือว่าเป็นการฆาตกรรมโดยเจตนา

 

3.  การฆาตกรรมโดยเกิดความผิดพลาด  หมายถึง  การที่บุคคลได้กระทำสิ่งที่อนุญาตให้กระทำได้เช่น  การยิงสัตว์ที่ถูกล่าแล้วพลาดไปโดนบุคคลเป็นเหตุให้ถึงแก่ความตายหรือมีความผิดพลาดโดยไม่มีเจตนาเกิดขึ้น  เช่น  เท้าสะดุดล้มไปทับบุคคลเป็นเหตุให้บุคคลผู้นั้นถึงแก่ความตาย  เป็นต้น 

ข้อชี้ขาดในการฆาตกรรมแต่ละชนิด  มีดังนี้

1)  การฆาตกรรมโดยเจตนา  มีข้อชี้ขาด  2  ประการ ดังนี้

ก.  ข้อชี้ขาดทางศาสนาที่เกี่ยวกับโลกหน้า  คือ  เป็นสิ่งต้องห้าม  มีบาปร้ายแรงที่รองจากการ ปฏิเสธ  (كُفْرٌ)  และต้องได้รับโทษทัณฑ์ในนรกอเวจี  หากฆาตกรไม่ทำการสำนึกผิด (تَوْبَةٌ)  ดังปรากฏในอัล-กุรฺอาน ว่า

`tBur ö@çFø)tƒ $YYÏB÷sãB #Y‰ÏdJyètG•B ¼çnät!#t“yfsù ÞO¨Yygy_ #V$Î#»yz $pkŽÏù

|=ÅÒxîur ª!$# Ïmø‹n=tã ¼çmuZyès9ur £‰tãr&ur ¼çms9 $¹/#x‹tã $VJŠÏàtã ÇÒÌÈ

        ความว่า “และผู้ใดสังหารผู้ศรัทธาโดยเจตนา  การตอบแทนของผู้นั้นคือนรกอเวจี โดยเขาอยู่ในนั้นตลอดกาล  และอัลลอฮฺทรงกริ้วผู้นั้น  และทรงสาปแช่งเขา  อีกทั้งทรงเตรียมการลงโทษอันยิ่งใหญ่แก่ผู้นั้นแล้ว”                                                                                                                        

                                                                  (สูเราะฮฺอัน-นิสาอฺ  อายะฮฺที่  93)

ข.     ข้อตัดสินอันเป็นคดีความในโลกนี้คือ  การประหารชีวิต  (اَلْقِصَاصُ)  หรือกรณีพี่น้องหรือทายาทของผู้ถูกฆาตกรรมให้อภัย ต้องจ่ายค่าสินไหมทดแทนสถานหนัก  (اَلدِّيَةُ)  ดังปรากฎในอัล-กุรฺอานว่า

$pkš‰r'¯»tƒ tûïÏ%©!$# (#qãZtB#uä |=ÏGä. ãNä3ø‹n=tæ ÞÉ$|ÁÉ)ø9$# ’Îû ‘n=÷Fs)ø9$# ( ”çtø:$# Ìhçtø:$$Î/ ߉ö6yèø9$#ur ωö7yèø9$$Î/ 4Ós\RW{$#ur 4Ós\RW{$$Î/ 4 ô`yJsù u’Å"ãã ¼ã&s! ô`ÏB ÏmŠÅzr& ÖäóÓx« 7í$t6Ïo?$$sù Å$rã÷èyJø9$$Î/ íä!#yŠr&ur Ïmø‹s9Î) 9`»|¡ômÎ*Î/ 3 y7Ï9ºsŒ ×#‹ÏÿøƒrB `ÏiB öNä3În/§‘ ×pyJômu‘ur 3 Ç`yJsù 3“y‰tGôã$# y‰÷èt/ y7Ï9ºsŒ ¼ã&s#sù ë>#x‹tã ÒOŠÏ9r& ÇÊÐÑÈ  

                ความว่า “โอ้บรรดาศรัทธาชน  การประหารชีวิตให้ตายตกตามกันไปในหมู่ผู้ถูกฆาตกรรมได้ถูกบัญญัติเหนือพวกสูเจ้าแล้ว  เสรีชนต่อเสรีชน  ทาสต่อทาส  สตรีต่อสตรี  ดังนั้นผู้ใดถูกอภัยให้แก่เขา  ซึ่งสิ่งหนึ่งจากพี่น้องของผู้ถูกฆาตกรรม  ก็ให้ปฏิบัติตามความเหมาะสมและจ่ายค่าสินไหมทดแทนแต่โดยดี  ดังกล่าวนั้นคือการผ่อนปรนจากพระผู้อภิบาลของพวกสูเจ้าและคือความเมตตา  ดังนั้นผู้ใดละเมิดหลังจากนั้น ผู้นั้นย่อมได้รับการลงทัณฑ์อันเจ็บปวดยิ่ง”

(สูเราะฮฺ อัล-บะเกาะเราะฮฺ อายะฮฺที่ 178)

          การประหารชีวิต (اَلْقِصَاصُ)  คือข้อชี้ขาดตามหลักมูลฐานอันเป็นผลมาจากการฆาตกรรมโดยเจตนา ซึ่งถือเป็นสิทธิของบรรดาทายาทของผู้ถูกฆาตกรรม หากพวกเขาประสงค์ให้มีการประหารชีวิตฆาตกร ก็จำเป็นที่ศาล (اَلْقَاضِيْ) ต้องช่วยเหลือและอำนวยให้พวกเขาได้รับสิทธินั้น ดังปรากฎในอัล-กุรฺอานว่า

`tBur Ÿ@ÏFè% $YBqè=ôàtB ô‰s)sù $uZù=yèy_ ¾ÏmÍh‹Ï9uqÏ9 $YZ»sÜù=ߙ Ÿxsù ’̍ó¡ç„ ’Îpû È@÷Fs)ø9$# (

¼çm¯RÎ) tb%x. #Y‘qÝÁZtB ÇÌÌÈ

                ความว่า “และผู้ใดถูกฆ่าโดยไม่เป็นธรรม ดังนั้นเรา (อัลลอฮฺ) ได้ให้อำนาจแก่ทายาทหรือผู้ปกครองของเขา (ที่จะดำเนินคดีให้ถึงที่สุด) ฉะนั้นเขาจงอย่าล่วงเกินขอบเขตในเรื่องการฆ่า เพราะแท้จริงเขาเป็นผู้ที่ถูกช่วยเหลือ (ให้ได้รับสิทธิอยู่แล้ว)”

        (สูเราะฮฺ อัล-อิสรออฺ อายะฮฺที่ 33)

 

                ดังนั้น ถ้าหากทายาทของผู้ถูกฆาตกรรมมีความประสงค์ในการให้อภัย พวกเขาก็ย่อมกระทำได้โดยรับค่าสินไหมทดแทนจากทรัพย์ของฆาตกร ดังปรากฏในอัล-หะดีษที่รายงานโดย        อัมรฺ อิบนุ ชุอัยฺบ จากบิดาของเขา จากปู่ของเขาว่า แท้จริงนบี  กล่าวว่า :

( مَنْ قَََتَلَ مُتَعَمِّدًادُفِعَ إِلىَ أَوْلِيَاءِ الْمَقْتُوْلِ ، فَإِنْ شَاﺅُوْاقَتَلُوْهُ ، وَإِنْ شَاﺅُوْاأَخَذُواالدِّيَةَ

وَهِىَ ثَلاَثُوْنَ حِقَّةً ، وثَلاَثُونَ جَذَعَةً وَأَرْبَعُونَ خَلِفَة   الحديث )

                ความว่า “ผู้ใดฆ่าโดยเจตนา ผู้นั้นย่อมถูกผลักไปยังบรรดาทายาทของผู้ถูกฆ่า ดังนั้นหากบรรดาทายาทประสงค์ให้ประหารก็ให้ประหารชีวิตผู้นั้น และหากพวกเขาประสงค์ค่าสินไหมทดแทน พวกเขาก็เอาค่าสินไหมทดแทนนั้น คือ อูฐอายุ 3 ปีบริบูรณ์ 30 ตัว , อูฐอายุ 4 ปีบริบูรณ์ 30 ตัว  และอูฐที่ตั้งท้อง 40 ตัว...”

         (รายงานโดย อัต-ติรมิซียฺ )

 

                ในกรณีที่ไม่มีอูฐจ่ายเป็นค่าสินไหมทดแทนก็ให้ตีราคาของอูฐ ดังปรากฏในรายงานของท่าน อัมรฺ อิบนุ ชุอัยฺบ จากบิดาของเขา จากปู่ของเขาว่า :  การตีราคาค่าสินไหมทดแทน  (اَلدِّيَةُ) ในสมัยของนบีนั้น คือ 800 ดีนารฺ หรือ 8,000 ดิรฮัม ปรากฏเป็นเช่นนั้นเรื่อยมา จนอุมัร ได้เป็นเคาะลีฟะฮฺ อุมัรกล่าวว่า : อูฐนั้นมีราคาแพง จึงตีราคาว่า ผู้มีทองคำนั้นคือ 1,000 ดีนารฺ ผู้มีเงินนั้นคือ 12,000 ดิรฮัม  ผู้มีวัวคือ วัว 200 ตัว ผู้มีแกะนั้นคือ แกะ 2,000 ตัว  ผู้มีชุดแต่งกายคือ 200 ชุด”   

(รายงานโดย อบูดาวูดและอัน-นะสาอียฺ)

                และในกรณีที่ฆาตกรมีหลายคน คือ เป็นหมู่คณะ ให้ตัดสินประหารชีวิตฆาตกรทั้งหมด ดังปรากฏ :

1. เคาะลีฟะฮฺอุมัร  ได้ตัดสินประหารชีวิตชาย 7 คน หรือ 5 คน ที่ร่วมกันสังหารชายผู้หนึ่ง

2.  เคาะลีฟะฮฺอะลี ได้ตัดสินประหารชีวิตชาย 3 คน ที่ร่วมกันสังหารชายผู้หนึ่ง เป็นต้น

                ทั้งนี้บรรดาอิหม่ามทั้ง 4 ท่านได้เห็นพ้องตรงกันว่า จำเป็นต้องประหารชีวิตกลุ่มคณะบุคคลที่ร่วมกันสังหารบุคคลเพียงคนเดียว เพื่อเป็นการปิดหนทางในการอาศัยช่องว่างทางกฏหมายที่อาจเกิดขึ้นได้ หากไม่มีการตัดสินเช่นนี้

                อนึ่ง ในการตัดสินประหารชีวิตฆาตกรนั้น จำต้องมีเงื่อนไขดังต่อไปนี้

1.       ฆาตกรต้องบรรลุศาสนภาวะ มีสติสัมปชัญญะ

2.       ฆาตกรต้องมีสถานภาพด้อยกว่าผู้ถูกฆาตกรรม ดังปรากฎในอัล-หะดิษว่า

( لاَيُقْتَلُ حُرٌّبِعَبْدٍ )

 

        ความว่า  “เสรีชนจะไม่ถูกประหารชีวิตด้วยเหตุการสังหารทาส”

(รายงานโดย อบูดาวูด )

3.     ฆาตกรจะต้องไม่ใช่บิดา  ปู่ หรือผู้สืบสายเลือดสูงขึ้นไป ดังมีรายงานจากอุมัร  ว่า : ฉันเคยได้ยิน

นบีกล่าวว่า

( لاَيُقَادُالْوَالِدُبِالْوَلَدِ )

                      ความว่า  “บิดาจะไม่ถูกประหารชีวิตเนื่องด้วยการสังหารบุตร”

(รายงานโดย อัต-ติรมิซียฺ )

4.       ฆาตกรจะต้องเป็นผู้ที่สังหารผู้ตายโดยเจตนา หรือเป็นผู้จ้างวาน หรือเป็นผู้ร่วมมือด้วย มิใช่ถูกบังคับ พลาดพลั้งหรือหลงลืม

 

2)    การฆาตกรรมกึ่งเจตนา มีข้อชี้ขาดสองสถานะเช่นกัน กล่าวคือ ทางศาสนาที่เกี่ยวกับโลกหน้า ถือเป็นสิ่งต้องห้าม มีบาปและต้องได้รับโทษทัณฑ์ในโลกหน้า เพราะฆาตกรมีเจตนา แต่โทษทัณฑ์ต่ำกว่าโทษทัณฑ์ของการฆาตกรรมโดยเจตนา

                ส่วนข้อชี้ขาดตามลักษณะอาญาในโลกนี้ คือการจ่ายค่าสินไหมทดแทนขั้นหนักที่บรรดาทายาทฝ่ายบิดาของฆาตกรจำต้องร่วมชดใช้โดยผ่อนชำระในระยะเวลา 3 ปี ดังมีรายงานจากอิบนุ อุมัร  ว่า นบีกล่าวว่า

 

شِبْهُ الْعَمْدِ قَتِيْلُ السَّوْطِ وَالْعَصٰا ، فِيْهِ مِائَةٌمِنَ اْلإِ بِلِ ، مِنْهَا أَرْبَعُوْنَ فِى بُطُوْنِهَاأَوْلاَدُهَا

                ความว่า “กึ่งเจตนาคือ ผู้ที่ถูกสังหารด้วยแส้และไม้เท้า ในการสังหารนี้คืออูฐ 100 ตัว จาก 100 ตัวนั้นคืออูฐ 40 ตัว ที่ในท้องของมันมีลูก”

                                                (รายงานโดย อัน-นะสาอียฺ)

            การฆาตกรรมชนิดนี้ไม่จำเป็นต้องประหารชีวิต ถึงแม้ว่าญาติของผู้ตายจะร้องขอก็ตาม แต่ให้บรรดาทายาทของฆาตกร (ที่มิใช่บรรพบุรุษหรือบุตรหลาน) จ่ายค่าสินไหมทดแทนตามจำนวนที่ระบุมาในอัล-หะดีษ

 

3)  การฆาตกรรมโดยผิดพลาด มีข้อชี้ขาดทางศาสนาที่เกี่ยวกับโลกหน้าคือ การอภัยให้ ไม่มีบาปและไม่มีการลงทัณฑ์ เพราะเป็นการกระทำที่เกิดขึ้นโดยผิดพลาดไม่มีเจตนา ดังปรากฏในอัล-หะดีษว่า

إِنَّ اﷲَتَجَاوَزَعَنْ أُمَّتِىْ الْخَطَأَ وَالنِّسْيَانَ وَمَااسْتُكْرِهُواعَلَيْهِ

                ความว่า “แท้จริงอัลลอฮฺทรงอภัยแก่ประชาชาติของฉัน ซึ่งความผิดพลาด  การหลงลืม และสิ่งที่พวกเขาถูกบังคับให้กระทำสิ่งนั้น”

(รายงานโดย อิบนุมาญะฮฺ )

 

            ส่วนข้อชี้ขาดตามลักษณะอาญาในโลกนี้ คือ จำเป็นที่บรรดาทายาทของฆาตกรต้องจ่ายค่าสินไหมทดแทน โดยผ่อนชำระเป็นเวลา 3 ปี และเป็นการจ่ายค่าสินไหมขั้นเบาคือ แบ่งเป็นประเภทอูฐ 5 ชนิด ได้แก่ อูฐ 3 ปี จำนวน 20 ตัว  อูฐ 4 ปี จำนวน 20 ตัว  อายุย่างเข้าปีที่ 3 จำนวน 20 ตัว อายุย่างเข้าปีที่ 2 จำนวน 20 ตัว และอูฐเพศผู้ย่างเข้าปีที่ 3 จำนวน 20 ตัว

(รายงานโดย อิบนุ มัสอูด เป็นหะดีษเมาวฺกูฟ)

            และมีรายงานจาก อิบนุ มัสอูด เช่นกันว่า นบีพิพากษาให้ผู้เป็นฆาตกรโดยพลาดพลั้งจ่ายเงินจำนวน 1,000 ดีนารฺ หรือ 10,000 ดิรฮัมก็ได้

หมายเลขบันทึก: 417956เขียนเมื่อ 4 มกราคม 2011 09:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 พฤษภาคม 2012 21:16 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท