KM (แนวปฏิบัติ) วันละคำ : 121. บุคคลก่อนและหลัง KM


กรุณาช่วยกันเติมด้วยครับ บันทึกนี้จะสำคัญมากหลังจากประชาคม Gotoknow ช่วยกันเติมแล้ว

         ในชุมชนนักปฏิบัติ KM  [email protected] มีการตั้งคำถามและมีการช่วยกันตอบ     ผมได้ความรู้มากจากการเป็นสมาชิกของชุมชนนี้     ต่อไปนี้เป็นคำตอบของคุณ "Nick_Milton" [email protected] ต่อคำถาม what do u mean by 'pre-km' and post-km' persons. The purpose beind keeping these two.

         คำตอบของคุณ Nick Milton

         Pre-KM means the world before KM, where people only access the knowledge in their own heads
         Post-KM means the world after KM, where people can access the knowledge of the organisation

        น่าสนใจนะครับ   เขาวัดความเป็นคนปฏิบัติ KM ที่การเป็นหนึ่งเดียวระหว่างความรู้ของปัจเจก กับความรู้ขององค์กร      ผม

เห็นด้วยอย่างยิ่ง     แต่ผมว่าคำตอบของเขามองที่จุดเดียว     ไม่ครบถ้วน

         ผมขอเติมว่า คน Post-KM เป็นคนที่
           - มีทักษะในการเปิดทวารทั้งสี่ ให้ความรู้ปฏิบัติ และสิ่งดีๆ ไหลเข้า-ออก
           - มีทักษะในการชื่นชมยินดี
           - มีทักษะในการสร้างบรรยากาศเชิงบวก
           - มีเจตคติ และพฤติกรรมที่เคารพความรู้ในคน   เคารพและเห็นคุณค่าความแตกต่าง  
           - มีทักษะในการ คว้าความรู้จากภายนอก และควักความรู้จากภายใน
           - มีทักษะในการปรับความรู้/วิธีการให้เหมาะต่อบริบท/สิ่งแวดล้อมของตนเอง
           - มีทักษะในการเป็น "ผู้นำ"
           - มีทักษะในการกระตุ้นตนเอง  และกระตุ้นผู้อื่น ให้สามารถนำสิ่งดีๆ ภายในตัวออกมาสร้างสรรค์     คือมีทักษะในการดึง

ศักยภาพที่ซ่อนเร้นออกมาทำประโยชน์
           - กรุณาช่วยกันเติมด้วยครับ    บันทึกนี้จะสำคัญมากหลังจากประชาคม Gotoknow ช่วยกันเติมแล้ว

วิจารณ์ พานิช
๑๖ กค. ๔๙

 

คำสำคัญ (Tags): #เครื่องมือkm
หมายเลขบันทึก: 41762เขียนเมื่อ 31 กรกฎาคม 2006 09:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:29 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เชื่อว่าเมื่อความรู้ใดที่มีอยู่ในตัวเรา เราควรที่จะใช้ความรู้นั้นให้เป็นประโยชน์และถ่ายทอดไปยังคนที่ไม่รู้ หรือคนอื่นๆ ในสังคมด้วยค่ะ

ความรู้บางครั้งอยู่กับเราก็ไม่ได้ไช้ประโยชน์เท่าไหร่ แต่อาจจำเป็นสำหรับบางคนที่ไม่รู้ และ บางคนที่ไม่มีโอกาสหรือศักยภาพเพียงพอ ศักยภาพนี้ไม่ได้หมายถึงแต่เพียงความสามารถเท่านั้น แต่อาจหมายถึงตำแหน่ง หน้าที่ที่เรายืนอยู่ในสังคมแห่งการใช้ความรู้นั้น ความเอื้ออำนวยต่างๆ ต่อความสำเร็จของการนำความรู้ไปใช้

นอกจากจะเป็นการแลกเปลี่ยน เรียนรู้ แล้ว จะสามารถนำความรู้นั้นไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดด้วยไม่ใช่เฉพาะแต่กับตัวเราแต่กับสังคมที่ยังต้องการความรู้อีกมากจะได้มั้ยคะ

 1   ความอดทนต่อความแตกต่างทางความคิด   พฤติกรรม และการกระทำ  ซึ่งมักจะทำให้เราเบื่อและย่อท้อ

 2   ความจริงใจและเข้าใจที่เราจะต้องมีให้ผู้อื่นเพราะฐานของคนไม่เหมือนกัน     การพูดจะง่ายแต่ทำจริงมันยากมากๆ    

ดิฉันเคยรำคาญลูกน้องที่มีพฤติกรรมที่ไม่ถูกใจ     ก่อนเจอหน้าต้องแผ่เมตตาและสั่งตัวเองว่าเธอไม่มีสิทธเกลียดเลยเพราะถ้าเราไม่ชอบและลูกน้องจับได้ก็จะทำให้เกิดความท้อแท้ค่ะ

เล่าเพื่อ ลปรรค่ะอาจารย์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท